เตรียมคาร์ซีทพาลูกออกเที่ยวครั้งแรกกับพี่ตู่

เมื่อพี่ตู่เตรียมคาร์ซีท พาน้องริสาออกไปเที่ยวครั้งแรก…

แต่มะลิ (แม่บ้าน) ดันถอดเบาะคาร์ซีทไปซักซะงั้น งานนี้พี่ตู่ต้องใส่ผ้าหุ้มกลับเข้าไปเหมือนเดิม

เบาะทั้งหมดแบ่งออกเป็น 3 ชิ้น ที่เข้าใจง่ายๆ พี่ตู่บอกว่าง่ายมาก ทำครั้งแรกก็ได้เลย

#แท็กสามี #ซักคาร์ซีทให้หน่อย

เพราะคุณแม่นุชออกไปทำธุระข้างนอก การพาน้องริสาออกไปเที่ยวครั้งนี้มีแค่สองพ่อลูกเท่านั้น คาร์ซีทจึงจำเป็นมาก พี่ตู่เลือกคาร์ซีท Ailebebe รุ่น  Kurutto 4 Grance

ผ้าหุ้มตาข่ายระบายอากาศได้ดี

น้องริสานั่งแล้วสบายตัว ไม่อึดอัด ไม่งอแง

สบายจังเลย…ปะป๋า ของีบแป๊บบบบนะคะ

หมุนได้ 360 องศา อุ้มน้องริสาขึ้นลงคาร์ซีทได้ง่าย

คาร์ซีท Ailebebe ปลอดภัยแน่นอน เพราะทุกตัวผ่านการทดสอบอย่างเข้มงวด จากประเทศญี่ปุ่น

รีวิวคาร์ซีท Ailebebe รุ่น Kurutto4

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00

บทความแนะนำ

Q: ขวดนม อุปกรณ์ปั๊มนม ต้องต้ม หรือนึ่ง ให้ปราศจากเชื้อทุกวัน ? A: การนึ่ง หรือต้มฆ่าเชื้อขวดนมและจุกนมหลังใช้งานทุกวันจะทำให้ขวดนมพลาสติกและจุกนมเสื่อมสภาพเร็วขึ้นกว่าปกติ และไม่ได้ช่วยป้องกันโรคให้ทารกเพิ่มขึ้นมากไปกว่าล้างด้วยน้ำสบู่อุ่น ๆ หรือล้างด้วยน้ำร้อนผสมน้ำยาล้างขวดนมหลังใช้งาน การขยันทำให้ปลอดเชื้อมากเกินไป (over-sterilize) ไม่มีประโยชน์กลับเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมให้เชื้อที่ทนความร้อน และสร้างสปอร์ได้เพิ่มมากขึ้น (เพราะคุณไม่ได้ใช้หม้อความดัน หรือฉายรังสี) และทารกจะอาจได้สารพวกโพลีเมอร์ หรือฟอร์มัลดีไฮด์ปนเปื้อนออกมาจากพลาสติกที่เสื่อมสภาพแทน  สมาคมกุมารแพทย์อเมริกัน และ USFDA แนะนำให้ต้มหรือนึ่งฆ่าเชื้อขวดนม และอุปกรณ์ปั๊มนมเฉพาะครั้งแรกที่ใช้งานจากนั้นให้ล้างด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างขวดนมผสมน้ำอุ่น ทุกครั้งหลังใช้งานก่อนผึ่งให้แห้ง โดยไม่ให้้ใช้ผ้าเช็ด กรณีที่ต้องต้มหรือนึ่งฆ่าเชื้อทุกวันคือช่วงทารกป่วย เช่น ท้องร่วง หรือ เป็นฝ้าขาวในปาก คุณแม่ที่กังวลอาจนึ่งหรือต้ม ทุก 3-4 วัน สำหรับนมชง ทุก 1 สัปดาห์สำหรับนมแม่ทั้งนี้ จะต้องไม่มีการปล่อยให้นมบูดคาขวด (ถ้านมบูดคาขวดต้องต้มหรือนึ่งฆ่าเชื้อใหม่เสมอ) อย่างไรก็ตามไม่มีกฎตายตัว หากบ้านมีสภาพแวดล้อมที่ไม่สะอาด อยู่ใกล้แหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค อาจพิจารณาต้มหรือนึ่งให้บ่อยขึ้น สำหรับประเทศไทยที่มีภูมิอากาศร้อนชื้นมีโรคเขตร้อนที่เป็นโรคทางเดินอาหารมาก และประชากรมีสุขอนามัยไม่แน่นอน กุมารแพทย์ไทยหลายท่านอาจแนะนำให้คุณแม่ต้มหรือนึ่งขวดนมทุกวัน และกรณีที่ห้องครัวมีความสกปรกอับชื้นท่อน้ำไม่สะอาด หรือมีกระบะทรายแมวในห้องครัว (ซึ่งไม่ควรมี) คุณแม่อาจเลี่ยงไปตากขวดนม และจุกนมที่อื่นที่มีอากาศถ่ายเทคุณแม่ที่ปั๊มนมห้ามใช้สบู่เหลวในห้องน้ำที่ทำงานล้างขวดนม หรือ […]

เมื่อลูกน้อยของเราเริ่มโตขึ้นและมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป นอกจากการให้นมแม่แล้ว คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนอาจจะกำลังมองหาอาหารเสริมอื่น ๆ ให้กับเด็ก ๆ เพื่อรับประทานร่วมกับนมแม่ เป็นการเพิ่มคุณค่าทางโภชนการให้ลูกน้อย ให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้น และยังเป็นการฝึกให้เริ่ม  กินอาหารชนิดอื่นนอกจากนมแม่อีกด้วย โดยทั่วไปแล้วเรามักจะคุ้นเคยกับวิธีการเตรียมอาหารบดละเอียดให้ลูก แต่ปัจจุบันมีการกินที่เรียกว่า BLW (Baby-Led Weaning) ที่เป็นการฝึกให้ลูกน้อยของเราได้ช่วยเหลือตัวเองตั้งแต่เล็ก และยังส่งผลดีต่อการพัฒนาการของลูกอีกด้วย BLW คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร ส่งผลดีต่อเด็กอย่างไร และคุณแม่จะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ BLW คืออะไร ? ชวนรู้จักวิธีการฝึกลูกน้อยกินข้าวมื้อแรกด้วยตัวเอง ผู้ปกครองหลายคนอาจเกิดความสงสัยว่า BLW คืออะไร ? Baby – Led Weaning หรือ BLW คือการฝึกให้ลูกของเรากินอาหารได้ด้วยตัวเองตั้งแต่มื้อแรก โดยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเตรียมอาหารปั่นหรืออาหารบดให้ลูกน้อย แต่เป็นการให้ลูกน้อยใช้มือหยิบจับอาหารนิ่ม ๆ เป็นชิ้นเล็ก ๆ และกินด้วยตัวเอง ให้ลูกได้ฝึกหยิบจับอาหาร ฝึกเคี้ยว และช่วยเหลือตัวเองตั้งแต่เด็ก จะนั่งกินเองหรือนั่งกินไปพร้อมกับคุณพ่อคุณแม่ก็ได้เช่นกัน โดยสามารถฝึกให้ลูกกินแบบนี้ได้ตั้งแต่อายุ 6 […]

ความปรารถนาสูงสุดของคุณพ่อคุณแม่ คือการได้เห็นลูกน้อยเติบโตอย่างมีคุณภาพ มีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ พร้อมด้วยความเก่ง ฉลาด เป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพในอนาคต ดังนั้นเมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก คุณแม่ทุกท่านจึงตั้งใจเต็มที่ที่จะให้น้ำนมแม่แก่ลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิดและมอบนมแม่ให้เป็นสุดยอดอาหารของลูกรักไปนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เราจึงเห็นว่าปัจจุบัน คุณแม่มีการเตรียมพร้อมเพื่อจะเป็นคุณแม่นักปั๊ม ทำนมแม่สต๊อกไว้ให้ลูกน้อยกันแต่เนิ่นๆ แต่คุณแม่รู้ไหมว่า…นอกจากการปั๊มนมที่ต้องพิถีพันใส่ใจในทุกรายละเอียดแล้ว วิธีการเก็บสต๊อกนมแม่ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะหากคุณแม่เก็บไม่ถูกต้อง ไม่ถูกวิธี อาจทำให้นมแม่ก็เก็บบูดเสีย ลูกกินไม่ได้ รวมถึงหากเช่เย็นเก็บหรือละลายในอุณหภูมิไม่เหมาะสม ก็ทำให้นมแม่สูญเสียคุณค่าสารอาหารสำคัญและจำเป็นต่อสมองและร่างกายของลูกน้อยไปแบบน่าเสียดาย  เสียทั้งกำลังกาย กำลังใจ นมแม่ที่โภชนาการดีๆมากมาย กลับเสียหายไปไร้ประโยชน์ ดังนั้นเราจึงขอแนะนำ วิธีการเก็บน้ำนมแม่สต๊อกที่ถูกต้อง พร้อมเคล็ดลับเรื่องการเก็บนมแม่ไว้ไม่ให้เหม็นหืน เพื่อให้ลูกน้อยกินนมแม่จากสต๊อกได้อย่างเต็มที่ และมีความสุข วิธีเก็บน้ำนมแม่สต๊อก ขั้นตอนการปั๊มและ วิธีเก็บน้ำนมแม่สต๊อก ระยะเวลาการเก็บน้ำนมแม่ วิธีเก็บนมแม่สต๊อก ระยะเวลาที่เก็บได้ ตั้งทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง ไม่เข้าตู้เย็น เก็บได้ 1 ชั่วโมง ตั้งทิ้งไว้ในห้องปรับอากาศ  (ไม่เข้าตู้เย็น) เก็บได้ 4 ชั่วโมง ในกระติกน้ำแข็งที่มีน้ำแข็งตลอดเวลา เก็บได้ 1 วัน ใส่ตู้เย็น ช่อง/ชั้นธรรมดา เก็บได้ 3-5 วัน ใส่ตู้เย็นแบบ 1 […]

“เวลาลูกสาววัย 5 เดือนดูดนมแม่ จะมีเหงื่อออกมาก โดยเฉพาะที่ศีรษะจะเปียกตลอดเลยทั้งที่อยู่ในห้องแอร์ ถือเป็นอาการผิดปกติหรือเปล่า”  เด็กต้องการพลังงานเทียบกับน้ำหนักตัวสูงกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากต้องใช้เพื่อการเจริญเติบโตและสร้างเนื้อเยื่อ อวัยวะต่างๆจึงต้องการใช้พลังงานสูงมาก เช่น เพื่อการสร้างเซลสมอง การสร้างเซลกล้ามเนื้อ ในขณะที่ผู้ใหญ่ต้องการพลังงานเพื่อการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ กล้ามเนื้อหัวใจในเด็กทารกเป็นเซลกล้ามเนื้อชนิดที่ล้าง่าย ต้องการพลังงานสูง ชีพจรของเด็กจึงเต้นเร็วกว่าผู้ใหญ่ เด็กแรกเกิดชีพจรเต้น 140 ครั้งต่อนาที และลดลงเรื่อยๆเมื่อเด็กเติบโตขึ้น จนเป็น 60-80 ครั้งต่อนาทีเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นความร้อนที่เกิดขึ้นจากการเผาผลาญพลังงานก็ย่อมมีมาก การระบายความร้อนออกจากร่างกายทำได้โดยการขับออกเป็นเหงื่อ ดังนั้นการที่เห็นว่าทารกนอนดูดนมเฉยๆ ทำไมถึงมีเหงื่อเยอะจัง เพราะภายในร่างกายของเขามีการทำงานอยู่ตลอดเวลา จึงไม่ผิดปกติค่ะ ขณะที่ผู้ใหญ่จะใช้พลังงานสูงเท่ากับที่เด็กทารกต้องการ ก็ต่อเมื่อมีการออกกำลัง จนชีพจรเต้นเร็วเท่ากับเด็กทารก ถึงเวลานั้นเราก็มีเหงื่อออกเต็มตัวเหมือนเด็กทารกเวลาดูดนมเช่นกัน อย่างไรก็ดีมีโรคบางอย่างที่ทำให้ทารกมีเหงื่อออกมากผิดปกติกว่าเด็กคนอื่น เช่น โรคหัวใจ โรคธัยรอยด์เป็นพิษ แต่ลูกควรมีอาการผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น เลี้ยงไม่โต ดูดนมแล้วดูเหนื่อยต้องหยุดเป็นพักๆ ตรวจร่างกายฟังได้ยินเสียงผิดปกติที่หัวใจ หากสงสัยว่าลูกเป็นโรคเหล่านี้ ให้ปรึกษากุมารแพทย์ได้ค่ะ หากตรวจแล้วพบว่าลูกปกติดี การมีเหงื่อออกเวลาดูดนม นอกจากช่วยระบายความร้อนแล้วยังช่วยให้ต่อมเหงื่อทำงานขับของเสียออกทางผิวหนังอีกทางหนึ่ง จึงไม่จำเป็นต้องเปิดแอร์ให้ลูกตลอดเวลา เพียงใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ง่าย และอยู่ในที่อากาศถ่ายเทจะดีกว่าค่ะ >>>ขอบคุณข้อมูล : สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

แพมเพิส หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป เรียกว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับเด็กเล็กที่จะใช้กันตั้งแต่แรกเกิด เพราะว่าช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบายมากขึ้น ประหยัดเวลาในการซักทำความสะอาด แถมเวลาออกจากบ้านก็ไม่ต้องกังวลเรื่องการเปื้อนเลอะ ซึ่งคุณแม่หลายๆ คนอาจจะมีคำถามในใจว่าจะให้ลูกเลิกแพมเพิสกี่ขวบดี ดังนั้นในบทความนี้ BabyGift จะมาไขข้อข้องใจให้กับคุณแม่กันค่ะ ให้ลูกเลิกแพมเพิสกี่ขวบดี ? ชวนคุณแม่ทำความเข้าใจก่อนให้ลูกเลิกใช้แพมเพิส หนึ่งในคำถามยอดนิยมของเหล่าคุณแม่ก็หนีไม่พ้นเรื่องที่ว่าจะให้ลูกเลิกใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปเมื่อไหร่ดี เนื่องจากเรื่องของค่าใช้จ่าย ความกังวลที่ว่าลูกจะติดแพมเพิส ความสะดวกสบายในการสวมใส่ของเด็ก ฯลฯ อีกมากมาย สำหรับเรื่องของช่วงเวลาของการเลิกแพมเพิสนั้นจะเป็นยังไงบ้าง เรามาดูรายละเอียดกันเลยค่ะ เลิกแพมเพิสกี่ขวบดี ? ถ้าจะถามว่าควรเลิกใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปเมื่อไหร่ดี จริงๆ ไม่ได้มีกำหนดตายตัวค่ะ อยากให้ดูจากความพร้อมของลูก และคุณพ่อ คุณแม่ มากกว่า เด็กบางคน 8 เดือนก็เลิกได้แล้ว บางคนก็มาเลิกได้ตอนช่วงก่อนเข้าโรงเรียนในช่วง 3 – 4 ขวบ ดังนั้น BabyGift จึงพูดได้ว่าไม่ได้มีกำหนดเวลาตายตัวจริงๆ และคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรไปกดดันน้องๆ ให้ลูกของเรามีความพร้อมจะดีที่สุดค่ะ ซึ่งสิ่งสำคัญคือต้องอดทนและให้กำลังใจเด็ก เพราะว่าการฝึกขับถ่ายเป็นก้าวสำคัญของพัฒนาการ และแต่ละคนมีจังหวะที่แตกต่างกัน ไม่ควรกดดันหรือเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น และหากว่าคุณแม่มีข้อกังวลอื่นๆ อาจปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำค่ะ แล้วจะรู้ได้ยังไงว่า ลูกของเราพร้อมที่จะเลิกแพมเพิส ? สิ่งสำคัญของเรื่องนี้คือ ให้ลูกสบายใจ […]

ปัจจุบัน คาร์ซีท (Car Seat) หรือ เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ทั้ง คาร์ซีทแรกเกิด คาร์ซีทเด็กโต บูสเตอร์ซีท มีเกณฑ์การทดสอบความปลอดภัยต่างกันและผ่านมาตรฐานมาจากหลายประเทศ แต่ทราบหรือไม่ว่า คาร์ซีทในประเทศไทย มีประกาศจากกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) มาแล้ว ว่าคาร์ซีทจะต้องผลิตหรือนำเข้าเฉพาะคาร์ซีทที่ผ่านการทดสอบความปลอดภัยของยุโรปเท่านั้น  ทั้งนี้ ยังมีประกาศเพิ่มข้อบังคับให้คาร์ซีทต้องผ่านการทดสอบการชนจากด้านข้างด้วย ซึ่งตรงกับข้อบังคับของ มาตรฐานคาร์ซีท R129 (i-Size) เป็นมาตรฐานฉบับใหม่ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่ามีความปลอดภัยสูงสุด  ก่อนคุณพ่อคุณแม่จะตัดสินใจเลือกซื้อคาร์ซีทให้ลูกรัก แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดของ มาตรฐาน ECE R129 (i-Size) มาก่อน ว่าเพิ่มความปลอดภัยจุดไหนบ้าง เราจะพาไปทำความเข้าใจกันเลย  คาร์ซีทในประเทศไทย ใช้มาตรฐานใหม่ ECE R129 (i-Size)  จากเดิม ประกาศมาตรฐานความปลอดภัย (Safety Standards) ของคาร์ซีท จากกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) จะเริ่มบังคับใช้ภายในปี 2566 ให้ผู้ประกอบการที่ทำหรือนำเข้าคาร์ซีท ต้องทำหรือนำเข้าเฉพาะคาร์ซีทที่ผ่านการทดสอบความปลอดภัยตามเกณฑ์มาตรฐาน มอก.3418-2565 โดยอ้างอิงมาจากมาตรฐานสากล ECE R44/04 (มาตรฐานยุโรป) ซึ่งเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศด้านความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก  ล่าสุด กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) […]

Menu
All Categories
All Brands
All Ages
Promotions
Locations
BabyGift Family
BabyGift Care
Parents Guide
News & Event

All Categories

All Categories
All Brands
All Ages