มาตรฐานความปลอดภัยคาร์ซีท ระดับสากล

เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กในรถยนต์ทุกที่นั่งจะต้องมีป้ายรับรองมาตรฐาน ECE R44/04 เป็น มาตรฐานความปลอดภัยคาร์ซีท เพื่อบ่งชี้ว่าเบาะตัวนั้นๆได้ผ่านตามข้อกำหนดมาตรฐานความปลอดภัย ป้ายรับรองมาตรฐาน ECE R44/04 จะเป็นป้ายสีส้ม

  1. แสดงประเภท (Category) ของเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก
  2. แสดงน้ำหนักที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้งาน (Weight class)
  3. “Y” แสดงชนิดของอุปกรณ์ป้องกัน ในรูป “Y” หมายถึง เข็มขัดนิรภัยแบบ 5 จุดที่มีสายรัดเป้า
  4. ตัวบ่งชี้ว่าเป็นยุโรปอนุมัติ
  5. ตัวบ่งชี้สำหรับประเทศที่ได้รับความเห็นชอบ (1 = เยอรมนี, 2 = ฝรั่งเศส, 3 = อิตาลี, 4 = เนเธอร์แลนด์ ฯลฯ )
  6. หมายเลขการอนุมัติ ประกอบด้วยตัวเลข 8 หลัก ตัวเลขสองตัวแรกแสดงเวอร์ชั่นของมาตรฐานการทดสอบ ECE R 44 ที่เบาะนิรภัยนั้นๆได้รับการอนุมัติ (ในกรณีนี้คือ ECE R 44/04)
  7. เลขที่ปัจจุบัน

มาตรฐานความปลอดภัยคาร์ซีท ECE 44/03 และ ECE R 44/04 แบ่งตาม Group

และแบ่งแยกเป็นประเภทต่างๆ ทั้งหมด 4 ประเภท (4 Categories) ตามการติดตั้งและการใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้เราทราบว่าเบาะนั้นๆออกแบบมาสำหรับรถเราหรือไม่

มาตรฐานความปลอดภัยคาร์ซีท ECE 44/03 และ ECE R 44/04 แบ่งตามภูมิภาค

จากข้อมูลในหัวข้อนี้คงพอให้ท่านผู้อ่านเข้าใจความหมายและทราบถึงรายละเอียด ข้อมูลของเบาะนั้นจากป้ายมาตรฐาน ตลอดจนเป็นประโยชน์กับผู้ปกครองในการเลือกซื้อเบาะให้เหมาะกับลูกหลานและรถ ที่มีแนวทางการใช้งานเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก

  1. เลือกเบาะนั่งนิรภัยให้เหมาะสมกับขนาดร่างกายของเด็กและเหมาะกับรถ เบาะนั่งนิรภัยไม่เหมือนเสื้อผ้า การซื้อเบาะนั่งที่ไม่ตรงกับขนาดและอายุของเด็กจะส่งผลต่อความปลอดภัย
  2. ตอบความพึงพอใจของเด็ก โดยเฉพาะในด้านความสะดวกสบายในขณะนั่ง ทางที่ดีก่อนซื้อควรพาลูกๆหลานๆไปทดลองถึงที่ด้วยก็จะดี เพราะนั่นจะทำให้ทราบว่า เบาะรุ่นไหนเขานั่งแล้วสบาย ไม่อึดอัด
  3. สร้างความคุ้นเคยให้เด็ก สำหรับเด็กที่ยังไม่เคยนั่งมีคำแนะนำให้เอาเบาะมาให้เด็กได้สัมผัสได้ลองเล่นในบ้าน ให้เด็กนั่งขณะป้อนข้าวหรือทำกิจกรรมต่างๆเพื่อทำความคุ้นเคย เพื่อเด็กจะได้ไม่กลัวหรืองอแงยามที่ต้องถูกล็อคอยู่ในรถจริงๆ (คำแนะนำของกุมารแพทย์ รพ.กรุงเทพ)

ในครั้งแรกๆ เด็กๆอาจจะร้องเพราะกลัวการถูกล็อค แต่ถ้าเขาคุ้นเคยเสียก่อน ก็จะลดการร้องไม่ยอมของเด็กได้ การที่เด็กๆร้องก็จะทรมาณใจพ่อแม่เพราะสงสารลูกๆและเป็นสาเหตุทำให้ละเลยการใช้งานเบาะนิรภัยในครั้งต่อๆไป

  • ห้ามไม่ให้ใช้เบาะนั่งนิรภัยร่วมกับถุงลมนิรภัยที่อยู่ด้านหน้า
  • ควรให้เด็กนั่งที่ห้องโดยสารตอนหลัง (เบาะหลังรถ) จากการศึกษาวิจัยของสถาบัน NHTSA (Nation Highway Traffic Safety Administration) สรุปไว้ว่าเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี ควรนั่งเบาะด้านหลังรถ การให้เด็กนั่งด้านหลังแทนการนั่งด้านหน้าจะช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต ได้ 27 % ไม่ว่ารถคันนั้นจะมี airbag ด้านข้างหรือไม่ก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่งที่นั่งกลางของเบาะหลังจะเป็นตำแหน่งที่ปลอดภัยที่สุด

เพราะว่าเด็กที่นั่งอยู่ในเบาะนิรภัยจะมีการป้องกันการชนด้านข้างต่ำ การนั่งในตำแหน่งกลางจะช่วยเพิ่มพื้นที่ในการดูดซับแรงกระแทก แต่ทั้งนี้รถควรจะเป็นรถขนาดใหญ่ที่เบาะกลางมีเข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุด อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถติดตั้งตรงเบาะกลางได้ การติดตั้งทางฝั่งซ้ายหรือขวาก็สามารถทำได้ โดยที่ฝั่งตรงข้ามคนขับ (ฝั่งเดียวกับฟุตบาท) จะปลอดภัยกว่าฝั่งคนขับ  สำหรับการใช้งานเบาะนิรภัยร่วมกับรถปิกอัพให้ติดตั้งด้านหน้าข้างคนขับและห้ามใช้ถุงลมในที่นั่งด้านข้างคนขับ

  • ควรให้เด็กนั่งหันหลังให้หน้ารถให้นานที่สุดจนกว่าสรีระเด็กจะนั่งแบบนี้ไม่ได้ เพราะการนั่งแบบหันหน้าไปด้านหลังรถจะปกป้องหัวของเด็ก คอ และกระดูกสันหลังได้ดีกว่า
  • ศึกษาคู่มือการติดตั้งและการใช้เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ตลอดจนคู่มือรถยนต์ที่ใช้อยู่ให้รู้แจ้ง ทั้งนี้ก็เพราะว่าในช่วงแรกของการใช้เบาะนิรภัยสำหรับเด็กในสหรัฐอเมริกาผู้ปกครองจำนวนมากถึง 63% ติดตั้งเบาะนั่งนิรภัยไม่ถูกต้อง ทั้งการวางเบาะผิดตำแหน่ง, การจัดท่าเด็กในขณะนั่ง และการคาดกับเข็มขัดนิรภัยผิดๆ ดังนั้นหลังจากซื้อเบาะนิรภัยสำหรับเด็กมาแล้วจึงควรศึกษาคู่มือให้เข้าใจก่อนเริ่มการติดตั้ง
  • ติดตั้งเบาะนิรภัยในรถและจัดให้เด็กนั่งในเบาะนิรภัยอย่างถูกต้อง เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก จากการวิจัยพบว่าผู้ปกครองจำนวนมากยังปฎิบัติไม่ถูกต้อง ต้องตรวจสอบการยึดรั้งร่างกายของเด็กกับเบาะให้ดี และตรวจสอบเข็มขัดนิรภัยของตัวเบาะนั่งว่ารัดแน่นไปหรือเปล่า หรืออยู่ในตำแหน่งที่ผิดเพี้ยนจนสร้างความรำคาญให้กับเด็กหรือไม่ การนั่งที่ถูกต้องสายเข็มขัดนิรภัยของตัวเบาะจะต้องแน่นพอดีและพาดข้ามบ่าของเด็ก อย่าพาดอ้อมแขนหรือสอดไว้ใต้แขนเด็ก
  • เด็กพร้อมที่จะใช้เข็มขัดนิรภัยของรถได้ตามปกติเมื่อ

1. เด็กสูงเพียงพอที่ขาและเข่าของเขาสามารถนั่งห้อยขาได้เบาะนั่งรถได้พอดี
2. เด็กโตพอที่จะสามารถนั่งตัวตรง หลังพิงพนักพิงได้ตรง
3. เข็มขัดนิรภัยของรถส่วนล่างจะต้องรัดได้ตรงส่วนกระดูกเชิงกรานไม่ใช้รัดตรงท้อง
4. เข็มขัดที่พาดส่วนบ่าจะต้องพาดผ่านมาตรงส่วนหน้าอก ไม่ใช่ผ่านมาตรงแขนหรือคอ

สถานการณ์เบาะนั่งนิรภัยในไทย
มุมมองในเรื่องความปลอดภัยของคนใช้รถใช้ถนนในบ้านเรายังเป็นอะไรที่ควรได้ รับการปรับปรุงและส่งเสริมให้คำนึงอยู่ในจิตสำนึกโดยตลอด อีกทั้งในปัจจุบันเมืองไทยยังไม่มีการออกกฎหมายบังคับใช้เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือสร้างมาตรฐานสำหรับเบาะนั่งนิรภัยเด็กออกมาใช้ ยังไม่นับรวมการละเลยกฎจราจร, ขาดมารยาทในการขับขี่ และขาดการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง สิ่งเหล่านี้นอกจากเป็นสิ่งที่ภาครัฐควรช่วยกันผลักดันแล้วเราทุกคนต้องช่วยกันด้วยโดยเริ่มจากตัวเราเองก่อน


เอกสารอ้างอิง

Traffic Safety Facts 2008 Data, NHTSA’s National Center for Statistics and Analysis, National Highway Traffic Safety Administration (NHTSA), 2008

Guideline for Injury Prevention in Well Child Care, ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, 2005

ระบบยึดเหนี่ยวเด็กในรถ (Child Restraint System), ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

PandaTrueno.: จริงหรือที่เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กแพง, Safety Zone. In: MotorTrivia, 2010

ผศ.นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์, “โครงการการจัดการความรู้จากชุดโครงการวิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและ ป้องกันการบาดเจ็บในเด็กสู่นโยบายสาธารณะ”, ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก, 2004

“ถึงเวลาใส่ใจนักเดินทางตัวน้อยแล้วหรือยัง?”,  Special Report. In: Thaidriver Magazine No.91, หน้า 76-85, 2007

PandaTrueno.: มารู้จักกับประเภทของ car seat กันก่อน, Safety Zone. In: MotorTrivia, 2010

Car Seats – The Law, Regulations and Technical Information, itsababy

Regulation No. 44 Rev.1/Add.43/Rev.2, Agreement Concerning the Adoption of Uniform Technical Prescriptions for Wheeled Vehicles, Equipment and Parts, United Nations, 2008

http://www.safekids.org/our-work/news-press/press-releases/car-seat-inspections-offered.html

http://en.wikipedia.org/wiki/Infant_car_seat

http://www.consumerreports.org/cro/babies-kids/baby-toddler/car-seats/car-seat-buying-advice/car-seat-types/car-seat-types.html

http://www.iqraforum.com/forum/index.php?topic=800.0;wap2

http://www.mom2kids.com/knowledge.php?id=79

http://www.3sat.de/page/?source=/nano/news/94126/index.html

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00

บทความแนะนำ

การเดินทางด้วยรถยนต์เป็นสิ่งที่แม่มือใหม่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่การที่ลูกน้อยยังไม่สามารถนั่งในรถได้อย่างปลอดภัยด้วยเข็มขัดนิรภัยธรรมดา การเลือกซื้อคาร์ซีทที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อความปลอดภัยในทุกการเดินทางของลูกน้อย วันนี้เรามีคำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกคาร์ซีทอย่างไรให้เหมาะสมกับลูกน้อยและปลอดภัยที่สุดค่ะ 1. รู้จักประเภทของคาร์ซีท ก่อนที่จะเลือกคาร์ซีทให้ลูกน้อย สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจก็คือประเภทของคาร์ซีทที่มีในตลาด ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้: คาร์ซีทสำหรับทารก (Rear-Facing Seat): เหมาะสำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ขวบ หรือมีน้ำหนักไม่เกิน 10 กิโลกรัม คาร์ซีทประเภทนี้จะติดตั้งหันหลังและรองรับศีรษะและคอของเด็กให้ดีเยี่ยม ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุ คาร์ซีทแบบหันหน้า (Forward-Facing Seat): ใช้ได้เมื่อเด็กมีอายุ 1 ปีขึ้นไป หรือมีน้ำหนักประมาณ 9-18 กิโลกรัม ตัวคาร์ซีทจะหันหน้าไปข้างหน้าและมีเข็มขัดนิรภัยในตัว คาร์ซีทแบบบูสเตอร์ (Booster Seat): เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุ 4 ปีขึ้นไป หรือมีน้ำหนัก 15 กิโลกรัมขึ้นไป เพื่อเสริมให้เข็มขัดนิรภัยของรถยนต์สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยกับเด็กที่โตขึ้น 2. เลือกคาร์ซีทที่เหมาะสมกับช่วงวัยของลูก การเลือกคาร์ซีทที่เหมาะสมกับวัยของลูกเป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อให้ลูกน้อยได้รับการรองรับที่ดีในขณะนั่งในรถ หากเลือกคาร์ซีทผิดประเภทอาจทำให้ลูกไม่สามารถได้รับความปลอดภัยที่ดีที่สุดในกรณีเกิดอุบัติเหตุ 3. ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ ความปลอดภัยต้องมาเป็นอันดับหนึ่งเมื่อเลือกซื้อคาร์ซีท คาร์ซีทที่ดีจะต้องมีการทดสอบด้านความปลอดภัยผ่านมาตรฐานต่างๆ เช่น มาตรฐาน […]

คุณแม่อาจป้อนอาหารบดละเอียดให้ลูกเสริมกับการกินนมแม่เป็นหลัก หรือถ้าคุณพ่อคุณแม่คนไหนอยากฝึก BLW ให้ลูกกินข้าวด้วยตัวเองเป็นก็อาจให้ลูกหยิบจับอาหารนิ่ม ๆ กินเองโดยที่ไม่ต้องป้อนซึ่งอาจเป็นอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงมาก อย่างเช่น ผักต้มนิ่มๆ ผลไม้นิ่มๆ เนื้อปลาต้มนิ่มๆ และเมื่อลูกย่างเข้าสู่เดือนที่ 8 เป็นต้นไป ลูกก็จะเริ่มกินอาหารได้หลากหลายมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ก็อาจมองหาเมนูอาหารใหม่ๆ ให้กับลูกน้อย ซึ่งในบทความนี้ BabyGift มีเมนูอาหารเด็ก 8 เดือน 5 เมนูอร่อยมาแนะนำกัน จะมีอะไรบ้างนั้น ลองไปดูกันค่ะ  ชวนเข้าครัวเตรียมเมนูอาหารเด็ก 8 เดือนให้ลูกน้อย เด็ก 8 เดือนกินอะไรได้บ้าง ?  พอลูกของเราอายุ 6 เดือนขึ้นไป ก็จะสามารถกินอาหารเสริมนอกเหนือจากนมแม่เพิ่มเติมได้ และถ้าเป็นไปได้ คุณแม่ก็ควรให้นมแม่ควบคู่กับการเพิ่มมื้ออาหารให้ลูก ซึ่งอาหารสำหรับเด็กอ่อนนั้น สามารถใช้วัตถุดิบได้หลากหลาย และเมื่อลูกอายุ 8 เดือนก็จะเริ่มมีฟันน้ำนม สามารถกินอาหารได้อย่างหลากหลายมากขึ้น เนื้อสัมผัสอาหารมีความหยาบได้มากขึ้น รวมถึงกินผลิตภัณฑ์จากนมอย่าง เนย ชีส และโยเกิร์ตได้ สำหรับเมนูอาหารเด็ก 8 เดือนที่เราจะแนะนำกันนั้น สามารถใช้วัตถุดิบอะไรได้บ้าง มาดูกันค่ะ  แนะนำ […]

ว่ากันว่า “น้ำนมของแม่นั้นดีที่สุด” มีคำแนะนำทางการแพทย์ว่าควรให้ทารกกินนมแม่ไปจนถึงอายุ 2 ขวบหรือนานกว่านั้น แม้ว่าลูกน้อยจะอายุ 6 เดือนขึ้นไปแล้ว ก็ควรกินน้ำนมของแม่ร่วมกับการกินอาหารอื่น ๆ เพื่อเสริมคุณค่าทางโภชนาการ เพราะในน้ำนมของแม่นั้นมีความสำคัญต่อลูกน้อยมาก ๆ ในน้ำนมมีสารอาหารที่ดีต่อลูกน้อยหลายอย่าง ทั้งยังมีภูมิคุ้มกันที่ช่วยปกป้องลูกน้อยให้แข็งแรง นอกจากนี้ การให้ลูกกินน้ำนมของแม่ก็ยังมีข้อดีต่อตัวคุณแม่เองด้วยเช่นกัน ประโยชน์ของนมแม่ มีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลยค่ะ  ประโยชน์ นมแม่ อาหารเปี่ยมคุณค่าสำหรับลูกน้อย  นมแม่นั้นเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกแรกเกิด เพราะเต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ และช่วยเสริมภูมิต้านทานโรคให้กับลูก ประโยชน์ของนมแม่ช่วยลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วย และในขณะที่ทารกกินน้ำนมจากเต้าของนั้น ก็เป็นการช่วยสร้างความผูกพันระหว่างแม่กับลูกด้วย ทั้งยังทำให้ทารกรู้สึกอบอุ่นปลอดภัยนอกจากนี้ สำหรับคุณแม่เอง การให้ลูกกินนมก็ยังจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และเบาหวาน โดยองค์การอนามัยโลก และยูนิเซฟมีคำแนะนำเกี่ยวกับการให้นมของแม่เอาไว้ดังนี้ค่ะ  ประโยชน์ของนมแม่ มีอะไรบ้าง ?   ชวนรู้ การให้นมลูกก็มีประโยชน์ต่อคุณแม่เองด้วย   ประโยชน์ของนมแม่ นอกจากจะดีต่อลูกน้อยแล้ว การที่คุณแม่ให้นมลูก ก็มีข้อดีต่อตัวคุณแม่เองด้วย ดังนี้   Tips ในการให้นม สำหรับคุณแม่มือใหม่  เมื่อได้รู้ประโยชน์ของนมแม่กันแล้ว เชื่อว่าคุณแม่หลายๆ ท่านก็อยากจะให้ลูกน้อยของเราได้กินนมตั้งแต่แรกเกินไปจนถึงอายุ 2 – 3 ขวบ แต่ในบางคนก็ต้องกลับไปทำงานประจำหลังพ้นช่วงลาคลอด […]

เพราะคุณค่าจากน้ำนมแม่ที่เต็มไปด้วยความมหัศจรรย์สารอาหารที่มีครบถ้วน เพื่อพัฒนาลูกน้อยรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านความฉลาด การเติบโตแข็งแรง อารมณ์ดีมีความสุข ขับถ่ายง่าย แถมนมแม่ยังมีสารสร้างภูมิคุ้มกันมากมาย ทำให้ลูกน้อยไม่เจ็บป่วยง่ายอีกด้วย ด้วยเหตุนี้คุณแม่ทุกท่านจึงปรารถนาจะให้ลูกน้อยได้รับคุณค่าอันมหัศจรรย์จากน้ำนมแม่อย่างเต็มที่ไปจนโต หรือให้นมลูกได้นานที่สุด  โดยคุณแม่หลังคลอดส่วนใหญ่ นอกจากจะให้นมแม่จากเต้าโดยตรงกับลูกน้อยแล้ว เชื่อว่าเกือบทุกคน โดยเฉพาะคุณแม่เวิร์กกิ้งมัม จะต้องทำสต๊อกน้ำนมแม่เก็บแช่แข็งหรือแช่เย็นไว้ เพื่อให้ลูกรักยังได้กินนมแม่ตลอดเวลา แม้จะต้องออกไปทำงานนอกบ้าน แต่มีคุณแม่มือใหม่หลายท่านที่ยังไม่มั่นใจหรือกังวล กับการละลายนมแม่ที่แช่แข็งมาใช้ เพราะไม่แน่ใจว่าวิธีการไหนจะสะดวก สะอาด ปลอดภัย แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียอย่างไร และทำแบบไหนจะไม่เสียคุณค่าน้ำนมแม่  ดังนั้นอยากรู้ว่าแต่ละ วิธีละลายน้ำนมแม่ แตกต่างกันอย่างไรไปดูกันค่ะ ก่อนอื่น ให้เปลี่ยนช่องแช่ เพื่อละลายนมแม่ก่อน หากคุณแม่เก็บน้ำนมแม่ไว้ในช่องแช่แข็ง จำเป็นต้องนำนมแม่เปลี่ยนมาแช่ที่ช่องแช่เย็นธรรมดาด้านล่างก่อนประมาณ 1 วันหรือ 1 คืน เพื่อให้นมแม่ค่อยๆ ละลาย  ควรนำนมเก่าที่แช่แข็งไว้ตามวันเวลาที่เก็บสต๊อกไว้นานที่สุดก่อน  เพื่อไม่ให้นมเก่า เก็บไว้นานเกินไป  แล้วจึงทยอยนำนมใหม่มาใช้ไล่ตามเวลาไปเรื่อยๆ เมื่อนมแม่ละลายแล้ว  คุณแม่ควรแบ่งนมแม่จากถุงเก็บน้ำนมใส่ขวดนม แบ่งปริมาณที่ลูกกินเฉพาะมื้อนั้นๆ แล้วจึงนำมาอุ่นหรือละลายก่อนให้ลูกกิน   ซึ่งนมที่เหลือในถุงเก็บน้ำนมสามารถแช่ในตู้เย็นช่องธรรมดาให้ลูกกินให้หมดภายใน 2-3 วัน เท่านั้น  แต่ส่วนใหญ่คุณแม่มักจะนำมาอุ่นหรือละลายให้ลูกกินในมื้อถัดไปภายในวันเดียว หรือ 24 ชั่วโมง วิธีละลายน้ำนมแม่ […]

ด้วยสถานการณ์ในตอนนี้ เชื้อไวรัสโคโรน่า มีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง คนเป็นเพิ่มขึ้นวันละ 30 กว่าคนทุกวัน ลักษณะการแพร่ระบาดอยู่ในระยะที่ 2 และคนส่วนใหญ่ก็เพียงแค่ตามหาหน้ากากอนามัยที่ตอนนี้ราคาแพงขึ้นเป็นเท่าตัว หรือแม้แต่เจลแอลกอฮอล์ที่มีการทำปลอมแปลงออกมาอีกมากมายเพราะหวังกอบโกยเงิน ในช่วงวิกฤต แบบนี้ แต่บริษัทประกันต่างๆ กลับออกกรมธรรม์ประกัน เชื้อไวรัสโคโรน่า เพื่อช่วยเหลือสำหรับผู้ที่เกิดการติด เชื้อไวรัสโคโรน่า อย่างแท้จริง และทุกประกันก็ให้ความสะดวกสบายยิ่งขึ้น เมื่อตรวจพบเจอโรค ก็จ่ายทันที (Update 15/03/63) สินทรัพย์ประกันภัย แผน4 ** นอกจากนี้ ยังได้รับความคุ้มครองเพิ่ม กรณีประสบอุบัติเหตุ หากเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพ จะได้รับเงินประกัน และค่าปลงศพ 2,000-8,000 บาท ตามข้อกำหนดของแต่ละกรมธรรม์ โดยเงื่อนไขสำหรับผู้เอาประกันภัย ต้องมีอายุระหว่าง 1-99 ปี แต่จะไม่คุ้มครองสภาพที่เป็นมาก่อนการเอาประกันภัย (Pre-Existing Condition) ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต SCB แผน B – Covid 19 Plus แผน 3 สินมั่นคงประกันภัย ประกันภัยการติด เชื้อไวรัสโคโรน่า กรุงเทพประกันภัย ประกัน เชื้อไวรัสโคโรน่า วิริยะประกันภัย Covid Shield แผน […]

เคล็ดลับการฝึกลูกนั่งคาร์ซีท car seat จากประสบการณ์จริงคุณแม่ลูกสอง โดย แม่ป่าน เพจ เลี้ยงลูกอย่างมีความสุข by mommy Arpan 1. ฝึกเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ : ถ้าเป็นไปได้จัดเตรียมคาร์ซีท car seat ไว้ก่อนคลอด และให้ลูกนั่งตั้งแต่วันแรกที่ออกจากโรงพยาบาล จะช่วยสร้างความคุ้นเคยให้กับทั้งตัวลูกและพ่อแม่ 2. ต่อเนื่อง และสม่ำเสมอจนกลายเป็น routine (กิจวัตร) : ไม่ว่าจะไปไหน ใกล้หรือไกลต้องให้เด็กนั่ง car seat ทุกครั้ง เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ ปฏิบัติจนคุ้นชิน และทุกอย่างจะง่ายขึ้นเองค่ะ 3. ปรับทัศนคติให้ตรงกัน (ปัญหาหลักที่หลายบ้านพบเจอ) : โดยเฉพาะผู้ใหญ่ในบ้านที่อาจจะยังไม่เข้าใจ หรือยังมองไม่เห็นความสำคัญ ลองนั่งพูดคุยบอกเล่าเหตุการณ์ๆต่างๆในข่าว ที่เวลาเกิดอุบัติเหตุและเด็กที่นั่ง car seat รอดชีวิต เปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่ได้นั่งและเกิดความสูญเสียร้ายแรงตามมา และลองคุยปรับความเข้าใจกับท่านดู เชื่อว่าถ้าท่านรักและห่วงหลานๆเป็นทุน ยังไงวันหนึ่งท่านจะเข้าใจค่ะ อีกวิธีหนึ่งที่แนะนำคือลองหาวิดิโอใน Youtube สาธิตแรงกระแทกที่เกิดขณะรถชน (จะมีสาธิตเปรียบเทียบระหว่างมีคนอุ้มเด็ก กับเด็กนั่งคาร์ซีท ….หวังว่าภาพที่เห็นจะสามารถเปลี่ยนใจของบรรดาผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านได้นะคะ […]

Menu
All Categories
All Brands
All Ages
Promotions
Locations
BabyGift Family
BabyGift Care
Parents Guide
News & Event

All Categories

All Categories
All Brands
All Ages