เทคนิค ฝึกลูกนั่งกระโถน เตรียมให้พร้อมก่อนไปโรงเรียน

ลูกควรเลิกใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปเมื่อไหร่? อยากฝึกให้ลูกนั่งกระโถน นั่งชักโครกขับถ่ายเองได้เริ่มเมื่อไหร่ดี? คงเป็นคำถามที่คุณพ่อคุณแม่มักสงสัยกันใช่ไหมคะ เพราะการฝึกลูกให้เลิกใส่ผ้าอ้อม ฝึกลูกนั่งกระโถน ไปจนฝึกให้เข้าห้องน้ำเองได้ก่อนที่จะเข้าโรงเรียน ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกพร้อมที่จะเลิกใส่ผ้าอ้อม พร้อมนั่งกระโถนแล้ว มาเช็กกันเลยค่ะ
ทำไมต้องฝึกลูกเรื่องขับถ่าย
การฝึกลูกขับถ่ายให้เหมาะสม จะช่วยส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ ที่เหมาะสมตามวัย รวมถึงเป็นการปลูกฝังด้านสุขอนามัย ความสะอาด รู้จักร่างกายตัวเอง และรู้จักการช่วยเหลือตัวเองในเบื้องต้นได้ หากพ่อแม่ไม่สอนลูกเรื่องการขับถ่าย ปล่อยให้ขับถ่ายในผ้าอ้อมไปจนโต จะทำให้ลูกมีการขับถ่ายที่ไม่เหมาะสมตามวัย เมื่อลูกต้องไปโรงเรียน จะทำให้มีปัญหาในการดูแลความสะอาด อาจเกิดการขับถ่ายเล็ดราด หรือยังต้องใส่ผ้าอ้อมจนอึดอัด ส่งผลเสียต่อการเรียนรู้ ส่งผลต่อพัฒนาการตามวัยได้

ฝึกลูกนั่งชักโครก เลิกใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปได้ตอนไหน?
วัยที่มีพัฒนาการและพฤติกรรมพร้อมพี่จะเริ่มฝึกได้ ควรเริ่มเมื่ออายุ 1 ปี – 1 ปี 6 เดือน และมักจะทำได้ดีตอนอายุ 2 ปี หรือเด็กบางคนอาจจะมาฝึกตอนอายุ 2 ปี และนั่งกระโถนได้เองตอนอายุ 3 ปี หรือบางคนอาจทำได้เมื่อโตกว่านั้น ขึ้นอยู่กับความพร้อมและสัญญาณต่าง ๆ ที่แสดงออกมาทั้งทางร่างกาย การสื่อสาร และความต้องการของลูก ไม่ควรเกิดจากการบังคับลูก
8 สัญญาณที่บอกว่าลูกพร้อมนั่งกระโถนเองได้แล้ว
- เมื่อลูกเริ่มสามารถเว้นช่วงการถ่ายปัสสาวะได้นานประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง มีความถี่ในการขับถ่ายลดลง เช่น ไม่ฉี่ใส่ผ้าอ้อมได้นาน 2 ชั่วโมง
- เริ่มถ่ายอุจจาระเป็นเวลา เช่น ในช่วงเช้าหลังตื่นนอน หรือหลังอาหารเช้า
- ลูกเข้าใจการ ”ฉี่” การ ”อึ” รู้จักการขับถ่าย เริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่างการปวดปัสสาวะและอุจจาระ
- แสดงความสนใจเวลาเห็นผู้ใหญ่เข้าห้องน้ำ เลียนแบบหรือพยายามจะเดินตาม สนใจและถามว่าในห้องน้ำไว้ทำอะไร มีอะไรบ้าง
- ลูกเข้าใจภาษาพูดง่าย ๆ โดยสามารถโต้ตอบด้วยท่าทางคำพูดได้ เช่น “อึ” “ฉี่”
- ลูกสามารถลองนั่งกระโถนสำหรับเด็ก และลุกขึ้นยืนได้เอง
- เริ่มมีอาการแสดงออกบางอย่างเมื่อจะขับถ่าย เช่น ทำท่าทางปวดฉี่ บิดขาไปมาและมองหาห้องน้ำ แสดงความตื่นเต้นเมื่อเห็นปัสสาวะตัวเองพุ่ง หรือรู้สึกอึดอัด ทำท่าจับท้องจับก้นของตัวเอง
- ลูกอยากสวมกางเกงแทนผ้าอ้อม รู้สึกอึดอัดเมื่อผ้าอ้อมเปียกหรือมีสิ่งขับถ่ายในผ้าอ้อม เริ่มพยายามดึงผ้าอ้อม ถอดกางเกงหรือใส่กางเกงเองได้

7 เทคนิคฝึกลูกขับถ่าย นั่งกระโถน
1. สอนให้ลูกบอกเมื่อต้องการขับถ่าย และรู้จักสถานที่ขับถ่ายที่เหมาะสม
เมื่อลูกพูด “อึ” หรือ “ฉี่” ได้แล้ว ให้สังเกตการแสดงออกของลูก เมื่อจะขับถ่าย เช่น ลูกกำลังเล่นอยู่แต่หยุด ทำหน้านิ่วคิ้วขมวด อารมณ์ไม่ดี จับที่ผ้าอ้อม อวัยวะเพศหรือก้น คุณพ่อคุณแม่ควรเข้าไปถามลูกว่า “ฉี่ไหม” หรือ “อึไหม” เพื่อให้ลูกรู้ว่าเป็นการปวดปัสสาวะ หรืออุจจาระ แล้วจึงพาไปที่กระโถนหรือห้องน้ำ
กรณีที่ลูกถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระบนผ้าอ้อม หรือรดกางเกงไปแล้ว ควรพูดให้ลูกรู้ว่า “ลูกฉี่หรือ ลูกอึ” แล้วพาไปเข้าห้องน้ำ ล้างทำความสะอาด และให้ทิ้งสิ่งขับถ่ายลงในโถส้วมให้ลูกเห็น ให้รู้ว่าเวลาขับถ่ายแล้วต้องทำอะไรบ้าง
2. สร้างความคุ้นเคยกับกระโถน
แรก ๆ ลูกเห็นกระโถนอาจจะยังไม่กล้านั่ง หรือกลัว พ่อแม่อาจต้องทำท่าทางให้ลูกดู และลองให้ลูกคุ้นเคยกับการนั่งกระโถน ให้ลูกลองนั่งกระโถนบ่อย ๆ อาจนั่งโดยที่ลูกยังสวมผ้าอ้อมไว้ก่อนก็ได้ หรือถ้าลูกยอมก็ให้นั่งในขณะที่ไม่ได้สวมผ้าอ้อม และเพื่อไม่ให้ลูกเครียดหรือกลัวในขณะที่นั่งกระโถน ก็สามารถอ่านนิทานให้ฟัง พูดคุยเล่นกับลูก หรือ เล่นของเล่นได้

3. ฝึกขับถ่ายให้สม่ำเสมอและเป็นเวลา
ในระหว่างวัน ควรกำหนดหรือกะเวลาให้ลูกถ่ายปัสสาวะทุก 2-3 ชั่วโมง และให้ถ่ายอุจจาระทุกวัน วันละ 1 ครั้ง เช่น ให้ลูกนั่งกระโถนในช่วงเช้าทุกวันหลังตื่นนอน หรือหลังมื้ออาหารเพื่อถ่ายอุจจาระ แต่ต้องให้ลูกเต็มใจไม่บังคับ รวมทั้งอาจให้ลูกเริ่มถอดกางเกงหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปในช่วงสั้น ๆ และวางกระโถนไว้ใกล้ ๆ เพื่อให้ลูกลองนั่งเล่นหรือนั่งขับถ่ายได้ตามต้องการ
4. ดื่มน้ำและกินอาหารช่วยกระตุ้นการขับถ่าย
ถ้าลูกท้องผูกเขาจะกลัวเจ็บและไม่อยากขับถ่าย จึงควรให้ลูกทานผัก ผลไม้ ดื่มน้ำให้มากพอ ช่วยกระตุ้นให้ปวดปัสสาวะและช่วยให้อุจจาระนุ่มถ่ายออกง่าย ซึ่งในเด็กที่อายุประมาณ 1-2 ปีขึ้นไป ไม่ควรดื่มนมมากเกิน 32 ออนซ์ ต่อวัน แต่ควรให้นมเป็นเพียงอาหารเสริม เนื่องจากนมมีปริมาณไขมันมาก ทำให้การเคลื่อนตัวของลำไส้ช้าลง จะส่งผลให้การฝึกขับถ่ายอุจจาระยากขึ้น
5. นั่งชักโครกเมื่อลูกโตขึ้น
เมื่อลูกนั่งกระโถนได้และเติบโตขึ้น นั่งเองได้แข็งแรงแล้ว อาจพัฒนามาฝึกขับถ่ายที่โถส้วมในห้องน้ำ ด้วยการใช้ฝารองนั่งชักโครก และหาที่วางเท้าให้ลูกวางได้เต็มฝ่าเท้า ไม่ให้เท้าลอยจากพื้นเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มลื่น หรือ ฝึกลูกชายให้ฉี่ในโถปัสสาวะเด็ก ให้ลูกชายได้รู้จักปลดหรือรูดซิปกางเกงเองได้ ยืนฉี่เองได้ และพ่อแม่ต้องอยู่ดูแลลูกตลอดเวลา

6. สอนเรื่องการทำความสะอาด
เมื่อลูกคุ้นเคยสามารถถอดผ้าอ้อมสำเร็จรูป ถอดกางเกง และนั่งกระโถนเองได้ ให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกไปทำความสะอาดพร้อมสอนเรื่องสุขอนามัย เช่น ล้างก้นด้วยน้ำสะอาด เช็ดก้นด้วยกระดาษชำระ ป้ายจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อไม่ให้อุจจาระมาเปื้อนด้านหน้า โดยเฉพาะในเด็กหญิง รวมถึงสอนให้ลูกล้างมือหลังจากใช้กระโถน และเช็ดชำระล้างก้นแล้ว

7. เลือกกระโถนที่ถูกใจ เป็นของใช้ประจำตัว
ให้ลูกเลือกลายและสีของกระโถนหรือฝาชักโครกเอง โดยคุณพ่อคุณแม่ควรจะให้ตัวเลือกโดยดูจากขนาดที่พอเหมาะกับตัวลูก ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป ให้ลูกนั่งได้สบาย นอกจากนี้กระโถนของลูก ควรต้องผลิตจากวัสดุที่ปลอดภัย ผิวกระโถนควรเรียบลื่น ไม่มีเหลี่ยมแหลมคมหรือเศษวัสดุยื่นออกมาบาดผิว และควรออกแบบมาให้ทำความสะอาดได้ง่าย ไม่มีซอกเล็กซอกน้อยที่ทำความสะอาดได้ไม่ทั่วถึง แบรนด์แนะนำ เช่น PUR กระโถนเด็ก Potty 3 in 1 , PUR ฝารองนั่งชักโครกเด็ก Toilet
สินค้าที่เกี่ยวข้อง
บทความแนะนำ
“เวลาลูกสาววัย 5 เดือนดูดนมแม่ จะมีเหงื่อออกมาก โดยเฉพาะที่ศีรษะจะเปียกตลอดเลยทั้งที่อยู่ในห้องแอร์ ถือเป็นอาการผิดปกติหรือเปล่า” เด็กต้องการพลังงานเทียบกับน้ำหนักตัวสูงกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากต้องใช้เพื่อการเจริญเติบโตและสร้างเนื้อเยื่อ อวัยวะต่างๆจึงต้องการใช้พลังงานสูงมาก เช่น เพื่อการสร้างเซลสมอง การสร้างเซลกล้ามเนื้อ ในขณะที่ผู้ใหญ่ต้องการพลังงานเพื่อการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ กล้ามเนื้อหัวใจในเด็กทารกเป็นเซลกล้ามเนื้อชนิดที่ล้าง่าย ต้องการพลังงานสูง ชีพจรของเด็กจึงเต้นเร็วกว่าผู้ใหญ่ เด็กแรกเกิดชีพจรเต้น 140 ครั้งต่อนาที และลดลงเรื่อยๆเมื่อเด็กเติบโตขึ้น จนเป็น 60-80 ครั้งต่อนาทีเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นความร้อนที่เกิดขึ้นจากการเผาผลาญพลังงานก็ย่อมมีมาก การระบายความร้อนออกจากร่างกายทำได้โดยการขับออกเป็นเหงื่อ ดังนั้นการที่เห็นว่าทารกนอนดูดนมเฉยๆ ทำไมถึงมีเหงื่อเยอะจัง เพราะภายในร่างกายของเขามีการทำงานอยู่ตลอดเวลา จึงไม่ผิดปกติค่ะ ขณะที่ผู้ใหญ่จะใช้พลังงานสูงเท่ากับที่เด็กทารกต้องการ ก็ต่อเมื่อมีการออกกำลัง จนชีพจรเต้นเร็วเท่ากับเด็กทารก ถึงเวลานั้นเราก็มีเหงื่อออกเต็มตัวเหมือนเด็กทารกเวลาดูดนมเช่นกัน อย่างไรก็ดีมีโรคบางอย่างที่ทำให้ทารกมีเหงื่อออกมากผิดปกติกว่าเด็กคนอื่น เช่น โรคหัวใจ โรคธัยรอยด์เป็นพิษ แต่ลูกควรมีอาการผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น เลี้ยงไม่โต ดูดนมแล้วดูเหนื่อยต้องหยุดเป็นพักๆ ตรวจร่างกายฟังได้ยินเสียงผิดปกติที่หัวใจ หากสงสัยว่าลูกเป็นโรคเหล่านี้ ให้ปรึกษากุมารแพทย์ได้ค่ะ หากตรวจแล้วพบว่าลูกปกติดี การมีเหงื่อออกเวลาดูดนม นอกจากช่วยระบายความร้อนแล้วยังช่วยให้ต่อมเหงื่อทำงานขับของเสียออกทางผิวหนังอีกทางหนึ่ง จึงไม่จำเป็นต้องเปิดแอร์ให้ลูกตลอดเวลา เพียงใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ง่าย และอยู่ในที่อากาศถ่ายเทจะดีกว่าค่ะ >>>ขอบคุณข้อมูล : สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ
จากเหตุการณ์ครั้งนี้ คุณนานาอยากฝากไปถึงคุณพ่อคุณแม่ทุกท่าน ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้คาร์ซีท ในทุกครั้งที่เดินทาง ไม่ว่าใกล้หรือไกล ก็ต้องให้ลูกนั่งคาร์ซีทเสมอ เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ขอปรบมือให้กับคุณนานาและคุณเวย์ ที่เป็นครอบครัวตัวอย่าง ฝึกให้น้องบีน่าและน้องบรู๊คลีน มีวินัยในการนั่งคาร์ซีททุกครั้งที่อยู่บนรถ คาร์ซีท หรือเบาะนั่งนิรภัยในรถยนต์สำหรับเด็ก ช่วยลดโอกาสการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ได้ การใช้ คาร์ซีท จะช่วยรองรับศีรษะ คอ กระดูกสันหลัง ที่ยังไม่แข็งแรงของเด็กเล็ก ช่วยไม่ให้สมองและไขสันหลังถูกทำลายจากการกระแทกในขณะเกิดอุบัติเหตุ และสิ่งสำคัญควรติดตั้งคาร์ซีทอย่างถูกต้อง ให้ลูกคาดเข็มขัดนิรภัยที่ตัวคาร์ซีทด้วยทุกครั้ง และปรับสายให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ไม่ให้ลูกอึดอัดและไม่หลวมเกินไป เพราะถ้าหลวมเกินไป เมื่อเกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรงและไม่คาดฝัน ก็อาจทำให้เด็กหลุดออกจากคาร์ซีท และหลุดออกนอกตัวรถไปจนเป้นอันตรายถึงชีวิต ครอบครัวตัวอย่างเดินทางอย่างปลอดภัย คุณพ่อคุณแม่คาดเบลล์ ลูกๆนั่งคาร์ซีท ว้าว เยี่ยมไปเลย !!! น้องบีน่าและน้องบรู๊คลิน เดินทางอย่างปลอดภัยและหลับสบ๊ายสบายด้วยค่ะ
เชื่อว่าปัญหาที่หลายๆ บ้านจะต้องเจอก็คือ การที่ลูกรักไม่ยอมกินข้าว โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่อายุ 1 ขวบขึ้นไป เมื่อเริ่มเดินได้คล่อง เริ่มวิ่งได้บ้าง ก็จะติดเล่น ไม่ค่อยยอมกินข้าวหรือกินได้น้อย บางคนก็อมข้าว ไม่ยอมเคี้ยว หรือหันหน้าหนี กว่าจะป้อนหมดชามก็ใช้เวลานานเกินไป ซึ่งทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายๆ คนเป็นกังวล เพราะการที่ลูกเราไม่ยอมกินข้าวก็อาจส่งผลต่อสุขภาพและการเติบโตของลูกได้ แต่ปัญหาการกินของลูกรับมือได้ไม่ยากเลยค่ะ เพียงแค่ต้องให้เวลา ใช้ความเข้าใจ และต้องใจแข็งนิดหน่อย ก็จะทำให้ลูกมีวินัยในการกินมากขึ้น ลูกไม่ยอมกินข้าว 1 ขวบ จะแก้ปัญหาอย่างไรดี ? มาลองฝึกลูกน้อยไปพร้อม ๆ กันกับ BabyGift ได้เลยค่ะ ลูกไม่ยอมกินข้าว 1 ขวบ ทำยังไงดี ? ชวนดูเทคนิคดีๆ ที่ทำให้ลูกกินได้มากขึ้น การได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอในปริมาณที่เหมาะสมนั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากสำหรับลูกน้อย เพราะส่งผลต่อการเจริญเติบโตตามวัย หากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอนั้นอาจทำให้ลูกมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และสุขภาพไม่แข็งแรงได้ โดยทั่วไปแล้ว เมื่อเด็กอายุครบ 1 ขวบจะเริ่มเรียนรู้การปฏิเสธอาหารหรือคายอาหาร เนื่องจากมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย สามารถหยิบจับอาหารเข้าปากได้เอง การปฏิเสธ หรือคายอาหารจึงเป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่งที่ช่วยป้องกันไม่ให้ตัวเองกินสิ่งที่เป็นพิษหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไป โดยส่วนใหญ่แล้ว การที่ลูกไม่ยอมกินข้าว 1 ขวบนั้นจะเกิดขึ้นไม่นานและหายไปได้เอง แต่เด็กบางคนอาจมีพฤติกรรมกินยาก […]
เลือกรถเข็นเด็กไปเมืองนอก พับเล็กอย่างเดียวไม่พอ เอาที่ลูกนั่งสบายด้วยนะคะ เพราะรถเข็นเด็กคือที่พักผ่อนของเด็กๆ คุณสมบัติที่สำคัญและจำเป็นจริงๆ คือ แนะนำคุณพ่อคุณแม่ที่เลือกรถเข็นเด็กไปเมืองนอก แนะนำรถเข็นเด็ก Aprica Magical Air แบบน้องอลิน-อลัน คันนี้แม่โอปปลื้มมาก จนต้องบอกต่อใน IG พิสูจน์แล้วโดยคุณแม่เซเลปคนดัง มั่นใจในผลิตภัณฑ์เด็ก Aprica #แท็กสามี #แท็กเพื่อน แล้วจัดทริปเลยค่ะ Aprica รถเข็นเด็ก สำหรับวัยแรกเกิดอย่างแท้จริงๆ คิดค้นและวิจัยโดยกุมารแพทย์ จากประเทศญี่ปุ่น
SIDS หรืออาการภาวะไหลตาย เป็นอีกหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เด็กทารกแรกเกิดเสียชีวิต ถือเป็นอีกสิ่งที่คุณพ่อ และคุณแม่ควรให้ความใส่ใจ และหาทางป้องกันไม่ให้เกิดอาการดังกล่าว ทาง BABY GIFT EXPERT จึงอยากพาคุณพ่อ คุณแม่ทุกคน มาทำความเข้าใจกันว่า SIDS คืออะไร และสามารถป้องกันได้อย่างไร SIDS คืออะไร นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ ได้อธิบายถึงภาวะ SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) หรือภาวะไหลตายไว้ว่า เป็นภาวะเสียชีวิตขณะนอนหลับ เกิดขึ้นได้แม้ในทารกที่มีสุขภาพแข็งแรงดี พบบ่อยในช่วงอายุเด็กแรกเกิดถึง 1 ปี และพบบ่อยที่สุดในช่วงที่อายุ 2-4 เดือน โดยส่วนมากมักจะพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง สาเหตุของการเกิดภาวะ SIDS SIDS มีสาเหตุมาจากการกีดขวางการหายใจของทารกขณะนอนหลับ เช่น การจัดท่าให้ทารกนอนคว่ำ หรือนอนตะแคง การที่มีผ้าห่มหรือวัตถุนิ่มๆปิดหน้าทารกขณะนอนหลับ การถูกผู้ใหญ่นอนทับ เป็นต้น เนื่องจากทารกยังไม่สามารถเคลื่อนไหวศีรษะได้ดี ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของภาวะนี้ คือ ทารกเกิดก่อนกำหนด ควันบุหรี่ และอุณหภูมิห้องนอนที่ร้อน ซึ่งอุณหภูมิห้องนอนที่เหมาะสมของทารกคือ […]

ร้านสินค้าแม่และเด็กที่คัดสรรนวัตกรรมของใช้แม่และเด็กที่มี
คุณภาพให้คำปรึกษาและบริการ อย่างผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยให้การเลี้ยงลูกเป็นเรื่องง่าย ปลอดภัย และมีความสุข
Online Shopping
สาขา ปิ่นเกล้า ราชพฤกษ์
สาขา Mega บางนา
สาขา Central World
สาขา The Crystal รามอินทรา
สาขา BTS วงเวียนใหญ่ (Outlet)
Copyright 2024 © Baby Gift (Retail) Co., Ltd.