ประสบการณ์จริง คุณพ่อลูกสอง รถคว่ำอุบัติเหตุที่รุนแรงที่สุดในชีวิต

ความเชื่อแรกที่ต้องมี..คาร์ซีทคือสิ่งสำคัญ

เคยคิดไหมว่าถ้าวันหนึ่งคุณขับรถประสบอุบัติเหตุจนทำให้ลูกน้อยๆ ของคุณได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต คุณจะใช้ชีวิตต่อไปยังไง??

ผมถือว่าผมเป็นคนที่โชคดีคนหนึ่งที่ได้รับการปลูกฝังให้เห็นความสำคัญของคาร์ซีทสำหรับเด็กๆ ทั้งจากคุณหมอประจำตัวลูกๆ พี่สาว ภรรยา ตลอดจนเพื่อนๆของผมและภรรยาที่เคยมีลูกมาก่อน ที่พร่ำสอนว่า ต้องให้เด็กนั่งคาร์ซีททุกครั้งที่ขึ้นรถนะ…

  • การฝึกและมีวินัยในการฝึกลูกเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก

ทุกครั้งที่ผมเดินทางไม่ว่าจะใกล้หรือไกล ผมกับภรรยาจะให้ลูกๆนั่งคาร์ซีทตลอดเวลา ถึงแม้ช่วงแรกๆ (รวมถึงช่วงหลังๆด้วยบางเวลา) เค้าจะร้องไห้ฟูมฟายก็ตาม เราก็ต้องใจแข็งปล่อยให้ร้องไห้ไป เพราะถือคติว่า “safety first” พอนานๆเข้า เด็กๆก็จะเริ่มรู้เงื่อนไขเองว่า ถ้าไม่นั่งบนคาร์ซีทจะไม่ได้ขึ้นรถไปด้วย แม้แต่วันแรกที่พาลูกออกจากโรงพยาบาลหลังคลอด ผมและภรรยาก็ให้ลูกน้อยนั่งคาร์ซีทสำหรับเด็กแรกเกิด

…เชื่อว่าพ่อแม่หลายคนมักจะใจอ่อน และมักจะคิดว่านิดหน่อยคงไม่เป็นอะไร แต่อย่าลืมว่าอุบัติเหตุมันเกิดขึ้นได้ทุกวินาทีจริงๆ แข็งใจปล่อยให้ลูกร้องไห้ ดีกว่าไม่มีโอกาสให้เขาได้ร้องไห้นะครับ…

  • การเลือกคาร์ซีทตามช่วงวัยของลูกน้อยเพื่อความเหมาะสมและปลอดภัยสูงสุด

กระนั้นก็ดี ด้วยความที่คาร์ซีทยี่ห้อดีๆมักจะมีราคาสูง(มาก) เดิมทีผมมีลูกชายคนเดียวก็มีสำหรับเด็กแรกเกิดถึงสองขวบ ต่อมาพอน้องปัณณ์โตขึ้นก็กัดฟันควักกระเป๋าซื้อสำหรับเด็ก 1-5 ขวบ มาอีกตัว จากนั้นพอผมมีน้องปุณณ์ ลูกสาวอีกคนที่อายุย่างเข้า 9 เดือน ภรรยาก็อยากได้ คาร์ซีทที่แข็งแรงๆ อีกอันไว้ให้น้องปัณณ์นั่ง ส่วนน้องปุณณ์จะขยับมานั่งอันที่สองแทน ผมก็คัดค้านเพราะเห็นว่าสิ้นเปลือง อันแรกยังใช้ได้อยู่เลย… แต่สุดท้ายก็ทนไม่ไหว ยอมควักเงินอีกสองหมื่นกว่าซื้อมาอีกตัวอย่างเสียไม่ได้

  • ประสบการณ์จริงอุบัติเหตุที่รุนแรงแต่ลูกน้อยปลอดภัยเมื่อนั่งคาร์ซีท

หลังจากซื้อมาได้เพียงเดือนเดียว เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันและร้ายแรงที่สุดในชีวิตผมก็เกิดขึ้นจนได้ ผมกับครอบครัวเดินทางไป กทม. โดยลูกชายผมนั่งคาร์ซีทตัวใหม่อยู่ด้านข้างคนขับ (ขยับเบาะให้ไกลจาก console หน้ารถเท่าที่จะทำได้ด้วยนะครับ) ลูกสาวนั่งบนคาร์ซีทตรงกลางเบาะคนนั่ง หันหลังให้กับถนน โดยมีภรรยาและพี่เลี้ยงนั่งขนาบข้าง ระหว่างทางกลับโคราชบนถนนมิตรภาพใกล้ถึงสระบุรี รถผมเกิดพลิกคว่ำข้ามเลนไปฝั่งขาเข้ากรุงเทพ ชนรถยนต์คันอื่นๆ อีก 4 คัน…สภาพก็อย่างที่เห็นครับ ภรรยาผมกระดูกต้นคอหัก นิ้วมือหัก 3 นิ้ว พี่เลี้ยงกล้ามเนื้ออักเสบไปทั้งตัว…แต่น้องปัณณ์ อายุ 2 ขวบ 5 เดือน น้องปุณณ์ อายุ 10 เดือน กลับไม่มีแม้แต่แผลถลอก!! หลายๆคนบอกว่าเพราะเด็กมีแม่ซื้อแม่กำเนิดคอยปกป้อง…แต่สำหรับผม เจ้าคาร์ซีทที่ภรรยาผมคะยั้นคะยอนักหนาให้ผมซื้อมานี่แหละ ที่ทำให้ลูกน้อยผมยังมีลมหายใจอยู่ได้ในตอนนี้ และตอนนี้เจ้าคาร์ซีททั้งสองอัน ยังไม่บุบสลาย ยังคงอยู่เพื่อทำหน้าที่ปกป้องลูกน้อยทั้งสองคนอยู่ต่อไป (ยี่ห้ออะไรก็ดูเอาเอง เดี๋ยวหาว่าโฆษณาแฝง ฮาาา)

*** แก้ไขข้อมูลครับว่า คาร์ซีทที่ประสบอุบัติเหตุแล้วไม่ควรเอามาใช้ต่อครับ และมีหลายท่านแจ้งมาด้วยว่าคาร์ซีทบางยี่ห้อ เค้าเปลี่ยนตัวใหม่ให้ฟรีกรณีเกิดอุบัติเหตุครับ

  • บทสรุปเพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้กับคุณพ่อคุณแม่ทุกท่าน

ถ้าตอนนั้นผมดื้อรั้นไม่ซื้อเพราะเพียงเหตุผลว่า “แพง เดี๋ยวค่อยซื้อก็ได้” ตอนนี้ผมอาจจะไม่มีโอกาสได้กอดลูกผมคนใดคนนึงก็ได้ …เงินสองสามหมื่น ก็ไม่ใช่เงินน้อยๆ แต่เมื่อเทียบกับชีวิตลูกทั้งชีวิตแล้ว คงไม่ต้องพูดต่อกระมังว่ามันคุ้มค่าแค่ไหน… แค่คิดว่าผมเป็นคนขับรถจนเกิดอุบัติเหตุ แถมยังไม่ยอมซื้อ คาร์ซีทจนต้องสูญเสียลูกไป ผมยังคิดไม่ออกเลยว่าผมจะดำรงชีวิตต่อไปอย่างไร….

หวังว่าบทเรียนบทนี้จะเป็นอุทาหรณ์ให้คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเล็กๆ รวมถึงคนที่กำลังจะได้เป็นพ่อแม่คน ให้คำนึงถึงความปลอดภัยของลูกน้อยให้มากๆ เงินเพียงสองสามหมื่นบาท แต่เมื่อเทียบกับชีวิตลูกทั้งชีวิตแล้ว ต่อให้ผมยากจนกว่านี้ ผมก็ยังยืนยันที่จะกัดฟันซื้อมาใช้อยู่เช่นเดิม…หากจะคำนวณเป็นตัวเงินง่ายๆ คาร์ซีทราคาอย่างสูง 3 หมื่นบาท ใช้ได้อย่างต่ำสำหรับช่วงอายุ 3 ปี ตกเฉลี่ยเพียงวันละประมาณ 27 บาท… อย่าคิดว่าอุบัติเหตุเป็นเรื่องไกลตัว อย่าคิดว่าการอุ้มลูกบนรถจะปกป้องลูกได้ดีที่สุด เพราะหากเกิดเหตุขึ้นแล้วไม่มีใครที่มีสติดีพอที่จะคอยปกป้องลูกได้หรอกครับ…!!!

สรุปคือ

  1. อย่าคิดว่าแพง หากพอที่จะซื้อได้จงซื้อซะ
  2. ซื้อมาแล้วอย่าใจอ่อน เด็กร้องไห้แน่ๆ แต่คิดว่าเสมอว่า safety first
  3. อย่าคิดว่าขับรถใกล้ๆ ขับช้าๆ คงไม่เป็นไร เพราะหากรถชนขึ้นมามันมีแรงกระแทกมากพอที่จะทำให้เด็กเล็กๆ ได้รับอันตรายได้
  4. ศึกษาและติดตั้งให้ถูกวิธีนะครับ (เห็นบางคนจับลูกนั่ง car seat จริง แต่ไม่คาดสายรัดเด็กเลย มันจะมีประโยชน์อะไร!)

สำหรับในกรณีนี้ทาง เบบี้ กิ๊ฟ ได้จัดเปลี่ยนคาร์ซีทใหม่ให้กับครอบครัวลูกค้า เพราะคาร์ซีทที่ผ่านการเกิดอุบัติเหตุหนักมาแล้วนั้นไม่ควรนำกลับมาใช้อีกเพราะความแข็งแรงและความปลอดภัยจะต่ำลงไม่สามารถใช้ปกป้องในการเกิดอุบัติเหตุครั้งต่อไปได้อีก

ขอบคุณประสบการณ์อุบัติเหตุในครั้งนี้ ที่คุณพ่อได้นำมาเผยแพร่เพื่อเป็น อุทาหรณ์ให้กับคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านค่ะ

Cradit Facebook : Wiroon Jintanakul

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00

บทความแนะนำ

บ้านไหน ? กำลังวางแผนซื้อรถเข็นให้ลูกอยู่บ้างเอ่ยยย พ่อแม่หลายคนถาม หมอแอม เข้ามากันเยอะมาๆๆ ว่าเวลาซื้อรถเข็นให้ลูกควรดูเรื่องอะไรบ้าง เลือกรถเข็นให้ลูกยังไง? ให้เหมาะกับสถานการณ์โควิด และสภาพแดดบ้านเราแบบนี้ ?? วันนี้ หมอแอม มีหลักการเลือกรถเข็นเด็ก ง่ายๆ สไตล์คุณหมอมาฝากกันค่ะ จะมีเคล็ดลับอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ                    ตั้งแต่ปี 2019 จนถึงช่วงนี้ที่มีสถานการณ์โควิดระบาด และคิดว่าน่าจะอยู่กับเราไปอีกสักพัก  เด็กเล็ก 0-2 ขวบที่ยังใส่แมสก์เหมือนผู้ใหญ่ไม่ได้ คำแนะนำของสมาคมกุมารแพทย์สหรัฐอเมริกา และกรมอนามัย คือ แนะนำว่าเด็กเล็กๆให้หาผ้าคลุม หรือใช้รถเข็นเด็กแล้วคลุมผ้าไว้แทนการใส่แมสก์ได้ค่ะ  ทีนี้จะเลือกรถเข็นยังไงล่ะ? ให้เหมาะกับลูก เหมาะกับบ้านเรา และเหมาะกับสถานการณ์โควิด หรือสารพัดโรคระบาดของเด็กเล็กได้ วันนี้หมอแอมมีหลักการเลือกรถเข็นเด็กมาฝากค่ะ หลักการเลือกรถเข็นเด็ก 5 ข้อ เพจเรื่องเด็กๆ by หมอแอม 1) อันดับแรกที่ หมอแอม ดู คือ โครงสร้างต้องแข็งแรง และมีระบบลดการสั่นสะเทือน […]

คาร์ซีท ( Car Seat ) หนึ่งในอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัยให้กับเด็ก สำหรับการเดินทางด้วยรถยนต์ ที่พ่อแม่ทุกคนควรให้ความสำคัญ ควรเตรียมไว้ให้กับลูกตั้งแต่ก่อนคลอด เพราะในความเป็นจริง เราควรใช้คาร์ซีทตั้งแต่วันแรกที่พาลูกออกจากโรงพยาบาล เพื่อป้องกันเหตุไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินทาง นอกจากนี้ร่างกายของเด็กในช่วงแรกเกิดก็ยังมีความบอบบางจึงต้องใส่ใจและได้รับการดูแลเป็นพิเศษ คาร์ซีทก็มีหลากหลายแบบ หลายประเภท ( อ่านบทความประเภทของคาร์ซีท Click ) แต่วันนี้ที่อยากจะชวนพ่อแม่ทุกคนมาดูกันคือ คาร์ซีทแรกเกิดหมุนได้ 360 องศา ที่ถือว่าเป็นหนึ่งในคาร์ซีที่นิยมใช้เป็นอย่างมาก เพราะมีทั้งความปลอดภัย และมีความสะดวกสบายต่อการใช้งานเป็นอย่างมาก 4 เหตุผล ทำไมควรใช้คาร์ซีทหมุนได้ คาร์ซีทหมุนได้ เลือกแบบไหนดี การใช้คาร์ซีทให้ปลอดภัย คาร์ซีทหมุนได้ 7 รุ่น น่าใช้ โดนใจแม่ ประจำปี 2024 Ailebebe รุ่น Kurutto R The First จุดเด่น  การใช้งาน : เด็กแรกเกิดความสูง 40-100 cm. หรือ อายุ 0- 4 ปี  การติดตั้ง : ระบบ ISOFIX  แบรนด์ : ประเทศญี่ปุ่น  Ailebebe รุ่น Kurutto R […]

รถเข็นเด็ก Aprica รุ่น Optia สำหรับเด็กแรกเกิด – 3 ปี หรือน้ำหนัก 2.5 – 15 kg เพื่อความสุขแบบ Double ประสบการณ์ใหม่ในการเดินทางที่สบายกว่าช่วยให้การเดินทางสำหรับคุณแม่และลูกน้อยเป็นเรื่องง่าย สะดวก สบาย ด้วยนวัตกรรมที่เหนือกว่า Function 1 : ลดแรงสั่นสะเทือนแบบ Double ด้วยระบบรองรับแรงกระแทกถึง 2 จุดระบบรองรับแรงกระแทกใต้ที่นั่ง และระบบรองรับแรงกระแทกที่ล้อ ช่วยลดแรงสั่นสะเทือนได้ถึง 40% Function 2 : ระบายอากาศแบบ Double ด้วยเบาะรองนอน Silky Air และผ้าระบายอากาศทุกชั้นเบาะรองนอน ถักทอด้วยเส้นใย Silky Air มีความอ่อนนุ่ม ระบายอากาศได้ดี ให้ความรู้สึกเบาสบายเมื่อสัมผัสกับผิวที่บอบบางของทารก Function 3 : ลดความอับชื้นแบบ Double ด้วยระบบ DoubleThermo Medical Sysem ช่วยระบายอากาศให้ความรู้สึกสบายตัวแผ่นฉนวนกันความร้อนพิเศษด้านหลัง ลดความร้อนสะสมบริเวณหลัง และลดอุณหภูมิของร่างกายลูกน้อยในขณะหลับได้ดี Function […]

แน่นอนว่าคุณแม่ทุกบ้านจะต้องตื่นเต้นกับการทานข้าวมื้อแรกของลูก แต่นอกจากความตื่นเต้นแล้ว การฝึกลูกน้อยให้มีวินัยในการรับประทานอาหารก็ถือเป็นงานหินชิ้นนึงเลยล่ะค่ะ สำหรับคุณแม่ๆ บ้านไหนที่กำลังหาวิธีฝึกลูกน้อยให้คุ้นชินกับการทานข้าวอยู่ล่ะก็ มาดูกันดีกว่าว่าเรามีวิธีดีๆ อะไรมาฝากกันบ้าง ฝึกลูกหม่ำข้าวด้วยวิธีง่ายๆ ไม่ต้องบังคับ 1. นั่งโต๊ะและเริ่มทานข้าวพร้อมกัน  อย่างที่เรารู้ๆ กันอยู่ว่าเด็กมักจะชอบเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ นั่นแหละค่ะ เราลองเอาเรื่องนี้มาเป็นตัวช่วยกันดีกว่า เพราะงั้นเวลาเราทานข้าว เราก็ควรให้ลูกน้อยของเรานั่งร่วมโต๊ะอาหารด้วยเนอะ ให้เค้าเห็นว่าทุกคนมีความสุขในการรับประทานอาหาร เห็นเวลาเรานำช้อนเข้าปาก ให้เค้ารู้ว่าการทานข้าวเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนทำ และเค้าก็ต้องทำด้วยเหมือนกัน แม้ตอนแรกอาจจะมีร้องงอแงบ้าง แต่ก็อย่าไปยอมแพ้ค่ะ ทำบ่อยๆ ทำให้เป็นกิจวัตร เดี๋ยวเค้าก็จะชินไปเอง 2. ทานอาหารให้เป็นเวลา  คุณแม่บางบ้านอาจจะยุ่งหัวหมุนกับทั้งงานประจำและงานบ้านจนเผลอไม่ได้ทานข้าว อ๊ะๆ ถ้าคุณแม่กำลังเป็น Working Woman แบบนี้อยู่ เราขอให้คุณแม่วางงานซักนิด แล้วมาทานข้าวกับลูกน้อยเมื่อถึงเวลา เพราะเราควรฝึกให้เค้าคุ้นเคยกับเวลาที่ต้องทานอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาหารเช้า กลางวัน เย็น คุณแม่ก็ควรจะให้เค้าทานเวลาเดิมๆ นอกจากจะสร้างนิสัยให้เค้าแล้ว ยังเป็นการปรับระบบย่อยอาหารภายในร่างกายของลูกน้อยอีกด้วยน้า ถ้าเค้าคุ้นเคยกับเวลาแล้ว ทีนี้ล่ะ ไม่ต้องเรียกเลย พอถึงเวลาเค้าก็จะหิวขึ้นมาเอง 3. เปลี่ยนเมนูอาหารให้หลากหลาย  เด็กหลายๆ คนเบื่อข้าว อมข้าว เพราะอาจจะเป็นเรื่องของรสชาติที่ไม่ถูกปาก หรือเมนูอาจจะซ้ำซากจำเจจนเกินไป การเปลี่ยนเมนูอาหารให้หลากหลายเนี่ย นอกจากจะช่วยให้ลูกได้รับสารอาหารครบถ้วนแล้ว ยังทำให้เค้าเพลิดเพลินไปกับเมนูใหม่ๆ ด้วยนะ […]

เพราะแม่แต่ละคนมีความเป็นตัวของตัวเองที่แตกต่าง Aprica จึงสรรสร้างนวัตกรรมที่รองรับทุกความต้องการด้วยรถเข็นเด็กหลากหลายรุ่นเพื่อตอบโจทย์ที่ไม่เหมือนกัน แล้วรถเข็นเด็ก Aprica รุ่นไหน เหมาะกับคุณไปดูกันเลย แม่ที่ใส่ใจทุกรายละเอียด ทุ่มเททุกความสุขเพื่อลูกและคนในครอบครัวเป็นสำคัญ ถ้าคำว่า “ที่สุด” คือนิยามของรถเข็นเด็กที่ดีที่สุดสำหรับลูก คือคำตอบเดียวที่คุณต้องการ รถเข็นเด็ก Aprica โดดเด่นในเรื่องนวัตกรรมใหม่ล่าสุดมอบความสบาย นุ่มนวล ปกป้องลูกน้อยแบบ 360 องศา ใส่ใจในสุขภาพและเสริมสร้างพัฒนาการ เพื่อเทวดานางฟ้าตัวน้อย รถเข็นเด็ก Aprica รุ่น Optia รถเข็นเด็ก Aprica รุ่น Soraria Magic basket คุณแม่ทรงพลัง คล่องแคล่ว ขี้เล่น ถ้าคุณและลูกน้อยต้องการความคล่องตัว พร้อมทุกสถานการณ์ รถเข็นเด็กน้ำหนักเบาแต่ครบทุกฟังชันท์ที่เหนือกว่า พร้อมเติมความคล่องตัวด้วยการใช้รถเข็นสลับกับเป้อุ้มเด็กได้ง่าย เป็นตัวช่วยที่ดี ไม่ว่าสถานการณ์ไหนๆ คุณแม่ก็พร้อม รถเข็นเด็ก Aprica รุ่น Luxuna CTS รถเข็นเด็ก Aprica รุ่น Luxuna Light คุณแม่เด็กแนว กิ๊บเก๋ทันสมัย ไม่ชอบตามใคร สนใจทางเลือกใหม่ๆ รักอิสระและความแปลกใหม่ รถเข็นเด็ก แบบ 3 ล้อเท่ห์ๆ ไม่เหมือนใครที่ผสมผสานทุกฟังก์ชั่นอย่างลงตัว และที่โดนใจยิ่งกว่าคือ ความแข็งแรง ทนทาน ไม่ว่าจะไปไหนก็พร้อมลุยทุกสภาพพื้นผิว ใช้ง่ายพับกางสะดวกและขนาดกระทัดรัด […]

ว่าที่คุณแม่มือใหม่หลายคนคงจะปวดหัวไม่น้อย ว่าลูกน้อยของเราควรจะหนุน หมอนทารก นอนหรือไม่ แล้ว หมอนหัวทุย จำเป็นไหม กดมือถือหาข้อมูลทีไรก็หาข้อสรุปไม่ได้เสียที ไม่ต้องกังวลไปค่ะ วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจให้หายสงสัยกันค่า หมอนทารก ทารกควรหนุนหรือไม่ คำแนะนำจากกุมารแพทย์ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยกล่าวว่า ท่านอนที่ดีและปลอดภัยสำหรับทารกที่สุดก็คือ การนอนหงายโดยไม่หนุนอะไรทั้งสิ้น เพราะสรีระของกะโหลกศีรษะของทารก ซึ่งจะมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว ทำให้พอดีในการนอนแล้วถึงแม้จะนอนหงาย และนอกจากนี้จะต้องไม่มีสิ่งของอื่นๆ เช่น ผ้าห่ม ตุ๊กตา ของเล่น ฯลฯ อยู่บนเตียงขณะลูกน้อยนอนหลับ เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุจากการนอน หรือโรคไหลตายในทารก (SIDS) ซึ่งเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตเด็กๆ มากมายทั่วโลก และโรคนี้มักจะเกิดกับเด็กอายุไม่เกิน 4 เดือนมากที่สุด โดยที่เด็กยังแข็งแรงดีอีกด้วย แม้ปัจจุบันจะยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่หนึ่งในปัจจัยที่ชัดเจนและกระตุ้นให้เกิดการเสียชีวิตคือการที่มีผ้า วัตถุนุ่มๆ หรือการใช้ที่นอนที่อ่อนยวบเกินไป ไปอุดกั้นทางเดินหายใจของลูก จากการที่ลูกเกิดพลิกตัวนอนคว่ำ หรือคว้าวัตถุเหล่านั้นมาโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งเด็กยังเล็กเกินไปที่จะชันคอหรือพลิกตัวกลับได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ทารกจึงยังไม่จำเป็นต้องใช้หมอนหนุนนอนจนกว่าจะเข้าสู่วัยเตาะแตะหรือ 18 เดือนขึ้นไป หรือช้ากว่านั้นได้ยิ่งดีค่ะ กลัวลูกหัวแบน ทำไงดี อีกหนึ่งความกังวลใหญ่ของบรรดาแม่ๆ คือ กลัวลูกหัวแบน เพราะต้องนอนหงายตลอดเวลา ปัจจุบันจึงได้มีการผลิตคิดค้นหมอนหนุนสำหรับทารกเพื่อป้องกันหัวแบน และลูกน้อยยังคงนอนหงายได้ด้วย แต่ทั้งนี้คุณหมอและผู้เชี่ยวชาญก็ยังไม่แนะนำให้ใช้หมอนหนุนมากนัก เพราะหากใช้หมอนที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีคุณภาพ […]

Menu
All Categories
All Brands
All Ages
Promotions
Locations
BabyGift Family
BabyGift Care
Parents Guide
News & Event

All Categories

All Categories
All Brands
All Ages