BLW ฝึกลูกกินข้าวเอง ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

 ฝึกลูกกินข้าวเอง หรือคำที่คุ้นหูกันในปัจจุบันอย่าง BLW (Baby Led Weaning) คือวิธีการที่ให้ลูกรู้จักหยิบอาหารกินเอง โดยอาหารจะไม่ใช่พวกอาหารปั่น อาหารบด แต่เป็นอาหารที่หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ มีความนุ่ม และหยิบจับได้ วิธีการนี้จะทำให้ลูกได้รู้จักและคุ้นเคยกับอาหารที่เป็นของแข็งมากยิ่งขึ้น โดยวิธีนี้เหมาะกับเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป และสามารถนั่งได้เอง โดยที่ไม่ต้องมีคนช่วย

ฝึกลูกกินข้าวเอง มีประโยชน์อย่างไร

          การให้ลูกกินข้าวเองนั้น นอกจากจะช่วยให้ลูกรู้จักอาหารที่เป็นของแข็งมากขึ้นแล้ว ยังมีส่วนในการช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย และด้านความคิดอีกด้วย

1. สร้างทัศนคติที่ดีต่อการกินของลูก 

          ฝึกให้ลูกกินข้าวเอง ช่วยให้ลูกมีความสุขกับการทานอาหารมากยิ่งขึ้น เพราะลูกได้สนุกกับการกิน สนุกกับการเลียนแบบท่าทางระหว่างการกินอาหาร ทำให้ไม่ต้องคอยหลอกล่อให้ลูกกินข้าว

2. ฝึกพัฒนาการการใช้กล้ามเนื้อมือ

          การให้ลูกได้หยิบจับอาหาร ทำให้ได้ฝึกการใช้แรงของมือ แรกๆอาหารอาจจะมีร่วงหล่นจากมือบ้าง หรืออาหารเละคามือบ้าง แต่ก็เป็นการให้ลูกได้ฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อมือและน้ำหนักของมือ

3. ฝึกพัฒนาการการเคี้ยวและความคิด

          เมื่อลูกหยิบจับอาหารเป็นชิ้นเป็นอัน กะน้ำหนักแรงมือได้แล้ว ลูกจะต้องนำอาหารเข้าปาก แรกๆลูกอาจจะกะขนาดของอาหารที่นำเข้าปากไม่ได้ อาจมีบางครั้งที่ชิ้นใหญ่เกินไป หรือเข้าปากแล้วเคี้ยวไม่ละเอียดจนทำให้สำลักได้ แต่ก็เป็นการฝึกลูกให้รู้จักคิดเป็น ไตร่ตรองจากประสบการณ์จริง มีการเรียงลำดับของเหตุการณ์เป็นขั้นตอน ทำให้ส่งเสริมพัฒนาการความคิดมากขึ้น

4. ลูกช่วยเหลือตัวเองได้เร็วขึ้น เป็นการฝึกการรับผิดชอบต่อตัวเองในเบื้องต้น

          ฝึกให้ลูกกินข้าวเอง โดยไม่มีคนมาคอยป้อน ทำให้ลูกต้องทานข้าวเอง ต้องหยิบอาหารเข้าปากเอง ทำให้รู้จักเวลาในการทานอาหารมากขึ้น รับผิดชอบกับอาหารที่อยู่ตรงหน้า รับผิดชอบกับการกระทำของตัวเอง และช่วยเหลือตัวเองได้เร็วขึ้น

5. สร้างการประสานงานของมือและสายตา

          เมื่อลูกตักอาหารขึ้นมา ต้องใช้ทั้งมือและสายตาร่วมกัน จึงเกิดกระบวนการเรียนรู้ให้มือกับตาทำงานสอดคล้องกัน เพื่อที่จะสามารถทานอาหารได้โดยไม่ตกหล่น

เคล็ดลับการฝึกลูกกินข้าวได้เอง 

  • ควรให้ลูกใช้เวลาในการทานอาหารจำกัดเวลาการกินเพียง 15 – 45 นาทีเท่านั้น เพื่อฝึกให้ลูกทานอาหารเป็นเวลา
  • อย่าคาดหวังมากเกินไป ว่าวิธีนี้จะเหมาะสมสําหรับเด็กทุกคน เพราะเด็กบางคนที่พัฒนาการช้ากว่าก็สามารถให้อาหารเหลวแบบดั้งเดิมไปก่อน ไม่ต้องสร้างความคาดหวังขึ้นมาและเร่งรัดลูก
  • อย่าเปลี่ยนอาหารใหม่ๆมากเกินไป ให้ลูกได้เรียนรู้กับอาหารใหม่ๆทุก 4 วันก็เพียงพอ เพื่อจะได้สังเกตว่าลูกแพ้อาหาหรือไม่
  • ลูกอาจจะมีอาหารสำรักหรือสำรอก เพราะนี่คือปฏิกิริยาตอบสนองตามธรรมชาติของเด็กที่ปฏิเสธอาหารที่ไม่คุ้นเคย และไม่มีอะไรที่เป็นอันตราย ถ้าคุณแม่ตกใจเด็กก็จะยิ่งตกใจไปด้วย 
  • อย่าโมโห การให้ลูกหยิบอาหารกินเองควรเป็นไปอย่างธรรมชาติที่สุด 
  • ห้ามป้อนอาหารเด็ดขาด เพราะการป้อนอาหารจะทำให้ลูกไม่ยอมกินอาหารด้วยตัวเอง วิธีการ BLW ก็จะไม่เกิดผล เด็กบางคนอาจจะชอบอาหารเหลวมากกว่าในช่วงแรก เขาจึงจะเรียนรู้ที่จะหยิบอาหารเข้าปากตัวเองได้เล็ก อย่าเพิ่งด่วนตัดสินว่าลูกเราคงไม่เหมาะกับวิธีการนี้แล้ว ล้มเลิกไปเสียกลางคัน ต้องให้เวลาเขาได้เรียนรู้
  • ห้ามปล่อยลูกไว้คนเดียวตอนกินอาหารเด็ดขาด ต้องมีผู้ใหญ่ที่เข้าใจวิธีการเหล่านี้คอยดูแลอยู่ตลอด เพราะบางกรณีลูกทานอาหารคำใหญ่เกินไป ทำให้เป็นอันตราย จึงต้องมีคนคอยดูแลอยู่ตลอด
  • ไม่เชียร์อัพ ไม่ปรบมือ เพราะอาจจะสร้างนิสัยที่ไม่ดีให้กับเด็กได้ เพราะถ้าไม่มีพ่อแม่ปลอบ หรือคอยเชียร์เด็กก็ไม่ยอมทานอาหาร และอาจทำให้เด็กไม่สนใจกับการกินอาหาร หรือจดจ่ออยู่กับอาหารตรงหน้า

อาหารติดคอ ปฐมพยาบาลอย่างไร ?

          ในกรณีที่ลูกทานอาหารแล้วเกิดอาการอาหารติดคอผู้ปกครองต้องอย่าตกใจ และตั้งสติให้ดี  หลังจากนั้นทำการปฐมพยาบาลเบื่องต้น โดยใช้วิธีจับเด็กนอนคว่ำและตบแรงๆ บริเวณทรวงอกด้านหลังระหว่างกระดูกสะบัก จนอาหารกระเด็นหลุดออกมา ห้ามใช้นิ้วมือล้วงเข้าไปในปากเด็กหรือจับเด็กห้อยศีรษะและตบหลังเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้เศษอาหารตกมาอุดที่กล่องเสียงจนขาดอากาศหายใจได้

ขอบคุณข้อมูลจาก : Mahidol Channel มหิดล แชนแนล

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมสำหรับการฝึกให้ลูกกินข้าวเอง

  1. เก้าอี้กินข้าวเด็ก เก้าอี้กินข้าวควรเป็นแบบมีพนักพิงหลัง และควรเป็นแบบสูง การใช้เก้าอี้กินข้าวเด็กจะทำให้ลูกนั่งกินอย่างเป็นที่เป็นทาง และทำให้เขาจดจ่อกับการกินที่อยู่ตรงหน้า ไม่ใช่วิ่งไปวิ่งมาเพื่อที่จะมากินข้าว หรือไปเล่นของเล่น รวมไปถึงระหว่างกินข้าวไม่ควรให้ลูกดูโทรทัศน์หรือโทรศัพท์มือถือ เพราะจะทำให้ลูกสนใจแต่จอ ไม่ยอมกินข้าว
  2. ผ้าพลาสติกปูรองใต้โต๊ะ เพราะการกินอาหารของลูก รับประกันได้เลยว่ามีความเลอะเทอะแน่นอน การมีผ้าพลาสติกปูรองใต้โต๊ะจะทำให้สามารถทำความสะอาดหลังลูกกินข้าวเสร็จได้ง่ายขึ้น
  3. ชุดกินข้าวของเด็ก มีสีสันสดใส การใช้ชุดกินข้าวที่เป็นของเด็กโดยเฉพาะจะทำให้การทานอาหารของลูกมีความปลอดภัยมากขึ้น เพราะอุปกรณ์พวกนี้จะถูกออกแบบมาให้แตกหักยาก และปลอดสารพิษที่อาจเป็นอันตรายต่อลูก นอกจากนี้การเลือกชุดถ้วยที่สีสันสดใสจะช่วยทำให้เด็กจดจ่อกับอาหาร และของที่อยู่ตรงหน้ามากยิ่งขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก :  today.line.me,parentsone.com,paolohospital.com

สนใจเลือกซื้อ อุปกรณ์ช่วยฝึกลูกกินข้าวเอง ได้อย่างปลอดภัยปรึกษาพนักงาน Baby Gift ทุกท่าน ยินดีให้คำแนะนำค่ะ

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00

บทความแนะนำ

การเดินทางด้วยรถยนต์เป็นสิ่งที่แม่มือใหม่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่การที่ลูกน้อยยังไม่สามารถนั่งในรถได้อย่างปลอดภัยด้วยเข็มขัดนิรภัยธรรมดา การเลือกซื้อคาร์ซีทที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อความปลอดภัยในทุกการเดินทางของลูกน้อย วันนี้เรามีคำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกคาร์ซีทอย่างไรให้เหมาะสมกับลูกน้อยและปลอดภัยที่สุดค่ะ 1. รู้จักประเภทของคาร์ซีท ก่อนที่จะเลือกคาร์ซีทให้ลูกน้อย สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจก็คือประเภทของคาร์ซีทที่มีในตลาด ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้: คาร์ซีทสำหรับทารก (Rear-Facing Seat): เหมาะสำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ขวบ หรือมีน้ำหนักไม่เกิน 10 กิโลกรัม คาร์ซีทประเภทนี้จะติดตั้งหันหลังและรองรับศีรษะและคอของเด็กให้ดีเยี่ยม ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุ คาร์ซีทแบบหันหน้า (Forward-Facing Seat): ใช้ได้เมื่อเด็กมีอายุ 1 ปีขึ้นไป หรือมีน้ำหนักประมาณ 9-18 กิโลกรัม ตัวคาร์ซีทจะหันหน้าไปข้างหน้าและมีเข็มขัดนิรภัยในตัว คาร์ซีทแบบบูสเตอร์ (Booster Seat): เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุ 4 ปีขึ้นไป หรือมีน้ำหนัก 15 กิโลกรัมขึ้นไป เพื่อเสริมให้เข็มขัดนิรภัยของรถยนต์สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยกับเด็กที่โตขึ้น 2. เลือกคาร์ซีทที่เหมาะสมกับช่วงวัยของลูก การเลือกคาร์ซีทที่เหมาะสมกับวัยของลูกเป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อให้ลูกน้อยได้รับการรองรับที่ดีในขณะนั่งในรถ หากเลือกคาร์ซีทผิดประเภทอาจทำให้ลูกไม่สามารถได้รับความปลอดภัยที่ดีที่สุดในกรณีเกิดอุบัติเหตุ 3. ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ ความปลอดภัยต้องมาเป็นอันดับหนึ่งเมื่อเลือกซื้อคาร์ซีท คาร์ซีทที่ดีจะต้องมีการทดสอบด้านความปลอดภัยผ่านมาตรฐานต่างๆ เช่น มาตรฐาน […]

ขอแสดงความยินดีกับว่าที่คุณแม่คนใหม่ด้วยนะคะ! กำลังกังวลกันอยู่ใช่มั้ยล่ะ ว่าตอนท้องอ่อนๆ จะสามารถทำอะไรได้บ้างทำอะไรไม่ได้บ้าง วันนี้เราเลยนำเรื่องที่คุณแม่มือใหม่ควรหลีกเลี่ยงมาบอกกันค่ะ ไม่แปลกใจที่คุณแม่บางท่านจะกังวลมากๆ ในช่วงท้องอ่อน เพราะในช่วงสามเดือนแรกนั้น อวัยวะต่างๆ ของลูกน้อยในท้องของคุณแม่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ค่ะ ดังนั้นในระยะนี้จึงมีความเสี่ยงต่อการแท้งมากกว่าในไตรมาสอื่นๆ ช่วงนี้คุณแม่ที่ท้องอ่อนๆ ต้องใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการรับประทานอาหาร สิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว หรือการใช้ยาต่างๆ ดังนั้น เรื่องความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ กังวลได้แต่อย่าเครียดนะ เพราะความเครียดก็เป็นสิ่งที่คุณแม่ต้องพึงระวังไว้ด้วย กำลังคิดจะไปทานแซลมอน ลาบก้อย หอยนางรมฉลองสมาชิกใหม่กันอยู่รึเปล่า ช่วงนี้คุณแม่อาจจะต้องงดไว้ก่อนนะ เพราะอาหารที่ปรุงไม่สุกส่วนใหญ่อาจปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียที่จะทำให้คุณแม่ท้องเสียหรืออาเจียนได้ แถมยังอาจทำให้เป็นโรคทอกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) ซึ่งเจ้าโรคนี้เนี่ยมันเกิดจากเชื้อปรสิตทอกโซพลาสมา กอนดิไอ(Toxoplasma gondii) ที่สามารถแพร่ไปสู่ลูกน้อยในท้องของคุณแม่ได้ค่ะ เห็นชื่อน่ากลัวแบบนี้ มันก็น่ากลัวจริงๆ นะ เพราะหากติดโรคนี้ตอนท้องก็อาจจะทำให้แท้งไปเลย หรือไม่ก็ลูกอาจจะเสียชีวิตในท้อง ไม่ก็อาจมีอาการของโรคเมื่อคลอดออกมา สังเกตง่ายๆ เลยค่ะ ถ้าคุณแม่ที่ติดเชื้อนี้ตอนท้อง ลูกคลอดออกมาจะมีขนาดศีรษะที่ไม่ปกติ อาจจะเล็กหรือไม่ก็ใหญ่กว่าเด็กคนอื่นๆ แถมพอโตไปก็อาจจะตาบอดหรือสติปัญญาอาจจะด้อยกว่าเด็กอื่นๆ ด้วยนะ แต่แต่แต่ ถ้าคุณแม่เคยเป็นโรคนี้ก่อนท้องแล้วก็ชิวชิวค่า เพราะร่างกายคุณแม่มีภูมิคุ้มกันแล้ว ไม่กลับมาเป็นอีกแล้วล่ะ คุณแม่ที่กำลังใช้ยาอยู่ หยุดก่อนค่ะ! ได้ถามคุณหมอรึยังว่ายาตัวนั้นคนท้องทานได้มั้ย คุณแม่อย่าชะล่าใจไปน้าเพราะยามีหลายประเภทแล้วก็ออกฤทธิ์แตกต่างกัน เพราะงั้นยาบางตัวอาจมีผลต่อการสร้างอวัยวะของลูกน้อยได้ เช่นพวกยารักษาสิว Isotretinoin นี่ตัวดีเลยค่ะ เพราะมันเป็นยาที่รุนแรงมาก มากจนอาจทำให้ลูกพิการได้เลยนะ หรือพวกยาที่ใช้รักษาไมเกรน เช่น Cafergot เพราะมันทำให้มดลูกของพวกเราบีบตัวจึงอาจทำให้คลอดก่อนกำหนดได้ พอคุณแม่ทานยาเข้าไปปุ๊ป ลูกก็จะได้ยาพวกนี้ผ่านทางรกด้วยค่ะ แต่ผลกระทบต่อลูกก็จะขึ้นอยู่กับปริมาณยาที่คุณแม่ทานเข้าไปนะ เพราะฉะนั้นหากจะทานยา […]

…แต่ก็ไม่ง่ายเลย ให้คาร์ซีทเป็นเก้าอี้วิเศษของเด็กๆ ประสบการณ์จากคุณแม่ท่านหนึ่ง ที่อยากแชร์ให้ทุกๆบ้านฝึกลูกนั่งคาร์ซีทเพื่อความปลอดภัยของลูกๆ วิธีนี้พิสูจน์แล้วได้ผลแน่นอนค่ะ แต่ช่วงแรกคุณพ่อคุณแม่ต้องใจแข็งหน่อยนะคะ อ่านจบแล้วนำไปฝึกกับลูกๆเราได้เลยค่ะ ไม่นานมานี้ดิฉันเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัดกับลูกๆทั้งสนุกสนานและปลอดภัยตั้งแต่ออกเดินทางจนถึงจุดมุ่งหมายเลยค่ะรู้สึกขอบใจตัวเองที่กัดฟันให้ลูกนั่งคาร์ซีท ตั้งแต่วันแรกที่ลืมตาดูโลก ทำให้ขับรถได้อย่างมีสมาธิ แต่กว่าจะถึงวันนี้ลูกก็เคยร้องไห้ประท้วงจนแหวะใส่เก้าอี้ตัวเองมาแล้ว ดิฉันใช้วิธีสงบสยบความเคลื่อนไหวร้องได้ร้องไป แค่ 15 นาทีเท่านั้น คลื่นลมก็สงบ ตั้งแต่นั้นมาลูกๆ เรียนรู้เลยว่า เวลาขึ้นรถต้องไปนั่งที่ “เก้าอี้วิเศษ”  คาร์ซีทของตัวเองและนั่งทุกครั้งแม้ระยะทางจะใกล้หรือไกลเพราะอุบัติเหตุอาจเกิดจากภัยในรถ เช่น ลูกทะเลาะกันที่เบาะหลัง (เจอมาแล้ว) หรือปีนป่ายจนได้รับอันตราย คุณแม่ท่านไหนที่ยังไม่มั่นใจในคาร์ซีท carseat ว่าจะช่วยวันยุ่งๆของคุณแม่ได้มากน้อยแค่ไหน ลองเคล็ดลับต่อไปนี้ดูสิคะ แล้วลูกคุณจะรัก “เก้าอี้วิเศษ” ของตัวเองขึ้นเยอะเลย 1. สร้างความผูกพันกับคาร์ซีท อนุญาตให้ลูกเอาสติ๊กเกอร์มาตกแต่งคาร์ซีทของตัวเองได้ เอาให้ถูกใจเลยเพราะต้องนั่งไปอีกนาน 2. มอบรางวัล บอกลูกว่า เราจะออกเดินทางได้ก็ต่อเมื่อล็อกสายรัดนิรภัยเรียบร้อย แล้วลูกจะรีบทำตัวน่ารักเพราะอยากไปเที่ยว แต่ถ้ากำลังพาไปหาหมอ อาจให้ขนมเป็นรางวัลได้ 3. เบี่ยงเบนความสนใจ ถ้าโยเยนัก ชวนคุยเรื่องการ์ตูนที่ลูกกำลังอินดีกว่า แค่นี้ก็เผลอจดจ่อกับการโม้เรื่องเจ้าหญิงกับฮีโร่ จนไม่ทันสังเกตว่า ตัวเองถูกจับนั่งคาร์ซีทเรียบร้อยแล้ว (มุกนี้ไม่เหนื่อย แถมสนุกดีด้วย) 4. เตรียมของเล่นแก้เบื่อ ควรมีของเล่นชิ้นโปรดอยู่ในรถ แนะนำว่าควรเป็นของเบาๆ และไม่แข็ง เช่น หนังสือผ้า เพราะคุณอาจโดนลูกเอาของในมือปาใส่ขณะขับรถ […]

รถเข็นเด็ก Aprica รุ่น Optia สำหรับเด็กแรกเกิด – 3 ปี หรือน้ำหนัก 2.5 – 15 kg เพื่อความสุขแบบ Double ประสบการณ์ใหม่ในการเดินทางที่สบายกว่าช่วยให้การเดินทางสำหรับคุณแม่และลูกน้อยเป็นเรื่องง่าย สะดวก สบาย ด้วยนวัตกรรมที่เหนือกว่า Function 1 : ลดแรงสั่นสะเทือนแบบ Double ด้วยระบบรองรับแรงกระแทกถึง 2 จุดระบบรองรับแรงกระแทกใต้ที่นั่ง และระบบรองรับแรงกระแทกที่ล้อ ช่วยลดแรงสั่นสะเทือนได้ถึง 40% Function 2 : ระบายอากาศแบบ Double ด้วยเบาะรองนอน Silky Air และผ้าระบายอากาศทุกชั้นเบาะรองนอน ถักทอด้วยเส้นใย Silky Air มีความอ่อนนุ่ม ระบายอากาศได้ดี ให้ความรู้สึกเบาสบายเมื่อสัมผัสกับผิวที่บอบบางของทารก Function 3 : ลดความอับชื้นแบบ Double ด้วยระบบ DoubleThermo Medical Sysem ช่วยระบายอากาศให้ความรู้สึกสบายตัวแผ่นฉนวนกันความร้อนพิเศษด้านหลัง ลดความร้อนสะสมบริเวณหลัง และลดอุณหภูมิของร่างกายลูกน้อยในขณะหลับได้ดี Function […]

รวมสุดยอดวิธี เลือกเป้อุ้มทารก เพราะเป้อุ้มเด็ก  เป็นเครื่องทุ่นแรงที่สำคัญยิ่งสำหรับคุณแม่  ที่เรียกได้ว่าคืออุปกรณ์คู่กายคู่ใจที่พาคุณแม่และลูกน้อยไปทำกิจวัตรด้วยกันได้เสมอ เป้อุ้มลูกนี้จึงเป็นหนึ่งในสิ่งอำนวยความสะดวกประจำบ้านที่กำลังเลี้ยงลูกอ่อน ยิ่งเป็นครอบครัวเล็กที่คุณแม่ต้องเลี้ยงลูกคนเดียวไม่มีคนมาช่วยเลี้ยงลูก ในช่วงเวลาที่คุณพ่อไปทำงานนอกบ้าน  ยิ่งถือเป็นของใช้ที่จะช่วยให้คุณแม่ทำงานและกิจกรรมอื่นๆได้ พร้อมเลี้ยงลูกได้แบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งในยุคสมัยที่การหาเงินได้ฝืดเคือง และข้าวของใช้ราคาสูงเช่นนี้ การเลือกซื้อเป้อุ้มลูกทั้งที เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่จะต้องพิจารณาอย่างถ้วนถี่ และเลือกใช้ให้คุ้มค่ากับราคาที่ต้องจ่าย แต่จะรู้ได้อย่างไร? ว่าเป้อุ้มเด็กแบบไหนดี ทนทานปลอดภัย ใช้งานได้นานจนลูกโต ลองมาอ่านเทคนิคดีๆ เหล่านี้กันเลย 1 ตอบโจทย์การใช้งาน การเลี้ยงลูกของครอบครัว นั่นคือการเลือกให้ตรงกับสไตล์การเลี้ยงลูกของครอบครัว การทำงานของคุณพ่อคุณแม่และการเดินทางของคนในบ้าน ซึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ  ได้แก่  ขนาดของครอบครัวและคนช่วยเลี้ยงลูก เพราะหากเป็นครอบครัวเล็ก คุณแม่ต้องเลี้ยงลูกคนเดียว คุณพ่อไปทำงาน จำเป็นต้องใช้เป้อุ้มลูก สำหรับเวลาทำงานบ้าน ทำธุระหรือจำเป็นต้องออกไปซื้อของนอกบ้าน   แม้แต่เป็นครอบครัวใหญ่ อาจจะได้ใช้เวลาคุณแม่ต้องทำธุระ ผลัดกันใช้เวลาเดินทางไปข้างนอก  สิ่งของที่ใช้กับลูก เวลาที่ต้องพาลูกออกนอกบ้าน เพราะหากคุณพ่อคุณแม่มีข้าวของเครื่องใช้ที่ไม่ต้องพกไปมาก การใช้เป้อุ้มเด็กก็จะทำให้สะดวก พ่อแม่ถือของใช้ และซื้อของได้สบาย ไม่ต้องใช้มืออุ้มหรือเข็นลูก หรือหากเวลาไปไหนที่ต้องใช้พื้นที่จำกัดการใช้เป้อุ้มเด็กก็จะไม่ต้องเปลืองพื้นที่เพราะพับเก็บได้ พกพาง่ายกว่ารถเข็น    การเดินทางของครอบครัว หมายถึงสังเกตการใช้ชีวิตของครอบครัวว่า ต้องออกไปต่างจังหวัด หรือไปเยี่ยมญาติบ่อยหรือเปล่า ใช้เวลาพาลูกออกนอกบ้านนานแค่ไหน หากต้องไปที่ไหนไม่นานนัก การใช้เป้อุ้มเด็กจะมีความคล่องตัวสะดวกกว่ารถเข็น  […]

Menu
All Categories
All Brands
All Ages
Promotions
Locations
BabyGift Family
BabyGift Care
Parents Guide
News & Event

All Categories

All Categories
All Brands
All Ages