วิธีการ ทำสต๊อกน้ำนมแม่

ทำสต๊อกน้ำนมแม่

เพราะนมแม่ คือสุดยอดอาหารมื้อแรกและเป็นอาหารที่ดีที่สุดของลูกน้อย   คุณแม่ทุกท่านจึงตั้งใจมอบคุณค่าน้ำนมแม่นี้ให้แก่ลูกรักได้นานที่สุดและมากที่สุดเท่าที่จะทำได้  โดยส่วนใหญ่มักจะเตรียมพร้อมตั้งแต่ตั้งครรภ์ และหลังคลอดก็ให้นมแม่จากเต้าทันทีและเต็มที่  และเชื่อว่าคุณแม่ทุกคนยอ่มวางแผนที่จะ ทำสต๊อกน้ำนมแม่ เพื่อให้ลูกได้กินนมแม่ในช่วงที่ต้องไปทำงาน และมีน้ำนมเก็บไว้ให้ลูกได้กินต่อเนื่องยาวนาน

แต่การ ทำสต๊อกน้ำนมแม่ นอกจากคุณแม่ต้องมีวินัยในการปั๊มนมสม่ำเสมอทุกๆ 2-3 ชั่วโมงอย่างต่อเนื่องแล้ว  คุณแม่จำเป็นเรียนรู้ข้อมูลและอุปกรณ์ต่างๆ ในการเก็บน้ำนมแม่ เพื่อให้น้ำนมแม่ที่นำมาให้ลูกกินในภายหน้ายังมีคุณค่าครบถ้วนเต็มที่  ให้ลูกรักมีพัฒนาการดีทุกด้าน  เก่ง ฉลาด และสุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ

ฉะนั้นมาดูกันว่า วิธีการทำสต๊อกน้ำนมแม่ต้องทำอย่างไร

อุปกรณ์ ทำสต๊อกน้ำนมแม่

ทำสต๊อกน้ำนมแม่

เครื่องปั๊มนม 

เป็นผู้ช่วยสำคัญที่ทำให้คุณแม่ได้ปั๊มนมเก็บไว้ และกระตุ้นให้น้ำนมมาได้มากอย่างต่อเนื่อง และสามารถปั๊มนมแม่ได้ ตั้งแต่ที่บ้านไปจนถึงเมื่อต้องกลับไปทำงาน ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องปั๊มนมให้เลือกมากมาย หาซื้อได้ง่ายทั้งทางออนไลน์และห้างสรรพสินค้าต่างๆ

โดยคุณแม่ควรพิถีพิถันหาข้อมูล และเลือกซื้อเครื่องปั๊มนมที่ถูกใจ เหมาะสมกับชีวิตประจำวัน รวมถึงการใช้งานเมื่อต้องไปทำงานนอกบ้านหรือออกข้างนอก เช่น คุณแม่ที่ต้องทำงานนอกบ้าน กับคุณแม่ที่อยู่บ้านเลี้ยงลูก อาจจะต้องเลือกเครื่องปั๊มนมที่ให้ความสะดวก และมีระบบการทำงานที่แตกต่างกันนั่นเอง

เครื่องปั๊มนมยุคใหม่ ก็มีให้คุณแม่ได้เลือกมากมายหลายแบบ หลายการใช้งานและหลายราคา อาทิ เครื่องปั๊มนมชนิดปั๊มมือ  เครื่องปั๊มนมชนิดใช้แบตเตอรี่ และ เครื่องปั๊มนมชนิดใช้ไฟฟ้า  แถมยังมีทั้งแบบที่ปั๊มนมเดี่ยวข้างเดียว แบบปั๊มนมได้คู่พร้อมกันสองข้าง รวมถึงสามารถชาร์จไฟจากพาวเวอร์ได้อีกด้วย สิ่งสำคัญคือการเลือกเครื่องปั๊มนมที่ได้มาตรฐาน มีแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับหรือได้รับความนิยมจากคุณแม่ทั่วไป ราคาเหมาะสม และใช้งานได้สะดวกในแบบของคุณแม่และครอบครัว

ทำสต๊อกน้ำนมแม่

ถุงเก็บน้ำนม 

จำเป็นต้องมีเพื่อเก็บน้ำนมที่คุณแม่ปั๊มไว้มาเก็บแช่ไว้ในตู้เย็น โดยถุงเก็บน้ำนมที่ดีควรทำจากวัสดุที่ปลอดภัยในเกรดบรรจุอาหาร(Food Grade) ไม่มีสารและสีอันตราย เช่น ปราศจาก BPA ใช้สีเกรดอาหาร อาจเป็นถุงซิปล็อก 2 ชั้น ที่มีการซีลขอบข้างหนาพิเศษ ป้องกันการรั่วซึม คงทนแข็งแรงไม่ฉีกขาดง่าย สะอาดผ่านการฆ่าเชื้อ มีช่องหรือฉลากที่ให้คุณแม่สามารถเขียนวันและเวลาในการเก็บน้ำนมได้ในแบบที่หมึกไม่เลอะเลือนหรือจางหายไปได้ง่ายๆ

ยิ่งเป็นถุงเก็บน้ำนมที่ผ่านการรับรองมาตรฐานทั้งจากสากลและกระทรวงสาธารณสุขประเทศไทยได้ยิ่งดี

ทำสต๊อกน้ำนมแม่

ขวดนม จุกนม 

เช่นเดียวกับการเลือกถุงเก็บน้ำนม คือต้องสะอาดปลอดภัย ผลิตจากวัสดุปลอดภัยเกรดอาหาร ไม่มีสารเคมีหรือวัสดุที่อันตรายหรือสะสมสารปนเปื้อน  ทนความร้อน  เลือกขนาดที่เหมาะกับการกินของลูกน้อย รวมถึงขนาดจุกนมที่ให้ลูกดูดก็ต้องเหมาะสมด้วย เช่น ลูกวัยทารกต้องใช้จุกนมไซส์ S และเปลี่ยนขนาดไซส์ขวดนมและจุกนมตามวัยที่ลูกโตขึ้น

ทำสต๊อกน้ำนมแม่

อุปกรณ์ทำความสะอาด 

ได้แก่ น้ำยาล้างขวดนมจุกนม ที่ต้องเลือกที่มีส่วนผสมอ่อนโยน ปลอดภัย จากธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดการแพ้หรือระคายเคือง  ไม่มีสารตกค้างที่เป็นอันตราย   รวมถึง ควรเตรียม แปรงล้างขวดนมและจุกนม ไว้ด้วย

ทำสต๊อกน้ำนมแม่

เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อขวดนม

เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยคุณแม่ฆ่าเชื้อหลังจากทำความสะอาดล้างขวดนมแล้ว ให้ปราศจากเชื้อได้หมดจดมากยิ่งขึ้น  ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องนึ่งขวดนมให้เลือกมากมาย ใช้งานได้สะดวกหลายฟังก์ชั่น  มีทั้งแบบนึ่งด้วยไอน้ำ อบด้วยแสงยูวี และอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถนึ่งหรือฆ่าเชื้ออุปกรณ์ของใช้อื่นๆ ของลูกได้ด้วย โดยคุณแม่สามารถเลือกซื้อหาได้ในร้านขายอุปกรณ์ของใช้สำหรับลูกน้อยชั้นนำได้ทันที

ทำสต๊อกน้ำนมแม่

แผ่นซับน้ำนม

จำเป็นสำหรับคุณแม่เวลาใส่เสื้อผ้า เพราะหากไม่มีแผ่นซับน้ำนมไว้ น้ำนมแม่อาจจะซึมออกมาเลือกเสื้อชั้นในและเสื้อผ้าได้

ทำสต๊อกน้ำนมแม่

วิธีการ ทำสต๊อกน้ำนมแม่

  1. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนปั๊มนม หรือเตรียมนมให้ลูกกิน
  2. เตรียมภาชนะเก็บนมที่สะอาด มีฝาปิดมิดชิด เช่น ขวดนม ถุงเก็บน้ำนม  ไม่ใส่ขวดหรือถุงพลาสติกเก็บอาหารทั่วไป
  3. ปั๊มน้ำนมแม่เก็บไว้ในถุงเก็บน้ำนม หรือขวดนม เสร็จแล้วล้างมือ และล้างอุปกรณ์ปั๊มนมให้สะอาดทุกชิ้น  ไม่ควรเทนมที่เพิ่งปั๊มใหม่ ไปรวมกับนมเก่าที่แช่แข็งไว้แล้ว  ควรแยกไว้ในแต่ละครั้งอย่างชัดเจน
  4. อย่าลืมเขียน วันที่ และเวลาในการเก็บนมไว้ที่ข้างถุงเก็บน้ำนมเสมอ
  5. เก็บนมแม่ที่ปั๊มไว้ ทำสต๊อกในตู้เย็น โดยนำถุงเก็บน้ำนมที่เขียนวันเวลาแล้ว แช่ไว้ในช่องแช่แข็งหรือช่องฟรีซ หรือหากเก็บไว้ช่องแช่แข็งธรรมดาก็สามารถทำได้  แต่จะมีระยะเวลาการเก็บที่จำกัด และควรนำมาใช้อย่างเหมาะสมดังนี้
การเก็บสต๊อกน้ำนมแม่ ระยะเวลาที่เก็บได้
ตั้งทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง ไม่เข้าตู้เย็น เก็บได้ 1 ชั่วโมง
ตั้งทิ้งไว้ในห้องปรับอากาศ  (ไม่เข้าตู้เย็น) เก็บได้ 4 ชั่วโมง
กระติกน้ำแข็งที่มีน้ำแข็งตลอดเวลา เก็บได้ 1 วัน
ใส่ตู้เย็น ชั้นธรรมดา เก็บได้ 3-5 วัน
ตู้เย็นแบบ 1 ประตู ในช่องแช่แข็ง เก็บได้ 1-2 สัปดาห์
ตู้เย็นแบบ 2 ประตู  ในช่องแช่แข็ง เก็บได้ 3-6 เดือน
ตู้แช่เย็นจัด (-20 องศาเซลเซียส) เก็บได้ 6-12 เดือน

ระวัง *ไม่เก็บน้ำนมแม่บริเวณประตูตู้เย็นเพราะความเย็นจะไม่คงที่ ทำให้นมแม่เสียได้ง่าย

เมื่อคุณแม่ได้เรียนรู้วิธีการทำสต๊อกน้ำนมแม่ที่ถูกต้อง และการละลายนมสต๊อกก่อนให้ลูกกินแล้ว เชื่อว่าลูกน้อยของคุณแม่จะเติบโต แข็งแรง เก่ง ฉลาด มีสุขภาพและพัฒนาการที่ดีเยี่ยมเต็มที่  ด้วยเพราะได้พลังจากน้ำนมแม่ที่คุณแม่ทุ่มเททำสต๊อกเก็บไว้นี้นั่นเอง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

code