8.3.8 คือ หัวใจหลักที่เรายึดมั่นในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก

อวัยวะและระบบในร่างกายลูกน้อย ทั้ง 8 ที่ยังอ่อนแอและบอบบางใน เด็กแรกเกิด
เช่น สมอง ศีรษะ คอ กระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นส่วนลำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบของลูก
สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่บอบบางและอ่อนแอมาก คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญดูแลเป็นพิเศษ
8 พัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กวัยแรกเกิด ที่ยังไม่สมบูรณ์

1 สมองและศีรษะที่เปราะบาง
เด็กแรกเกิด จะมีขนาดศีรษะเท่ากับ 1 ใน 4 ของร่างกาย ถือได้ว่ามีน้ำหนักมากเมื่อเทียบกับ ขนาดของร่างกายโดยรวม

2 ระบบหายใจที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่
ทารกจะใช้ท้องเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งที่ช่วยในการหายใจ บ่อยครั้งเมื่อบริเวณท้องงอตัวหรือถูกกดทับจะเกิดสภาวะหายใจติดขัดได้ง่าย

3 กระดูกสันหลังที่ยังไม่สามารถทรงตัวได้
เด็กแรกเกิดจะมีแนวกระดูกสันหลังเป็นเส้นตรง สะโพกสามารถเคลื่อนได้ง่าย ดังนั้นเราจึงควรดูแลจัดให้สรีระอยู่ในท่านั่งและนอน ที่เหมาะสมสามารถขยับแขนและขาได้ง่ายเป็นธรรมชาติ

4 ระบบควบคุมอุณหภูมิในร่างกายที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่
เด็กแรกเกิด มีความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิในร่างกายต่ำ ดังนั้นการช่วยปรับอุณหภูมิแวดล้อมให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง

5 การนอนที่ยังไม่เป็นระบบ
เด็กแรกเกิด จะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอนและจะเริ่มเรียนรู้ ความแตกต่างของกลางวันกลางคืน เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 4

6 ผิวหนังบองบางไวต่อสิ่งสัมผัส
ผิวหนังของเด็กมีความหนาเพียงครึ่งเดียวของผิวผู้ใหญ่ จึงไวต่อสิ่งสัมผัสและแห้งง่าย ด้วยรูขุมขนที่ละเอียดเล็ก จึงทำให้คลายความร้อนได้ช้า มีเหงื่อออกมาก

7 ประสาทสัมผัสที่อ่อนแอ
ทารกจะมีระยะการมองเห็นสั้นๆเด็กจะรับรู้ข้อมูลส่วนใหญ่ ผ่านการสัมผัสทางด้านร่างกาย

8 ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่
สิ่งแวดล้อมรอบตัว เด็กแรกเกิด จะมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน และก่อให้เกิดภูมิแพ้ที่ติดตัวเด็กไปเป็นระยะเวลาหลายปี
ทารกจะมีระยะมองเห็นสั้นๆ รับรู้ข้อมูลผ่านการสัมผัสทางด้านร่างกาย
3 พัฒนาการทางด้านจิตใจและอารมณ์ของเด็กวัยแรกเกิด

1 ความมั่นใจของลูกน้อย
สามารถเสริมสร้างได้ผ่านการสัมผัส
เพราะความมั่นใจ คือ พื้นฐานของพัฒนาการของลูกน้อย การสัมผัสด้วยการกอดและการสบตาจากแม่หรือคนรอบข้าง คือ สิ่งมหัศจรรย์ที่ก่อให้เกิดความมั่นใจของลูกน้อย เมื่อแม่พยายามปลอบในเวลาที่ลูกร้อง การยิ้มตอบเมื่อแม่พูดคุยด้วย สิ่งเหล่านี้คือสายใยแห่งความผูกพันที่ทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่น และไว้ใจซึ่งจะนำไปสู่การเสริมสร้างให้ลูกมีบุคลิกและการแสดงออกในเชิงบวกได้
2 ความอยากรู้อยากเห็นเกิดขึ้นผ่านสัมผัสทั้ง 5
เด็กในวัยแรกเกิด ทุกอย่างรอบตัว คือ โลกใบใหม่ของเค้า เด็กในวัยแรกเกิด – 1 ปี จะพยายามเรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยการนำเข้าปาก และเมื่อย่างเข้าสู่วัยขวบปีแรก เด็กจะสนใจอยากเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวด้วยการสัมผัสและการมอง ซึ่งความอยากรู้อยากเห็นนี้เองจะเป็นตัวกระตุ้น ให้เกิดการเรียนรู้และทักษะทางด้านร่างกาย การเรียนรู้โลกภายนอกด้วยการสัมผัสกับลมเบาๆและได้ยินเสียงจากธรรมชาติจะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้อย่างดี


3 ทักษะในการสื่อสารและเข้าสังคม
สามารถพัฒนาได้จากรอยยิ้มของคนรอบข้าง
เมื่อย่างเข้าสู่เดือนที่ 2 เด็กจะเริ่มรู้จักการยิ้ม ซึ่งถือได้ว่าเป็นพัฒนาการแรกในการเข้าสังคม ด้วยการมีปฏิกริยาโต้ตอบและบอกความรู้สึกให้ผู้คนรอบข้างได้รับรู้ ความสามารถในการสื่อสารขั้นพื้นฐานนี้ จะได้รับการพัฒนาโดยเริ่มจากความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกและจะค่อยๆ พัฒนาไปสู่พ่อและบุคคลรอบข้างเสริมสร้างให้ลูกมีบุคลิกและการแสดงออกในเชิงบวกได้
8 แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อปกป้องและดูแลเด็กแรกเกิด

1 จัดให้อยู่ในท่านอนราบ
ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กแรกเกิดที่ดี ควรปรับเปลี่ยนให้สามารถรองรับสรีระท่านอนที่เป็นธรรมชาติโดยไม่ก่อให้เกิดการปิดกั้นทางเดินหายใจ โดยเฉพาะเมื่อเด็กอยู่ในวัยแรกเกิด

2 ปกป้องสมอง ศีรษะ คอ และกระดูกสันหลัง
ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กแรกเกิดที่ดี จะต้องช่วยปกป้องศีรษะจากการกระทบกระเทือนรอบข้าง และช่วยจัดให้ศีรษะและคอตั้งตรงด้วยการรองช่วงต้นคอได้อย่างพอดี

3 ปรับเปลี่ยนท่าอุ้มนั่ง นอน ตามพัฒนาการของเด็ก
ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กแรกเกิดที่ดี ควรสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเด็กในช่วงขวบปีแรก และควรรองรับท่านั่งและนอนได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่ส่งผลต่อการขยับแขนและขาของเด็ก

4 มีระบบระบายอากาศที่ดี ช่วยลดความอับชื้น
ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กแรกเกิดที่ดี ควรจะมีระบบระบายอากาศและใช้วัสดุที่ช่วยลดความอับชื้นได้อย่างดี เพื่อช่วยปรับลดอุณหภูมิความร้อนในร่างกายของเด็กในวัยแรกเกิดได้

5 ปกป้องลูกน้อยจากฝุ่นควันและสารที่เป็นอันตราย
ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กแรกเกิดที่ดี ควรมีระดับความสูงจากพื้นที่เหมาะสมและใช้วัสดุที่สามารถถอดซักทำความสะอาดได้ง่าย เพื่อช่วยให้ทารกได้รับการปกป้องจากฝุ่นและสารที่เป็นอันตรายจากพื้น

6 ลดแรงกระแทกและการสั่นสะเทือนได้ดี
ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กแรกเกิดที่ดี ควรมีโครงสร้างที่แข็งแรง ลดการกระแทกและการสั่นสะเทือนได้เป็นอย่างดี เพื่อช่วยให้สมองของลูกน้อยไม่ถูกกระทบกระเทือนและหลับสบายตลอดการเดินทาง

7 มุ่งเน้นให้การนอนหลับได้อย่างสบาย และเป็นระบบ
ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กแรกเกิดที่ดี อย่างเปลไกวที่มีจังหวะการไกวที่เหมาะสม จะช่วยให้ทารกมีระดับการนอนที่สงบนิ่ง และช่วยพัฒนาช่วงเวลาการนอนในแต่ละวันให้เป็นระบบมากขึ้น

8 ส่งเสริมให้มีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างพ่อ แม่ ลูก
ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กแรกเกิดที่ดี ควรช่วยให้คุณแม่ดูแลลูกน้อยได้อย่างใกล้ชิด ซึ่งนอกจากจะเสริมสร้างสายใยความผูกพันธ์ระหว่างแม่และลูกผ่านการสัมผัส การมองเห็น แล้วยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้สำหรับทารกได้อีกด้วย

สินค้าที่เกี่ยวข้อง
บทความแนะนำ
เลือก ถุงเก็บน้ำนม ยี่ห้อไหนดี ? ต้องดูที่อะไรบ้าง ? น้ำนมจะเหม็นหืนมั้ย ? คุณค่าน้ำนมแม่ยังอยู่ครบถ้วนรึเปล่า ? ? อีกคำถามที่แม่ๆมักสงสัย เพราะไม่ใช่แค่ถุงเก็บนมแม่ แต่นี่คือถุงใส่อาหารของลูก วันนี้ BabyGift มี 7 เทคนิค เลือกถุงเก็บน้ำนมที่คุณแม่นักปั๊มมือใหม่ ต้องชอบแน่นอน ? จะมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่า 1. พลาสติกหนา ทึบแสง ซิปล็อค 2 ชั้น ควรเลือก ถุงเก็บน้ำนมแม่ ที่ใช้วัสดุพลาสติกหนาทึบแสง มีความแข็งแรงไม่แตกหรือไม่รั่วซึมได้ง่าย และมีซิปล็อคแบบ 2 ชั้น เพื่อลดการรั่วซึมของน้ำนมแม่ออกจากถุง ช่วยลดกลิ่นเหม็นหืนในน้ำนมได้ และสามารถคงคุณค่าของน้ำนมแม่ได้เป็นอย่างดี 2. ขนาดที่เหมาะสมกับน้ำนมที่ปั๊มได้ช่วงเวลานั้น ถุงเก็บน้ำนมแม่ ควรมีขนาดที่เหมาะสมกับน้ำนมที่ปั๊มได้ช่วงในเวลานั้น อย่างช่วงแรกๆที่แม่อาจจะปั๊มได้ในไม่เยอะมากก็ควรเลือกใช้ขนาดเล็กลงมาหน่อย (4-5 ออนซ์) แล้วพอคุณแม่เริ่มปั๊มนมได้เยอะมากขึ้นค่อยขยับขนาดใหญ่ขึ้นไป การเลือกขนาดถุงพอดีกับน้ำนม จะช่วยให้แม่ๆประหยัดพื้นที่จัดเก็บในตู้แช่ได้ขนาดข้างเยอะ และยังไม่เปลืองถุง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากเลยทีเดียวค่ะ 3. มีแถบบันทึก เขียนง่าย ชัดเจน ควรมีแถบเขียนเอาไว้จดรายละเอียดต่างๆ อย่างเช่น […]
การเลี้ยงลูกให้มีสุขภาพดีเริ่มต้นจากการให้ลูกกินอาหารที่มีประโยชน์ แต่การที่ลูกไม่ยอมกินข้าวเป็นปัญหาที่แม่หลายคนต้องพบเจอ แม้ว่าจะเป็นเรื่องธรรมดาของเด็กในวัยทารกหรือวัยเด็กเล็ก แต่หากปล่อยไว้ อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและสุขภาพของลูกในระยะยาว ดังนั้นวันนี้เรามีวิธีจัดการลูกไม่ยอมกินข้าวที่ได้ผลจริงมาฝากค่ะ 1. สร้างสภาพแวดล้อมในการทานอาหารที่ดี บรรยากาศการทานอาหารที่ดีช่วยให้ลูกอยากทานมากขึ้น คุณแม่ควรสร้างบรรยากาศที่สนุกสนานและไม่กดดันขณะทานอาหาร เช่น การทานอาหารร่วมกันกับครอบครัว หรือการตั้งโต๊ะอาหารที่มีสีสันและดูน่าสนใจ เคล็ดลับ: 2. ให้ลูกมีส่วนร่วมในการเลือกอาหาร เด็กมักจะรู้สึกสนุกและมีความภาคภูมิใจเมื่อได้เลือกหรือช่วยเตรียมอาหารเอง คุณแม่สามารถให้ลูกมีส่วนร่วมในการเลือกเมนูอาหารหรือการจัดเตรียมอาหารบางอย่าง เพื่อให้พวกเขารู้สึกว่าการทานอาหารเป็นเรื่องสนุกและไม่น่าเบื่อ เคล็ดลับ: 3. หลีกเลี่ยงการบังคับให้กินอาหาร การบังคับให้ลูกทานอาหารอาจทำให้ลูกเกิดความเครียดและต่อต้านการทานอาหารมากขึ้น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับอาหารจะช่วยให้ลูกมีทัศนคติที่ดีต่อการทานอาหาร เคล็ดลับ: 4. เปลี่ยนเมนูอาหารให้หลากหลาย เด็กมักเบื่ออาหารที่ซ้ำซาก ดังนั้นคุณแม่ควรเปลี่ยนเมนูอาหารให้หลากหลายและน่าสนใจ เช่น การทำอาหารในรูปแบบต่างๆ หรือการเพิ่มรสชาติใหม่ๆ เข้าไปในอาหาร เคล็ดลับ: 5. ไม่เสิร์ฟของหวานก่อนมื้ออาหาร การเสิร์ฟของหวานหรือขนมก่อนมื้ออาหารจะทำให้ลูกอิ่มท้องก่อนและไม่อยากทานข้าว ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการให้ขนมก่อนมื้ออาหาร เคล็ดลับ: 6. ทานอาหารร่วมกับลูก การทานอาหารร่วมกับลูกจะช่วยให้ลูกเห็นแบบอย่างในการทานอาหารที่ดี และทำให้ลูกรู้สึกมีส่วนร่วมในการทานอาหารด้วยกัน เคล็ดลับ: 7. ควบคุมเวลาการทานอาหาร การมีเวลาทานอาหารที่ชัดเจนจะช่วยให้ลูกสร้างนิสัยการทานอาหารที่ดี ไม่ทานอาหารระหว่างมื้อซึ่งอาจทำให้ลูกไม่หิวเวลาทานข้าว เคล็ดลับ: 8. ให้รางวัลเมื่อทานอาหารเสร็จ การให้รางวัลเล็กๆ น้อยๆ เมื่อทานอาหารเสร็จแล้วเป็นวิธีหนึ่งที่จะกระตุ้นให้ลูกทานอาหารอย่างเต็มใจ โดยรางวัลไม่จำเป็นต้องเป็นขนมหรือของหวานเสมอไป […]
รถเข็นเด็ก Aprica รุ่น Optia สำหรับเด็กแรกเกิด – 3 ปี หรือน้ำหนัก 2.5 – 15 kg เพื่อความสุขแบบ Double ประสบการณ์ใหม่ในการเดินทางที่สบายกว่าช่วยให้การเดินทางสำหรับคุณแม่และลูกน้อยเป็นเรื่องง่าย สะดวก สบาย ด้วยนวัตกรรมที่เหนือกว่า Function 1 : ลดแรงสั่นสะเทือนแบบ Double ด้วยระบบรองรับแรงกระแทกถึง 2 จุดระบบรองรับแรงกระแทกใต้ที่นั่ง และระบบรองรับแรงกระแทกที่ล้อ ช่วยลดแรงสั่นสะเทือนได้ถึง 40% Function 2 : ระบายอากาศแบบ Double ด้วยเบาะรองนอน Silky Air และผ้าระบายอากาศทุกชั้นเบาะรองนอน ถักทอด้วยเส้นใย Silky Air มีความอ่อนนุ่ม ระบายอากาศได้ดี ให้ความรู้สึกเบาสบายเมื่อสัมผัสกับผิวที่บอบบางของทารก Function 3 : ลดความอับชื้นแบบ Double ด้วยระบบ DoubleThermo Medical Sysem ช่วยระบายอากาศให้ความรู้สึกสบายตัวแผ่นฉนวนกันความร้อนพิเศษด้านหลัง ลดความร้อนสะสมบริเวณหลัง และลดอุณหภูมิของร่างกายลูกน้อยในขณะหลับได้ดี Function […]
หากคุณแม่กำลังเลี้ยงลูกอยู่บ้านตลอดเวลา และให้นมแม่แก่ลูกน้อยแบบ 100% อยู่ คงจะยังไม่ต้องหาข้อมูลหรือกังวลกับการเลือกซื้อขวดนมหรือจุกนมให้ลูกมากนักเพราะยังไม่ได้ใช้ แต่เมื่อไรที่คุณแม่ต้องกลับไปทำงาน ไปทำธุระข้างนอก หรือต้องให้นมแม่กับลูกด้วยขวดนมแล้ว สิ่งที่ต้องนึกถึงคือการเลือกขวดนมและจุกนมที่จะช่วยให้ลูกกินนมแม่ได้เต็มอิ่ม สบายท้อง ไม่ดูดลมเข้าไปและไม่เสี่ยงต่อการแน่นท้อง หรือร้องโคลิก และที่สำคัญจุกนมที่เลือกให้ลูกนั้นควรจะมีคุณสมบัติที่คล้ายการดูดจากเต้านมแม่ เพื่อให้ลูกน้อยไม่สับสนระหว่างเต้านมกับขวดนม ยอมกินนมแม่จากขวด และยอมกลับมากินนมแม่จากเต้าคุณแม่ได้เสมอ เราจึงมาแนะนำให้คุณแม่รู้จักกับจุกนมคอแคบ และจุดนมคอกว้าง เพื่อให้คุณแม่หลายๆ ท่านที่ยังไม่รู้จัก ได้เห็นถึงความแตกต่าง และตัดสินใจเลือกซื้อได้อย่างเหมาะสม ถูกใจ ลูกน้อยอิ่มนมได้เต็มที่โดยไม่มีปัญหาสุขภาพมาฝากกัน ชวนแม่เรียนรู้เรื่องจุกนมลูก เพราะลูกน้อยวัยทารกจะเคยชินกับการกินนมจากอกคุณแม่ เมื่อต้องมากินนมจากขวดจึงอาจสับสนและมีปัญหา คุณแม่จึงควรพิถีพิถันพิจารณาเลือกใช้จุกนมที่เหมาะสม เพื่อให้ลูกน้อยดูดนมได้อย่างสะดวก ปลอดภัย โดยควรศึกษาเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ ขนาดของจุกนมที่แตกต่างว่าเหมาะกับลูกวัยไหน วิธีทำความสะอาดและการเก็บรักษาจุกนมให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งานเสมอ เรื่องน่ารู้ของ ปลายจุกนม เนื่องจากแต่ละแบบมีลักษณะเฉพาะในการใช้งาน นั่นคือ– ปลายจุกนมเป็นรูวงกลม มักเป็นรูจุกนมที่ช่วยให้น้ำนมไหลได้ง่าย คือแม้ลูกจะไม่ดูด น้ำนมก็ไหลผ่านออกได้จึงเป็นจุกนมที่ช่วยให้ลูกดูดนมง่าย ไม่ต้องใช้แรงเยอะ– ปลายจุกนมเป็นรูตัว Y (Three-Cut) เป็นจุกนมที่หากไม่ดูดนมจะไม่ไหล ต้องใช้แรงดูดของลูกให้น้ำนมไหลผ่านออกมา (ยกเว้นเป็นจุกนมสำหรับเด็กที่มีภาวะพิเศษดูดนมเองไม่ได้ จะมีการทำให้น้ำนมไหลออกได้ง่ายขึ้น)– ปลายจุกนมเป็นรูกากบาท (Cross-Cut) มักเป็นจุกนมที่ต้องใช้แรงดูดเหมือนรูตัว Y คือหากลูกไม่ดูดนมจะไม่ไหล น้ำนมจะออกมามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแรงดูดของลูกเอง ช่วยป้องกันอาการสำลักให้ลูกน้อยได้นอกจากนี้รูของปลายจุกนม […]
“เวลาลูกสาววัย 5 เดือนดูดนมแม่ จะมีเหงื่อออกมาก โดยเฉพาะที่ศีรษะจะเปียกตลอดเลยทั้งที่อยู่ในห้องแอร์ ถือเป็นอาการผิดปกติหรือเปล่า” เด็กต้องการพลังงานเทียบกับน้ำหนักตัวสูงกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากต้องใช้เพื่อการเจริญเติบโตและสร้างเนื้อเยื่อ อวัยวะต่างๆจึงต้องการใช้พลังงานสูงมาก เช่น เพื่อการสร้างเซลสมอง การสร้างเซลกล้ามเนื้อ ในขณะที่ผู้ใหญ่ต้องการพลังงานเพื่อการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ กล้ามเนื้อหัวใจในเด็กทารกเป็นเซลกล้ามเนื้อชนิดที่ล้าง่าย ต้องการพลังงานสูง ชีพจรของเด็กจึงเต้นเร็วกว่าผู้ใหญ่ เด็กแรกเกิดชีพจรเต้น 140 ครั้งต่อนาที และลดลงเรื่อยๆเมื่อเด็กเติบโตขึ้น จนเป็น 60-80 ครั้งต่อนาทีเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นความร้อนที่เกิดขึ้นจากการเผาผลาญพลังงานก็ย่อมมีมาก การระบายความร้อนออกจากร่างกายทำได้โดยการขับออกเป็นเหงื่อ ดังนั้นการที่เห็นว่าทารกนอนดูดนมเฉยๆ ทำไมถึงมีเหงื่อเยอะจัง เพราะภายในร่างกายของเขามีการทำงานอยู่ตลอดเวลา จึงไม่ผิดปกติค่ะ ขณะที่ผู้ใหญ่จะใช้พลังงานสูงเท่ากับที่เด็กทารกต้องการ ก็ต่อเมื่อมีการออกกำลัง จนชีพจรเต้นเร็วเท่ากับเด็กทารก ถึงเวลานั้นเราก็มีเหงื่อออกเต็มตัวเหมือนเด็กทารกเวลาดูดนมเช่นกัน อย่างไรก็ดีมีโรคบางอย่างที่ทำให้ทารกมีเหงื่อออกมากผิดปกติกว่าเด็กคนอื่น เช่น โรคหัวใจ โรคธัยรอยด์เป็นพิษ แต่ลูกควรมีอาการผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น เลี้ยงไม่โต ดูดนมแล้วดูเหนื่อยต้องหยุดเป็นพักๆ ตรวจร่างกายฟังได้ยินเสียงผิดปกติที่หัวใจ หากสงสัยว่าลูกเป็นโรคเหล่านี้ ให้ปรึกษากุมารแพทย์ได้ค่ะ หากตรวจแล้วพบว่าลูกปกติดี การมีเหงื่อออกเวลาดูดนม นอกจากช่วยระบายความร้อนแล้วยังช่วยให้ต่อมเหงื่อทำงานขับของเสียออกทางผิวหนังอีกทางหนึ่ง จึงไม่จำเป็นต้องเปิดแอร์ให้ลูกตลอดเวลา เพียงใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ง่าย และอยู่ในที่อากาศถ่ายเทจะดีกว่าค่ะ >>>ขอบคุณข้อมูล : สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

ร้านสินค้าแม่และเด็กที่คัดสรรนวัตกรรมของใช้แม่และเด็กที่มี
คุณภาพให้คำปรึกษาและบริการ อย่างผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยให้การเลี้ยงลูกเป็นเรื่องง่าย ปลอดภัย และมีความสุข
Online Shopping
สาขา ปิ่นเกล้า ราชพฤกษ์
สาขา Mega บางนา
สาขา Central World
สาขา The Crystal รามอินทรา
สาขา BTS วงเวียนใหญ่ (Outlet)
Copyright 2024 © Baby Gift (Retail) Co., Ltd.