ต้องเตรียมอะไรบ้าง ก่อนเริ่มให้ลูก กินแบบ BLW มื้อแรก

คุณแม่ยุคใหม่หลายๆ ท่านอาจจะรู้จัก วิธีการให้อาหารเสริมลูกน้อยแบบ Baby Led Weaning หรือการ กินแบบ BLW กันบ้างแล้ว  เพราะเป็นวิธีการที่หลายบ้านเริ่มนิยมใช้ เนื่องจากเป็นการฝึกลูกกินอาหารเสริมด้วยตัวเองตั้งแต่มื้อแรก  ในแบบที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องป้อน และไม่ต้องบดหรือปั่นอาหารให้ลูกน้อย

ที่สำคัญคือการให้ลูกกินอาหารเสริมด้วยวิธีนี้ ยังมีข้อดีหลายอย่าง เพราะเป็นการฝึกให้ลูกได้ใช้พัฒนาการทั้งด้านกล้ามเนื้อ สายตา ได้เรียนรู้รสชาติอาหารที่แตกต่าง และเป็นการฝึกพื้นฐานการช่วยเหลือตัวเองเพื่อพัฒนาให้ลูกสามารถทำอะไรได้เองเก่งขึ้นในอนาคต

กินแบบ BLW มีขั้นตอนอย่างไร?

วิธีการ กินแบบ BLW มีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

  1. ให้ลูกกินด้วยวิธี BLW เมื่อลูกน้อยถึงวัยเริ่มอาหารเสริมและนั่งได้แล้ว จะต้องหัดนั่งกินอาหารด้วยตัวเองบนเก้าอี้ทานข้าวเด็ก หรือ High Chair ได้มั่นคง และเริ่มใช้มือหยิบจับอาหารเข้าปากเองได้ด้วย
  2. ในช่วงแรกคุณแม่เริ่มด้วยการเตรียมอาหารที่เป็นชิ้นๆ นิ่มๆ หรือ Finger food ที่ลูกจับถนัดมือกินได้เอง โดยไม่ต้องบดหรือปั่นอาหาร เช่น ผักต้มตุ๋น หั่นเป็นชิ้น อาทิ แครอทต้ม ข้าวโพดต้ม บล็อกโคลี่นึ่ง กะหล่ำดอกนึ่ง ผลไม้เนื้อนิ่ม ไข่แดงต้มสุก
  3. เมื่อลูกคุ้นเคยแล้วจากนั้น ปรับอาหารเป็นเมนูที่คล้ายผู้ใหญ่ แต่ต้องไม่ปรุงรสหรือปรุงน้อย และหั่นให้ลูกจับกินได้โดยไม่ติดคอ เช่น ข้าวไข่เจียวหั่นเล็ก ผัดฟักทองกับผักนึ่ง ตลอดจนหลีกเลี่ยงอาหารที่ห้ามกินและอาหารเสี่ยงการติดคอ
  4. เมื่อเตรียมอาหารแล้วคุณแม่ต้องให้ลูกน้อยนั่งในเก้าอี้ทานข้าว จัดอาหารใส่ถาดหรือจาน ล้างมือให้ลูก ใส่ผ้ากันเปื้อน ปูพลาสติกกันเลอะลงที่โต๊ะหรือพื้น แล้วให้ลูกได้หยิบอาหารกินด้วยต้วเอง

ซึ่งการให้ลูกกินด้วยวิธีการแบบนี้ จะช่วยให้ทั้งคุณแม่และคุณลูกรักมีความสุขกับมื้ออาหารของลูกมากขึ้น เพราะไม่ต้องเหนื่อยเดินป้อนข้าวลูก ลูกน้อยเองก็รู้สึกสนุก เพลิดเพลินกับการได้หยิบจับอาหารเข้าปาก ทำให้การ กินแบบ BLW เป็นที่นิยมกันในครอบครัวต่างประเทศ และนิยมในเมืองไทยบ้านเรามากขึ้น แต่การจะเริ่มให้ลูกกิน BLW จะต้องมีการเตรียมพร้อมก่อนให้มื้อแรก และคุณแม่ต้องเรียนรู้ข้อจำกัดและข้อควรระวังหลายๆ อย่าง ดังนั้นไปดูกันว่ามีอะไรที่คุณแม่ต้องพิถีพิถันใส่ใจบ้าง

แม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง? เมื่อเริ่มให้ลูก กินแบบ BLW

แม้จะดูเหมือนการให้อาหารเสริมลูกด้วยวิธีการ BLW นี้ จะไม่ได้ยุ่งยากนัก แต่ก็มีเรื่องสำคัญต่างๆ ที่คุณแม่จะต้องใส่ใจและพิถีพิถันเลือกให้ลูกน้อย เพื่อความปลอดภัย และให้อาหารลูกในแบบ BLW ได้สำเร็จ นั่นคือ

1) เตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ในการกินให้พร้อม

ก้าอี้ทานข้าวเด็ก  หรือ High Chair เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนให้ลูกกิน BLW มื้อแรกเพราะลูกต้องนั่งกินอาหารเท่านั้น! เก้าอี้ทานข้าวจึงเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ทำให้ลูกอยู่กับที่ นั่งกินอาหารอย่างปลอดภัย และอยู่ในระดับที่ใกล้สายตาพ่อแม่ ทั้งยังนั่งเก้าอี้นี้กินอาหารร่วมโต๊ะกับพ่อแม่ได้  ซึ่งเก้าอี้ทานข้าวเด็กที่ดี ควรมีคุณสมบัติดังนี้

  • มีความมั่นคงแข็งแรง รองรับน้ำหนักได้ดี โดยอาจสามารถรับน้ำหนักได้มากถึง 30-40 กิโลกรัม
  • ผลิตจากวัสดุที่ปลอดภัย เช่นพลาสติกปลอดสารพิษที่ทนทาน หรืออาจเป็นไม้เนื้อแข็ง
  • มีโครงสร้างของขาเก้าอี้ที่ออกแบบมาเพื่อให้เวลาเด็กนักกินข้าว นั่งได้อย่างบาลานซ์หรือสมดุง ไม่เอียงโยกหรือเอนล้มลงมาได้ เนื่องจากในแต่ละมื้อลูกจะต้องนั่งเป็นเวลานาน นั่งันละ 3 เวลา และเด็กมักจะไม่นั่งเฉยๆ
  • สามารถปรับระดับความสูงของเก้าอี้ได้หลายระดับ ซึ่งปัจจุบันมีเก้าอี้ทานข้าวเด็กสามารถปรับระดับได้ตั้งแต่ 5-10 ระดับ โดยจะเป็นระดับที่ปรับให้เหมาะกับความสูงของโต๊ะที่จะนั่งกับผู้ใหญ่ ระดับตัวของลูก และการให้ลูกยกแขนกินอาหารได้สะดวก
  • โครงสร้างการเชื่อมต่อ และการล็อกเก้าอี้ มีความแน่นหนาไม่มีโอกาสร่วงหลุดจนเป็นอันตราย
  • มีเข็มขัดนิรภัยล็อกตัวลูกน้อย 3-5 จุดตามความเหมาะสม เพื่อความปลอดภัย ไม่ให้ลูกเลื่อนหลุด หรือหล่นลงมาจากเก้าอี้
  • ต้องเป็นเก้าอี้ที่มีพนักพิงกว้างเหมาะสมกับลูก  พร้อมกับต้องมีเบาะรองนั่งที่ผลิตจากวัสดุที่ดี ออบแบบให้พอดีกับตัวลูก  เพื่อจะทำให้ลูกนั่งได้สบายไม่แข็งหรือรู้สึกเจ็บ รู้สึกอึดอัดได้
  • มีที่วางขาปรับขึ้น-ลงได้ จะช่วยให้ลูกวางขาสบาย  พร้อมกับปรับระดับขาให้ลูกนั่งวางขาได้แบบสบายที่สุด
  • มีถาดอาหาร  ที่สามารถปรับระดับ เข้า – ออก ตามสรีระของลูกน้อยได้ รวมทั้งถาดอาหารควรถอดออกมาทำความสะอาดได้สะดวก
  • เก้าอี้ทานข้าวของลูก ควรมีล้อที่สามารถล็อกได้มั่นคง ไม่เลื่อนไหลเวลาลูกนั่ง และสามารถปลดล็อกเพื่อเคลื่อนย้ายได้สะดวก  และยิ่งหากเก้าอี้ทานข้าวของลูกสามารถปรับพับเก็บได้ ยิ่งทำให้บ้านดูสะอาดเรียบร้อย ปลอดภับ เพราะสามารถเก็บเก้าอี้ให้เข้าที่เรียบร้อยได้ ไม่ต้องกางทิ้งไว้เกะกะบ้าน

จาน ชาม ถาดอาหารของลูก   ควรเป็นจานชามสำหรับเด็ก ที่ผลิตจากวัสดุที่ปลอดภัย ไม่ใช้พลาสติกอันตราย น้ำหนักเบา ไม่แตกหักง่าย ไร้สารพิษ ไม่มีสีที่เป็นอันตราย ผ่านการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม สามารถใส่อาหารได้ทั้งร้อนและเย็น รวมถึงคุณแม่อาจเลือกจานชามที่มีลวดลายน่ารักมีสีสันถูกใจหรือดึงดูดใจคุณหนูๆ ให้ทานข้าวก็ได้

และเคล็ดลับสำคัญที่จะทำให้ลูกน้อยกินอาหารแบบ BLW ได้สะดวก โดยที่คุณแม่ไม่ต้องกังวลเรื่องการหกเลอะเทอะมาก คือการเลือกจานชามสำหรับเด็กที่ไม่เลื่อนออกจากเก้าอี้ทานข้าวง่ายๆ  นั่นคือจานหรือชามอาหารเด็กแบบที่มีกันลื่น หรือก้นจานชามมียางดูดติดกับโต๊ะ/เก้าอี้  ซึ่งเวลาที่ลูกใช้มือหยิบจับอาหาร กินบ้างเล่นบ้าง อาจจะมีการเล่นเคลื่อนไหว จนชามอาหารเลื่อนหรือหล่นได้ ดังนั้นการใช้จามกันลื่น จะช่วยให้จานอาหารอยู่กับที่ ป้องกันไม่ให้ลูกเลื่อนหรือเล่น จนจานชามตกหล่น ส่งผลให้คุณแม่ต้องล้างและใส่อาหารใหม่ให้ลูกนั่นเอง

ผ้ากันเปื้อน  เตรียมไว้ใส่ให้ลูกเวลากินอาหาร ป้องกันไม่ให้เสื้อผ้าของลูกต้องเลอะอาหารมากเกินไป จนคุณแม่ทำความสะอาดได้ยาก

พลาสติกหรือผ้ายางกันเปื้อน ปูโต๊ะ พื้น หรือรองปูเก้าอี้ ช่วยให้คุณแม่ทำความสะอาดเก้าอี้ให้ลูก หรือพื้นบ้านได้สะดวกขึ้น เนื่องจากพลาสติกหรือผ้ายาง จะรองรับเศษอาหารไว้ก่อนในด้านแรก ทำให้เททิ้งสะดวก และล้างได้ก่อนที่จะเปื้อนโต๊ะหรือพื้น

อุปกรณ์ทำความสะอาด เตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาดที่อ่อนโยนปลอดภัย ผลิตจากส่วนประกอบของธรรมชาติที่ไม่มีสารเคมีตกค้าง สำหรับใช้ล้างเช็ดเก้าอี้ทานข้าวของลูก และล้างจานชามต่างๆ ให้สะอาดปราศจากเชื้อโรค

2) เรียนรู้วิธีปฐมพยาบาลในยามฉุกเฉิน

คุณพ่อคุณแม่หรือคนในบ้านทุกคนควรมีความรู้พื้นฐานที่ถูกต้องในการช่วยเหลือลูกน้อยได้เบื้องต้น กรณีที่ลูกมีอาการสำลัก ติดคอ หรือมีอะไรหลุดลงคอจนอุดกั้นทางเดินหายใจ เพื่อเวลาเกิดเหตุฉุกเฉินจะสามารถช่วยลูกได้ทันท่วงที หรือปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ถูกต้องก่อนส่งถึงมือคุณหมอ

3) รู้จักอาหารห้ามลูกกิน และอาหารเสี่ยงติดคอ

ได้แก่ อาหารที่มีเศษกระดูก ก้าง มีกระดูกอ่อน เมล็ดผลไม้หรือเมล็ดธัญพืช เมล็ดมะขาม เมล็ดฟักทอง เมล็ดแตงโม ผลไม้ชิ้นใหญ่  ไส้กรอก ลูกชิ้น  ป๊อบคอร์น  รวมถึงอาหารที่ห้ามลูกเล็กกิน เช่น น้ำแข็งก้อน เยลลี่  น้ำผึ้ง มะเขือเทศทั้งลูก เนยถั่ว หรืออาหารที่ลูกแพ้

สิ่งที่แม่ต้องรู้ เมื่อลูก กินแบบ BLW

  • ต้องมีผู้ใหญ่อยู่กับลูกขณะกินอาหารด้วยตลอดเวลา เพื่อดูแลและสังเกตอาการผิดปกติ
  • เรียนรู้วิธีสอนลูกให้ถูกต้อง  การให้ลูกกินอาหารในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น นั่งทานอาหารกับพ่อแม่ภายในเวลาไม่เกิน 45 นาที หากลูกไม่กินหรือกินเหลือ จะต้องเก็บตามชาม ให้เขาได้เรียนรู้ว่าหมดเวลากินแล้ว
  • ทำความเข้าใจเรื่องการให้อาหารแบบนี้กับผู้ใหญ่ในบ้าน ต้องบอกทุกคนว่าต้องให้ลูกหยิบอาหารเข้าปากเอง ต้องไม่ใช้ช้อนป้อนหรือเดินป้อนอาหารลูก ไม่ต้องใช้มือดัน หรือเชียร์กดดันให้ลูกกิน เพราะกินแบบนี้จะให้ลูกกำหนดและตัดสินใจกินเอง
  • ลูกอาจมีอาการขย้อนอาหารออกมาข้างหน้าได้บ้าง ซึ่งเป็นปกติไม่ต้องตกใจ เพราะเป็นกลไกของร่างกายเพื่อไม่ให้อะไรหลุดลงไปติดคออุดทางเดินหายใจ  ซึ่งลูกเรียนรู้หลังการขย้อนว่าจะต้องเคี้ยวให้ละเอียดอีกครั้งแล้วค่อยกลืนใหม่ บางคนอาจจะอาเจียนออกมาได้  แต่เมื่อเวลาผ่านไปลูกจะเริ่มเรียนรู้ที่การกินได้ดีขึ้น เช่น ไม่กินคำใหญ่เ ต้องเคี้ยวอาหารเสมอ
  • กรณีเกิดเหตุการณ์อาหารติดคอ หรือมีอะไรไปขวางทางเดินหายใจ (choke) ลูกจะมีอาการไอไม่ออก หน้าซีดหน้าเขียว ดูทุรนทุราย และมีสีหน้าเปลี่ยน เมื่อเห็นเช่นนี้ต้องรีบช่วยเหลือลูกทันทีด้วยวิธีการกดนิ้วที่หน้าอก หรือจับลูกพาดขาแล้วตบหลังเบาๆ โดยทุกบ้านต้องศึกษาวิธีการช่วยเหลือนี้อย่างถูกต้องไว้ เพื่อนำมาใช้ช่วยชีวิตทุกคนได้ในอนาคต

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00

บทความแนะนำ

เมื่อต้องเดินทางหรือท่องเที่ยวพร้อมกับลูกวัยเบบี๋ อาจทำให้คุณแม่หลายๆ บ้านกังวลใจในการ พาลูกขึ้นเครื่อง ไม่ว่าจะเรื่องสุขภาพอนามัยความปลอดภัย ลูกน้อยจะเดินทางไหวไหม? ต้องเตรียมของใช้อะไรไปบ้าง? ลูกเดินทางได้อายุเท่าไร? มีอะไรที่เอาขึ้นเครื่องบินไปได้หรือไม่ได้บ้าง?  จะนั่งตรงไหนให้ปลอดภัยเลี้ยงลูกได้สะดวก? ลูกหิวหรือร้องงอแงจะทำอย่างไรได้บ้างนะ? ทุกเรื่องที่คุณแม่กังวลใจจัดการได้ไม่ยาก แค่เพียงทำตามข้อมูลและคำแนะนำเหล่านี้ค่ะ 4 เรื่องต้องรู้ก่อน พาลูกขึ้นเครื่องบิน เมื่อคุณแม่รู้ว่าจะต้องเพินทางพร้อมลูกวัยเบบี๋ สิ่งแรกที่ต้องทำคือการหาข้อมูล สอบถามกฎและรายละเอียดจากสายการบิน และวางแผนการเดินทางและอุปกรณ์ของใช้ให้ครบถ้วน อาทิ » หาข้อมูลก่อนเดินทาง ตรวจสอบกับสายการบิน ว่าอายุเด็กทารกที่เดินทางได้คือเท่าไร เพราะแต่ละสายการบินอาจมีข้อกำหนดที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งตามความจริงและพัฒนาการของเบบี๋แล้ว ควรให้ลูกอายุประมาณ 3-4 เดือนขึ้นไปจึงเดินทางได้เพื่อสุขภาพ สุขอนามัยและความปลอดภัย แต่หากมีความจำเป็นก็สามารถพาลูกเล็กขึ้นเครื่องบินได้ โดยบางสายการบินเด็กทารกที่เดินทางได้ต้องอายุไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือบางสายการบินอาจให้ทารกอายุตั้งแต่ 14 วันขึ้นไป  หรืออาจอนุญาตให้อายุน้อยกว่านั้นขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ สอบถามหาข้อมูลเรื่องการจองตั๋ว การเลือกที่นั่ง และค่าโดยสารสำหรับเด็กเล็ก  แจ้งสายการบินล่วงหน้า สอบถามเรื่องเอกสารที่ต้องใช้สำหรับเด็ก   ศึกษาข้อบังคับและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ บนเครื่องบิน สอบถามหรือหาข้อมูลข้อกำหนดต่างๆ ในการขึ้นเครื่องบิน ว่าสามารถนำอุปกรณ์ของใช้อะไรบ้าง ที่ขึ้นเครื่องบินเพื่อดูแลลูกทารกระหว่างการเดินทางได้ เช่น » เตรียมพร้อมอุปกรณ์ของใช้ในการเดินทางให้ลูกทารก รถเข็นเด็ก […]

ปัจจุบันคุณพ่อคุณแม่หลายครอบครัวให้ความสำคัญกับ “คาร์ซีท” หรือ เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก เป็นอุปกรณ์จำเป็นเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับลูกน้อยในขณะที่เดินทางด้วยรถยนต์กันเป็นจำนวนมาก โดยล่าสุด นางสาวอรุณศรี พิริยเลิศศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เบบี้ กิ๊ฟ (ไทยแลนด์) จำกัด ได้รับเกียรติเข้าเยี่ยมชม “Aprica Central Research Center” ที่เมืองนารา ประเทศญี่ปุ่น และแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เชี่ยวชาญด้านคาร์ซีท เจาะลึกถึงแนวคิดการออกแบบที่สอดคล้องกับสรีระของเด็กในแต่ละช่วงวัย การเลือกสรรวัสดุที่ปลอดภัย และขั้นตอนการผลิตที่ได้มาตรฐาน รวมไปถึงวิธีทดสอบคาร์ซีทในห้องปฎิบัติการด้านความปลอดภัยมาตรฐานระดับโลก อะปริก้า (Aprica) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.  2490 โดยทีมกุมารแพทย์จากประเทศญี่ปุ่น ด้วยความห่วงใยและใส่ใจเกี่ยวกับเด็กทารก เพราะถือว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเด็ก จึงได้ช่วยกันคิดค้นและวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นอย่างพิถีพิถัน โดยมีเป้าหมายคือการมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับเด็กและพ่อแม่ ด้วยความเชี่ยวชาญและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องกว่า 70 ปี อะปริก้า จึงได้รับการยอมรับและไว้วางใจอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น และอะปริก้ายังได้รับเกียรติให้เป็นผู้จัดทำรถเข็นและผลิตภัณฑ์เด็กรุ่นพิเศษ ภายใต้ชื่อ Royal Knot เพื่อทูลเกล้าถวายแด่ราชวงศ์ในประเทศญี่ปุ่น รวมถึงเชื้อพระวงศ์ในอีกหลายประเทศทั่วโลก Aprica Central Research Center เป็นศูนย์กลางวิจัยเกี่ยวกับการคิดค้นผลิตภัณฑ์เด็กตั้งอยู่ในเมืองนาราประเทศญี่ปุ่นด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 10,000 ล้านเยน เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมประวัติความเป็นมาของแบรนด์อะปริก้า แนวคิดปรัญชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก รวมทั้งเทคโนโลยีนวัตกรรมที่ทันสมัย โดยเฉพาะด้าน Childcare Engineering […]

เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กในรถยนต์ทุกที่นั่งจะต้องมีป้ายรับรองมาตรฐาน ECE R44/04 เป็น มาตรฐานความปลอดภัยคาร์ซีท เพื่อบ่งชี้ว่าเบาะตัวนั้นๆได้ผ่านตามข้อกำหนดมาตรฐานความปลอดภัย ป้ายรับรองมาตรฐาน ECE R44/04 จะเป็นป้ายสีส้ม มาตรฐานความปลอดภัยคาร์ซีท ECE 44/03 และ ECE R 44/04 แบ่งตาม Group และแบ่งแยกเป็นประเภทต่างๆ ทั้งหมด 4 ประเภท (4 Categories) ตามการติดตั้งและการใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้เราทราบว่าเบาะนั้นๆออกแบบมาสำหรับรถเราหรือไม่ มาตรฐานความปลอดภัยคาร์ซีท ECE 44/03 และ ECE R 44/04 แบ่งตามภูมิภาค จากข้อมูลในหัวข้อนี้คงพอให้ท่านผู้อ่านเข้าใจความหมายและทราบถึงรายละเอียด ข้อมูลของเบาะนั้นจากป้ายมาตรฐาน ตลอดจนเป็นประโยชน์กับผู้ปกครองในการเลือกซื้อเบาะให้เหมาะกับลูกหลานและรถ ที่มีแนวทางการใช้งานเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ในครั้งแรกๆ เด็กๆอาจจะร้องเพราะกลัวการถูกล็อค แต่ถ้าเขาคุ้นเคยเสียก่อน ก็จะลดการร้องไม่ยอมของเด็กได้ การที่เด็กๆร้องก็จะทรมาณใจพ่อแม่เพราะสงสารลูกๆและเป็นสาเหตุทำให้ละเลยการใช้งานเบาะนิรภัยในครั้งต่อๆไป เพราะว่าเด็กที่นั่งอยู่ในเบาะนิรภัยจะมีการป้องกันการชนด้านข้างต่ำ การนั่งในตำแหน่งกลางจะช่วยเพิ่มพื้นที่ในการดูดซับแรงกระแทก แต่ทั้งนี้รถควรจะเป็นรถขนาดใหญ่ที่เบาะกลางมีเข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุด อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถติดตั้งตรงเบาะกลางได้ การติดตั้งทางฝั่งซ้ายหรือขวาก็สามารถทำได้ โดยที่ฝั่งตรงข้ามคนขับ (ฝั่งเดียวกับฟุตบาท) จะปลอดภัยกว่าฝั่งคนขับ  สำหรับการใช้งานเบาะนิรภัยร่วมกับรถปิกอัพให้ติดตั้งด้านหน้าข้างคนขับและห้ามใช้ถุงลมในที่นั่งด้านข้างคนขับ 1. เด็กสูงเพียงพอที่ขาและเข่าของเขาสามารถนั่งห้อยขาได้เบาะนั่งรถได้พอดี2. เด็กโตพอที่จะสามารถนั่งตัวตรง หลังพิงพนักพิงได้ตรง3. เข็มขัดนิรภัยของรถส่วนล่างจะต้องรัดได้ตรงส่วนกระดูกเชิงกรานไม่ใช้รัดตรงท้อง4. เข็มขัดที่พาดส่วนบ่าจะต้องพาดผ่านมาตรงส่วนหน้าอก […]

การใช้ชีวิตในสังคมยุคปัจจุบันเรียกได้ว่าต้องเป็นคุณแม่สายแข็งสายสตรอง ไหนจะมลพิษ ไหนจะฝุ่นขนาดเล็กอย่าง PM2.5 ที่ถาโถมมาประดังกันอย่างไม่หยุดหย่อน ซ้ำร้ายกว่านั้น เจ้าภัยร้าย PM2.5 ยังมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นอีกซะนี่ แต่ไหนๆ ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว งั้นเรามาทำความรู้จักกับเจ้า PM2.5 พร้อมวิธีการป้องกันกันดีกว่าค่ะ PM2.5 คืออะไร? PM2.5 คือฝุ่นละอองไซส์เล็กจิ๋วที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ถ้าคุณแม่คิดภาพไม่ออก ลองมองดูที่เส้นผมเราค่ะ เจ้าฝุ่นตัวนี้มีขนาดเล็กกว่าผมเราประมาณ 25 เท่าเลยเชียวนะ และขนาดที่เล็กมากเนี่ยแหละที่เป็นอันตราย เพราะแม้แต่จมูกของเราที่สามารถกรองฝุ่นได้อย่างดีเยี่ยมยังไม่สามารถทำอะไรได้ ตอนนี้ก็เลยเป็นหน้าที่ของเราแล้วนะที่จะต้องป้องกันตัวเอง PM 2.5 เกิดจากอะไร? สาเหตุหลักๆ ของ PM2.5 มาจากการเผาขยะ โรงงานอุตสาหกรรม การคมนาคมขนส่งอะไรพวกนี้ค่ะ แต่ฝุ่นนี้ก็ไม่ได้มาแค่ฝุ่นนะคะ เพราะมันจะพาพวกสารเคมีอันตรายจำนวนมากมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นสารพิษที่ทำให้เกิดมะเร็งอย่าง P-A-Hs สารเคมีที่ไปทำลายระบบประสาทอย่างปรอท รวมถึงแคดเมียมซึ่งเป็นสารพิษจากการทำอุตสาหกรรมต่าง ๆ และสารหนูที่ส่งผลต่อระบบประสาทอีกด้วยเช่นกัน ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ เพราะฝุ่นชนิดนี้มีขนาดเล็กมาก ทำให้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายๆ ลูกน้อยของเราจึงมีความเสี่ยงมากเป็นพิเศษ แถมยังมีก๊าซต่างๆ ที่ลอยคลุ้งอยู่กับฝุ่นละออง ไม่ว่าจะเป็นก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และโอโซน ซึ่งล้วนมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ทั้งสิ้น […]

เดินทางมาเกินครึ่งทางแล้วขอคารวะให้กับความสตรองของแม่ๆ แต่ยิ่งใกล้วันครบกำหนดคลอดเท่าไหร่กลับยิ่งเครียดหนักกว่าเดิม แถมร่างกายของคุณแม่ช่วงนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงแบบเยอะมากๆ คุณแม่บ้านไหนที่กำลังกังวลเรื่องท้องเล็ก ช่วง 6 เดือนนี่แหละค่ะ ที่ท้องของคุณแม่ๆ จะเริ่มใหญ่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แถมน้ำหนักก็ยังขึ้นพรวดๆ แบบก้าวกระโดด ช่วงนี้คุณแม่จะหิวเป็นพิเศษ แถมยังต้องทานอาหารเยอะขึ้นกว่าเดิมเพราะลูกน้อยของคุณแม่กำลังช่วยใช้พลังงาน ตั้งแต่ช่วงนี้เป็นต้นไป คุณแม่อาจจะรู้สึกถึงอาการท้องแข็ง อาการท้องแข็งคือเวลาที่มดลูกของคุณแม่หดตัว ท้องของคุณแม่ก็จะแข็งนูนขึ้นมาค่ะ ซึ่งเป็นเรื่องปกตินะ ถ้าไม่ได้เกิดแบบถี่ๆ ติดต่อกัน และเพราะความเปลี่ยนแปลงเยอะแยะเหล่านี้นี่แหละ ทำให้คุณแม่อาจจะต้องดูแลช่วงครึ่งหลังนี้เป็นพิเศษ เรามาดู 6 เรื่องที่คุณแม่ท้อง 6 เดือนต้องระวังกันค่ะ 1.ความเครียดไม่ใช่เรื่องดี อันที่จริงเรื่องความเครียดก็เป็นสิ่งที่ต้องระวังตั้งแต่ตั้งครรภ์แรกๆ แล้วเนอะ แต่อย่างที่บอกค่ะ ว่าช่วงนี้คุณแม่จะเปลี่ยนไปค่อนข้างมาก อาจจะทำให้เกิดความเครียดไม่รู้ตัว เช่น คุณแม่บางคนอาจจะเป็นกังวลกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมาของตัวเอง หรือบางคนอาจจะมีอาการปวดชายโครงเพราะท้องที่ใหญ่ขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการเครียดตามมา หากคุณแม่เกิดอาการเครียดมากๆ แล้ว จะส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนและสารเคมี ซึ่งเจ้าสารเคมีตัวนี้จะส่งผลโดยตรงกับการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ค่ะ คุณแม่ที่เครียดมักจะคลอดก่อนกำหนด แถมยังทำให้ลูกมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์อีกด้วย 2.ไม่ใช่เวลาของกิจกรรมผาดโผน ด้วยขนาดท้องที่ใหญ่ขึ้น การทำกิจกรรมผาดโผนต่างๆ อาจเป็นการเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการกระแทกบริเวณหน้าท้อง ซึ่งเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์อย่างยิ่งค่ะ แถมการที่คุณแม่เคลื่อนไหวตัวอย่างรวดเร็วหรือทำอะไรแบบปุปปับ ยังเป็นสาเหตุทำให้มดลูกเกิดการบีบรัดตัว เกิดอาการท้องแข็ง และถ้าเกิดคุณแม่มีอาการท้องแข็งบ่อยๆ เข้าล่ะก็ เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดอยู่นะ 3. […]

รวมสุดยอดวิธี เลือกเป้อุ้มทารก เพราะเป้อุ้มเด็ก  เป็นเครื่องทุ่นแรงที่สำคัญยิ่งสำหรับคุณแม่  ที่เรียกได้ว่าคืออุปกรณ์คู่กายคู่ใจที่พาคุณแม่และลูกน้อยไปทำกิจวัตรด้วยกันได้เสมอ เป้อุ้มลูกนี้จึงเป็นหนึ่งในสิ่งอำนวยความสะดวกประจำบ้านที่กำลังเลี้ยงลูกอ่อน ยิ่งเป็นครอบครัวเล็กที่คุณแม่ต้องเลี้ยงลูกคนเดียวไม่มีคนมาช่วยเลี้ยงลูก ในช่วงเวลาที่คุณพ่อไปทำงานนอกบ้าน  ยิ่งถือเป็นของใช้ที่จะช่วยให้คุณแม่ทำงานและกิจกรรมอื่นๆได้ พร้อมเลี้ยงลูกได้แบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งในยุคสมัยที่การหาเงินได้ฝืดเคือง และข้าวของใช้ราคาสูงเช่นนี้ การเลือกซื้อเป้อุ้มลูกทั้งที เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่จะต้องพิจารณาอย่างถ้วนถี่ และเลือกใช้ให้คุ้มค่ากับราคาที่ต้องจ่าย แต่จะรู้ได้อย่างไร? ว่าเป้อุ้มเด็กแบบไหนดี ทนทานปลอดภัย ใช้งานได้นานจนลูกโต ลองมาอ่านเทคนิคดีๆ เหล่านี้กันเลย 1. ตอบโจทย์การใช้งาน การเลี้ยงลูกของครอบครัว นั่นคือการเลือกให้ตรงกับสไตล์การเลี้ยงลูกของครอบครัว การทำงานของคุณพ่อคุณแม่และการเดินทางของคนในบ้าน ซึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ  ได้แก่  ขนาดของครอบครัวและคนช่วยเลี้ยงลูก เพราะหากเป็นครอบครัวเล็ก คุณแม่ต้องเลี้ยงลูกคนเดียว คุณพ่อไปทำงาน จำเป็นต้องใช้เป้อุ้มลูก สำหรับเวลาทำงานบ้าน ทำธุระหรือจำเป็นต้องออกไปซื้อของนอกบ้าน   แม้แต่เป็นครอบครัวใหญ่ อาจจะได้ใช้เวลาคุณแม่ต้องทำธุระ ผลัดกันใช้เวลาเดินทางไปข้างนอก  สิ่งของที่ใช้กับลูก เวลาที่ต้องพาลูกออกนอกบ้าน เพราะหากคุณพ่อคุณแม่มีข้าวของเครื่องใช้ที่ไม่ต้องพกไปมาก การใช้เป้อุ้มเด็กก็จะทำให้สะดวก พ่อแม่ถือของใช้ และซื้อของได้สบาย ไม่ต้องใช้มืออุ้มหรือเข็นลูก หรือหากเวลาไปไหนที่ต้องใช้พื้นที่จำกัดการใช้เป้อุ้มเด็กก็จะไม่ต้องเปลืองพื้นที่เพราะพับเก็บได้ พกพาง่ายกว่ารถเข็น    การเดินทางของครอบครัว หมายถึงสังเกตการใช้ชีวิตของครอบครัวว่า ต้องออกไปต่างจังหวัด หรือไปเยี่ยมญาติบ่อยหรือเปล่า ใช้เวลาพาลูกออกนอกบ้านนานแค่ไหน หากต้องไปที่ไหนไม่นานนัก การใช้เป้อุ้มเด็กจะมีความคล่องตัวสะดวกกว่ารถเข็น  แต่หากต้องใช้เวลาเดินหรือยืน เดินทางนานเป็นชั่วโมง อาจเลือกใช้รถเข็นจะดีกว่า   […]

Menu
All Categories
All Brands
All Ages
Promotions
Locations
BabyGift Family
BabyGift Care
Parents Guide
News & Event

All Categories

All Categories
All Brands
All Ages