ตอบ 7 ข้อสงสัย เลือกซื้อ เครื่องอบUV ฆ่าเชื้อของใช้ลูก ต้องดูอะไรบ้าง

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ที่กำลังจัดเตรียมอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ สำหรับลูกน้อย อาจได้รับคำแนะนำจากเพื่อนๆ หรือแพทย์ สำหรับการจัดเตรียมอุปกรณ์ ฆ่าเชื้อโรคของใช้ต่างๆ ให้พร้อมก่อนคลอด จากในอดีตหลายๆ บ้าน อาจคุ้นเคยกับการลวกด้วยน้ำร้อน 100 องศาขึ้นไป ในการฆ่าเชื้อขวดนม ภาชนะ ไปจนถึงเสื้อผ้า ปลอกหมอนผ้าปูที่นอน ของเด็กได้ แต่ด้วยสถานการณ์การระบาดของโควิดในปัจจุบัน ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายบ้านอดห่วงไม่ได้ว่าเชื้อไวรัสนั้นจะหลุดรอดเข้ามาถึงตัวลูกน้อยของเราได้จากของใช้อื่นๆ ที่ไม่สามารถฆ่าเชื้อด้วยการ ลวก หรือการนึ่งได้ และมีบทความทางการแพทย์มากมาย ระบุว่า การนำพลาสติกไปลวกด้วยความร้อนสูง จะก่อให้เกิดการตกค้าง ปนเปื้อนของ ไมโครพลาสติก ที่สามารถเข้าสู่ร่างกายของลูกน้อยก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ จึงมีการผลิตคิดค้น และนำเข้า เครื่องอบUV สำหรับใช้ในบ้าน ซึ่งเป็นการใช้พลังงานจากรังสี UV-C ในการฆ่าเชื้อโรคร้ายที่อาจติดอยู่ตามข้าวของเครื่องใช้ของลูกน้อย และฆ่าเชื้อของใช้คุณพ่อคุณแม่ได้อีกด้วย

ประโยชน์ของรังสี UV-C

ส่วนประกอบสำคัญของ เครื่องอบ UV-C คือหลอด UV-C ซึ่งมีคุณสมบัติในการปล่อยรังสี UV-C มาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคได้จริง แม้แต่เชื้อไวรัสโควิดก็ไม่รอด ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก และมีผลวิจัยต่างๆ จากหลากหลายสถาบันยืนยันแล้วว่า รังสี UV-C สามารถฆ่าเชื้อไวรัสโควิดได้ 99.99% ทั้งในของเหลว บนพื้นผิวต่างๆ และในอากาศ และนอกจากไวรัสแล้ว ยังช่วยกำจัดเชื้อโรคปนเปื้อนอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น เชื้ออีโคไล (E. Coli) ที่ทำให้ท้องเสีย สแตฟีโลคอกคัส (Staphylococcus aureus) ก่อให้เกิดอาหารเป็นพิษ ซาลโมเนลลา (Salmonella Typhimurium) ทำให้ติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ไวรัส H1N1 เป็นต้น โดยรังสี UV-C จะเข้าไปทำลาย DNA และ RNA ของไวรัส

ในอุตสาหกรรมอาหาร ได้มีการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้นานแล้ว และมีการพัฒนามาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคให้กับสิ่งในครัวเรือน โดยทำให้มีขนาดเล็กลง และฟังก์ชั่นการใช้งานที่ง่ายขึ้น และประกอบกับสถานการณ์ไวรัสโควิดระบาด ทำให้ เครื่องอบ UV ฆ่าเชื้อสำหรับใช้ในบ้านเกิดดวามต้องการมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีการวางจำหน่ายมากมายหลากหลายยี่ห้อ ดังนั้น ก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะตัดสินใจซื้อ เบบี้กิ๊ฟขอมอบคำแนะนำ 7 ข้อสงสัยในการเลือกซื้อ เครื่องอบUV สำหรับฆ่าเชื้อของใช้ลูกน้อย เพื่อช่วยให้ตัดสินใจ และลดความกังวลจากการใช้งานได้ ดังนี้ค่ะ

1. หลอด UV ควรเลือกแบบไหนดี ใช้กี่หลอด หลอดUV ควรอยู่ตรงไหน?

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ให้คำแนะนำในการเลือกใช้หลอด UVC ว่า

  • หากเป็นหลอด UV-C ประเภท LED ควรเลือกชนิดที่เปล่งรังสีในช่วง 240-313 นาโนเมตร หรือ 260-275 นาโนเมตร จะเป็นค่าที่ดี และมีประสิทธิภาพมากพอในการฆ่าเชื้อ โดยข้อดีของ หลอดไฟ UV-C LED คือ ใช้งานได้ยาวนาน ไม่มีการปล่อยก๊าซโอโซนออกมา ไม่ก่อให้เกิดกลิ่นตกค้างหลังจากฆ่าเชื้อโรคเสร็จ
  • หากเป็นหลอด UV-C Lamp หรือ หลอดไอปรอท/อะมัลกัม แรงดันต่ำ (Ozone Free germicidal lamp) ควรเลือกที่ปราศจากก๊าซโอโซน (Ozone Free) และเปล่งรังสีในช่วง 254 นาโนเมตร ข้อดีคือ บำรุงดูแลรักษาได้ง่าย สามารถซื้อหลอดเปลี่ยนเองได้เหมือนหลอดไฟบ้าน

ที่สำคัญ ควรเลือกยี่ห้อที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานสินค้า เช่น CE, RoHS, มอก., มาตรฐาน ISO 15858:2016, มาตรฐาน ISO 14644 -1: 1999 เป็นต้น

นอกจากหลอด UV-C ที่มากับ เครื่องอบUV จะต้องได้มาตรฐาน ควรมีผลวิจัยรับรองประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรียยืนยัน ประกอบกับการจดทะเบียนรับรองต่างๆ จากสถาบันระดับสากลที่น่าเชื่อถือ เอกสารการจดทะเบียนและนำเข้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และต้องผ่านมาตรฐานความปลอดภัยในการใช้งานด้วย

สำหรับจำนวนของหลอด UV-C Lamp นั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของความจุภายในตู้ และค่าความยาวคลื่นแสงของรังสี UV-C ระยะเวลาในการฉายแสง วัดออกมาเป็นหน่วยไมโครวัตต์ต่อวินาที ต่อตารางเซนติเมตร (Ws/cm2) สำหรับบางเครื่องที่มีหลอดเดียวแต่ตู้มีขนาดเล็กอาจเพียงพอในการฆ่าเชื้อภายในตู้ แต่อาจใส่ของได้ไม่มากนัก หากเป็นตู้ที่มีขนาดใหญ่ และมีหลอดถึง 2 หลอด มีวัสดุที่กระจายแสงสะท้อนแสงได้ดี ก็จะช่วยให้ฆ่าเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า ตามสูตรคำนวณที่อ้างอิง : https://bit.ly/2wFvbuN

สำหรับจุดวางหลอด UV-C นั้น ควรอยู่ด้านบน และด้านข้าง ไม่ควรอยู่บริเวณด้านล่าง หากใช้ในการอบแห้งสิ่งของที่ต้องมีการล้างน้ำ เพราะคราบน้ำอาจหยดใส่หลอดไฟ จนก่อให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้

2. เครื่องอบUV ที่เป็นประตูกระจก อันตรายไหม?

หลายคนอาจกังวลว่า หากเลือกซื้อ เครื่องอบUV ที่มีฝาประตูตู้บานหน้าเป็นกระจก เวลาใช้งานโหมดฆ่าเชื้อด้วยUV รังสี UV-C จะทะลุผ่านตู้อบออกมาเป็นอันตรายต่อดวงตาและผิวหนังได้ไหม สำหรับเรื่องนี้มีทั้งบทความ และการทดสอบยืนยันแล้วว่า ว่าคุณสมบัติของ UV-C ไม่สามารถทะลุผ่านกระจกได้ หากเป็นกระจกแท้ ไม่ใช่พลาสติกหนา เพื่อความสบายใจสามารถเลือก ชนิดที่เป็นกระจกเคลือบสีปรอท เพื่อเพิ่มความมั่นใจอีกชั้นในการป้องกันการทะลุ และเพิ่มการสะท้อนแสงภายในตู้ได้ดียิ่งขึ้น

ดูคลิปวิดิโอทดลอง การทะลุผ่านของรังสี UV-C Click
แหล่งที่มาข้อมูล UV-C ไม่สามารถทะลุผ่านกระจก Click

3. ทำไมความร้อนในการอบแห้ง ไม่ควรเกิน 50 องศา?

เครื่องอบยูวี

ข้อนี้ เกิดจากความสับสนระหว่างการฆ่าเชื้อด้วย น้ำร้อน หรือการนึ่ง ที่ต้องต้มน้ำให้เดือดถึง 100 องศา ในการฆ่าเชื้อโรค จึงคิดว่า การฆ่าเชื้อโรคด้วยเครื่องอบUV ก็ควรจะ 100 องศา เหมือนกันสิ? ซึ่งความจริงแล้ว การฆ่าเชื้อด้วยรังสี UV-C นั้น เป็นการใช้พลังงานแสงในการทำลาย DNA และ RNA ของเชื้อโรค ไม่ได้ใช้ความร้อนในการฆ่าเชื้อเหมือนกับ การลวกหรือนึ่ง แต่การอบแห้งขวดนม ด้วยโหมด DRY ต่างหาก ที่ใช้ความร้อนและลม ในการเป่าให้ขวดนมแห้ง การเลือกใช้ความร้อนที่ไม่เกิน 50 องศา ซึ่งไม่ร้อนมากเกินไป จะช่วยให้ขวดนมใช้งานได้ยาวนานตามอายุการใช้งานที่กำหนด ไม่กรอบแห้ง แตกร้าว เสียหายไว และไม่ก่อให้เกิดการระเหยของไมโครพลาสม่า จากพลาสติก ที่มักเกิดจากการต้มในน้ำร้อนด้วย

อ่านข่าวเรื่อง ไมโครพลาสติก เพิ่มเติมที่ Click

4. ขวดนม และของใช้อะไรบ้าง ไม่ควรนำเข้า เครื่องอบUV

ขวดนมแบบไหน เข้าตู้อบยูวีได้

สิ่งที่สามารถนำเข้าไปฆ่าเชื้อใน เครื่องอบUV ได้ ได้แก่ ขวดนมพลาสติกที่ได้มาตรฐาน ไม่มีสาร BBA หรือที่มีสัญลักษณ์ BPA FREE ได้แก่วัสดุ PP, PES, PPSU แก้ว และซิลิโคน สามารถนำเข้าฆ่าเชื้อด้วยเครื่องอบUV ได้ รวมไปถึงกรวยปั๊มนม ภาชนะทานอาหาร หรืออุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ กุญแจบ้าน ธนบัตร กระเป๋าสตางค์ ที่สัมผัสเป็นประจำ ของคุณพ่อคุณแม่

แต่สิ่งที่ห้ามนำเข้าฆ่าเชื้อเด็ดขาด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากลาเท็กซ์ พลาสติก PET และยางพาราธรรมชาติ ฟองน้ำ เพราะอาจทำให้ละลาย กรอบ หรือแข็งขึ้น เป็นอันตรายต่อการนำไปใช้งานต่อนั่นเองค่ะ

5. วางเรียงของใช้ใน เครื่องอบUV แบบไหนถูกต้อง

หลักการฆ่าเชื้อด้วยรังสี UV-C นั้น เกิดจากแสงที่ตกกระทบลงบนผิววัตถุนั้น การที่บริเวณโดยรอบตู้และฝาตู้ เป็นวัสดุสะท้อนแสง เช่น Stainless Steel หรือ กระจกเคลือบสีปรอท จะช่วยให้การกระจายแสง สะท้อนไปมาได้โดยรอบมากก็จริง แต่หากการวางของทับกัน หรือวางผิด อาจทำให้การฆ่าเชื้อโรคส่งไปไม่ถึงของชิ้นอื่นๆ ในเครื่องอบได้ เพราะรังสี UV-C ไม่สามารถทะลุจากขวดชั้นบน ลงไปยังขวดชั้นล่างได้นั่นเอง

วิธีเรียงขวดนม ในเครื่องอบUV

ฉะนั้นการวางขวดนมที่ถูกต้อง ควรถอดแยกชิ้นส่วน ระหว่างจุกนม และขวดนม วางขวดนมหงายขึ้นด้านบนเพื่อให้แสงส่องเข้าไปภายในขวดนมได้ จุกนมให้วางด้านดูดขึ้นด้านบน เพื่อฆ่าเชื้อบริเวณที่ต้องนำเข้าปาก หากเป็นตุ๊กตาชิ้นใหญ่ อาจต้องสลับกลับด้าน เพื่อให้ได้รับรังสี UV-C ได้ครบรอบด้าน หากเข้าใจหลักการดังนี้ก็สามารถนำไปปรับใช้กับการฆ่าเชื้อสิ่งของอื่นๆ ได้ค่ะ

6. วิธีการดูแลรักษา ทำเองได้ไหม? ดูแลยากรึเปล่า

ข้อดีของเครื่องอบUV นอกจากจะใช้งานง่ายไม่ยุ่งยากแล้ว ยังดูแลทำความสะอาดเองได้ง่ายมากๆ เพราะไม่ใช้น้ำในการอบจึงไม่มีคราบตะกรัน หรือเชื้อราเกิดขึ้น สามารถทำความสะอาดเพียงแค่ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเปล่าหมาดๆ เช็ดบริเวณที่น้ำหยดบ่อยๆ เท่านั้น เพื่อลดการเกิดคราบน้ำ โดยไม่ตอ้งใช้น้ำยาใดๆ มาเช็ด เพราะจะทำให้ความเงาวาวลดลง ทำให้การสะท้อนแสงเสื่อมประสิทธิภาพได้

VDO สาธิต วิธีการดูแลทำความสะอาด เครื่องอบUV รุ่น Baby UV Gen 3 แบรนด์ Prince&Princess

สำหรับหลอด UV-C สามารถติดต่อศูนย์บริการหลังการขายเพื่อสั่งซื้อ และเปลี่ยนได้เอง โดยสังเกตจากสัญลักษณ์ หรือไฟแจ้งเตือนเมื่อหลอดไฟขาด ก็สามารถถอดเปลี่ยนได้เองเหมือนการเปลี่ยนหลอดไฟทั่วไป และอีกสิ่งหนึ่งที่หลายคนไม่ทราบคือ การดูแลบริเวณพัดลมระบายอากาศ หมั่นล้างหรือเปลี่ยน Filter กรองอากาศไม่ให้ฝุ่นเกาะหนา ทุก 30 วัน เพื่อให้พัดลมทำงานได้ดี ลดการเกิดปัญหาเครื่องทำงานหนักได้ค่ะ

7. นำของกิน เข้าตู้อบยูวีได้ไหม?

หลายๆ บ้าน มีความกังวลว่า เชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย อาจปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่ปรุงกึ่งสุกกึ่งดิบ เช่น ส้มตำ ปลาแซลมอน จึงอยากนำเข้าเครื่องอบUV เพื่อฆ่าเชื้อ ไม่มีข้อห้ามในการอบฆ่าเชื้ออาหาร หากเครื่องอบ UV มีขนาดใหญ่เพียงพอ ที่สามารถจะเทใส่จาน แล้ววางเพื่อรับรังสี UV-C ได้พอดี แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ กลิ่นอาหารที่ยังติดค้างอยู่ภายในเครื่อง หากนำไปใช้ฆ่าเชื้อขวดนมของลูกต่อ อาจทำให้กลิ่นไปติดที่ขวดนม ทำให้ลูกอาจไม่ยอมทานนมด้วยขวดนั้นไปเลยได้ และห้ามนำเข้าทั้งถุงพลาสติก ถุงร้อน โดยเด็ดขาด เพราะอาจละลาย หรือก่อให้เกิดการระเหยของสารพิษในพลาสติก เป็นอันตรายมากกว่าเดิมได้ค่ะ

อ่าน รวมเครื่องอบUV รุ่นขายดี แม่บอกต่อมากที่สุด 2022 Click

แหล่งข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม :

สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ https://arch.wu.ac.th/?p=6971
สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) http://www.nimt.or.th/main/?p=31767
GET GET GOT https://www.getgetgot.com/blog/uv-sterilisers-best-for-baby-bottles
ประชาชาติธุรกิจ https://www.prachachat.net/rama-health/news-469601
MGR Online https://mgronline.com/qol/detail/9630000043446
ข่าวสารจุฬาฯ https://www.chula.ac.th/news/44406/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

code