ลูกติดเต้า ไม่เอาขวดนม รับมืออย่างไร

” ลูกติดเต้า ไม่ยอมใช้ขวดนมเลย ทำอย่างไรดี ? เริ่มให้ลูกหย่านมจากเต้า มาฝึกใช้ขวดนมเมื่อไหร่ดี ? ” อีกคำถามที่แม่ๆหลายคนมักเจอตอนลูกน้อยอายุ 1 ขวบ โดยเฉพาะคุณแม่ที่เลี้ยงลูกน้อยด้วยนมจากเต้าเพียงอย่างเดียว วันนี้ BabyGift มีเคล็ดไม่ลับมาฝากแม่ๆกันค่ะ
ต้องขอเกริ่นก่อนว่า ความจริงแล้วการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดอยู่แล้ว ด้วยคุณค่าของน้ำนมความอบอุ่นและอื่นๆ แต่เมื่อลูกรักโตขึ้น หลายคนที่ดูดนมแม่จากเต้าจนติด หรือที่เรียกว่า ” ลูกติดเต้า “ งอแงไม่ยอมกินนมจากขวด เวลาที่คุณแม่ต้องออกไปทำงานหรืออยู่นอกบ้าน การให้นมแม่จากขวดนม หรือการเริ่มหย่านมแม่ มักจะเกิดปัญหาตามมาเพราะลูกไม่ยอมกินนมจากขวด งอแงร้องไห้ จนเกิดปัญหาการกินกับลูกได้ และปัญหาการใช้ชีวิตของคุณแม่เอง
ฉะนั้นมาดูกันเลยค่ะว่าจะมีเทคนิคแบบไหน ที่สามารถทำให้ลูกได้ฝึกกินนมจากขวดได้ โดยไม่หักดิบ ไม่ทำให้ลูกร้องไห้งอแง หงุดหงิดเสียใจ คุณแม่เองก็ไม่ต้องเครียดไปด้วย ตามมาดูกันเลยค่ะ
8 ทริค ฝึกลูกดูดนมขวดแบบแฮปปี้

1 ) ค่อยๆ ฝึก ไม่บังคับลูก
เพราะการดูดขวดคือทักษะใหม่ของลูกรักที่เคยแต่ดูดนมแม่จากเต้ามาตลอด จนกลายเป็นว่า ลูกติดเต้า รวมถึงวิธีการดูดนมจากขวดกับการดูดนมจากเต้าก็มีความแตกต่าง จึงต้องอาศัยเวลาให้ลูกปรับตัวและฝึกฝน
รวมถึงลูกรักเองก็ต้องใช้สมาธิในการดูดมากขึ้นในช่วงแรก ฉะนั้นการทำความเข้าใจไม่บังคับ และให้ลูกได้ลองฝึกในสิ่งแวดล้อมที่เงียบและสงบค่อย ๆ ป้อนไป จะช่วยทำให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายและยอมกินได้มากขึ้น
2 ) เริ่มใช้ขวดตอนลูกไม่งอแง
นั่นคือหลีกเลี่ยงการให้ลูกลองทำอะไรใหม่ในช่วงเวลาที่เขาอาจจะงอแงได้ง่าย นั่นคือ ช่วงที่ลูกง่วงนอนจัด และช่วงที่ลูกหิวจัดนั่นเอง เพราะลูกจะโวยวายร้องไห้ไม่ยอมให้ความร่วมมือแน่นอน
3 ) การสลับมื้อนมจากเต้าและนมจากขวด
เป็นวิธีการค่อยๆ สลับมื้อนมให้ลูกคุ้นเคยมากขึ้น ด้วยการจากที่เคยให้นมจากเต้าทั้งวัน คุณแม่ก็อาจจะนำนมแม่ที่ปั๊มไว้มาให้ลูกกินสลับบ้างในบางมื้อ เช่น หากใน 1 วันให้กิน 5 ครั้ง ก็เริ่มเปลี่ยนเป็นนมจากเต้า 4 ครั้ง นมจากขวดสัก 1 ครั้ง พอวันที่ 2 ก็ให้นมจากเต้า 2 ครั้ง นมจากขวด 2 ครั้ง ค่อยๆ ทำ แบบนี้สัก 3-4 วัน ให้ลูกรู้ว่าจะมีสลับกันบ้าง พอลูกเริ่มยอมรับได้ ค่อยเพิ่มจำนวนมื้อนมจากขวดให้มากขึ้น หรือจะใช้สูรการสลับมื้อนม ดังนี้
- วันที่ 1-3 : มื้อแรก ให้นมจากขวด 1 ขวด แทนนมแม่จากเต้า มื้ออื่นๆ ที่เหลือเป็นนมจากเต้าเหมือนเดิม
- วันที่ 4-6 : ให้นมจากขวด 2 ขวด อาจเป็นมื้อแรก หรือมื้อบ่าย นอกนั้นมื้ออื่นๆ สลับเป็นนมแม่จากเต้า
- วันที่ 7-9 : ให้นมจากขวด 3 ขวด ในมื้อแรก มื้อที่สอง และมื้อเย็น ที่เหลือเป็นนมแม่จากเต้า
- วันที่ 10 : ให้นมจากขวดทั้งหมดทุกมื้อ


4 ) ฝึกลูกดูดนมจากขวดก่อนเวลาหิวจริง
ควรเริ่มให้ดูดนมจากขวด ก่อนมื้อนมประมาณ 10-15 นาที หรือช่วงเวลาที่ลูกใกล้ตื่นจากนอน โดยไม่ควรฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวดตอนที่ลูกร้องหิว เพราะลูกจะมีอาการหงุดหงิด จนไม่ยอมกินนมแม่ที่อยู่ในขวดได้
5 ) ให้คนอื่นป้อน
เพราะลูกรักติดนมจากเต้าคุณแม่มานาน รวมถึงมีความผูกพันและอาจติดกลิ่น ติดความรู้สึกที่ได้กินนมแม่จากเต้า ดังนั้นเวลาที่ลูกเห็นหรือได้กลิ่นแม่อยู่ด้วย ลูกอาจจะไม่ยอมดูดนมจากขวดได้
ฉะนั้นบางครั้งอาจจะต้องให้คนอื่นเป็นคนป้อนขวดให้ลูก แล้วคุณแม่ก็แยกตัวไปอยู่ที่อื่นก่อน เพื่อเป็นการฝึกซ้อมตอนแม่ต้องไปทำงาน หรือออกไปนอกบ้านให้ลูกได้ค่อยๆ คุ้นเคย โดยคุณแม่ควรหลบไปอยู่นอกสายตาไม่ให้ลูกมองเห็น และอยู่ห่างๆ เพราะสัญชาตญานของลูกจะจำกลิ่นแม่ได้ ทำให้ลูกไม่ยอมกินนมจากขวด
6 ) เปลี่ยนจุกให้เหมาะสม
การเลือกจุกนมเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง สำหรับการฝึกลูกกินนมจากขวด เพื่อไม่ให้ลูกสับสนหัวนมระหว่างหัวนมจากเต้าแม่และหัวนมจากขวด ดังนั้นคุณแม่จึงควรเลือกหัวนมที่มีลักษณะและความนิ่มพอ ๆ กับหัวนมแม่ เลือกใช้จุกนมเสมือนนมแม่ เพื่อให้ลูกรู้สึกคล้ายการดูดนมจากเต้านมแม่ ดยปัจจุบันมีให้เลือกมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นจุกนมที่มีความนิ่ม มีฐานกว้าง ที่ลูกจะต้องใช้วิธีการดูดทั้งปากคล้ายนมแม่
Tommee Tippee ราคา 355.- บาท (2 ชิ้น/แพค)
- จุกนมสำหรับเด็ก ที่มีฐานกว้าง
- ใช้งานได้กับขวดนมชนิด PP PES
แก้ว ถุงเก็บน้ำนม Express and Go - ผลิตจากซิลิโคนที่เลียนแบบเต้านมของแม่
จึงให้ผิวสัมผัสนุ่ม ยืดหยุ่น น้ำนมไหลอย่างธรรมชาติ - ทนความร้อนได้ 120 องศาเซลเซียส
- น้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่นสูง
- คุ้มค่าระยะเวลาการใช้งาน 2-3 เดือน
- สามารถฆ่าเชื้อได้ด้วยการต้ม หรือเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อได้
- ปราศจาก BPA (สารก่อมะเร็ง)
PUR จุกนม รุ่น Gentle Touch ราคา 215.- บาท (2 ชิ้น/แพค)
- คอกว้าง ขนาดใหญ่ สำหรับเด็ก 6 เดือนขึ้นไป แพ็ค 2 ชิ้น
- มีแอร์วาว์ล ช่วยให้อากาศไหลผ่านจุกนมได้สะดวก ระดับการไหลของน้ำนมให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ จุกนมไม่ฟีบแบนแม้ดูดอย่างต่อเนื่อง (คล้ายดูดนมแม่)
- แอร์วาว์ล จะช่วยทำให้ไม่เกิดสุญญากาศที่ขวดนม จึงช่วยลดอาการสำลักซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการโคลิก
- ช่วยให้ลูกน้อยไม่ต้องกลืนอากาศในขณะดูดนม หมดกังวลเรื่องปัญหาท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้อง
- จุกนมซิลิโคน สามารถฆ่าเชื้อโดยวิธีการต้ม / แช่ในน้ำเดือด / นึ่งในเครื่องนึ่งไฟฟ้า หรือไมโครเวฟ
7 ) ใช้ขวดนมป้องกันลมเข้า ป้องกันท้องอืด
เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาลูกกินนมจากเต้าคุณแม่ มักจะไม่มีอาการท้องอืดแน่นท้อง ไม่เคยดูดลมเข้าในท้อง แต่การเปลี่ยนมาดูดนมขวด อาจทำให้ลูกมีอาการแน่นท้องได้ พ่อแม่จึงควรต้องป้องกันไม่ให้ลูกมีอาการไว้ก่อน เนื่องจากหากลูกปวดท้อง ไม่สบายท้องเพราะดูดขวด เขาจะไม่ยอมดูดขวดอีกเลย คุณแม่จึงควรฝึกลูกกินนมจากขวด ด้วยการเลือกซื้อขวดนมที่มีคุณภาพในการป้องกันลมเข้า ป้องกันโคลิก และให้ลูกได้หยิบจับได้สะดวก
Mummom PPSU Feeding bottle Anti-Colic
ขวดนมป้องกันอาการโคลิค ขนาด 6 oz. ราคา 490.- บาท
- ผลิตจากพลาสติ PPSU ที่ทนต่อความร้อนสูงถึง 180 องศา ใช้งานนานถึง 2 ปี
- วัสดุทุกชิ้นปราศจากสาร BPA และหมึกที่ใช้พิมพ์ลายขวดนม ผลิตจากพืช ปลอดภัยต่อลูกน้อย (100% Safe: BPA Free, Non-toxic plant ink)
- มีจุกนมที่ออกแบบให้เหมือนเต้านมแม่ ฐานกว้างนมไม่รั่ว
- มีรูระบายอากาศ แบบเข้าทางเดียว ทำให้น้ำนมไหลสม่ำเสมอ จุกนมไม่ฟีบแม้ดูดต่อเนื่อง
- จุกยางต่อกับสายยางทำให้ไม่มีลมเข้าเวลาดูด ทำให้ไม่เกิดลมเข้าสู่ปากลูก ไม่มีอาการท้องอืด หรือท้องเฟ้อ
- ผ่านการรับรองมาตรฐาน , มอก.
Tommee Tippee ขวดนม รุ่น Anti-colic 9 ออนซ์ ราคา – บาท
- มีส่วนช่วยลดการเกิดอาการโคลิค ปวดท้อง แน่นท้อง
- ผลิตจากพลาสติก ชนิด PP (โพลีโพลไพลิน) ขวดใส น้ำหนักเบา
- สามารถทนความร้อนได้ 110-120 องศาเซลเซียส
- คุ้มค่า สามารถใช้งานขวดนมได้นาน 6 เดือน
- สามารถฆ่าเชื้อได้ด้วยการต้ม หรือเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อได้
- ปราศจาก BPA (สารก่อมะเร็ง)
Nanobebe ขวดนม รุ่น Flexy Silicone 9 ออนซ์ ราคา 695.- บาท
- ทำจากซิลิโคนเกรดพรีเมียม เป็นฟู้ดเกรดที่ดีที่สุด BPA-Free, phthalate-free, lead-free, and PVC-free. 100% silicone interior
- จุกนมรุ่นระบายอาการพิเศษที่ลดอาการโคลิค มีรูระบายอากาศ 3 รู อยู่ตัวไม่ยุบลงง่าย ทำให้ลูกสามารถดูดได้ดี ไม่เกิดอาการหงุดหงิดหรือไม่สบายตัวหลังการดูดขวด
- ผิวสัมผัสนิ่ม ให้ความรู้สึกเสมือนเต้านมแม่ ทำให้ลูกสามารถเปลี่ยนจากเต้านมแม่สู่ขวดได้อย่างสบาย หรือสามารถใช้สลับเต้าขวดโดยไม่เกิดการสับสนของเต้านมแม่
- มีฐานขวดนมกว้างทรงคล้ายเต้านมแม่ ทำให้ขวดตั้งได้อยู่ตัวไม่ล้มลงง่าย และมีระดับวัดปริมาตรที่ชัดเจน
- คอขวดกว้างทำให้ล้างทำความสะอาดได้ทุกซอกมุม สามารถล้างในเครื่องล้างจาน และฆ่าเชื้อได้ในเครื่องอบ UV เครื่องนึ่ง และไมโครเวฟได้
- ใช้ได้กับลูกน้อยตั้งแต่วัยแรกเกิด ไปจนถึงวัย Toddler
Dr.Betta ขวดนมคอกว้าง Brain WS2 240 ml. ราคา 1,490 บาท
- ออกแบบให้มีรูปทรงโค้ง ตอบโจทย์การดื่มนมของลูกได้ดี ป้องกันโคลิค
- ลูกดื่มนมในท่านั่งตรงเสมือนดูดนมจากเต้ามารดา กลืนนมได้ง่ายยิ่งขึ้น
- ลดโอกาสการเกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบอัน จากการที่น้ำนมไหลเข้าสู่หูชั้นกลาง
- ถูกออกแบบมาให้มีอากาศในขวดน้อยที่สุด ลดการกลืนลมของลูกน้อย
- จุกนมเป็นแบบน้ำนมไหลตามแรงดูดของลูกน้อย มีความนิ่ม ปลายจุกกลมผิวสัมผัสมีความด้าน มีรอยหยักช่วงปลายจุกเสมือนนมแม่
- ใช้สลับกับการเข้าเต้าได้ รูปทรงโค้ง ให้ลูกจับเองได้ง่าย
- วัสดุของขวดนม ทำมาจากพลาสติก PPSU (สีชา)
- แข็งแรงทนทาน ตกไม่แตก ไม่ดูดซับสีและกลิ่น
- ทนความร้อนสูงสุด 180 องศา นึ่งและอบ UV ได้
- มีอายุการใช้งานสูงสุด 2 ปี

8 ) การฝึกให้ลูกเริ่มใช้ถ้วยหรือแก้วหัดดื่ม
นอกจากการฝึกให้ลูกใช้ขวดนมดูดน้ำนมแทนกินนมแม่จากเต้าแล้ว หากเป็นไปได้ อาจลองฝึกให้ลูกดื่มน้ำ หรือดื่มน้ำผลไม้ด้วยถ้วยหัดดื่ม เพราะลูกวัย 1 ปีขึ้นไปสามารถดื่มน้ำผลไม้ และน้ำปั่นอื่นๆ ได้บ้างแล้ว
ฉะนั้นหากลูกได้ดื่มนม ดื่มน้ำ หรือน้ำผลไม้อื่นๆ ได้อย่างมีความสุขหรือหลากหลายมากขึ้น การใช้ถ้วยหัดดื่มสำหรับเด็กที่มีสีสันสดใส ให้ลูกได้หยิบจับถือได้เอง จะทำให้ลูกรู้สึกสนุก และค่อยๆ เลิกกินนมจากเต้า หรือหัดใช้ถ้วยแทนการดูดนมจากขวดได้อีกด้วย มาดูกันว่า ถ้วยหัดดื่มที่น่าสนใจมีแบบไหนบ้าง
Bbox แก้วหัดดื่ม Disney/Sippy Cup 240 ml. ราคา 590.- บาท
- ผลิตมาจากวัสดุ ซิลิโคนนิ่ม, สเตนเลสคุณภาพสูง, PP-BPA, Phthalates and PVC free ที่มีความปลอดภัยสูง
- ออกแบบมาสุดพิเศษ โดยมีซิลิโคนลูกบอลเหล็กถ่วงน้ำหนัก
- ลูกรักสามารถดื่มได้ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะนั่งหรือนอน ด้วยนวัตกรรมการออกแบบ ที่ทำให้ปลายหลอดภายในแก้วจมอยู่ในของเหลว ตลอดเวลา
- ตัวแก้วออกแบบให้มีหูจับถนัดมือ ฝาเปิด-ปิดง่าย ไม่รั่วไม่หก ไม่สำลัก
- สามารถถอดล้างทำความสะอาดได้ทุกชิ้น ปลอดภัยจากการสะสมของเชื้อรา
- ปราศจาก BPA, Phthalates และ PVC
- เหมาะสำหรับลูกรักวัย 6 เดือนขึ้นไป มีสีสันสดใสให้เลือกหลากหลาย
PUR แก้วหัดดื่มพร้อมหลอดดูด Go’in Out 8 ออนซ์ ราคา 225.- บาท
- ผลิตจากวัสดุปลอดจากสาร BPA จึงมั่นใจในความปลอดภัยต่อลูกน้อย
- ขวดรูปทรงเว้าจึงจับขวดได้สะดวกยิ่งขึ้น พร้อมสีสันที่ช่วยดึงดูดความสนใจของลูกน้อยนำไปสู่พัฒนาการการเรียนรู้ที่มากขึ้น
- เก็บรักษาหลอดให้สะอาดด้วยหลอดซิลิโคนไม่รั่วซึม ทำความสะอาดง่ายและถูกสุขอนามัย
- ให้ลูกน้อยจับและถือได้ถนัดมือ เพราะออกแบบมาให้สามารถล๊อกมือจับหรือแกว่งได้ตามต้องการ
- สามารถล๊อกมือจับได้ที่ตัวขวด เพื่อใช้เป็นขวดนมแบบปกติระหว่างมื้ออาหารได้
- เสริมสร้างพัฒนาการ ทำให้ลูกน้อยรู้สึกสนุกสนานและเพลิดเพลินไปกับการดื่มน้ำกับแก้วน้ำสีสันสดใส
เป็นยังไงกันบ้างคะ กับเทคนิคที่ BabyGift นำมาฝาก ขอเพียงหมั่นฝึกฝนตามวิธีการต่างๆ ที่แนะนำ พร้อมกับใช้ตัวช่วยต่างๆ อย่างขวดนมที่เหมาะกับเจ้าตัวเล็ก และมีจุกนมที่ดี เพียงเท่านี้ ก็มั่นใจได้ว่าลูกน้อยจะยอมดูดขวดนมได้อย่างเพลิดเพลินแน่นอนค่ะ
สินค้าที่เกี่ยวข้อง
บทความแนะนำ
คุณแม่อาจป้อนอาหารบดละเอียดให้ลูกเสริมกับการกินนมแม่เป็นหลัก หรือถ้าคุณพ่อคุณแม่คนไหนอยากฝึก BLW ให้ลูกกินข้าวด้วยตัวเองเป็นก็อาจให้ลูกหยิบจับอาหารนิ่ม ๆ กินเองโดยที่ไม่ต้องป้อนซึ่งอาจเป็นอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงมาก อย่างเช่น ผักต้มนิ่มๆ ผลไม้นิ่มๆ เนื้อปลาต้มนิ่มๆ และเมื่อลูกย่างเข้าสู่เดือนที่ 8 เป็นต้นไป ลูกก็จะเริ่มกินอาหารได้หลากหลายมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ก็อาจมองหาเมนูอาหารใหม่ๆ ให้กับลูกน้อย ซึ่งในบทความนี้ BabyGift มีเมนูอาหารเด็ก 8 เดือน 5 เมนูอร่อยมาแนะนำกัน จะมีอะไรบ้างนั้น ลองไปดูกันค่ะ ชวนเข้าครัวเตรียมเมนูอาหารเด็ก 8 เดือนให้ลูกน้อย เด็ก 8 เดือนกินอะไรได้บ้าง ? พอลูกของเราอายุ 6 เดือนขึ้นไป ก็จะสามารถกินอาหารเสริมนอกเหนือจากนมแม่เพิ่มเติมได้ และถ้าเป็นไปได้ คุณแม่ก็ควรให้นมแม่ควบคู่กับการเพิ่มมื้ออาหารให้ลูก ซึ่งอาหารสำหรับเด็กอ่อนนั้น สามารถใช้วัตถุดิบได้หลากหลาย และเมื่อลูกอายุ 8 เดือนก็จะเริ่มมีฟันน้ำนม สามารถกินอาหารได้อย่างหลากหลายมากขึ้น เนื้อสัมผัสอาหารมีความหยาบได้มากขึ้น รวมถึงกินผลิตภัณฑ์จากนมอย่าง เนย ชีส และโยเกิร์ตได้ สำหรับเมนูอาหารเด็ก 8 เดือนที่เราจะแนะนำกันนั้น สามารถใช้วัตถุดิบอะไรได้บ้าง มาดูกันค่ะ แนะนำ […]
Kids Item 2018-2019 ของเพจ Daddy’s day ได้แก่ แท่น แทน แท่น แท๊นนนนนน Aprica Nano smart คันนี้เลย หลายคนถามมาเรื่องรถเข็นเด็ก ว่าใช้รุ่นไหนยังไงดี ทาง Daddy’s Day ขอเลือกคันนี้เลย เอาจริงๆ รถเข็นที่บ้านมี 3 คัน ตั้งแต่ไฮเทคสุดแต่หนักมาก ไม่ไฮเทค พับง่ายแต่น้ำหนักยังหนักอยู่ จนมาลงตัวกับ Nano smart ที่สุด ชอบมากสุด ใช้ดีต้องบอกต่อเลย บ้านเราได้ทดลองใช้พาไปเที่ยวญี่ปุ่นด้วย เพราะต้องเดินเยอะ แถมทางที่ไปหลายที่ มีทั้งทางเรียบ ขรุขระ ขึ้นเขาลงห้วยสารพัด รถเข็นคันนี้เอาอยู่หมด ตอบโจทย์มาก #พับเล็กพร้อมเดินทาง แบบสุดๆ 1. ที่ชอบที่สุดคือน้ำหนักเบา พกพาสะดวก เพราะรถเข็นน้ำหนักแค่ 5.6 kg เท่านั้น แบกสบาย ( มีกระเป๋าใส่มาให้ด้วยนะคะ แต่ทางเราไม่ได้ใช้เพราะรีบ ต้องแบกของเยอะ ) Daddy แบกของคนเดียวสบายๆเลย […]
หลายวันมานี้เราท่องโลกอินเทอร์เน็ตหนักมาก เพราะอยากรู้ว่าแม่ยุคใหม่เขาชอบอะไร ไอเทมไหนกำลังเป็นที่พูดถึงในกลุ่มแม่ๆ มากที่สุด จากการส่องพบว่าท็อปปิคที่ถูกพูดถึงมาก แต่ยังมีข้อมูลน้อยคือ “รถเข็นเด็ก” ไอเทมใหม่สำหรับแม่ลูกเล็กในยุคนี้นั่นเอง เราจึงไม่รอช้ารีบหาข้อมูลว่าคุณแม่ต้องการรถเข็นแบบไหนและพอจะสรุปได้ว่า คุณแม่ส่วนใหญ่ต้องการรถเข็นเด็กที่น้ำหนักเบา พับเก็บมือเดียวได้ เพราะส่วนมากไปกันสองคนแม่ลูก ต้องการระบบล้อที่ดี เข็นลื่นไหลไม่ต้องออกแรงมากส่วนใหญ่จะเข็นในสวนสาธารณะและทางเท้าซึ่งพื้นค่อนข้างขรุขระ สามารถปรับเอนได้เพราะลูกมักหลับตอนพาเที่ยว วันนี้เลยไปคว้า รถเข็นเด็ก Aprica รุ่น LUXUNA CTS มารีวิวเผื่อคุณพ่อคุณแม่จะเก็บไว้เป็นตัวเลือกเวลาต้องออกไปด้านนอกกับเจ้าตัวเล็กเพียงลำพัง รีวิวรถเข็นเด็ก Aprica” รุ่น LUXUNA CTS เห็นรูปลักษณ์ทะมัดทะแมงอย่างนี้แต่น้ำหนักเบานะจ๊ะ ช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการใช้งานมากๆ มาสำรวจสิว่าอะไรเป็นอะไร พอใช้งานจริงจะได้ไม่ยืนงง เริ่มต้นที่ด้ามจับเลยล่ะกัน เราว่าตอบโจทย์มากนะ เพราะสามารถปรับที่จับให้อยู่ด้านหน้าหรือด้านหลังลูกก็ได้ คุณแม่ที่กังวลว่าจะไม่มีปฎิสัมพันธ์กับลูกสบายใจเรื่องนี้ได้เลยและเลิศได้อีกกับล้อแบบ Auto 4 wheels ที่จะล๊อคล้อและคลายล๊อคล้อแบบอัตโนมัติในเวลาเราเปลี่ยนที่จับให้มาอยู่ด้านหน้าหรือด้านหลังก็ได้ ถ้าใครเคยเข็นลูกแบบแม่อยู่ด้านหน้าจะนึกออกเลยว่าเวลาเราเข็นแบบนี้แล้วถ้าล้อหลังหมุนไม่ได้ พอจะเลี้ยวซ้ายที เลี้ยวขวาทีก็ต้องตีวงอ้อมกว้างไปอีก บังคับทิศทางก็ยากมาก มาเจอล้อแบบ Auto 4 Wheels สบายเลยขนาดเราลองเข็นในที่แคบ ๆ ก็ยังเข็นง่ายเรียกว่าโดนใจสุดๆ การปรับก้านเข็นไปด้านหลัง ช่วยให้เข็นได้ง่าย ปรับเอนนอนได้ 170 องศา เมื่อปรับก้านเข็นมาด้านหน้า ระบบล้อจะถูกปรับเปลี่ยนการล๊อคได้แบบอัตโนมัติ นอกจากเรื่องปรับล้อหมุนแบบ 360 องศา Auto 4 Wheels เรื่องรองรับแรงกระแทกที่ล้อก็โอเคเลย […]
ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้คาร์ซีทมือสอง โดย หมอวิน เพจ #เลี้ยงลูกตามใจหมอ ว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยของคาร์ซีท #คาร์ซีทมือสอง ตามที่พ่อหมอเคยเขียนเรื่องการเลือกซื้อคาร์ซีทไว้แล้วตั้งแต่ตอนเปิดเพจครับ คลิกอ่านได้ครับที่ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1318721458224835&substory_index=0&id=1312969582133356 ก็เริ่มมีลูกเพจเริ่มถามเรื่อง “การซื้อคาร์ซีท” ในหัวข้อนอกเหนือจากคำถามเบื้องต้นครับ โดยเฉพาะเรื่อง “การซื้อคาร์ซีทมือสอง” หรือ “คาร์ซีทเก่า” ตามคำแนะนำของราชวิทยาลัยกุมาร ฯ ของสหรัฐอเมริกา … บอกไว้ว่า
บ้านไหน ? กำลังวางแผนซื้อรถเข็นให้ลูกอยู่บ้างเอ่ยยย พ่อแม่หลายคนถาม หมอแอม เข้ามากันเยอะมาๆๆ ว่าเวลาซื้อรถเข็นให้ลูกควรดูเรื่องอะไรบ้าง เลือกรถเข็นให้ลูกยังไง? ให้เหมาะกับสถานการณ์โควิด และสภาพแดดบ้านเราแบบนี้ ?? วันนี้ หมอแอม มีหลักการเลือกรถเข็นเด็ก ง่ายๆ สไตล์คุณหมอมาฝากกันค่ะ จะมีเคล็ดลับอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ ตั้งแต่ปี 2019 จนถึงช่วงนี้ที่มีสถานการณ์โควิดระบาด และคิดว่าน่าจะอยู่กับเราไปอีกสักพัก เด็กเล็ก 0-2 ขวบที่ยังใส่แมสก์เหมือนผู้ใหญ่ไม่ได้ คำแนะนำของสมาคมกุมารแพทย์สหรัฐอเมริกา และกรมอนามัย คือ แนะนำว่าเด็กเล็กๆให้หาผ้าคลุม หรือใช้รถเข็นเด็กแล้วคลุมผ้าไว้แทนการใส่แมสก์ได้ค่ะ ทีนี้จะเลือกรถเข็นยังไงล่ะ? ให้เหมาะกับลูก เหมาะกับบ้านเรา และเหมาะกับสถานการณ์โควิด หรือสารพัดโรคระบาดของเด็กเล็กได้ วันนี้หมอแอมมีหลักการเลือกรถเข็นเด็กมาฝากค่ะ หลักการเลือกรถเข็นเด็ก 5 ข้อ เพจเรื่องเด็กๆ by หมอแอม 1) อันดับแรกที่ หมอแอม ดู คือ โครงสร้างต้องแข็งแรง และมีระบบลดการสั่นสะเทือน […]
แน่นอนว่าคุณแม่ทุกบ้านจะต้องตื่นเต้นกับการทานข้าวมื้อแรกของลูก แต่นอกจากความตื่นเต้นแล้ว การฝึกลูกน้อยให้มีวินัยในการรับประทานอาหารก็ถือเป็นงานหินชิ้นนึงเลยล่ะค่ะ สำหรับคุณแม่ๆ บ้านไหนที่กำลังหาวิธีฝึกลูกน้อยให้คุ้นชินกับการทานข้าวอยู่ล่ะก็ มาดูกันดีกว่าว่าเรามีวิธีดีๆ อะไรมาฝากกันบ้าง ฝึกลูกหม่ำข้าวด้วยวิธีง่ายๆ ไม่ต้องบังคับ 1. นั่งโต๊ะและเริ่มทานข้าวพร้อมกัน อย่างที่เรารู้ๆ กันอยู่ว่าเด็กมักจะชอบเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ นั่นแหละค่ะ เราลองเอาเรื่องนี้มาเป็นตัวช่วยกันดีกว่า เพราะงั้นเวลาเราทานข้าว เราก็ควรให้ลูกน้อยของเรานั่งร่วมโต๊ะอาหารด้วยเนอะ ให้เค้าเห็นว่าทุกคนมีความสุขในการรับประทานอาหาร เห็นเวลาเรานำช้อนเข้าปาก ให้เค้ารู้ว่าการทานข้าวเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนทำ และเค้าก็ต้องทำด้วยเหมือนกัน แม้ตอนแรกอาจจะมีร้องงอแงบ้าง แต่ก็อย่าไปยอมแพ้ค่ะ ทำบ่อยๆ ทำให้เป็นกิจวัตร เดี๋ยวเค้าก็จะชินไปเอง 2. ทานอาหารให้เป็นเวลา คุณแม่บางบ้านอาจจะยุ่งหัวหมุนกับทั้งงานประจำและงานบ้านจนเผลอไม่ได้ทานข้าว อ๊ะๆ ถ้าคุณแม่กำลังเป็น Working Woman แบบนี้อยู่ เราขอให้คุณแม่วางงานซักนิด แล้วมาทานข้าวกับลูกน้อยเมื่อถึงเวลา เพราะเราควรฝึกให้เค้าคุ้นเคยกับเวลาที่ต้องทานอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาหารเช้า กลางวัน เย็น คุณแม่ก็ควรจะให้เค้าทานเวลาเดิมๆ นอกจากจะสร้างนิสัยให้เค้าแล้ว ยังเป็นการปรับระบบย่อยอาหารภายในร่างกายของลูกน้อยอีกด้วยน้า ถ้าเค้าคุ้นเคยกับเวลาแล้ว ทีนี้ล่ะ ไม่ต้องเรียกเลย พอถึงเวลาเค้าก็จะหิวขึ้นมาเอง 3. เปลี่ยนเมนูอาหารให้หลากหลาย เด็กหลายๆ คนเบื่อข้าว อมข้าว เพราะอาจจะเป็นเรื่องของรสชาติที่ไม่ถูกปาก หรือเมนูอาจจะซ้ำซากจำเจจนเกินไป การเปลี่ยนเมนูอาหารให้หลากหลายเนี่ย นอกจากจะช่วยให้ลูกได้รับสารอาหารครบถ้วนแล้ว ยังทำให้เค้าเพลิดเพลินไปกับเมนูใหม่ๆ ด้วยนะ […]

ร้านสินค้าแม่และเด็กที่คัดสรรนวัตกรรมของใช้แม่และเด็กที่มี
คุณภาพให้คำปรึกษาและบริการ อย่างผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยให้การเลี้ยงลูกเป็นเรื่องง่าย ปลอดภัย และมีความสุข
Online Shopping
สาขา ปิ่นเกล้า ราชพฤกษ์
สาขา Mega บางนา
สาขา Central World
สาขา The Crystal รามอินทรา
สาขา BTS วงเวียนใหญ่ (Outlet)
Copyright 2024 © Baby Gift (Retail) Co., Ltd.