มาตรฐานความปลอดภัยคาร์ซีท ระดับสากล

เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กในรถยนต์ทุกที่นั่งจะต้องมีป้ายรับรองมาตรฐาน ECE R44/04 เป็น มาตรฐานความปลอดภัยคาร์ซีท เพื่อบ่งชี้ว่าเบาะตัวนั้นๆได้ผ่านตามข้อกำหนดมาตรฐานความปลอดภัย ป้ายรับรองมาตรฐาน ECE R44/04 จะเป็นป้ายสีส้ม

  1. แสดงประเภท (Category) ของเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก
  2. แสดงน้ำหนักที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้งาน (Weight class)
  3. “Y” แสดงชนิดของอุปกรณ์ป้องกัน ในรูป “Y” หมายถึง เข็มขัดนิรภัยแบบ 5 จุดที่มีสายรัดเป้า
  4. ตัวบ่งชี้ว่าเป็นยุโรปอนุมัติ
  5. ตัวบ่งชี้สำหรับประเทศที่ได้รับความเห็นชอบ (1 = เยอรมนี, 2 = ฝรั่งเศส, 3 = อิตาลี, 4 = เนเธอร์แลนด์ ฯลฯ )
  6. หมายเลขการอนุมัติ ประกอบด้วยตัวเลข 8 หลัก ตัวเลขสองตัวแรกแสดงเวอร์ชั่นของมาตรฐานการทดสอบ ECE R 44 ที่เบาะนิรภัยนั้นๆได้รับการอนุมัติ (ในกรณีนี้คือ ECE R 44/04)
  7. เลขที่ปัจจุบัน

มาตรฐานความปลอดภัยคาร์ซีท ECE 44/03 และ ECE R 44/04 แบ่งตาม Group

และแบ่งแยกเป็นประเภทต่างๆ ทั้งหมด 4 ประเภท (4 Categories) ตามการติดตั้งและการใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้เราทราบว่าเบาะนั้นๆออกแบบมาสำหรับรถเราหรือไม่

มาตรฐานความปลอดภัยคาร์ซีท ECE 44/03 และ ECE R 44/04 แบ่งตามภูมิภาค

จากข้อมูลในหัวข้อนี้คงพอให้ท่านผู้อ่านเข้าใจความหมายและทราบถึงรายละเอียด ข้อมูลของเบาะนั้นจากป้ายมาตรฐาน ตลอดจนเป็นประโยชน์กับผู้ปกครองในการเลือกซื้อเบาะให้เหมาะกับลูกหลานและรถ ที่มีแนวทางการใช้งานเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก

  1. เลือกเบาะนั่งนิรภัยให้เหมาะสมกับขนาดร่างกายของเด็กและเหมาะกับรถ เบาะนั่งนิรภัยไม่เหมือนเสื้อผ้า การซื้อเบาะนั่งที่ไม่ตรงกับขนาดและอายุของเด็กจะส่งผลต่อความปลอดภัย
  2. ตอบความพึงพอใจของเด็ก โดยเฉพาะในด้านความสะดวกสบายในขณะนั่ง ทางที่ดีก่อนซื้อควรพาลูกๆหลานๆไปทดลองถึงที่ด้วยก็จะดี เพราะนั่นจะทำให้ทราบว่า เบาะรุ่นไหนเขานั่งแล้วสบาย ไม่อึดอัด
  3. สร้างความคุ้นเคยให้เด็ก สำหรับเด็กที่ยังไม่เคยนั่งมีคำแนะนำให้เอาเบาะมาให้เด็กได้สัมผัสได้ลองเล่นในบ้าน ให้เด็กนั่งขณะป้อนข้าวหรือทำกิจกรรมต่างๆเพื่อทำความคุ้นเคย เพื่อเด็กจะได้ไม่กลัวหรืองอแงยามที่ต้องถูกล็อคอยู่ในรถจริงๆ (คำแนะนำของกุมารแพทย์ รพ.กรุงเทพ)

ในครั้งแรกๆ เด็กๆอาจจะร้องเพราะกลัวการถูกล็อค แต่ถ้าเขาคุ้นเคยเสียก่อน ก็จะลดการร้องไม่ยอมของเด็กได้ การที่เด็กๆร้องก็จะทรมาณใจพ่อแม่เพราะสงสารลูกๆและเป็นสาเหตุทำให้ละเลยการใช้งานเบาะนิรภัยในครั้งต่อๆไป

  • ห้ามไม่ให้ใช้เบาะนั่งนิรภัยร่วมกับถุงลมนิรภัยที่อยู่ด้านหน้า
  • ควรให้เด็กนั่งที่ห้องโดยสารตอนหลัง (เบาะหลังรถ) จากการศึกษาวิจัยของสถาบัน NHTSA (Nation Highway Traffic Safety Administration) สรุปไว้ว่าเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี ควรนั่งเบาะด้านหลังรถ การให้เด็กนั่งด้านหลังแทนการนั่งด้านหน้าจะช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต ได้ 27 % ไม่ว่ารถคันนั้นจะมี airbag ด้านข้างหรือไม่ก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่งที่นั่งกลางของเบาะหลังจะเป็นตำแหน่งที่ปลอดภัยที่สุด

เพราะว่าเด็กที่นั่งอยู่ในเบาะนิรภัยจะมีการป้องกันการชนด้านข้างต่ำ การนั่งในตำแหน่งกลางจะช่วยเพิ่มพื้นที่ในการดูดซับแรงกระแทก แต่ทั้งนี้รถควรจะเป็นรถขนาดใหญ่ที่เบาะกลางมีเข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุด อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถติดตั้งตรงเบาะกลางได้ การติดตั้งทางฝั่งซ้ายหรือขวาก็สามารถทำได้ โดยที่ฝั่งตรงข้ามคนขับ (ฝั่งเดียวกับฟุตบาท) จะปลอดภัยกว่าฝั่งคนขับ  สำหรับการใช้งานเบาะนิรภัยร่วมกับรถปิกอัพให้ติดตั้งด้านหน้าข้างคนขับและห้ามใช้ถุงลมในที่นั่งด้านข้างคนขับ

  • ควรให้เด็กนั่งหันหลังให้หน้ารถให้นานที่สุดจนกว่าสรีระเด็กจะนั่งแบบนี้ไม่ได้ เพราะการนั่งแบบหันหน้าไปด้านหลังรถจะปกป้องหัวของเด็ก คอ และกระดูกสันหลังได้ดีกว่า
  • ศึกษาคู่มือการติดตั้งและการใช้เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ตลอดจนคู่มือรถยนต์ที่ใช้อยู่ให้รู้แจ้ง ทั้งนี้ก็เพราะว่าในช่วงแรกของการใช้เบาะนิรภัยสำหรับเด็กในสหรัฐอเมริกาผู้ปกครองจำนวนมากถึง 63% ติดตั้งเบาะนั่งนิรภัยไม่ถูกต้อง ทั้งการวางเบาะผิดตำแหน่ง, การจัดท่าเด็กในขณะนั่ง และการคาดกับเข็มขัดนิรภัยผิดๆ ดังนั้นหลังจากซื้อเบาะนิรภัยสำหรับเด็กมาแล้วจึงควรศึกษาคู่มือให้เข้าใจก่อนเริ่มการติดตั้ง
  • ติดตั้งเบาะนิรภัยในรถและจัดให้เด็กนั่งในเบาะนิรภัยอย่างถูกต้อง เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก จากการวิจัยพบว่าผู้ปกครองจำนวนมากยังปฎิบัติไม่ถูกต้อง ต้องตรวจสอบการยึดรั้งร่างกายของเด็กกับเบาะให้ดี และตรวจสอบเข็มขัดนิรภัยของตัวเบาะนั่งว่ารัดแน่นไปหรือเปล่า หรืออยู่ในตำแหน่งที่ผิดเพี้ยนจนสร้างความรำคาญให้กับเด็กหรือไม่ การนั่งที่ถูกต้องสายเข็มขัดนิรภัยของตัวเบาะจะต้องแน่นพอดีและพาดข้ามบ่าของเด็ก อย่าพาดอ้อมแขนหรือสอดไว้ใต้แขนเด็ก
  • เด็กพร้อมที่จะใช้เข็มขัดนิรภัยของรถได้ตามปกติเมื่อ

1. เด็กสูงเพียงพอที่ขาและเข่าของเขาสามารถนั่งห้อยขาได้เบาะนั่งรถได้พอดี
2. เด็กโตพอที่จะสามารถนั่งตัวตรง หลังพิงพนักพิงได้ตรง
3. เข็มขัดนิรภัยของรถส่วนล่างจะต้องรัดได้ตรงส่วนกระดูกเชิงกรานไม่ใช้รัดตรงท้อง
4. เข็มขัดที่พาดส่วนบ่าจะต้องพาดผ่านมาตรงส่วนหน้าอก ไม่ใช่ผ่านมาตรงแขนหรือคอ

สถานการณ์เบาะนั่งนิรภัยในไทย
มุมมองในเรื่องความปลอดภัยของคนใช้รถใช้ถนนในบ้านเรายังเป็นอะไรที่ควรได้ รับการปรับปรุงและส่งเสริมให้คำนึงอยู่ในจิตสำนึกโดยตลอด อีกทั้งในปัจจุบันเมืองไทยยังไม่มีการออกกฎหมายบังคับใช้เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือสร้างมาตรฐานสำหรับเบาะนั่งนิรภัยเด็กออกมาใช้ ยังไม่นับรวมการละเลยกฎจราจร, ขาดมารยาทในการขับขี่ และขาดการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง สิ่งเหล่านี้นอกจากเป็นสิ่งที่ภาครัฐควรช่วยกันผลักดันแล้วเราทุกคนต้องช่วยกันด้วยโดยเริ่มจากตัวเราเองก่อน


เอกสารอ้างอิง

Traffic Safety Facts 2008 Data, NHTSA’s National Center for Statistics and Analysis, National Highway Traffic Safety Administration (NHTSA), 2008

Guideline for Injury Prevention in Well Child Care, ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, 2005

ระบบยึดเหนี่ยวเด็กในรถ (Child Restraint System), ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

PandaTrueno.: จริงหรือที่เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กแพง, Safety Zone. In: MotorTrivia, 2010

ผศ.นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์, “โครงการการจัดการความรู้จากชุดโครงการวิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและ ป้องกันการบาดเจ็บในเด็กสู่นโยบายสาธารณะ”, ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก, 2004

“ถึงเวลาใส่ใจนักเดินทางตัวน้อยแล้วหรือยัง?”,  Special Report. In: Thaidriver Magazine No.91, หน้า 76-85, 2007

PandaTrueno.: มารู้จักกับประเภทของ car seat กันก่อน, Safety Zone. In: MotorTrivia, 2010

Car Seats – The Law, Regulations and Technical Information, itsababy

Regulation No. 44 Rev.1/Add.43/Rev.2, Agreement Concerning the Adoption of Uniform Technical Prescriptions for Wheeled Vehicles, Equipment and Parts, United Nations, 2008

http://www.safekids.org/our-work/news-press/press-releases/car-seat-inspections-offered.html

http://en.wikipedia.org/wiki/Infant_car_seat

http://www.consumerreports.org/cro/babies-kids/baby-toddler/car-seats/car-seat-buying-advice/car-seat-types/car-seat-types.html

http://www.iqraforum.com/forum/index.php?topic=800.0;wap2

http://www.mom2kids.com/knowledge.php?id=79

http://www.3sat.de/page/?source=/nano/news/94126/index.html

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00

บทความแนะนำ

แพมเพิส หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป เรียกว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับเด็กเล็กที่จะใช้กันตั้งแต่แรกเกิด เพราะว่าช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบายมากขึ้น ประหยัดเวลาในการซักทำความสะอาด แถมเวลาออกจากบ้านก็ไม่ต้องกังวลเรื่องการเปื้อนเลอะ ซึ่งคุณแม่หลายๆ คนอาจจะมีคำถามในใจว่าจะให้ลูกเลิกแพมเพิสกี่ขวบดี ดังนั้นในบทความนี้ BabyGift จะมาไขข้อข้องใจให้กับคุณแม่กันค่ะ ให้ลูกเลิกแพมเพิสกี่ขวบดี ? ชวนคุณแม่ทำความเข้าใจก่อนให้ลูกเลิกใช้แพมเพิส หนึ่งในคำถามยอดนิยมของเหล่าคุณแม่ก็หนีไม่พ้นเรื่องที่ว่าจะให้ลูกเลิกใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปเมื่อไหร่ดี เนื่องจากเรื่องของค่าใช้จ่าย ความกังวลที่ว่าลูกจะติดแพมเพิส ความสะดวกสบายในการสวมใส่ของเด็ก ฯลฯ อีกมากมาย สำหรับเรื่องของช่วงเวลาของการเลิกแพมเพิสนั้นจะเป็นยังไงบ้าง เรามาดูรายละเอียดกันเลยค่ะ เลิกแพมเพิสกี่ขวบดี ? ถ้าจะถามว่าควรเลิกใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปเมื่อไหร่ดี จริงๆ ไม่ได้มีกำหนดตายตัวค่ะ อยากให้ดูจากความพร้อมของลูก และคุณพ่อ คุณแม่ มากกว่า เด็กบางคน 8 เดือนก็เลิกได้แล้ว บางคนก็มาเลิกได้ตอนช่วงก่อนเข้าโรงเรียนในช่วง 3 – 4 ขวบ ดังนั้น BabyGift จึงพูดได้ว่าไม่ได้มีกำหนดเวลาตายตัวจริงๆ และคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรไปกดดันน้องๆ ให้ลูกของเรามีความพร้อมจะดีที่สุดค่ะ ซึ่งสิ่งสำคัญคือต้องอดทนและให้กำลังใจเด็ก เพราะว่าการฝึกขับถ่ายเป็นก้าวสำคัญของพัฒนาการ และแต่ละคนมีจังหวะที่แตกต่างกัน ไม่ควรกดดันหรือเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น และหากว่าคุณแม่มีข้อกังวลอื่นๆ อาจปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำค่ะ แล้วจะรู้ได้ยังไงว่า ลูกของเราพร้อมที่จะเลิกแพมเพิส ? สิ่งสำคัญของเรื่องนี้คือ ให้ลูกสบายใจ […]

หลังจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ กฎหมายคาร์ซีท เกี่ยวกับเด็กที่อายุไม่เกิน 6 ปี หรือสูงไม่เกิน 135 ซม. ผู้ปกครองต้องจัดหาที่นั่งพิเศษให้สำหรับเด็ก หรือนั่งในที่นั่งพิเศษสำหรับเด็ก (คาร์ซีท) เพื่อป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หากไม่ทำตามกฏหมายก็จะถูกปรับ 2,000 บาท โดยจะมีผลบังคับใช้ในอีก 120 วันข้างหน้า ซึ่งตรงกับวันที่ 5 กันยายน 2565 นี้ เมื่อมี กฎหมายคาร์ซีท ออกมาแล้วคุณพ่อคุณแม่หลายท่านก็ต้องมองหาคาร์ซีทให้ลูกอย่างจริงจังเลยใช่ไหมคะ แล้วคาร์ซีทแบบไหนเหมาะสำหรับลูกเรา แบบไหนปลอดภัยกว่า วันนี้ Baby Gift ได้รวบรวมข้อมูลมาให้กับคุณพ่อคุณแม่ได้เตรียมความพร้อมแล้วค่ะ ไปดูกันเลย หลังจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ กฎหมายคาร์ซีท เกี่ยวกับเด็กที่อายุไม่เกิน 6 ปี หรือสูงไม่เกิน 135 ซม. ผู้ปกครองต้องจัดหาที่นั่งพิเศษให้สำหรับเด็ก หรือนั่งในที่นั่งพิเศษสำหรับเด็ก (คาร์ซีท) เพื่อป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หากไม่ทำตามกฏหมายก็จะถูกปรับ 2,000 บาท โดยจะมีผลบังคับใช้ในอีก 120 วันข้างหน้า ซึ่งตรงกับวันที่ 5 กันยายน 2565 […]

Ailebebe รุ่น Kurutto R The First 1 และ Kurutto R The First 2 เป็นคาร์ซีทเด็กแรกเกิดที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น ที่มีนวัตกรรมความปลอดภัยล้ำสมัย ช่วยให้การเดินทางของลูกน้อยทั้งปลอดภัยและสะดวกสบาย และทั้ง 2 รุ่น มีคุณสมบัติที่เด่นและแตกต่างกัน ซึ่งสามารถตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลาย เราจะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความรู้จักกับความแตกต่างเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่เลือกคาร์ซีทที่เหมาะสมกับความต้องการของครอบครัวได้ค่ะ  เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ตัดสินใจเลือกซื้อคาร์ซีท Ailebebe รุ่น Kurutto R ได้อย่างเหมาะสมกับลูกน้อยมากที่สุด มาเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจกันก่อนว่าทำไมรุ่นนี้ถึงเป็นที่นิยมและมีจุดเด่นอะไรบ้างนะคะ    ทำไมต้องเลือก Ailebebe รุ่น Kurutto R ?  1. มาตรฐานความปลอดภัยระดับสูงสุด : ผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยจากสหภาพยุโรป R129 (i-Size)  2. การทดสอบที่แม่นยำ : ใช้เซ็นเซอร์วัดแรงกระแทกสูงสุดถึง 32 จุดบนหุ่นจำลอง และหุ่นไม่ได้รับการบาดเจ็บ  3. ทดสอบการชนที่เข้มงวด : ทดสอบการชนที่ความเร็ว 70-100 กม./ชม. เพื่อความปลอดภัยสูงสุด  […]

แม่ๆ ดาราเซเลบคนดังร่วมแสดงความยินดีกับงานฉลองเปิดร้าน BabyGift สาขา เซ็นทรัลเวิลด์แบรนด์ผู้นำเข้า คาร์ซีท, รถเข็นเด็ก, เก้าอี้ทานข้าว, เป้อุ้มเด็ก และผลิตภัณฑ์สำหรับลูกน้อยที่ดีที่สุดทั้งจากประเทศญี่ปุ่น, เกาหลี และ สหรัฐอเมริกาอย่าง #APRICA #AILEBEBE #PRINCEANDPRINCESS #REALKIDS และอีกมากมาย และในงานยังเปิดตัวสินค้านวัตกรรม 3 รุ่นใหม่ได้แก่ รถเข็นเด็กพับเล็ก #Aprica #NanoSmart, คาร์ซีท #Ailebebe #Kurutto4Grance และ #Ecowell เครื่องผลิตสเปรย์ฆ่าเชื้ออเนกประสงค์ #BabyGift #CentralWorld #BabyBestItems #BabyProducts BabyGift สาขา Central World ชั้น 2 โซนลานไอซ์สเก็ตเปิดบริการ 10.00 – 22.00 น. ทุกวันโทร. 095-851-8521LINE ID : bbg_ctw

Hypochlorous Acid หรือ HOCl คืออะไร? Hypochlorous Acid หรือ กรดไฮโปคลอรัส มีชื่อเรียกทางเคมีว่า HOCl นั้น เป็นกรดอ่อน ๆ ชนิดหนึ่งที่ถูกผลิตขึ้นโดยธรรมชาติโดยเซลล์เม็ดเลือดขาวในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดเพื่อการรักษาและการปกป้องร่างกาย  ซึ่งกรดไฮโปคลอรัส มีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา รวมไปถึงสปอร์ของเชื้อราได้ โดยการเข้าไปทำลายผนังหุ้มเซลล์ของเชื้อโรค เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคเหล่านั้น เนื่องจากกรดไฮโปคลอรัส (HOCl) เป็นกรดชนิดเดียวกันกับที่อยู่ในระบบภูมิคุ้มกัน ในเม็ดเลือดขาวของร่างกายมนุษย์ จึงปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อผิวบอบบาง  หรือดวงตา ไม่ทำให้เกิดอาการแสบ และมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคมากกว่าสารฟอกขาวประเภทคลอรีนถึง 80-120 เท่า กรดไฮโปคลอรัส สามารถพบได้จาก “ น้ำอิเล็กโทรไลต์ “ ซึ่งเป็นน้ำที่ได้จากกระบวนการอิเล็กโทรลิซิส (Electrolysis) ซึ่งมีการคิดค้นครั้งแรกโดยนักฟิสิกส์และนักเคมี นามว่า ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday) เมื่อปีทศวรรษ 1834 โดยเขาได้คิดค้นหลักการสำคัญของกระบวนการอิเล็กโทรลิซิสตั้งเป็นกฎสองข้อเรียกกันว่า Faraday’s Laws of Electrolysis ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของวิชาไฟฟ้าเคมี (Electrochemistry) มาจนถึงทุกวันนี้ กระบวนการอิเล็กโทรลิซิส (Electrolysis) คืออะไร ? อิเล็กโทรลิซิส (Electrolysis) คือกระบวนการผ่านกระแสไฟฟ้า ด้วยเครื่องมือที่ใช้แยกสารละลายด้วยไฟฟ้า มีชื่อเรียกว่า เซลล์อิเล็กโทรไลต์ หรือ อิเล็กโทรลิติกเซลล์ ประกอบด้วย […]

Menu
All Categories
All Brands
All Ages
Promotions
Locations
BabyGift Family
BabyGift Care
Parents Guide
News & Event

All Categories

All Categories
All Brands
All Ages