8 เคล็ดลับ ลดอาการแพ้ท้อง ของคุณแม่

ลดอาการแพ้ท้อง ตอนตั้งครรภ์ทำให้คุณแม่หลายคนคิดว่าการจะมีลูกซักคนไม่ใช่เรื่องง่ายเลยใช่ไหมคะ อาการแพ้ท้องส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วง 3 เดือนแรก อาการหลัก ๆ ก็เลยจะมีวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ถ้าหากคุณแม่มีอาการนี้แบบนี้อยู่ หรืออยากลดอาการแพ้ท้อง เราเลยมีเคล็บลับง่าย ๆ มาที่ช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องมาฝากกันค่ะ

แพ้ท้อง เกิดจากอะไร?

อาการแพ้ท้องเกิดจากฮอร์โมน HCG (Human Chorionic Gonadotropin) ในร่างกายของคุณแม่เพิ่มสูงขึ้น จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางทางร่างกายและจิตใจ จนมีอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และอื่น ๆ 

8 เคล็ดลับที่ช่วยลดอาการแพ้ท้อง

1. กลิ่นหอมสดชื่นเบา ๆ ช่วยได้

คุณแม่ที่ได้กลิ่นน้ำหอมฉุน กลิ่นเทียน กลิ่นธูป หรืออื่น ๆ แล้วมีอาการคลื่นไส้ ให้รีบออกมาจากตรงนั้นเลยค่ะ เพราะเรื่องกลิ่นก็มีผลกับอาการแพ้ท้อง คุณแม่ควรจะอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเท หากลิ่นสดชื่นธรรมชาติ ไม่ฉุน ก็จะช่วยให้คุณแม่อาการดีขึ้น รู้สึกเวียนหัวน้อยลง แล้วก็ช่วยให้ผ่อนคลายได้ด้วย

2. ดื่มน้ำลดอาการหน้ามืด

อาการแพ้ท้องส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบของการอาเจียน การดื่มน้ำเปล่าอุณภูมิปกติหรือน้ำส้มคั้นสักแก้วก็จะช่วยให้คุณแม่สดชื่นขึ้นได้ ช่วยให้ร่างกายไม่ขาดน้ำด้วยค่ะ และที่สำคัญคุณแม่ต้องดื่มน้ำเปล่าเป็นประจำด้วยนะคะ ร่างกายจะได้สดชื่น ผิวชุ่มชื้น ลดผิวแตกลาย และลดอาการหน้ามืด ลดอาการแพ้ท้อง ได้ค่ะ

3. ดื่มน้ำขิงร้อน ๆ 

หลังอาเจียน หรือ ระหว่างวัน คุณแม่ลองดื่มน้ำขิงร้อน ๆ ได้นะคะ เพราะขิงเป็นตัวช่วยสำคัญ ที่จะช่วยลดอาการวิงเวียนและคลื่นไส้ได้เป็นอย่างดี แถมน้ำขิงยังช่วยกระตุ้นน้ำนมหลังคลอดได้ด้วยนะ

4. เปลี่ยนบรรยากาศ

การได้เปลี่ยนบรรยากาศจะช่วยให้สุขภาพจิตคุณแม่ดีขึ้น เช่น จิบน้ำขิงนั่งชมวิวนอกบ้าน นั่งอ่านหนังสือริมระเบียง เปลี่ยนมุมนั่งพักผ่อนในบ้าน หรือ ออกไปท่องเที่ยวชมธรรมชาติในวันหยุด ก็สามารถช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลายได้ การใช้เข็มขัดพยุงครรภ์ก็ช่วยลดความเมื่อยลงได้ดีเลยนะคะ เช่น Ministry of mama เข็มขัดพยุงครรภ์เมื่อผ่อนคลายแล้ว อาการแพ้ท้องก็จะลดลงไปด้วยค่ะ

5. หากิจกรรมที่คลายเครียด

เช่น ฟังเพลงสบาย ๆ ดูซีรีส์เกาหลีฟิน ๆ ดูช่อง YouTube ที่ชอบ เป็นต้น กิจกรรมเพลิน ๆ จะช่วยให้คุณแม่คลายเครียดลงได้ เพราะในช่วงที่คุณแม่แพ้ท้องอาจจะกังวลเรื่องทานอะไรไม่ค่อยได้ เป็นห่วงว่าลูกอาจจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ การเลิกนึกถึงอาการแพ้ท้องชั่วครู่ก็เป็นเคล็ดลับที่ได้ผลดีเลยนะคะ

6. ทานอาหารมื้อละน้อย ๆ 

การรับประทานอาหารครั้งละมาก ๆ จะทำให้มีอาการจุกเสียด แน่นท้อง ถ้าเป็นช่วงอาหารเย็นก็อาจจะมีผลให้คุณแม่นอนไม่หลับ การทานแต่พออิ่มจะช่วยให้คุณแม่รู้สึกสบายตัวและไม่แน่นท้องจนเกินไป คุณแม่ควรเลือกของที่มีประโยชน์ที่พอจะทานได้ เช่น น้ำผลไม้ ผลไม้สด  อัลมอนด์ โยเกิร์ต ซีเรียล โจ๊ก แครกเกอร์ เป็นต้น เพื่อที่จะให้มีอาหารเข้าสู่ร่างกายบ้างค่ะ

7. อาหารย่อยง่ายคือดี

การทานอาหารที่ย่อยง่าย ๆ จะช่วยให้คุณแม่ที่แพ้ท้องอยู่ ทานอะไรได้มากขึ้น ช่วยให้อาเจียนลดลงด้วย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก นมแพะอุ่น ๆ ขนมปังปิ้งแห้ง ๆ ส่วนอาหารที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงก็คือพวกที่มีไขมันเยอะ ๆ เพราะจะทำให้คุณแม่รู้สึกเลี่ยนแล้วคลื่นไส้มากขึ้นกว่าเดิม

8. นอนพักผ่อนให้เยอะ ๆ

การนอนพักผ่อนคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ยังมีของใช้สำหรับคุณแม่ท้อง ที่ช่วยลดความเหนื่อยล้าของคุณแม่ลงได้ด้วยนะคะ เช่น Elava หมอนข้างคนท้อง คุณแม่บางคนอาจจะคลื่นไส้และมึนหัวตลอดเวลาจนไม่สามารถหลับสนิทในช่วงกลางคืน เพราะฉะนั้น การหลับพักผ่อน หรืองีบสั้น ๆ ในช่วงเวลากลางวัน ก็เป็นตัวช่วยลดอาการแพ้ท้องได้อีกทางนึง แถมยังช่วยให้คุณแม่มีแรง ไม่รู้สึกหน้ามืดอีกด้วย

สำหรับวิธีลดอาการแพ้ท้อง คุณแม่ลองเลือกใช้ข้อที่เหมาะสมกับตัวเองดูนะคะ สิ่งที่ทำแล้วไม่รู้สึกว่าเป็นการกดดันตัวเองเกินไป เมื่อลองทำวิธีต่าง ๆ แล้วยังไม่ได้ผล ยังแพ้ท้องหนัก เราขอแนะนำให้คุณแม่ไปพบคุณหมอนะคะ

ระหว่างนี้หากคุณแม่กำลังมองหาของใช้ลูกน้อยก่อนจะคลอด หรือไม่แน่ใจว่าขาดของใช้ชิ้นไหนบ้าง เรามีมาแนะนำค่ะ Baby Checklist เตรียมให้พร้อมก่อนคลอด เบบี้กิ๊ฟขอเป็นกำลังให้คุณแม่ทุกท่านเลยนะคะ

เลือกดูสินค้า click

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00

บทความแนะนำ

เตรียมตัวรับมือให้พร้อมกับการเป็นคุณแม่อย่างเต็มตัว กับ 14 วิธีรับมือลูกแรกเกิด ขอบคุณบทความดีๆ จาก คุณหมอ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

คุณแม่ยุคใหม่หลายๆ ท่านอาจจะรู้จัก วิธีการให้อาหารเสริมลูกน้อยแบบ Baby Led Weaning หรือการ กินแบบ BLW กันบ้างแล้ว  เพราะเป็นวิธีการที่หลายบ้านเริ่มนิยมใช้ เนื่องจากเป็นการฝึกลูกกินอาหารเสริมด้วยตัวเองตั้งแต่มื้อแรก  ในแบบที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องป้อน และไม่ต้องบดหรือปั่นอาหารให้ลูกน้อย ที่สำคัญคือการให้ลูกกินอาหารเสริมด้วยวิธีนี้ ยังมีข้อดีหลายอย่าง เพราะเป็นการฝึกให้ลูกได้ใช้พัฒนาการทั้งด้านกล้ามเนื้อ สายตา ได้เรียนรู้รสชาติอาหารที่แตกต่าง และเป็นการฝึกพื้นฐานการช่วยเหลือตัวเองเพื่อพัฒนาให้ลูกสามารถทำอะไรได้เองเก่งขึ้นในอนาคต กินแบบ BLW มีขั้นตอนอย่างไร? วิธีการ กินแบบ BLW มีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ ซึ่งการให้ลูกกินด้วยวิธีการแบบนี้ จะช่วยให้ทั้งคุณแม่และคุณลูกรักมีความสุขกับมื้ออาหารของลูกมากขึ้น เพราะไม่ต้องเหนื่อยเดินป้อนข้าวลูก ลูกน้อยเองก็รู้สึกสนุก เพลิดเพลินกับการได้หยิบจับอาหารเข้าปาก ทำให้การ กินแบบ BLW เป็นที่นิยมกันในครอบครัวต่างประเทศ และนิยมในเมืองไทยบ้านเรามากขึ้น แต่การจะเริ่มให้ลูกกิน BLW จะต้องมีการเตรียมพร้อมก่อนให้มื้อแรก และคุณแม่ต้องเรียนรู้ข้อจำกัดและข้อควรระวังหลายๆ อย่าง ดังนั้นไปดูกันว่ามีอะไรที่คุณแม่ต้องพิถีพิถันใส่ใจบ้าง แม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง? เมื่อเริ่มให้ลูก กินแบบ BLW แม้จะดูเหมือนการให้อาหารเสริมลูกด้วยวิธีการ BLW นี้ จะไม่ได้ยุ่งยากนัก แต่ก็มีเรื่องสำคัญต่างๆ ที่คุณแม่จะต้องใส่ใจและพิถีพิถันเลือกให้ลูกน้อย เพื่อความปลอดภัย และให้อาหารลูกในแบบ BLW ได้สำเร็จ […]

หากคุณแม่กำลังเลี้ยงลูกอยู่บ้านตลอดเวลา และให้นมแม่แก่ลูกน้อยแบบ 100% อยู่  คงจะยังไม่ต้องหาข้อมูลหรือกังวลกับการเลือกซื้อขวดนมหรือจุกนมให้ลูกมากนักเพราะยังไม่ได้ใช้ แต่เมื่อไรที่คุณแม่ต้องกลับไปทำงาน ไปทำธุระข้างนอก หรือต้องให้นมแม่กับลูกด้วยขวดนมแล้ว สิ่งที่ต้องนึกถึงคือการเลือกขวดนมและจุกนมที่จะช่วยให้ลูกกินนมแม่ได้เต็มอิ่ม สบายท้อง ไม่ดูดลมเข้าไปและไม่เสี่ยงต่อการแน่นท้อง หรือร้องโคลิก และที่สำคัญจุกนมที่เลือกให้ลูกนั้นควรจะมีคุณสมบัติที่คล้ายการดูดจากเต้านมแม่ เพื่อให้ลูกน้อยไม่สับสนระหว่างเต้านมกับขวดนม ยอมกินนมแม่จากขวด และยอมกลับมากินนมแม่จากเต้าคุณแม่ได้เสมอ  เราจึงมาแนะนำให้คุณแม่รู้จักกับจุกนมคอแคบ และจุดนมคอกว้าง เพื่อให้คุณแม่หลายๆ ท่านที่ยังไม่รู้จัก ได้เห็นถึงความแตกต่าง และตัดสินใจเลือกซื้อได้อย่างเหมาะสม ถูกใจ ลูกน้อยอิ่มนมได้เต็มที่โดยไม่มีปัญหาสุขภาพมาฝากกัน ชวนแม่เรียนรู้เรื่องจุกนมลูก เพราะลูกน้อยวัยทารกจะเคยชินกับการกินนมจากอกคุณแม่  เมื่อต้องมากินนมจากขวดจึงอาจสับสนและมีปัญหา คุณแม่จึงควรพิถีพิถันพิจารณาเลือกใช้จุกนมที่เหมาะสม เพื่อให้ลูกน้อยดูดนมได้อย่างสะดวก ปลอดภัย โดยควรศึกษาเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้  ขนาดของจุกนมที่แตกต่างว่าเหมาะกับลูกวัยไหน  วิธีทำความสะอาดและการเก็บรักษาจุกนมให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งานเสมอ เรื่องน่ารู้ของ ปลายจุกนม เนื่องจากแต่ละแบบมีลักษณะเฉพาะในการใช้งาน นั่นคือ– ปลายจุกนมเป็นรูวงกลม มักเป็นรูจุกนมที่ช่วยให้น้ำนมไหลได้ง่าย คือแม้ลูกจะไม่ดูด น้ำนมก็ไหลผ่านออกได้จึงเป็นจุกนมที่ช่วยให้ลูกดูดนมง่าย ไม่ต้องใช้แรงเยอะ– ปลายจุกนมเป็นรูตัว Y (Three-Cut) เป็นจุกนมที่หากไม่ดูดนมจะไม่ไหล ต้องใช้แรงดูดของลูกให้น้ำนมไหลผ่านออกมา (ยกเว้นเป็นจุกนมสำหรับเด็กที่มีภาวะพิเศษดูดนมเองไม่ได้ จะมีการทำให้น้ำนมไหลออกได้ง่ายขึ้น)– ปลายจุกนมเป็นรูกากบาท (Cross-Cut) มักเป็นจุกนมที่ต้องใช้แรงดูดเหมือนรูตัว Y คือหากลูกไม่ดูดนมจะไม่ไหล  น้ำนมจะออกมามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแรงดูดของลูกเอง ช่วยป้องกันอาการสำลักให้ลูกน้อยได้นอกจากนี้รูของปลายจุกนม […]

เด็กบางคนจะมีเหงื่อออกมาก ทั้งบนศีรษะ หน้า หน้าอก แผ่นหลัง จนหมอน และชุดนอนเปียกชื้น โดยเฉพาะเด็กที่ปกติมีเหงื่อมาก เมื่อนอนไปได้สักระยะหนึ่งอุณหภูมิของร่างกายจะสูงขึ้น ทำให้มีเหงื่อออกจนคุณพ่อคุณแม่ตกใจเกรงลูกจะเป็นโรคร้าย เพราะมีคนกล่าวว่า เหงื่อออกมากเวลากลางคืนอาจจะเป็นอาการระยะเริ่มต้นของโรคต่างๆ ดังนี้ >>>ขอบคุณข้อมูลจาก : เว็ปไซด์ maerakluke.com

สำหรับ Working Women หลายๆ คน การทำงานก็คือการสร้างคุณค่าให้กับตัวเอง และเป็นความสุขในการใช้ชีวิต แต่เมื่อบริบทเปลี่ยนไป มีครอบครัว มีลูกขึ้นมาแล้ว ก็ต้องยอมรับว่าการปรับรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างเลี่ยงไม่ได้ แล้วถ้าเราขับรถเป็นประจำ พอท้องแล้วยังจะขับรถได้อยู่มั้ย ในบทความนี้ BabyGift จะมานำเสนอเรื่องเกี่ยวกับคนท้องขับรถได้มั้ย และคำแนะนำต่างๆ เพื่อให้คุณแม่อุ่นใจกันมากขึ้นค่ะ   คนท้องขับรถได้ไหม ? ชวนคุณแม่ดูคำแนะนำ ข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัยก่อนขับรถ  ตลอดระยะเวลา 9 เดือนของการตั้งครรภ์ คุณแม่มักจะเผชิญกับคำถามมากมายเกี่ยวกับสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ ซึ่งหนึ่งในคำถามที่พบบ่อยคือ “คนท้องขับรถได้ไหม?” คำถามนี้มักสร้างความกังวลให้กับคุณแม่หลายคน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องเดินทางเป็นประจำ การตัดสินใจว่าจะขับรถหรือไม่ในระหว่างตั้งครรภ์นั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของทั้งแม่และลูกน้อยในครรภ์ ดังนั้น การทำความเข้าใจถึงข้อควรระวังและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการตัดสินใจที่เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ เราลองมาดูรายละเอียดกันค่ะ  คนท้องขับรถได้ไหม ?   โดยทั่วไปหากมีความจำเป็นคนท้องสามารถขับรถได้นะคะ แต่หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงดีกว่า โดยไม่ควรขับรถในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากอาจมีอาการแพ้ท้องกะหันทัน จนไม่สามารถโฟกัสที่การขับขี่ได้ดีเท่าที่ควร (อ่านเคล็ดลับลดอาการแพ้ท้องของคุณแม่เพิ่มเติมได้อีกนะคะ) และในช่วงอายุครรภ์ 7-9 เดือน ควรงดขับรถโดยเด็ดขาด เนื่องจากครรภ์ใหญ่ขึ้น หากเบรกกระทันหันอาจทำให้ท้องกระแทกพวงมาลัยได้ อีกทั้งเป็นช่วงเวลาของการเตรียมตัวคลอด ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยหากจำเป็นต้องขับรถ BabyGift มีคำแนะนำเพื่อความปลอดภัยมาฝากดังนี้ค่ะ    คำแนะนำเพิ่มเติมเมื่อคนท้องต้องขับรถ  คนท้องขับรถมอไซค์อันตรายไหม […]

“เวลาลูกสาววัย 5 เดือนดูดนมแม่ จะมีเหงื่อออกมาก โดยเฉพาะที่ศีรษะจะเปียกตลอดเลยทั้งที่อยู่ในห้องแอร์ ถือเป็นอาการผิดปกติหรือเปล่า”  เด็กต้องการพลังงานเทียบกับน้ำหนักตัวสูงกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากต้องใช้เพื่อการเจริญเติบโตและสร้างเนื้อเยื่อ อวัยวะต่างๆจึงต้องการใช้พลังงานสูงมาก เช่น เพื่อการสร้างเซลสมอง การสร้างเซลกล้ามเนื้อ ในขณะที่ผู้ใหญ่ต้องการพลังงานเพื่อการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ กล้ามเนื้อหัวใจในเด็กทารกเป็นเซลกล้ามเนื้อชนิดที่ล้าง่าย ต้องการพลังงานสูง ชีพจรของเด็กจึงเต้นเร็วกว่าผู้ใหญ่ เด็กแรกเกิดชีพจรเต้น 140 ครั้งต่อนาที และลดลงเรื่อยๆเมื่อเด็กเติบโตขึ้น จนเป็น 60-80 ครั้งต่อนาทีเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นความร้อนที่เกิดขึ้นจากการเผาผลาญพลังงานก็ย่อมมีมาก การระบายความร้อนออกจากร่างกายทำได้โดยการขับออกเป็นเหงื่อ ดังนั้นการที่เห็นว่าทารกนอนดูดนมเฉยๆ ทำไมถึงมีเหงื่อเยอะจัง เพราะภายในร่างกายของเขามีการทำงานอยู่ตลอดเวลา จึงไม่ผิดปกติค่ะ ขณะที่ผู้ใหญ่จะใช้พลังงานสูงเท่ากับที่เด็กทารกต้องการ ก็ต่อเมื่อมีการออกกำลัง จนชีพจรเต้นเร็วเท่ากับเด็กทารก ถึงเวลานั้นเราก็มีเหงื่อออกเต็มตัวเหมือนเด็กทารกเวลาดูดนมเช่นกัน อย่างไรก็ดีมีโรคบางอย่างที่ทำให้ทารกมีเหงื่อออกมากผิดปกติกว่าเด็กคนอื่น เช่น โรคหัวใจ โรคธัยรอยด์เป็นพิษ แต่ลูกควรมีอาการผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น เลี้ยงไม่โต ดูดนมแล้วดูเหนื่อยต้องหยุดเป็นพักๆ ตรวจร่างกายฟังได้ยินเสียงผิดปกติที่หัวใจ หากสงสัยว่าลูกเป็นโรคเหล่านี้ ให้ปรึกษากุมารแพทย์ได้ค่ะ หากตรวจแล้วพบว่าลูกปกติดี การมีเหงื่อออกเวลาดูดนม นอกจากช่วยระบายความร้อนแล้วยังช่วยให้ต่อมเหงื่อทำงานขับของเสียออกทางผิวหนังอีกทางหนึ่ง จึงไม่จำเป็นต้องเปิดแอร์ให้ลูกตลอดเวลา เพียงใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ง่าย และอยู่ในที่อากาศถ่ายเทจะดีกว่าค่ะ >>>ขอบคุณข้อมูล : สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

Menu
All Categories
All Brands
All Ages
Promotions
Locations
BabyGift Family
BabyGift Care
Parents Guide
News & Event

All Categories

All Categories
All Brands
All Ages