Q&A ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับ เครื่องอบยูวี รวมคำถามยอดฮิตที่พ่อแม่ควรรู้

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ที่กำลังจัดเตรียมอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ สำหรับลูกน้อย อาจได้รับคำแนะนำจากเพื่อนๆ หรือแพทย์ สำหรับการจัดเตรียมอุปกรณ์ ฆ่าเชื้อโรคของใช้ต่างๆ ให้พร้อมก่อนคลอด จากในอดีตหลายๆ บ้าน อาจคุ้นเคยกับการลวกด้วยน้ำร้อน 100 องศาขึ้นไป ในการฆ่าเชื้อขวดนม ภาชนะ ไปจนถึงเสื้อผ้า ปลอกหมอนผ้าปูที่นอน ของเด็กได้ แต่ด้วยสถานการณ์การระบาดของโควิดในปัจจุบัน ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายบ้านอดห่วงไม่ได้ว่าเชื้อไวรัสนั้นจะหลุดรอดเข้ามาถึงตัวลูกน้อยของเราได้จากของใช้อื่นๆ ที่ไม่สามารถฆ่าเชื้อด้วยการ ลวก หรือการนึ่งได้ และมีบทความทางการแพทย์มากมาย ระบุว่า การนำพลาสติกไปลวกด้วยความร้อนสูง จะก่อให้เกิดการตกค้าง ปนเปื้อนของ ไมโครพลาสติก ที่สามารถเข้าสู่ร่างกายของลูกน้อยก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ จึงมีการผลิตคิดค้น และนำเข้า เครื่องอบยูวี สำหรับใช้ในบ้าน ซึ่งเป็นการใช้พลังงานจากรังสี UV-C ในการฆ่าเชื้อโรคร้ายที่อาจติดอยู่ตามข้าวของเครื่องใช้ของลูกน้อย และฆ่าเชื้อของใช้คุณพ่อคุณแม่ได้อีกด้วย

ประโยชน์ของรังสี UV-C

ส่วนประกอบสำคัญของ เครื่องอบ UV-C คือหลอด UV-C ซึ่งมีคุณสมบัติในการปล่อยรังสี UV-C มาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคได้จริง แม้แต่เชื้อไวรัสโควิดก็ไม่รอด ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก และมีผลวิจัยต่างๆ จากหลากหลายสถาบันยืนยันแล้วว่า รังสี UV-C สามารถฆ่าเชื้อไวรัสโควิดได้ 99.99% ทั้งในของเหลว บนพื้นผิวต่างๆ และในอากาศ และนอกจากไวรัสแล้ว ยังช่วยกำจัดเชื้อโรคปนเปื้อนอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น เชื้ออีโคไล (E. Coli) ที่ทำให้ท้องเสีย สแตฟีโลคอกคัส (Staphylococcus aureus) ก่อให้เกิดอาหารเป็นพิษ ซาลโมเนลลา (Salmonella Typhimurium) ทำให้ติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ไวรัส H1N1 เป็นต้น โดยรังสี UV-C จะเข้าไปทำลาย DNA และ RNA ของไวรัส

ในอุตสาหกรรมอาหาร ได้มีการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้นานแล้ว และมีการพัฒนามาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคให้กับสิ่งในครัวเรือน โดยทำให้มีขนาดเล็กลง และฟังก์ชั่นการใช้งานที่ง่ายขึ้น และประกอบกับสถานการณ์ไวรัสโควิดระบาด ทำให้ เครื่องอบ UV ฆ่าเชื้อสำหรับใช้ในบ้านเกิดดวามต้องการมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีการวางจำหน่ายมากมายหลากหลายยี่ห้อ ดังนั้น ก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะตัดสินใจซื้อ เบบี้กิ๊ฟขอมอบคำแนะนำ 7 ข้อสงสัยในการเลือกซื้อ เครื่องอบยูวี สำหรับฆ่าเชื้อของใช้ลูกน้อย เพื่อช่วยให้ตัดสินใจ และลดความกังวลจากการใช้งานได้ ดังนี้ค่ะ

1. หลอด UV ควรเลือกแบบไหนดี ใช้กี่หลอด หลอดUV ควรอยู่ตรงไหน?

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ให้คำแนะนำในการเลือกใช้หลอด UVC ว่า

  • หากเป็นหลอด UV-C ประเภท LED ควรเลือกชนิดที่เปล่งรังสีในช่วง 240-313 นาโนเมตร หรือ 260-275 นาโนเมตร จะเป็นค่าที่ดี และมีประสิทธิภาพมากพอในการฆ่าเชื้อ โดยข้อดีของ หลอดไฟ UV-C LED คือ ใช้งานได้ยาวนาน ไม่มีการปล่อยก๊าซโอโซนออกมา ไม่ก่อให้เกิดกลิ่นตกค้างหลังจากฆ่าเชื้อโรคเสร็จ
  • หากเป็นหลอด UV-C Lamp หรือ หลอดไอปรอท/อะมัลกัม แรงดันต่ำ (Ozone Free germicidal lamp) ควรเลือกที่ปราศจากก๊าซโอโซน (Ozone Free) และเปล่งรังสีในช่วง 254 นาโนเมตร ข้อดีคือ บำรุงดูแลรักษาได้ง่าย สามารถซื้อหลอดเปลี่ยนเองได้เหมือนหลอดไฟบ้าน

ที่สำคัญ ควรเลือกยี่ห้อที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานสินค้า เช่น CE, RoHS, มอก., มาตรฐาน ISO 15858:2016, มาตรฐาน ISO 14644 -1: 1999 เป็นต้น

นอกจากหลอด UV-C ที่มากับ เครื่องอบยูวี จะต้องได้มาตรฐาน ควรมีผลวิจัยรับรองประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรียยืนยัน ประกอบกับการจดทะเบียนรับรองต่างๆ จากสถาบันระดับสากลที่น่าเชื่อถือ เอกสารการจดทะเบียนและนำเข้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และต้องผ่านมาตรฐานความปลอดภัยในการใช้งานด้วย

สำหรับจำนวนของหลอด UV-C Lamp นั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของความจุภายในตู้ และค่าความยาวคลื่นแสงของรังสี UV-C ระยะเวลาในการฉายแสง วัดออกมาเป็นหน่วยไมโครวัตต์ต่อวินาที ต่อตารางเซนติเมตร (Ws/cm2) สำหรับบางเครื่องที่มีหลอดเดียวแต่ตู้มีขนาดเล็กอาจเพียงพอในการฆ่าเชื้อภายในตู้ แต่อาจใส่ของได้ไม่มากนัก หากเป็นตู้ที่มีขนาดใหญ่ และมีหลอดถึง 2 หลอด มีวัสดุที่กระจายแสงสะท้อนแสงได้ดี ก็จะช่วยให้ฆ่าเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า ตามสูตรคำนวณที่อ้างอิง : https://bit.ly/2wFvbuN

สำหรับจุดวางหลอด UV-C นั้น ควรอยู่ด้านบน และด้านข้าง ไม่ควรอยู่บริเวณด้านล่าง หากใช้ในการอบแห้งสิ่งของที่ต้องมีการล้างน้ำ เพราะคราบน้ำอาจหยดใส่หลอดไฟ จนก่อให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้

2. เครื่องอบยูวี ที่เป็นประตูกระจก อันตรายไหม?

หลายคนอาจกังวลว่า หากเลือกซื้อ เครื่องอบยูวี ที่มีฝาประตูตู้บานหน้าเป็นกระจก เวลาใช้งานโหมดฆ่าเชื้อด้วยUV รังสี UV-C จะทะลุผ่านตู้อบออกมาเป็นอันตรายต่อดวงตาและผิวหนังได้ไหม สำหรับเรื่องนี้มีทั้งบทความ และการทดสอบยืนยันแล้วว่า ว่าคุณสมบัติของ UV-C ไม่สามารถทะลุผ่านกระจกได้ หากเป็นกระจกแท้ ไม่ใช่พลาสติกหนา เพื่อความสบายใจสามารถเลือก ชนิดที่เป็นกระจกเคลือบสีปรอท เพื่อเพิ่มความมั่นใจอีกชั้นในการป้องกันการทะลุ และเพิ่มการสะท้อนแสงภายในตู้ได้ดียิ่งขึ้น

ดูคลิปวิดิโอทดลอง การทะลุผ่านของรังสี UV-C Click
แหล่งที่มาข้อมูล UV-C ไม่สามารถทะลุผ่านกระจก Click

3. ทำไมความร้อนในการอบแห้ง ไม่ควรเกิน 50 องศา?

ข้อนี้ เกิดจากความสับสนระหว่างการฆ่าเชื้อด้วย น้ำร้อน หรือการนึ่ง ที่ต้องต้มน้ำให้เดือดถึง 100 องศา ในการฆ่าเชื้อโรค จึงคิดว่า การฆ่าเชื้อโรคด้วยเครื่องอบยูวี ก็ควรจะ 100 องศา เหมือนกันสิ? ซึ่งความจริงแล้ว การฆ่าเชื้อด้วยรังสี UV-C นั้น เป็นการใช้พลังงานแสงในการทำลาย DNA และ RNA ของเชื้อโรค ไม่ได้ใช้ความร้อนในการฆ่าเชื้อเหมือนกับ การลวกหรือนึ่ง แต่การอบแห้งขวดนม ด้วยโหมด DRY ต่างหาก ที่ใช้ความร้อนและลม ในการเป่าให้ขวดนมแห้ง การเลือกใช้ความร้อนที่ไม่เกิน 50 องศา ซึ่งไม่ร้อนมากเกินไป จะช่วยให้ขวดนมใช้งานได้ยาวนานตามอายุการใช้งานที่กำหนด ไม่กรอบแห้ง แตกร้าว เสียหายไว และไม่ก่อให้เกิดการระเหยของไมโครพลาสม่า จากพลาสติก ที่มักเกิดจากการต้มในน้ำร้อนด้วย

อ่านข่าวเรื่อง ไมโครพลาสติก เพิ่มเติมที่ Click

4. ขวดนม และของใช้อะไรบ้าง ไม่ควรนำเข้า เครื่องอบยูวี

สิ่งที่สามารถนำเข้าไปฆ่าเชื้อใน เครื่องอบยูวี ได้ ได้แก่ ขวดนมพลาสติกที่ได้มาตรฐาน ไม่มีสาร BBA หรือที่มีสัญลักษณ์ BPA FREE ได้แก่วัสดุ PP, PES, PPSU แก้ว และซิลิโคน สามารถนำเข้าฆ่าเชื้อด้วยเครื่องอบยูวี ได้ รวมไปถึงกรวยปั๊มนม ภาชนะทานอาหาร หรืออุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ กุญแจบ้าน ธนบัตร กระเป๋าสตางค์ ที่สัมผัสเป็นประจำ ของคุณพ่อคุณแม่

แต่สิ่งที่ห้ามนำเข้าฆ่าเชื้อเด็ดขาด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากลาเท็กซ์ พลาสติก PET และยางพาราธรรมชาติ ฟองน้ำ เพราะอาจทำให้ละลาย กรอบ หรือแข็งขึ้น เป็นอันตรายต่อการนำไปใช้งานต่อนั่นเองค่ะ

5. วางเรียงของใช้ใน เครื่องอบยูวี แบบไหนถูกต้อง

หลักการฆ่าเชื้อด้วยรังสี UV-C นั้น เกิดจากแสงที่ตกกระทบลงบนผิววัตถุนั้น การที่บริเวณโดยรอบตู้และฝาตู้ เป็นวัสดุสะท้อนแสง เช่น Stainless Steel หรือ กระจกเคลือบสีปรอท จะช่วยให้การกระจายแสง สะท้อนไปมาได้โดยรอบมากก็จริง แต่หากการวางของทับกัน หรือวางผิด อาจทำให้การฆ่าเชื้อโรคส่งไปไม่ถึงของชิ้นอื่นๆ ในเครื่องอบได้ เพราะรังสี UV-C ไม่สามารถทะลุจากขวดชั้นบน ลงไปยังขวดชั้นล่างได้นั่นเอง

ฉะนั้นการวางขวดนมที่ถูกต้อง ควรถอดแยกชิ้นส่วน ระหว่างจุกนม และขวดนม วางขวดนมหงายขึ้นด้านบนเพื่อให้แสงส่องเข้าไปภายในขวดนมได้ จุกนมให้วางด้านดูดขึ้นด้านบน เพื่อฆ่าเชื้อบริเวณที่ต้องนำเข้าปาก หากเป็นตุ๊กตาชิ้นใหญ่ อาจต้องสลับกลับด้าน เพื่อให้ได้รับรังสี UV-C ได้ครบรอบด้าน หากเข้าใจหลักการดังนี้ก็สามารถนำไปปรับใช้กับการฆ่าเชื้อสิ่งของอื่นๆ ได้ค่ะ

6. วิธีการดูแลรักษา ทำเองได้ไหม? ดูแลยากรึเปล่า

ข้อดีของเครื่องอบยูวี นอกจากจะใช้งานง่ายไม่ยุ่งยากแล้ว ยังดูแลทำความสะอาดเองได้ง่ายมากๆ เพราะไม่ใช้น้ำในการอบจึงไม่มีคราบตะกรัน หรือเชื้อราเกิดขึ้น สามารถทำความสะอาดเพียงแค่ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเปล่าหมาดๆ เช็ดบริเวณที่น้ำหยดบ่อยๆ เท่านั้น เพื่อลดการเกิดคราบน้ำ โดยไม่ตอ้งใช้น้ำยาใดๆ มาเช็ด เพราะจะทำให้ความเงาวาวลดลง ทำให้การสะท้อนแสงเสื่อมประสิทธิภาพได้

VDO สาธิต วิธีการดูแลทำความสะอาด เครื่องอบยูวี รุ่น Baby UV Gen 3 แบรนด์ Prince&Princess

สำหรับหลอด UV-C สามารถติดต่อศูนย์บริการหลังการขายเพื่อสั่งซื้อ และเปลี่ยนได้เอง โดยสังเกตจากสัญลักษณ์ หรือไฟแจ้งเตือนเมื่อหลอดไฟขาด ก็สามารถถอดเปลี่ยนได้เองเหมือนการเปลี่ยนหลอดไฟทั่วไป และอีกสิ่งหนึ่งที่หลายคนไม่ทราบคือ การดูแลบริเวณพัดลมระบายอากาศ หมั่นล้างหรือเปลี่ยน Filter กรองอากาศไม่ให้ฝุ่นเกาะหนา ทุก 30 วัน เพื่อให้พัดลมทำงานได้ดี ลดการเกิดปัญหาเครื่องทำงานหนักได้ค่ะ

7. นำของกิน เข้าเครื่องอบยูวีได้ไหม?

หลายๆ บ้าน มีความกังวลว่า เชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย อาจปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่ปรุงกึ่งสุกกึ่งดิบ เช่น ส้มตำ ปลาแซลมอน จึงอยากนำเข้าเครื่องอบยูวี เพื่อฆ่าเชื้อ ไม่มีข้อห้ามในการอบฆ่าเชื้ออาหาร หากเครื่องอบ UV มีขนาดใหญ่เพียงพอ ที่สามารถจะเทใส่จาน แล้ววางเพื่อรับรังสี UV-C ได้พอดี แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ กลิ่นอาหารที่ยังติดค้างอยู่ภายในเครื่อง หากนำไปใช้ฆ่าเชื้อขวดนมของลูกต่อ อาจทำให้กลิ่นไปติดที่ขวดนม ทำให้ลูกอาจไม่ยอมทานนมด้วยขวดนั้นไปเลยได้ และห้ามนำเข้าทั้งถุงพลาสติก ถุงร้อน โดยเด็ดขาด เพราะอาจละลาย หรือก่อให้เกิดการระเหยของสารพิษในพลาสติก เป็นอันตรายมากกว่าเดิมได้ค่ะ

แหล่งข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม :

สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ https://arch.wu.ac.th/?p=6971
สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) http://www.nimt.or.th/main/?p=31767
GET GET GOT https://www.getgetgot.com/blog/uv-sterilisers-best-for-baby-bottles
ประชาชาติธุรกิจ https://www.prachachat.net/rama-health/news-469601
MGR Online https://mgronline.com/qol/detail/9630000043446
ข่าวสารจุฬาฯ https://www.chula.ac.th/news/44406/

สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่กำลังชั่งใจอยู่ว่าควรซื้อเครื่องอบยูวีหรือไม่  สามารถเข้ามาเลือกชมสินค้าได้ที่ร้าน BabyGift ร้านจำหน่ายสินค้าแม่และเด็กระดับคุณภาพ มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี สามารถมาเยี่ยมชมสินค้าต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องอบยูวีหรือสินค้าอื่นๆ ก็ตาม ทั้งยังสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ร้านเบบี้กิ๊ฟทั้ง 6 สาขา ใกล้บ้าน หรือสอบถามผ่านช่องทาง Online ทีมงาน BabyGift ยินดีให้คำแนะนำค่ะ

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00

บทความแนะนำ

Baby Shower เป็นการจัดงานเลี้ยงฉลองเพื่อรับขวัญทารกที่ใกล้คลอด แขกที่มาร่วมงานส่วนใหญ่จะเป็นญาติและเพื่อนสนิท ซึ่งจะนำของขวัญมามอบให้คุณแม่ เพื่อต้อนรับเจ้าตัวน้อยของครอบครัวนั่นเอง เป็นการแบ่งปันความรักให้กับครอบครัวและเพื่อนๆ เป็นที่นิยมในต่างประเทศ และปัจจุบันคนไทยเริ่มนิยมธรรมเนียมนี้เพิ่มมากขึ้น เริ่มจากการตั้งงบประมาณ ดูจากจำนวนแขกที่เชิญ หาสถานที่ ที่เราและแขกเดินทางสะดวก หรือถ้าบ้านมีบริเวณรับแขกจำนวนเยอะได้ ก็จัดที่บ้านได้เลยค่ะ  เลือกธีมงาน ส่งคำเชิญแบบออนไลน์สะดวกที่สุดค่ะ เตรียมของตกแต่งในงาน เตรียมอาหารและเครื่องดื่ม ตามธรรมเนียมว่าที่คุณแม่ จะมี Registered list ว่าของที่อยากได้มีอะไรบ้าง  ก็จะทำให้คุณแม่ได้ของใช้เบบี๋ได้ตรงกับใจที่ต้องการ และลิสต์ของรับขวัญจะมีตามนี้นะคะ 1. เสื้อผ้าเด็กอ่อน รวมไปถึงถุงมือ ถุงเท้า หมวก ผ้าห่อตัว ผ้าห่ม จัดแบบยกเซตไปเลยรับรองว่าคุณแม่เป็นปลื้มแน่ๆ 2. เก้าอี้ทานข้าว บางคนอาจคิดว่า กว่าจะได้ใช้ต้องรอเด็กโตก่อน ประมาณ 6 เดือนขึ้นไป แต่เอาจริงๆแล้ว แป๊บๆเองนะคะ ได้ใช้ยาวๆจนเด็กโต 3 – 4 ปีได้เลย นะคะ 3. เปลไกว ยิ่งเป็นแบบอัตโนมัติยิ่งดี จะได้ช่วยให้แม่ๆได้พักผ่อนไปพร้อมกับลูกๆ 4. เป้อุ้มเด็ก ไอเทมนี้ไม่ควรพลาด ตัวช่วยคุณแม่ที่คุณพ่อสามารถแบ่งเบาได้ด้วย พ่อใช้ก็ชิลๆ แม่ใช้ก็ชิคๆ […]

ปัจจุบัน คาร์ซีท (Car Seat) หรือ เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ทั้ง คาร์ซีทแรกเกิด คาร์ซีทเด็กโต บูสเตอร์ซีท มีเกณฑ์การทดสอบความปลอดภัยต่างกันและผ่านมาตรฐานมาจากหลายประเทศ แต่ทราบหรือไม่ว่า คาร์ซีทในประเทศไทย มีประกาศจากกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) มาแล้ว ว่าคาร์ซีทจะต้องผลิตหรือนำเข้าเฉพาะคาร์ซีทที่ผ่านการทดสอบความปลอดภัยของยุโรปเท่านั้น  ทั้งนี้ ยังมีประกาศเพิ่มข้อบังคับให้คาร์ซีทต้องผ่านการทดสอบการชนจากด้านข้างด้วย ซึ่งตรงกับข้อบังคับของ มาตรฐานคาร์ซีท R129 (i-Size) เป็นมาตรฐานฉบับใหม่ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่ามีความปลอดภัยสูงสุด  ก่อนคุณพ่อคุณแม่จะตัดสินใจเลือกซื้อคาร์ซีทให้ลูกรัก แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดของ มาตรฐาน ECE R129 (i-Size) มาก่อน ว่าเพิ่มความปลอดภัยจุดไหนบ้าง เราจะพาไปทำความเข้าใจกันเลย  คาร์ซีทในประเทศไทย ใช้มาตรฐานใหม่ ECE R129 (i-Size)  จากเดิม ประกาศมาตรฐานความปลอดภัย (Safety Standards) ของคาร์ซีท จากกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) จะเริ่มบังคับใช้ภายในปี 2566 ให้ผู้ประกอบการที่ทำหรือนำเข้าคาร์ซีท ต้องทำหรือนำเข้าเฉพาะคาร์ซีทที่ผ่านการทดสอบความปลอดภัยตามเกณฑ์มาตรฐาน มอก.3418-2565 โดยอ้างอิงมาจากมาตรฐานสากล ECE R44/04 (มาตรฐานยุโรป) ซึ่งเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศด้านความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก  ล่าสุด กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) […]

แม่ท้องร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย เนื่องฮอร์โมนฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เพิ่มสูงขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ โดยการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนดังกล่าวจะส่งผลให้เส้นเอ็นและข้อต่อเกิดการคลายตัวมากขึ้น รวมทั้งทำให้โครงสร้างภายในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับทารกในครรภ์ หนึ่งในนั้นการเปลี่ยนแปลของร่างกายก็คือสภาพผิวที่แห้งง่าย สีผิวเปลี่ยน คุณแม่บางคนเกิดกระได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงขนาดท้องที่ขยายใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ผิวหนังบริเวณท้อง หน้าอก ต้นขา เกิดการยืดตึงจนเกิดรอยแตก การดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ รวม ITEM ดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ BabyGift คัดสรรคุณภาพ 1. ผลิตภัณฑ์ป้องกันการแตกลาย ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบของคุณแม่ว่าเป็นเนื้อครีมหรือเนื้อเซรั่ม ควรใช้ก่อนที่จะเกิดปัญหาเรื่องผิวแตกลายจะเป็นการดูและผิวได้ดีที่สุด  2. เข็มขัดพยุงครรภ์  รองรับน้ำหนักของครรภ์ที่ขยายใหญ่และมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ที่สำคัญยังช่วยในการบรรเทาอาการปวดหลังของแม่ท้องได้อีกด้วย การเริ่มใช้ขึ้นอยู่กับคุณแม่แต่ละคนเลยว่ารู้สึกหนักหรือหน่วงท้องเมื่อไหร่ 3. คาร์ซีทสำหรับแม่ท้อง   อุปกรณ์เสริมบนรถยนต์ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้แม่ท้องและลูกในครรภ์  คาร์ซีทแม่ท้อง แบรนด์ Tummy Shleid  นวัตกรรมจากประเทศออสเตรเลีย เปลี่ยนจากการที่เข็มขัดนิรภัยรถรัดหน้าท้อง มารัดที่ต้นขาแทน  4. ผลิตภัณฑ์น้ำฆ่าเชื้อธรรมชาติ   แม่ท้องอยู่ในช่วงฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง อาจทำให้ป่วยง่าย ไม่สบายบ่อย ติดเชื้อได้ง่าย การใช้แอลกอฮอล์เป็นอันตรายต่ออวัยวะภายใน การใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อจากธรรมชาติเพิ่มความปลอดภัยได้   5. เครื่องอบ UV   นวัตกรรมการฆ่าเชื้อขั้นสูงด้วยแสงยูวีหรือรังสีอัลตราไวโอเลตที่มีมาตรฐานใกล้เคียงกับการฆ่าเชื้อในวงการแพทย์ สามารถใช้ได้ทั้ง โทรศัพท์มือถือ ของใช้ต่างๆ

เมื่อพี่ตู่เตรียมคาร์ซีท พาน้องริสาออกไปเที่ยวครั้งแรก… แต่มะลิ (แม่บ้าน) ดันถอดเบาะคาร์ซีทไปซักซะงั้น งานนี้พี่ตู่ต้องใส่ผ้าหุ้มกลับเข้าไปเหมือนเดิม เบาะทั้งหมดแบ่งออกเป็น 3 ชิ้น ที่เข้าใจง่ายๆ พี่ตู่บอกว่าง่ายมาก ทำครั้งแรกก็ได้เลย #แท็กสามี #ซักคาร์ซีทให้หน่อย เพราะคุณแม่นุชออกไปทำธุระข้างนอก การพาน้องริสาออกไปเที่ยวครั้งนี้มีแค่สองพ่อลูกเท่านั้น คาร์ซีทจึงจำเป็นมาก พี่ตู่เลือกคาร์ซีท Ailebebe รุ่น  Kurutto 4 Grance ผ้าหุ้มตาข่ายระบายอากาศได้ดี น้องริสานั่งแล้วสบายตัว ไม่อึดอัด ไม่งอแง สบายจังเลย…ปะป๋า ของีบแป๊บบบบนะคะ หมุนได้ 360 องศา อุ้มน้องริสาขึ้นลงคาร์ซีทได้ง่าย คาร์ซีท Ailebebe ปลอดภัยแน่นอน เพราะทุกตัวผ่านการทดสอบอย่างเข้มงวด จากประเทศญี่ปุ่น รีวิวคาร์ซีท Ailebebe รุ่น Kurutto4

หลังจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ กฎหมายคาร์ซีท เกี่ยวกับเด็กที่อายุไม่เกิน 6 ปี หรือสูงไม่เกิน 135 ซม. ผู้ปกครองต้องจัดหาที่นั่งพิเศษให้สำหรับเด็ก หรือนั่งในที่นั่งพิเศษสำหรับเด็ก (คาร์ซีท) เพื่อป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หากไม่ทำตามกฏหมายก็จะถูกปรับ 2,000 บาท โดยจะมีผลบังคับใช้ในอีก 120 วันข้างหน้า ซึ่งตรงกับวันที่ 5 กันยายน 2565 นี้ เมื่อมี กฎหมายคาร์ซีท ออกมาแล้วคุณพ่อคุณแม่หลายท่านก็ต้องมองหาคาร์ซีทให้ลูกอย่างจริงจังเลยใช่ไหมคะ แล้วคาร์ซีทแบบไหนเหมาะสำหรับลูกเรา แบบไหนปลอดภัยกว่า วันนี้ Baby Gift ได้รวบรวมข้อมูลมาให้กับคุณพ่อคุณแม่ได้เตรียมความพร้อมแล้วค่ะ ไปดูกันเลย หลังจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ กฎหมายคาร์ซีท เกี่ยวกับเด็กที่อายุไม่เกิน 6 ปี หรือสูงไม่เกิน 135 ซม. ผู้ปกครองต้องจัดหาที่นั่งพิเศษให้สำหรับเด็ก หรือนั่งในที่นั่งพิเศษสำหรับเด็ก (คาร์ซีท) เพื่อป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หากไม่ทำตามกฏหมายก็จะถูกปรับ 2,000 บาท โดยจะมีผลบังคับใช้ในอีก 120 วันข้างหน้า ซึ่งตรงกับวันที่ 5 กันยายน 2565 […]

โดยปกติแล้วคุณพ่อคุณแม่ที่ซื้อคาร์ซีท รถเข็นเด็กไป จะไม่ค่อยได้คำนึงถึงว่าใช้งานไปนานเท่าไหร่แล้ว แล้วเมื่อไหร่ถึงจะต้องซักทำความสะอาด ฆ่าเชื้อโรค คาร์ซีท รถเข็นเด็ก จนกระทั้งเกิดความสกปรกขึ้น เช่น ฝุ่นควัน นม อาหาร หรือขนมต่างๆ หกใส่เบาะ คราบน้ำลาย คราบอาเจียน ที่ไม่สามารถเช็ดออกได้ เป็นคราบสกปรกเห็นได้ชัด ถึงจะทำความสะอาด แต่รู้ไหมว่ายิ่งทิ้งคราบแบบนั้นไว้นานเท่าไหร่ พวกเชื้อแบคทีเรียต่างๆที่เกิดขึ้นจากการหมักหม่น ก็จะเกิดการสะสมมากขึ้น ส่งผลร้ายต่อเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่มีความบอบบาง แพ้ง่าย ทำให้เกิดโรคต่างๆได้ แนะนำการซักทำความสะอาดคาร์ซีท รถเข็นเด็ก เพื่อยืดอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น ควรซักทำความสะอาดทุกๆ 3-6 เดือน ตามการใช้งาน เพื่อช่วยให้คาร์ซีท รถเข็นเด็ก ของลูกสะอาดพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อย สำหรับการซักทำความสะอาด ปัจจุบันคุณพ่อคุณแม่สามารถส่งซักทำความสะอาดได้จากร้านที่ซื้อสินค้ามา เช่น ร้าน BabyGift ที่รับบริการถึง 3 สาขา ใกล้บ้าน แต่ในช่วงวิกฤตโควิดแบบนี้ ทางเราจึงมีเทคนิคการซักทำความสะอาดด้วยตัวเองมาฝากกันค่ะ วิธีทำความสะอาด คาร์ซีท รถเข็นเด็ก แยกการทำความสะอาดออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือผ้าหุ้มเบาะ […]

Menu
All Categories
All Brands
All Ages
Promotions
Locations
BabyGift Family
BabyGift Care
Parents Guide
News & Event

All Categories

All Categories
All Brands
All Ages