แชร์ 10 วิธีรับมือ ลูกร้องไห้ ดิ้นบนพื้นนอกบ้าน

หลายครั้งที่เห็น ลูกร้องไห้ ชอบโวยวายเวลาถูกขัดใจในที่สาธารณะ บางครั้งถึงกับลงไปนอนดิ้นบนพื้นกันเลย ถือเป็นเรื่องน่าหนักใจไม่น้อยสำหรับผู้ปกครอง เรียกว่าเป็นพฤติกรรมของเด็ก ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่หลายท่านไม่อยากให้เกิดขึ้นกับลูกตัวเองอย่างแน่นอน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรจะทำความทำเข้าใจในวัยของลูกก่อน ซึ่งการเตรียมพร้อมรับมือและฝึกลูกสม่ำเสมอ จะช่วยเสริมสร้าง EQ ให้ลูกได้ ให้ลูกได้รู้จักอารมณ์ของตนเอง และฝึกควบคุมหรือระงับอารมณ์ของตนเองได้
ลูกร้องไห้ ดิ้นบนพื้นในที่สาธารณะ จะแก้ไขอย่างไรดี
เด็กวัยไหน ร้องไห้อาละวาดบ่อยที่สุด
ลูกร้องไห้ อาละวาดในเด็ก จะพบได้ตั้งแต่อายุ 12 – 18 เดือน แต่ส่วนใหญ่จะพบบ่อยในช่วงอายุ 2 – 3 ปี ซึ่งมีสถิติพบว่า เด็กประมาณ 50-80% จะมีการร้องอาละวาดอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และจะค่อย ๆ ลดลงเมื่ออายุ 4 ปี ซึ่งส่วนใหญ่การร้องอาละวาดของเด็กมักจะใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที

สาเหตุ ลูกร้องไห้ อาละวาดดิ้นบนพื้น
- เด็กเริ่มมีพัฒนาการด้านอารมณ์
เป็นพัฒนาการปกติที่เด็กเริ่มมีความรู้สึกอยากเป็นตัวของตัวเอง (Autonomy) แต่วัย 1 – 3 ปี จะยังไม่สามารถแสดงความต้องการของตนเองได้ดีนัก ไม่รู้ว่าจะแสดงอารมณ์อย่างไร แบบไหน ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เมื่อเวลาที่ถูกขัดใจ ไม่พอใจ โกรธและเสียใจ เกิดความคับข้องใจ ก็จะควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ จึงมักแสดงออกมาในรูปของการกรีดร้อง ร้องไห้ไปกรี๊ดไป นอนชักดิ้นชักงอกับพื้น กระทืบเท้าไม่พอใจ ฟาดแขนขา ทำร้ายตนเอง ทำร้ายผู้อื่น เป็นต้น
- เกิดจากการเลี้ยงดูแบบตามใจมากเกินไป
ลูกร้องไห้โวยวายอยากได้อะไร ก็รีบให้ทันที เพราะทนเห็นลูกร้องไห้ไม่ได้ ซึ่งการทำแบบนี้ ลูกก็จะเรียนรู้ว่าการที่เขาอาละวาดเสียงดัง เขาก็จะได้ดั่งใจเสมอ ทำให้ลูกเอาแต่ใจมากขึ้น หรือบางครั้งคุณพ่อคุณแม่ครั้งนึกจะเข้มงวด ก็ใช้วิธีลงโทษที่รุนแรงเกินไป ทั้ง ตำหนิเสียงดัง ดุด่าด้วยถ้อยคำรุนแรง ก็เป็นอีกสาเหตุทำให้ลูกหงุดหงิดไม่พอใจได้ง่าย
- ลูกมีพื้นอารมณ์แบบเด็กเลี้ยงยาก (Difficult temperament)
ลูกมีจังหวะการนอน การกิน หรือการขับถ่ายไม่เป็นเวลา ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงยาก อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีความอดทนต่ำ ความรู้สึกไวต่อสิ่งเร้าทางร่างกาย อารมณ์และความรู้สึก ทำให้ร้องอาละวาดได้ง่าย ยิ่งหากพ่อแม่ตอบสนองต่อความต้องการไม่ถูกต้องเหมาะสม ก็จะยิ่งกระตุ้นให้ลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
- ลูกมีปัญหาสุขภาพและพัฒนาการ
เช่น ออทิสติก สมาธิสั้น มีปัญหาสายตาหรือการได้ยิน มีพัฒนาการภาษาล่าช้า จึงทำให้สื่อสารในสิ่งที่ต้องการไม่ได้ จึงแสดงด้วยอาการร้องอาละวาดได้ง่าย

10 วิธีรับมือ เมื่อลูกงอแงร้องไห้ดิ้นบนพื้น
- อุ้มลูกขึ้น จับให้เขาหยุด หากเห็นว่าลูกร้องไห้มีอาการรุนแรงถึงขั้นขว้างปาสิ่งของ หรืออาจได้รับอุบัติเหตุ ให้คุณพ่อคุณแม่รีบเข้าไปรวบตัว อุ้มจับให้เค้าหยุดทันที แล้วค่อย ๆ พูดกับลูกว่า ไปกันลูก หนูทำแบบนี้ไม่ได้นะ ห้ามทำลายข้าวของ แม่รู้ว่าหนูโกรธ แต่ทำไม่ได้
- นิ่งเฉย ใช้ความสงบสยบอารมณ์ลูก หากอยู่ที่สาธารณะกลางห้างหรือตลาด ให้จับลูกออกมาห่างจากสินค้า หรือคนอื่นจะได้ไม่รบกวนคนอื่น และปล่อยให้ลูกดิ้นไป ไม่ต้องสนใจ เดินหนีออกมา บอกลูกว่าแม่จะไปก่อนหากหนูไม่เงียบ แล้วรอให้เค้าสงบสติอารมณ์ก่อน แล้วค่อยเดินเข้าไปหาลูก

- ปลอบด้วยการกอด พูดด้วยเหตุผล ว่าพ่อแม่เข้าใจลูกรู้ว่าหนูไม่พอใจ แต่ให้ไม่ได้ หนูทำไม่ได้ เพราะเด็กบางคนแค่ต้องการความสนใจ ให้รู้ว่าเขาไม่พอใจหรือเสียใจ ฉะนั้นแค่การกอดลูกเบา ๆ และพูดด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน ลูกเป็นอะไร ลูกเจ็บตรงไหนรึเปล่า เป็นการดึงสติให้ลูกสงบและว่าพ่อแม่ใส่ใจ ลูกจะค่อย ๆ รู้สึกถึงสัมผัสที่นุ่มนวลอบอุ่นจากพ่อแม่ทำให้ ความโกรธ โมโห น้อยใจต่าง ๆ จะลดลง
- ไม่ตำหนิ ลงโทษ ตี ดุว่า ตะคอก หรือหงุดหงิดใส่ เพราะจะยิ่งทำให้ลูกรู้สึกอยากเอาชนะ และการใช้กำลังจะทำให้ทำลูกรู้สึกกดดัน เกิดการต่อต้านหนักมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ความรุนแรง ไม่ลงโทษเมื่อลูกร้องอาละวาด
5. ดึงดูดความสนใจลูกด้วยสิ่งอื่น เวลาที่ลูกร้องไห้บนพื้น คุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจในช่วงแรกโดยเฉพาะเด็กเล็ก เช่น “ไม่ร้องนะคะคนเก่ง อุ้ย..ไปดูปลาตรงโน้นกันดีกว่า” “ดูสิตรงนั้นมีแมวเหมียว ไปดูกันนะจ๊ะ” หรือ ลองหาของเล่นเด็กดึงดูดความสนใจ เช่น HUILE TOYS พวงมาลัยรถ Happy Mini Steering Wheel, HUILE TOYS ชุดกระเป๋าแต่งหน้า Princess Suitcase หรือ Prince&Princess กล้องถ่ายรูป ของเล่นเด็ก รุ่น Instant Polaroid ซึ่งเป็นของเล่นที่ดึงดูดความสนใจได้ดี ปรับเปลี่ยนการเล่นได้หลากหลาย ให้เด็ก ๆ ไม่เบื่อง่าย ๆ

- ใช้วิธีแยกลูก หากลูกโตขึ้นมาอยู่ในวัยอนุบาลขึ้นไป เวลาร้องดิ้นอาละวาด อาจใช้วิธีแยกให้ลูกอยู่คนเดียว (time-out) และเก็บสิ่งของที่อาจเป็นอันตรายให้พ้นมือเด็ก เพื่อให้ลูกได้สงบสติอารมณ์ก่อนพูดคุยกัน
- หากลูกทำร้ายตนเอง ทำร้ายผู้อื่นหรือทำลายข้าวของ ให้จับลูกออกมาจากบริเวณนั้น กอดหรือจับมือลูกไว้จนกว่าเด็กจะสงบ
- เมื่อลูกสงบแล้วให้เข้าไปคุยกับตามปกติ ถึงสิ่งเกิดขึ้นและวิธีการแก้ไข พูดด้วยเหตุและผลและแสดงความเข้าใจ ว่าแม่รู้ว่าหนูอยากได้ หนูโกรธแต่อันนี้เรามีแล้ว เราไม่ซื้อแล้ว หรือให้ลูกรู้จักรอ เช่น เอาไว้วันเกิดค่อยซื้อใหม่ เพื่อสอนให้เค้า ความอดทน รู้จักรอ ซึ่งช่วงแรก ๆ ลูกอาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจ แต่ถ้าสอนบ่อย ๆ ลูกก็จะรู้ได้เอง เป็นการฝึกให้ลูกมี EQ คือ ความฉลาดทางด้านอารมณ์ รู้อารมณ์ของตนเอง สามารถควบคุมหรือระงับอารมณ์ของตนเองได้เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ
- สังเกตและดูแลความปลอดภัยให้ลูก พ่อแม่ต้องตรวจสอบสถานที่โดยรอบว่าปลอดภัยหรือไม่ในขณะที่ลูกร้องดิ้นบนพื้น เช่น ไม่มีสิ่งของแตกหัก ไม่มีของใช้ที่จะตกหล่นลงมาทำอันตราย ลูกไม่ทำร้ายใคร หรือขว้างปาข้าวของ เพราะหากมีสิ่งที่เป็นอันตรายหรือเสี่ยงต่ออุบัติเหตุควรรีบหยุดลูก และอุ้มพาลูกออกไปทันที ไม่ต้องรอปลอบโยน หรือปล่อยให้ลูกสงบเอง แม้ลูกจะร้องอยู่ก็ตาม

วิธีสอนและป้องกันไม่ให้ลูกแสดงพฤติกรรมร้องไห้ดิ้นบนพื้น
- กำหนดกฎกติกาให้เหมาะสมกับอายุลูก โดยทำข้อตกลง กำหนดขอบเขตของสิ่งที่ลูกทำได้หรือทำไม่ได้ให้ชัดเจน และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดนั้นอย่างสม่ำเสมอ หรืออาจจะสัญญากับลูกก่อนว่า ถ้าลูกอยากไปด้วย ห้ามงอแง ห้ามโวยวาย ไม่อย่างนั้นแม่จะไม่พาไปข้างนอกอีก สอนให้เขารักษาสัญญา
- เตือนล่วงหน้า เปิดโอกาสให้ลูก เช่น เตือนล่วงหน้า ว่าอีก 10 นาที เรามาเก็บของเล่นกันแล้วไปทานข้าวนะจ๊ะ ซึ่งการให้ลูกเลิกกิจกรรมที่สนใจ ให้เลิกเล่น ถ้าให้เลิกเลยตอนนั้น อาจกระตุ้นให้ลูกไม่พอใจ จึงควรเตือนลูกล่วงหน้าหรือให้ทางเลือกก่อนจะให้เขาเลิกทำกิจกรรมนั้น
- สอนลูกให้ใช้คำพูดแสดงความรู้สึก เช่น “หนูโกรธแล้วนะ” หรือตั้งคำถามว่า “ทำไมหนูถึงซื้อของเล่นนี้ไม่ได้”เพื่อให้ลูกรู้จักวิธีการแสดงออกทางอารมณ์ บอกอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้พ่อแม่เข้าใจ โดยไม่ใช้วิธีแสดงอารมณ์ทางร่างกายหรือใช้ความรุนแรง
- หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ลูกหงุดหงิดง่าย เช่น การทำกิจกรรมที่เกินสามารถตามวัย ของลูก เพราะลูกอาจจะยังทำไม่ได้ หรือควรให้เวลาลูกในการช่วยเหลือตัวเองหรือเริ่มทำสิ่งใหม่ ๆ เพื่อไม่ให้ลูกหงุดหงิดที่ตัวเองทำไม่ได้ทันที แต่หากลูกเริ่มหงุดหงิดควรพยายามเบี่ยงเบนความสนใจ หรือบอกลูกว่าเอาไว้ลองทำใหม่ในครั้งหน้าแทน
- เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูก ไม่พูดหรือแสดงพฤติกรรมที่รุนแรง เพราะลูกจะเลียนแบบได้ และควรแสดงออกถึงสิ่งดี ๆ เป็นตัวอย่างให้ลูก เช่น “พ่อขอโทษนะครับที่ทำให้ลูกรอ” “ขอบคุณนะคะที่ให้ของเล่นแม่” เป็นต้น เพื่อให้ลูกซึมซับการแสดงออกที่เหมาะสมได้
แต่ถ้าหากพยายามสอนและลองทำทุกวิธีแล้ว แต่ลูกยังไม่เชื่อฟัง ยังอาละวาดเป็นประจำ อาจลองพาลูกไปปรึกษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่นโดยเฉพาะ เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมกับลูก เพื่อให้ลูกมีความฉลาดทางอารมณ์มากขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันราชานุกูล และ โรงพยาบาลสินแพทย์
สินค้าที่เกี่ยวข้อง
บทความแนะนำ
ว่ากันว่า “น้ำนมของแม่นั้นดีที่สุด” มีคำแนะนำทางการแพทย์ว่าควรให้ทารกกินนมแม่ไปจนถึงอายุ 2 ขวบหรือนานกว่านั้น แม้ว่าลูกน้อยจะอายุ 6 เดือนขึ้นไปแล้ว ก็ควรกินน้ำนมของแม่ร่วมกับการกินอาหารอื่น ๆ เพื่อเสริมคุณค่าทางโภชนาการ เพราะในน้ำนมของแม่นั้นมีความสำคัญต่อลูกน้อยมาก ๆ ในน้ำนมมีสารอาหารที่ดีต่อลูกน้อยหลายอย่าง ทั้งยังมีภูมิคุ้มกันที่ช่วยปกป้องลูกน้อยให้แข็งแรง นอกจากนี้ การให้ลูกกินน้ำนมของแม่ก็ยังมีข้อดีต่อตัวคุณแม่เองด้วยเช่นกัน ประโยชน์ของนมแม่ มีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลยค่ะ ประโยชน์ นมแม่ อาหารเปี่ยมคุณค่าสำหรับลูกน้อย นมแม่นั้นเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกแรกเกิด เพราะเต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ และช่วยเสริมภูมิต้านทานโรคให้กับลูก ประโยชน์ของนมแม่ช่วยลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วย และในขณะที่ทารกกินน้ำนมจากเต้าของนั้น ก็เป็นการช่วยสร้างความผูกพันระหว่างแม่กับลูกด้วย ทั้งยังทำให้ทารกรู้สึกอบอุ่นปลอดภัยนอกจากนี้ สำหรับคุณแม่เอง การให้ลูกกินนมก็ยังจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และเบาหวาน โดยองค์การอนามัยโลก และยูนิเซฟมีคำแนะนำเกี่ยวกับการให้นมของแม่เอาไว้ดังนี้ค่ะ ประโยชน์ของนมแม่ มีอะไรบ้าง ? ชวนรู้ การให้นมลูกก็มีประโยชน์ต่อคุณแม่เองด้วย ประโยชน์ของนมแม่ นอกจากจะดีต่อลูกน้อยแล้ว การที่คุณแม่ให้นมลูก ก็มีข้อดีต่อตัวคุณแม่เองด้วย ดังนี้ Tips ในการให้นม สำหรับคุณแม่มือใหม่ เมื่อได้รู้ประโยชน์ของนมแม่กันแล้ว เชื่อว่าคุณแม่หลายๆ ท่านก็อยากจะให้ลูกน้อยของเราได้กินนมตั้งแต่แรกเกินไปจนถึงอายุ 2 – 3 ขวบ แต่ในบางคนก็ต้องกลับไปทำงานประจำหลังพ้นช่วงลาคลอด […]
เดินทางมาเกินครึ่งทางแล้วขอคารวะให้กับความสตรองของแม่ๆ แต่ยิ่งใกล้วันครบกำหนดคลอดเท่าไหร่กลับยิ่งเครียดหนักกว่าเดิม แถมร่างกายของคุณแม่ช่วงนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงแบบเยอะมากๆ คุณแม่บ้านไหนที่กำลังกังวลเรื่องท้องเล็ก ช่วง 6 เดือนนี่แหละค่ะ ที่ท้องของคุณแม่ๆ จะเริ่มใหญ่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แถมน้ำหนักก็ยังขึ้นพรวดๆ แบบก้าวกระโดด ช่วงนี้คุณแม่จะหิวเป็นพิเศษ แถมยังต้องทานอาหารเยอะขึ้นกว่าเดิมเพราะลูกน้อยของคุณแม่กำลังช่วยใช้พลังงาน ตั้งแต่ช่วงนี้เป็นต้นไป คุณแม่อาจจะรู้สึกถึงอาการท้องแข็ง อาการท้องแข็งคือเวลาที่มดลูกของคุณแม่หดตัว ท้องของคุณแม่ก็จะแข็งนูนขึ้นมาค่ะ ซึ่งเป็นเรื่องปกตินะ ถ้าไม่ได้เกิดแบบถี่ๆ ติดต่อกัน และเพราะความเปลี่ยนแปลงเยอะแยะเหล่านี้นี่แหละ ทำให้คุณแม่อาจจะต้องดูแลช่วงครึ่งหลังนี้เป็นพิเศษ เรามาดู 6 เรื่องที่คุณแม่ท้อง 6 เดือนต้องระวังกันค่ะ 1.ความเครียดไม่ใช่เรื่องดี อันที่จริงเรื่องความเครียดก็เป็นสิ่งที่ต้องระวังตั้งแต่ตั้งครรภ์แรกๆ แล้วเนอะ แต่อย่างที่บอกค่ะ ว่าช่วงนี้คุณแม่จะเปลี่ยนไปค่อนข้างมาก อาจจะทำให้เกิดความเครียดไม่รู้ตัว เช่น คุณแม่บางคนอาจจะเป็นกังวลกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมาของตัวเอง หรือบางคนอาจจะมีอาการปวดชายโครงเพราะท้องที่ใหญ่ขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการเครียดตามมา หากคุณแม่เกิดอาการเครียดมากๆ แล้ว จะส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนและสารเคมี ซึ่งเจ้าสารเคมีตัวนี้จะส่งผลโดยตรงกับการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ค่ะ คุณแม่ที่เครียดมักจะคลอดก่อนกำหนด แถมยังทำให้ลูกมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์อีกด้วย 2.ไม่ใช่เวลาของกิจกรรมผาดโผน ด้วยขนาดท้องที่ใหญ่ขึ้น การทำกิจกรรมผาดโผนต่างๆ อาจเป็นการเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการกระแทกบริเวณหน้าท้อง ซึ่งเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์อย่างยิ่งค่ะ แถมการที่คุณแม่เคลื่อนไหวตัวอย่างรวดเร็วหรือทำอะไรแบบปุปปับ ยังเป็นสาเหตุทำให้มดลูกเกิดการบีบรัดตัว เกิดอาการท้องแข็ง และถ้าเกิดคุณแม่มีอาการท้องแข็งบ่อยๆ เข้าล่ะก็ เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดอยู่นะ 3. […]
คุณแม่อาจป้อนอาหารบดละเอียดให้ลูกเสริมกับการกินนมแม่เป็นหลัก หรือถ้าคุณพ่อคุณแม่คนไหนอยากฝึก BLW ให้ลูกกินข้าวด้วยตัวเองเป็นก็อาจให้ลูกหยิบจับอาหารนิ่ม ๆ กินเองโดยที่ไม่ต้องป้อนซึ่งอาจเป็นอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงมาก อย่างเช่น ผักต้มนิ่มๆ ผลไม้นิ่มๆ เนื้อปลาต้มนิ่มๆ และเมื่อลูกย่างเข้าสู่เดือนที่ 8 เป็นต้นไป ลูกก็จะเริ่มกินอาหารได้หลากหลายมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ก็อาจมองหาเมนูอาหารใหม่ๆ ให้กับลูกน้อย ซึ่งในบทความนี้ BabyGift มีเมนูอาหารเด็ก 8 เดือน 5 เมนูอร่อยมาแนะนำกัน จะมีอะไรบ้างนั้น ลองไปดูกันค่ะ ชวนเข้าครัวเตรียมเมนูอาหารเด็ก 8 เดือนให้ลูกน้อย เด็ก 8 เดือนกินอะไรได้บ้าง ? พอลูกของเราอายุ 6 เดือนขึ้นไป ก็จะสามารถกินอาหารเสริมนอกเหนือจากนมแม่เพิ่มเติมได้ และถ้าเป็นไปได้ คุณแม่ก็ควรให้นมแม่ควบคู่กับการเพิ่มมื้ออาหารให้ลูก ซึ่งอาหารสำหรับเด็กอ่อนนั้น สามารถใช้วัตถุดิบได้หลากหลาย และเมื่อลูกอายุ 8 เดือนก็จะเริ่มมีฟันน้ำนม สามารถกินอาหารได้อย่างหลากหลายมากขึ้น เนื้อสัมผัสอาหารมีความหยาบได้มากขึ้น รวมถึงกินผลิตภัณฑ์จากนมอย่าง เนย ชีส และโยเกิร์ตได้ สำหรับเมนูอาหารเด็ก 8 เดือนที่เราจะแนะนำกันนั้น สามารถใช้วัตถุดิบอะไรได้บ้าง มาดูกันค่ะ แนะนำ […]
” ลูกติดเต้า ไม่ยอมใช้ขวดนมเลย ทำอย่างไรดี ? เริ่มให้ลูกหย่านมจากเต้า มาฝึกใช้ขวดนมเมื่อไหร่ดี ? ” อีกคำถามที่แม่ๆหลายคนมักเจอตอนลูกน้อยอายุ 1 ขวบ โดยเฉพาะคุณแม่ที่เลี้ยงลูกน้อยด้วยนมจากเต้าเพียงอย่างเดียว วันนี้ BabyGift มีเคล็ดไม่ลับมาฝากแม่ๆกันค่ะ ต้องขอเกริ่นก่อนว่า ความจริงแล้วการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดอยู่แล้ว ด้วยคุณค่าของน้ำนมความอบอุ่นและอื่นๆ แต่เมื่อลูกรักโตขึ้น หลายคนที่ดูดนมแม่จากเต้าจนติด หรือที่เรียกว่า ” ลูกติดเต้า “ งอแงไม่ยอมกินนมจากขวด เวลาที่คุณแม่ต้องออกไปทำงานหรืออยู่นอกบ้าน การให้นมแม่จากขวดนม หรือการเริ่มหย่านมแม่ มักจะเกิดปัญหาตามมาเพราะลูกไม่ยอมกินนมจากขวด งอแงร้องไห้ จนเกิดปัญหาการกินกับลูกได้ และปัญหาการใช้ชีวิตของคุณแม่เอง ฉะนั้นมาดูกันเลยค่ะว่าจะมีเทคนิคแบบไหน ที่สามารถทำให้ลูกได้ฝึกกินนมจากขวดได้ โดยไม่หักดิบ ไม่ทำให้ลูกร้องไห้งอแง หงุดหงิดเสียใจ คุณแม่เองก็ไม่ต้องเครียดไปด้วย ตามมาดูกันเลยค่ะ 8 ทริค ฝึกลูกดูดนมขวดแบบแฮปปี้ 1 ) ค่อยๆ ฝึก ไม่บังคับลูกเพราะการดูดขวดคือทักษะใหม่ของลูกรักที่เคยแต่ดูดนมแม่จากเต้ามาตลอด จนกลายเป็นว่า ลูกติดเต้า รวมถึงวิธีการดูดนมจากขวดกับการดูดนมจากเต้าก็มีความแตกต่าง จึงต้องอาศัยเวลาให้ลูกปรับตัวและฝึกฝน รวมถึงลูกรักเองก็ต้องใช้สมาธิในการดูดมากขึ้นในช่วงแรก ฉะนั้นการทำความเข้าใจไม่บังคับ และให้ลูกได้ลองฝึกในสิ่งแวดล้อมที่เงียบและสงบค่อย […]
เปลนอนทารก ถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมาก ๆ สำหรับทารก ที่ต้องเตรียมซื้อตั้งแต่ก่อนคลอด เพราะทารกวัย 0-9 เดือน จะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอนและอยู่บนที่นอน ดังนั้น ก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะเลือกเปลนอนทารกให้ลูกน้อย ควรเลือกดูจากหลาย ๆ ด้าน เช่น ความปลอดภัย การระบายอากาศ ฟังก์ชั่นการใช้งาน รวมถึงอายุการใช้งาน เพราะการเลือก เปลนอนทารก ที่ไม่เหมาะสมกับทารกอาจส่งผลถึงเสียถึงชีวิตของลูกน้อยได้ วิธีเลือกเปลนอนทารกให้ลูกน้อย เปลนอนทารกมีกี่แบบ มีข้อดี ข้อเสีย อะไรบ้าง ? 1. เปลนอนทารก BEDSIDE CRIB แบบชิดเตียงแม่ เป็นเตียงสำหรับทารกแรกเกิด ที่มีฟังก์ชั่นเปิดด้านข้างเตียงเพื่อต่อชิดกับเตียงของคุณพ่อคุณแม่ได้ ทำให้สะดวกในการดูแลลูกน้อยมากขึ้น ข้อดีเตียง Bedside Crib ข้อเสียเตียง Bedside Crib 2. เตียงไม้ เป็นเตียงที่ถูกออกแบบมาเพื่อความแข็งแรง เน้นการใช้งานแบบคุ้มค่า ใช้ได้ในระยะยาวหลายปี สามารถรองรับน้ำหนักได้มาก ข้อดีเตียงไม้ ข้อเสียเตียงไม้ 3. เปลนอนทารกแบบ PLAYPEN เตียงนอนทารกปรับฟังก์ชั่นเป็นคอกกั้นให้ลูกน้อยได้ ฝึกพัฒนาการคลาน ยืน เป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับคุณแม่ ข้อดี Playpen ข้อเสีย Playpen 4. เปลไกวไฟฟ้า เป็นเตียงที่ได้ความนิยมมาก เพราะปรับการใช้งานได้หลายแบบ พร้อมไกวอัตโนมัติกล่อมลูกหลับได้ง่ายและสนิทมากขึ้น ถือว่าเป็นตัวช่วยในการเลี้ยงลูกน้อยได้ดี ข้อดีเปลไกวไฟฟ้า ข้อเสียเปลไกวไฟฟ้า เมื่อคุณพ่อคุณแม่ทราบถึงข้อดีและข้อแตกต่างของเปลทารกแต่ละประเภทแล้ว เบบี้ กิ๊ฟ มีเปลนอนทารกรุ่นขายดีที่สุด มาแนะนำคุณพ่อคุณแม่กันค่ะ […]
เพราะความปลอดภัยคือเหตุผลอันดับ 1 ที่พ่อแม่ต้องควักเงินซื้อคาร์ซีทให้ลูกน้อย ก็เพื่อปกป้องลูกจากการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ปัจจัยที่รองลงมาคือ ลูกนอนสบาย ใช้งานง่าย และงบประมาณ มาตรฐานความปลอดภัยของคาร์ซีท จริงๆแล้ววัดจากอะไร ก็ต้องเป็นวัสดุที่รองรับแรงกระแทกด้านใน ซึ่งคาร์ซีทแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อใช้วัสดุภายในที่ไม่เหมือนกัน แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ดังนี้ 1. EPS Foam และ EPP Foam EPS Foam (Polystyrene Foam) เป็นวัสดุที่ช่วยลดแรงกระแทก ที่ใช้ใน หมวกกันน๊อค ช่วยปกป้องชีวิต ผู้สวมใส่ โฟมชนิดนึ้จึงถูกนำไว้ในคาร์ซีท ใช้รองรับแรงกระแทกสำหรับศีรษะและส่วนบนของร่างกายเด็ก ในกรณีที่เกิดการกระแทกโฟมจะแตกและจะกระจายแรงกระแทกออกไปโดยแทบไม่มีแรงสะท้อนกลับ จึงทำให้ได้เด็กปลอดภัย ดังนั้นผู้ผลิตคาร์ซีทระดับมาตรฐานสากลส่วนใหญ่ จึงนำโฟมชนิดนี้มาใช้ในคาร์ซีทเพื่อรองรับแรงกระแทกโดยเฉพาะ ส่วน EPP Foam (Polypropylene Foam) เป็นวัสดุที่คล้ายกับ EPS Foam แต่มีความยืดหยุ่น ไม่แตกหักง่าย และทนความร้อนดีกว่า จึงนำไปผลิตเป็นภาชนะบรรจุอาหาร ที่สามารถเข้าไมโครเวฟได้ ข้อมูลอ้างอิงจาก http://www.carseatsite.com/FAQ.htm 2. Urethane […]

ร้านสินค้าแม่และเด็กที่คัดสรรนวัตกรรมของใช้แม่และเด็กที่มี
คุณภาพให้คำปรึกษาและบริการ อย่างผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยให้การเลี้ยงลูกเป็นเรื่องง่าย ปลอดภัย และมีความสุข
Online Shopping
สาขา ปิ่นเกล้า ราชพฤกษ์
สาขา Mega บางนา
สาขา Central World
สาขา BTS วงเวียนใหญ่ (Outlet)
Copyright 2024 © Baby Gift (Retail) Co., Ltd.