ต้องเตรียมอะไรบ้าง ก่อนเริ่มให้ลูก กินแบบ BLW มื้อแรก

คุณแม่ยุคใหม่หลายๆ ท่านอาจจะรู้จัก วิธีการให้อาหารเสริมลูกน้อยแบบ Baby Led Weaning หรือการ กินแบบ BLW กันบ้างแล้ว เพราะเป็นวิธีการที่หลายบ้านเริ่มนิยมใช้ เนื่องจากเป็นการฝึกลูกกินอาหารเสริมด้วยตัวเองตั้งแต่มื้อแรก ในแบบที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องป้อน และไม่ต้องบดหรือปั่นอาหารให้ลูกน้อย
ที่สำคัญคือการให้ลูกกินอาหารเสริมด้วยวิธีนี้ ยังมีข้อดีหลายอย่าง เพราะเป็นการฝึกให้ลูกได้ใช้พัฒนาการทั้งด้านกล้ามเนื้อ สายตา ได้เรียนรู้รสชาติอาหารที่แตกต่าง และเป็นการฝึกพื้นฐานการช่วยเหลือตัวเองเพื่อพัฒนาให้ลูกสามารถทำอะไรได้เองเก่งขึ้นในอนาคต

กินแบบ BLW มีขั้นตอนอย่างไร?
วิธีการ กินแบบ BLW มีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
- ให้ลูกกินด้วยวิธี BLW เมื่อลูกน้อยถึงวัยเริ่มอาหารเสริมและนั่งได้แล้ว จะต้องหัดนั่งกินอาหารด้วยตัวเองบนเก้าอี้ทานข้าวเด็ก หรือ High Chair ได้มั่นคง และเริ่มใช้มือหยิบจับอาหารเข้าปากเองได้ด้วย
- ในช่วงแรกคุณแม่เริ่มด้วยการเตรียมอาหารที่เป็นชิ้นๆ นิ่มๆ หรือ Finger food ที่ลูกจับถนัดมือกินได้เอง โดยไม่ต้องบดหรือปั่นอาหาร เช่น ผักต้มตุ๋น หั่นเป็นชิ้น อาทิ แครอทต้ม ข้าวโพดต้ม บล็อกโคลี่นึ่ง กะหล่ำดอกนึ่ง ผลไม้เนื้อนิ่ม ไข่แดงต้มสุก
- เมื่อลูกคุ้นเคยแล้วจากนั้น ปรับอาหารเป็นเมนูที่คล้ายผู้ใหญ่ แต่ต้องไม่ปรุงรสหรือปรุงน้อย และหั่นให้ลูกจับกินได้โดยไม่ติดคอ เช่น ข้าวไข่เจียวหั่นเล็ก ผัดฟักทองกับผักนึ่ง ตลอดจนหลีกเลี่ยงอาหารที่ห้ามกินและอาหารเสี่ยงการติดคอ
- เมื่อเตรียมอาหารแล้วคุณแม่ต้องให้ลูกน้อยนั่งในเก้าอี้ทานข้าว จัดอาหารใส่ถาดหรือจาน ล้างมือให้ลูก ใส่ผ้ากันเปื้อน ปูพลาสติกกันเลอะลงที่โต๊ะหรือพื้น แล้วให้ลูกได้หยิบอาหารกินด้วยต้วเอง
ซึ่งการให้ลูกกินด้วยวิธีการแบบนี้ จะช่วยให้ทั้งคุณแม่และคุณลูกรักมีความสุขกับมื้ออาหารของลูกมากขึ้น เพราะไม่ต้องเหนื่อยเดินป้อนข้าวลูก ลูกน้อยเองก็รู้สึกสนุก เพลิดเพลินกับการได้หยิบจับอาหารเข้าปาก ทำให้การ กินแบบ BLW เป็นที่นิยมกันในครอบครัวต่างประเทศ และนิยมในเมืองไทยบ้านเรามากขึ้น แต่การจะเริ่มให้ลูกกิน BLW จะต้องมีการเตรียมพร้อมก่อนให้มื้อแรก และคุณแม่ต้องเรียนรู้ข้อจำกัดและข้อควรระวังหลายๆ อย่าง ดังนั้นไปดูกันว่ามีอะไรที่คุณแม่ต้องพิถีพิถันใส่ใจบ้าง
แม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง? เมื่อเริ่มให้ลูก กินแบบ BLW
แม้จะดูเหมือนการให้อาหารเสริมลูกด้วยวิธีการ BLW นี้ จะไม่ได้ยุ่งยากนัก แต่ก็มีเรื่องสำคัญต่างๆ ที่คุณแม่จะต้องใส่ใจและพิถีพิถันเลือกให้ลูกน้อย เพื่อความปลอดภัย และให้อาหารลูกในแบบ BLW ได้สำเร็จ นั่นคือ

1) เตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ในการกินให้พร้อม
เก้าอี้ทานข้าวเด็ก หรือ High Chair เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนให้ลูกกิน BLW มื้อแรกเพราะลูกต้องนั่งกินอาหารเท่านั้น! เก้าอี้ทานข้าวจึงเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ทำให้ลูกอยู่กับที่ นั่งกินอาหารอย่างปลอดภัย และอยู่ในระดับที่ใกล้สายตาพ่อแม่ ทั้งยังนั่งเก้าอี้นี้กินอาหารร่วมโต๊ะกับพ่อแม่ได้ ซึ่งเก้าอี้ทานข้าวเด็กที่ดี ควรมีคุณสมบัติดังนี้
- มีความมั่นคงแข็งแรง รองรับน้ำหนักได้ดี โดยอาจสามารถรับน้ำหนักได้มากถึง 30-40 กิโลกรัม
- ผลิตจากวัสดุที่ปลอดภัย เช่นพลาสติกปลอดสารพิษที่ทนทาน หรืออาจเป็นไม้เนื้อแข็ง
- มีโครงสร้างของขาเก้าอี้ที่ออกแบบมาเพื่อให้เวลาเด็กนักกินข้าว นั่งได้อย่างบาลานซ์หรือสมดุง ไม่เอียงโยกหรือเอนล้มลงมาได้ เนื่องจากในแต่ละมื้อลูกจะต้องนั่งเป็นเวลานาน นั่งันละ 3 เวลา และเด็กมักจะไม่นั่งเฉยๆ
- สามารถปรับระดับความสูงของเก้าอี้ได้หลายระดับ ซึ่งปัจจุบันมีเก้าอี้ทานข้าวเด็กสามารถปรับระดับได้ตั้งแต่ 5-10 ระดับ โดยจะเป็นระดับที่ปรับให้เหมาะกับความสูงของโต๊ะที่จะนั่งกับผู้ใหญ่ ระดับตัวของลูก และการให้ลูกยกแขนกินอาหารได้สะดวก
- โครงสร้างการเชื่อมต่อ และการล็อกเก้าอี้ มีความแน่นหนาไม่มีโอกาสร่วงหลุดจนเป็นอันตราย
- มีเข็มขัดนิรภัยล็อกตัวลูกน้อย 3-5 จุดตามความเหมาะสม เพื่อความปลอดภัย ไม่ให้ลูกเลื่อนหลุด หรือหล่นลงมาจากเก้าอี้
- ต้องเป็นเก้าอี้ที่มีพนักพิงกว้างเหมาะสมกับลูก พร้อมกับต้องมีเบาะรองนั่งที่ผลิตจากวัสดุที่ดี ออบแบบให้พอดีกับตัวลูก เพื่อจะทำให้ลูกนั่งได้สบายไม่แข็งหรือรู้สึกเจ็บ รู้สึกอึดอัดได้
- มีที่วางขาปรับขึ้น-ลงได้ จะช่วยให้ลูกวางขาสบาย พร้อมกับปรับระดับขาให้ลูกนั่งวางขาได้แบบสบายที่สุด
- มีถาดอาหาร ที่สามารถปรับระดับ เข้า – ออก ตามสรีระของลูกน้อยได้ รวมทั้งถาดอาหารควรถอดออกมาทำความสะอาดได้สะดวก
- เก้าอี้ทานข้าวของลูก ควรมีล้อที่สามารถล็อกได้มั่นคง ไม่เลื่อนไหลเวลาลูกนั่ง และสามารถปลดล็อกเพื่อเคลื่อนย้ายได้สะดวก และยิ่งหากเก้าอี้ทานข้าวของลูกสามารถปรับพับเก็บได้ ยิ่งทำให้บ้านดูสะอาดเรียบร้อย ปลอดภับ เพราะสามารถเก็บเก้าอี้ให้เข้าที่เรียบร้อยได้ ไม่ต้องกางทิ้งไว้เกะกะบ้าน

จาน ชาม ถาดอาหารของลูก ควรเป็นจานชามสำหรับเด็ก ที่ผลิตจากวัสดุที่ปลอดภัย ไม่ใช้พลาสติกอันตราย น้ำหนักเบา ไม่แตกหักง่าย ไร้สารพิษ ไม่มีสีที่เป็นอันตราย ผ่านการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม สามารถใส่อาหารได้ทั้งร้อนและเย็น รวมถึงคุณแม่อาจเลือกจานชามที่มีลวดลายน่ารักมีสีสันถูกใจหรือดึงดูดใจคุณหนูๆ ให้ทานข้าวก็ได้
และเคล็ดลับสำคัญที่จะทำให้ลูกน้อยกินอาหารแบบ BLW ได้สะดวก โดยที่คุณแม่ไม่ต้องกังวลเรื่องการหกเลอะเทอะมาก คือการเลือกจานชามสำหรับเด็กที่ไม่เลื่อนออกจากเก้าอี้ทานข้าวง่ายๆ นั่นคือจานหรือชามอาหารเด็กแบบที่มีกันลื่น หรือก้นจานชามมียางดูดติดกับโต๊ะ/เก้าอี้ ซึ่งเวลาที่ลูกใช้มือหยิบจับอาหาร กินบ้างเล่นบ้าง อาจจะมีการเล่นเคลื่อนไหว จนชามอาหารเลื่อนหรือหล่นได้ ดังนั้นการใช้จามกันลื่น จะช่วยให้จานอาหารอยู่กับที่ ป้องกันไม่ให้ลูกเลื่อนหรือเล่น จนจานชามตกหล่น ส่งผลให้คุณแม่ต้องล้างและใส่อาหารใหม่ให้ลูกนั่นเอง

ผ้ากันเปื้อน เตรียมไว้ใส่ให้ลูกเวลากินอาหาร ป้องกันไม่ให้เสื้อผ้าของลูกต้องเลอะอาหารมากเกินไป จนคุณแม่ทำความสะอาดได้ยาก
พลาสติกหรือผ้ายางกันเปื้อน ปูโต๊ะ พื้น หรือรองปูเก้าอี้ ช่วยให้คุณแม่ทำความสะอาดเก้าอี้ให้ลูก หรือพื้นบ้านได้สะดวกขึ้น เนื่องจากพลาสติกหรือผ้ายาง จะรองรับเศษอาหารไว้ก่อนในด้านแรก ทำให้เททิ้งสะดวก และล้างได้ก่อนที่จะเปื้อนโต๊ะหรือพื้น
อุปกรณ์ทำความสะอาด เตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาดที่อ่อนโยนปลอดภัย ผลิตจากส่วนประกอบของธรรมชาติที่ไม่มีสารเคมีตกค้าง สำหรับใช้ล้างเช็ดเก้าอี้ทานข้าวของลูก และล้างจานชามต่างๆ ให้สะอาดปราศจากเชื้อโรค
2) เรียนรู้วิธีปฐมพยาบาลในยามฉุกเฉิน
คุณพ่อคุณแม่หรือคนในบ้านทุกคนควรมีความรู้พื้นฐานที่ถูกต้องในการช่วยเหลือลูกน้อยได้เบื้องต้น กรณีที่ลูกมีอาการสำลัก ติดคอ หรือมีอะไรหลุดลงคอจนอุดกั้นทางเดินหายใจ เพื่อเวลาเกิดเหตุฉุกเฉินจะสามารถช่วยลูกได้ทันท่วงที หรือปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ถูกต้องก่อนส่งถึงมือคุณหมอ
3) รู้จักอาหารห้ามลูกกิน และอาหารเสี่ยงติดคอ
ได้แก่ อาหารที่มีเศษกระดูก ก้าง มีกระดูกอ่อน เมล็ดผลไม้หรือเมล็ดธัญพืช เมล็ดมะขาม เมล็ดฟักทอง เมล็ดแตงโม ผลไม้ชิ้นใหญ่ ไส้กรอก ลูกชิ้น ป๊อบคอร์น รวมถึงอาหารที่ห้ามลูกเล็กกิน เช่น น้ำแข็งก้อน เยลลี่ น้ำผึ้ง มะเขือเทศทั้งลูก เนยถั่ว หรืออาหารที่ลูกแพ้

สิ่งที่แม่ต้องรู้ เมื่อลูก กินแบบ BLW
- ต้องมีผู้ใหญ่อยู่กับลูกขณะกินอาหารด้วยตลอดเวลา เพื่อดูแลและสังเกตอาการผิดปกติ
- เรียนรู้วิธีสอนลูกให้ถูกต้อง การให้ลูกกินอาหารในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น นั่งทานอาหารกับพ่อแม่ภายในเวลาไม่เกิน 45 นาที หากลูกไม่กินหรือกินเหลือ จะต้องเก็บตามชาม ให้เขาได้เรียนรู้ว่าหมดเวลากินแล้ว
- ทำความเข้าใจเรื่องการให้อาหารแบบนี้กับผู้ใหญ่ในบ้าน ต้องบอกทุกคนว่าต้องให้ลูกหยิบอาหารเข้าปากเอง ต้องไม่ใช้ช้อนป้อนหรือเดินป้อนอาหารลูก ไม่ต้องใช้มือดัน หรือเชียร์กดดันให้ลูกกิน เพราะกินแบบนี้จะให้ลูกกำหนดและตัดสินใจกินเอง
- ลูกอาจมีอาการขย้อนอาหารออกมาข้างหน้าได้บ้าง ซึ่งเป็นปกติไม่ต้องตกใจ เพราะเป็นกลไกของร่างกายเพื่อไม่ให้อะไรหลุดลงไปติดคออุดทางเดินหายใจ ซึ่งลูกเรียนรู้หลังการขย้อนว่าจะต้องเคี้ยวให้ละเอียดอีกครั้งแล้วค่อยกลืนใหม่ บางคนอาจจะอาเจียนออกมาได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปลูกจะเริ่มเรียนรู้ที่การกินได้ดีขึ้น เช่น ไม่กินคำใหญ่เ ต้องเคี้ยวอาหารเสมอ
- กรณีเกิดเหตุการณ์อาหารติดคอ หรือมีอะไรไปขวางทางเดินหายใจ (choke) ลูกจะมีอาการไอไม่ออก หน้าซีดหน้าเขียว ดูทุรนทุราย และมีสีหน้าเปลี่ยน เมื่อเห็นเช่นนี้ต้องรีบช่วยเหลือลูกทันทีด้วยวิธีการกดนิ้วที่หน้าอก หรือจับลูกพาดขาแล้วตบหลังเบาๆ โดยทุกบ้านต้องศึกษาวิธีการช่วยเหลือนี้อย่างถูกต้องไว้ เพื่อนำมาใช้ช่วยชีวิตทุกคนได้ในอนาคต
สินค้าที่เกี่ยวข้อง
บทความแนะนำ
” ลูกติดเต้า ไม่ยอมใช้ขวดนมเลย ทำอย่างไรดี ? เริ่มให้ลูกหย่านมจากเต้า มาฝึกใช้ขวดนมเมื่อไหร่ดี ? ” อีกคำถามที่แม่ๆหลายคนมักเจอตอนลูกน้อยอายุ 1 ขวบ โดยเฉพาะคุณแม่ที่เลี้ยงลูกน้อยด้วยนมจากเต้าเพียงอย่างเดียว วันนี้ BabyGift มีเคล็ดไม่ลับมาฝากแม่ๆกันค่ะ ต้องขอเกริ่นก่อนว่า ความจริงแล้วการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดอยู่แล้ว ด้วยคุณค่าของน้ำนมความอบอุ่นและอื่นๆ แต่เมื่อลูกรักโตขึ้น หลายคนที่ดูดนมแม่จากเต้าจนติด หรือที่เรียกว่า ” ลูกติดเต้า “ งอแงไม่ยอมกินนมจากขวด เวลาที่คุณแม่ต้องออกไปทำงานหรืออยู่นอกบ้าน การให้นมแม่จากขวดนม หรือการเริ่มหย่านมแม่ มักจะเกิดปัญหาตามมาเพราะลูกไม่ยอมกินนมจากขวด งอแงร้องไห้ จนเกิดปัญหาการกินกับลูกได้ และปัญหาการใช้ชีวิตของคุณแม่เอง ฉะนั้นมาดูกันเลยค่ะว่าจะมีเทคนิคแบบไหน ที่สามารถทำให้ลูกได้ฝึกกินนมจากขวดได้ โดยไม่หักดิบ ไม่ทำให้ลูกร้องไห้งอแง หงุดหงิดเสียใจ คุณแม่เองก็ไม่ต้องเครียดไปด้วย ตามมาดูกันเลยค่ะ 8 ทริค ฝึกลูกดูดนมขวดแบบแฮปปี้ 1 ) ค่อยๆ ฝึก ไม่บังคับลูกเพราะการดูดขวดคือทักษะใหม่ของลูกรักที่เคยแต่ดูดนมแม่จากเต้ามาตลอด จนกลายเป็นว่า ลูกติดเต้า รวมถึงวิธีการดูดนมจากขวดกับการดูดนมจากเต้าก็มีความแตกต่าง จึงต้องอาศัยเวลาให้ลูกปรับตัวและฝึกฝน รวมถึงลูกรักเองก็ต้องใช้สมาธิในการดูดมากขึ้นในช่วงแรก ฉะนั้นการทำความเข้าใจไม่บังคับ และให้ลูกได้ลองฝึกในสิ่งแวดล้อมที่เงียบและสงบค่อย […]
คาร์ซีทปลอดภัย สำหรับเด็กแรกเกิด จะต้องดูจากอะไรบ้าง วันนี้ BabyGift จะมาบอกวิธีดูคาร์ซีทที่ปลอดภัย แบบลึกซึ้งถึงโครงสร้างกันเลยค่ะ เพราะทุกวัสดุที่ประกอบอยู่ในคาร์ซีทนั้น มีผลต่อความปลอดภัยของลูกน้อยมาก และก่อนคุณพ่อคุณแม่จะตัดสินใจเลือกซื้อคาร์ซีทให้ลูกรัก นี่คือสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้เลยค่ะ โครงคาร์ซีท ทำจากอะไร แบบไหนที่ปลอดภัย 1. โครงพลาสติกทั่วไป (PP) พลาสติกมีความแข็งแรง ทนต่อการกระแทก มีน้ำหนักเบา ส่วนใหญ่มักจะใช้ภายในห้องโดยสารรถยนต์ เช่น แผงประตู หรือ คอนโซลรถ เมื่อใช้พลาสติก 100% ทำเป็นโครงคาร์ซีทสำหรับเด็กโตโดยเฉพาะ ที่น้องมีสรีระแข็งแรงแล้ว ก็เพียงพอต่อการปกป้องน้องให้ปลอดภัยค่ะ แต่สำหรับเด็กแรกเกิด ที่สรีระบอบบาง ต้องการการปกป้องเป็นพิเศษ การใช้พลาสติก 100% เลย อาจจะไม่พียงพอ โครงคาร์ซีทควรจะเสริมด้วยวัสดุอื่น ๆ เพิ่มความแข็งแรงด้วย เช่น เสริมด้วยไฟเบอร์กลาส 2. โครงพลาสติก เสริมไฟเบอร์กลาส ไฟเบอร์กลาส หรือ เส้นใยแก้ว จะใช้เพื่อเสริมความแข็งแรงเป็นพิเศษ ใช้แทนโลหะได้เลย เช่น ทำชิ้นส่วนเครื่องบินเล็ก ทำชิ้นส่วนรถแข่ง เพราะทนต่อการถูกกระแทก ทนต่อการฉีกขาด มีน้ำหนักเบา และยังสามารถดัดโค้งจัดรูปทรงได้ ไม่เปราะง่าย ในการทำโครงคาร์ซีทเด็กแรกเกิด […]
เพราะนมแม่ คือสุดยอดอาหารมื้อแรกและเป็นอาหารที่ดีที่สุดของลูกน้อย คุณแม่ทุกท่านจึงตั้งใจมอบคุณค่าน้ำนมแม่นี้ให้แก่ลูกรักได้นานที่สุดและมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยส่วนใหญ่มักจะเตรียมพร้อมตั้งแต่ตั้งครรภ์ และหลังคลอดก็ให้นมแม่จากเต้าทันทีและเต็มที่ และเชื่อว่าคุณแม่ทุกคนยอ่มวางแผนที่จะ ทำสต๊อกน้ำนมแม่ เพื่อให้ลูกได้กินนมแม่ในช่วงที่ต้องไปทำงาน และมีน้ำนมเก็บไว้ให้ลูกได้กินต่อเนื่องยาวนาน แต่การ ทำสต๊อกน้ำนมแม่ นอกจากคุณแม่ต้องมีวินัยในการปั๊มนมสม่ำเสมอทุกๆ 2-3 ชั่วโมงอย่างต่อเนื่องแล้ว คุณแม่จำเป็นเรียนรู้ข้อมูลและอุปกรณ์ต่างๆ ในการเก็บน้ำนมแม่ เพื่อให้น้ำนมแม่ที่นำมาให้ลูกกินในภายหน้ายังมีคุณค่าครบถ้วนเต็มที่ ให้ลูกรักมีพัฒนาการดีทุกด้าน เก่ง ฉลาด และสุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ ฉะนั้นมาดูกันว่า วิธีการทำสต๊อกน้ำนมแม่ต้องทำอย่างไร อุปกรณ์ ทำสต๊อกน้ำนมแม่ เครื่องปั๊มนม เป็นผู้ช่วยสำคัญที่ทำให้คุณแม่ได้ปั๊มนมเก็บไว้ และกระตุ้นให้น้ำนมมาได้มากอย่างต่อเนื่อง และสามารถปั๊มนมแม่ได้ ตั้งแต่ที่บ้านไปจนถึงเมื่อต้องกลับไปทำงาน ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องปั๊มนมให้เลือกมากมาย หาซื้อได้ง่ายทั้งทางออนไลน์และห้างสรรพสินค้าต่างๆ โดยคุณแม่ควรพิถีพิถันหาข้อมูล และเลือกซื้อเครื่องปั๊มนมที่ถูกใจ เหมาะสมกับชีวิตประจำวัน รวมถึงการใช้งานเมื่อต้องไปทำงานนอกบ้านหรือออกข้างนอก เช่น คุณแม่ที่ต้องทำงานนอกบ้าน กับคุณแม่ที่อยู่บ้านเลี้ยงลูก อาจจะต้องเลือกเครื่องปั๊มนมที่ให้ความสะดวก และมีระบบการทำงานที่แตกต่างกันนั่นเอง เครื่องปั๊มนมยุคใหม่ ก็มีให้คุณแม่ได้เลือกมากมายหลายแบบ หลายการใช้งานและหลายราคา อาทิ เครื่องปั๊มนมชนิดปั๊มมือ เครื่องปั๊มนมชนิดใช้แบตเตอรี่ และ เครื่องปั๊มนมชนิดใช้ไฟฟ้า แถมยังมีทั้งแบบที่ปั๊มนมเดี่ยวข้างเดียว แบบปั๊มนมได้คู่พร้อมกันสองข้าง รวมถึงสามารถชาร์จไฟจากพาวเวอร์ได้อีกด้วย สิ่งสำคัญคือการเลือกเครื่องปั๊มนมที่ได้มาตรฐาน มีแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับหรือได้รับความนิยมจากคุณแม่ทั่วไป ราคาเหมาะสม […]
สำหรับครอบครัวที่มีลูกเล็กๆ ส่วนใหญ่การทำความสะอาดขวดนม จะใช้วิธีการต้ม หรือนึ่ง โดยเป็นการฆ่าเชื้อโรคด้วยความร้อนสูง ซึ่งเหมาะกับพาชนะที่เป็นแก้ว หรือซิลิโคน ส่วนขวดนมแบบพลาสติกการใช้ความร้อนสูงมากๆ ทุกวันจะทำให้ขวดนมพลาสติกและจุกนมเสื่อมสภาพเร็วขึ้นกว่าปกติ และเกิดการปล่อยสารต่างๆ ออกมาจากพลาสติกนั้น เช่น สารพวกโพลีเมอร์ หรือฟอร์มัลดีไฮด์ปนเปื้อนออกมาจากพลาสติกที่เสื่อมสภาพ แถมยังทิ้งไอน้ำไว้ที่ก้นขวด ซึ่งไอน้ำนี้อาจมีเชื้อแบคทีเรียแฝงอยู่ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้มีการคิดค้นการฆ่าเชื้อโรค โดยรังสี UV ที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้กับหลากหลายผลิตภัณฑ์ เช่น ขวดนมพลาสติก ยางกัด จานชาม หรือแม้แต่อุปกรณ์อเลกทรอนิก มาทำความรู้จักกับ หลอดรังสี UV-C ที่หลายคนสงสัยว่า ฆ่าเชื้อโรคได้จริงไหม? รังสี UV คืออะไร แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ประกอบด้วยรังสี 2 ส่วนคือ รังสีที่มองเห็นได้และมองไม่เห็นรังสีที่มองเห็นได้ จะมี 7 สี แต่จะสามารถเห็นต่อเมื่ออากาศมีความชื้นสูง รังสีจากดวงอาทิตย์ตกกระทบกับน้ำในอากาศ เราจะสามารถมองเห็นสีทั้ง 7 ได้ ที่เรียกว่า “รุ้งกินน้ำ” นั่นเอง รังสีที่มองไม่เห็น คือพลังงานในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมาจากดวง อาทิตย์ มี 2 ส่วนคือ สำหรับครอบครัวที่มีลูกเล็กๆ […]
นมแม่ คืออาหารมหัศจรรย์ของลูกน้อย อุดมด้วยสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด ที่ครบถ้วนและเหมาะสมที่สุดสำหรับลูกน้อย ซึ่งคุณค่าสารอาหารในนมแม่ สำคัญที่สุดต่อการช่วยส่งเสริมพัฒนาการลูกทุกด้าน ได้แก่ อุ่นนมแม่ให้ถูก ลูกได้คุณค่าเต็มที่ เมื่อรู้ว่านมแม่มีคุณค่ามหาศาลอย่างนี้แล้ว คุณแม่ต้องให้ลูกน้อยกินนมแม่ให้นานที่สุด เพื่อให้ลูกได้รับคุณค่าน้ำนมให้มากที่สุด ด้วยการทำสต๊อกนมแม่เก็บไว้ให้ลูก และให้ความสำคัญกับการอุ่นนมแม่ที่แช่แข็งหรือทำสต๊อกไว้มาให้ลูกกินด้วย เพราะหากอุ่นนมแม่ไม่ถูกวิธี อาจทำให้ลูกเจ็บป่วยท้องเสีย แถมยังสูญเสียสารอาหารที่มีคุณค่าในนมแม่ไป เราจึงขอแนะนำวิธีการอุ่นนมที่ถูกต้อง เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่ดีที่สุดมาฝากกันค่ะ วิธี อุ่นนมแม่ จากช่องแช่แข็ง ปัจจุบันมีเครื่องอุ่นนม ที่ช่วยอำนวยความสะดวกคุณแม่ในการละลายนมแม่แช่แข็ง ซึ่งมีการทำงานที่หลากหลายทั้งอุ่นนม ละลายน้ำแข็ง อุ่นอาหาร และฆ่าเชื้อได้ โดยคุณแม่ควรพิจารณาเลือกซื้อที่มีมาตรฐานความปลอดภัย สามารถเลือกปรับอุณหภูมิได้ตามความเหมาะสม เพื่อรักษาคุณค่าของนมแม่ไว้ให้ครบถ้วน ข้อควรระวัง เรื่องเข้าใจผิดของการ อุ่นนมแม่ ทำเสียคุณค่าน้ำนม ข้อมูลเพิ่มเติม :https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/HpH/admin/news_files/718_49_1.pdf, FB: สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ,https://www.phyathai.com/https://library.thaibf.com/ (คลังข้อมูล มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย)
ลูกควรเลิกใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปเมื่อไหร่? อยากฝึกให้ลูกนั่งกระโถน นั่งชักโครกขับถ่ายเองได้เริ่มเมื่อไหร่ดี? คงเป็นคำถามที่คุณพ่อคุณแม่มักสงสัยกันใช่ไหมคะ เพราะการฝึกลูกให้เลิกใส่ผ้าอ้อม ฝึกลูกนั่งกระโถน ไปจนฝึกให้เข้าห้องน้ำเองได้ก่อนที่จะเข้าโรงเรียน ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกพร้อมที่จะเลิกใส่ผ้าอ้อม พร้อมนั่งกระโถนแล้ว มาเช็กกันเลยค่ะ ทำไมต้องฝึกลูกเรื่องขับถ่าย การฝึกลูกขับถ่ายให้เหมาะสม จะช่วยส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ ที่เหมาะสมตามวัย รวมถึงเป็นการปลูกฝังด้านสุขอนามัย ความสะอาด รู้จักร่างกายตัวเอง และรู้จักการช่วยเหลือตัวเองในเบื้องต้นได้ หากพ่อแม่ไม่สอนลูกเรื่องการขับถ่าย ปล่อยให้ขับถ่ายในผ้าอ้อมไปจนโต จะทำให้ลูกมีการขับถ่ายที่ไม่เหมาะสมตามวัย เมื่อลูกต้องไปโรงเรียน จะทำให้มีปัญหาในการดูแลความสะอาด อาจเกิดการขับถ่ายเล็ดราด หรือยังต้องใส่ผ้าอ้อมจนอึดอัด ส่งผลเสียต่อการเรียนรู้ ส่งผลต่อพัฒนาการตามวัยได้ ฝึกลูกนั่งชักโครก เลิกใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปได้ตอนไหน? วัยที่มีพัฒนาการและพฤติกรรมพร้อมพี่จะเริ่มฝึกได้ ควรเริ่มเมื่ออายุ 1 ปี – 1 ปี 6 เดือน และมักจะทำได้ดีตอนอายุ 2 ปี หรือเด็กบางคนอาจจะมาฝึกตอนอายุ 2 ปี และนั่งกระโถนได้เองตอนอายุ 3 ปี หรือบางคนอาจทำได้เมื่อโตกว่านั้น ขึ้นอยู่กับความพร้อมและสัญญาณต่าง ๆ ที่แสดงออกมาทั้งทางร่างกาย การสื่อสาร และความต้องการของลูก ไม่ควรเกิดจากการบังคับลูก 8 สัญญาณที่บอกว่าลูกพร้อมนั่งกระโถนเองได้แล้ว 7 เทคนิคฝึกลูกขับถ่าย […]

ร้านสินค้าแม่และเด็กที่คัดสรรนวัตกรรมของใช้แม่และเด็กที่มี
คุณภาพให้คำปรึกษาและบริการ อย่างผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยให้การเลี้ยงลูกเป็นเรื่องง่าย ปลอดภัย และมีความสุข
Online Shopping
สาขา ปิ่นเกล้า ราชพฤกษ์
สาขา Mega บางนา
สาขา Central World
สาขา The Crystal รามอินทรา
สาขา BTS วงเวียนใหญ่ (Outlet)
Copyright 2024 © Baby Gift (Retail) Co., Ltd.