ลูกเหงื่อออกมากผิดปกติ เป็นสัญญาณเตือนของ 3 โรคร้าย

เด็กบางคนจะมีเหงื่อออกมาก ทั้งบนศีรษะ หน้า หน้าอก แผ่นหลัง จนหมอน และชุดนอนเปียกชื้น โดยเฉพาะเด็กที่ปกติมีเหงื่อมาก เมื่อนอนไปได้สักระยะหนึ่งอุณหภูมิของร่างกายจะสูงขึ้น ทำให้มีเหงื่อออกจนคุณพ่อคุณแม่ตกใจเกรงลูกจะเป็นโรคร้าย เพราะมีคนกล่าวว่า เหงื่อออกมากเวลากลางคืนอาจจะเป็นอาการระยะเริ่มต้นของโรคต่างๆ ดังนี้ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดเมื่อหัวใจทำงานมากขึ้นเหงื่อก็จะออกมากขึ้นตามไปด้วย การที่หัวใจของลูกเต้นผิดปกติ จะทำให้เหงื่อของลูกออกมากไปด้วยเพราะระบบควบคุมการทำงานบางส่วนเป็นระบบเดียวกัน ส่วนมากจะเกิดกับเด็กที่เป็น ลิ้นหัวใจรั่ว หรือผนังกั้นหัวใจรั่ว อาการที่มีรวมกับการเหงื่อออกคือ เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง ปากคล้ำ การเจริญเติบโตช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน ภาวะติดเชื้อเด็กที่เป็นไข้ตัวร้อน และ เหงื่อออกมากผิดปกติ หัวใจเต้นเร็ว แสดงว่าเด็กอาจเกิดอาการติดเชื้อและกำลังใกล้ช็อก ควรพาลูกส่งโรงพยาบาลทันที อาการนี้จะดูยาก คุณแม่ต้องสังเกตควบคู่กับการรับประทานอาหารของลูกด้วยว่าทานได้มากเหมือนเดิมหรือไม่ มีอาการซึมไหม ถ้าลูกเริ่มไม่ตอบสนอง ควรรีบพาลูกส่งโรงพยาบาลทันทีค่ะ ภาวะไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ(hyperthyroidism) ถ้าลูกมีเหงื่อออกมากผิดปกติอาจเป็นผลมาจากความผิดปกติที่ทำให้เนื้อเยื่อไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ ทำให้มีการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ขึ้นมามาก เป็นสาเหตุทำให้เกิดหัวใจล้มเหลวแบบเลือดคั่ง (congestive heart failure) ,โรคกระดูกพรุน, และเกิดภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานเต็มขั้น เหงื่อออกปกติ เด็กอาจไม่ได้เป็นโรคอะไร แต่เป็นเด็กขี้ร้อน คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเรื่องความสะอาดของลูก เช่น อาบน้ำให้บ่อยขึ้น อยู่ในที่ๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก หรืออยู่ในที่ๆมีอากาศเย็นกว่าอุณหภูมิของห้องเล็กน้อย เวลานอนควรใส่เสื้อผ้าที่ไม่หนาจนเกินไป เหงื่อออกแบบผิดปกติ […]

ลูกมีเหงื่อออกมาก ผิดปกติหรือไม่???

“เวลาลูกสาววัย 5 เดือนดูดนมแม่ จะมีเหงื่อออกมาก โดยเฉพาะที่ศีรษะจะเปียกตลอดเลยทั้งที่อยู่ในห้องแอร์ ถือเป็นอาการผิดปกติหรือเปล่า”  เด็กต้องการพลังงานเทียบกับน้ำหนักตัวสูงกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากต้องใช้เพื่อการเจริญเติบโตและสร้างเนื้อเยื่อ อวัยวะต่างๆจึงต้องการใช้พลังงานสูงมาก เช่น เพื่อการสร้างเซลสมอง การสร้างเซลกล้ามเนื้อ ในขณะที่ผู้ใหญ่ต้องการพลังงานเพื่อการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ กล้ามเนื้อหัวใจในเด็กทารกเป็นเซลกล้ามเนื้อชนิดที่ล้าง่าย ต้องการพลังงานสูง ชีพจรของเด็กจึงเต้นเร็วกว่าผู้ใหญ่ เด็กแรกเกิดชีพจรเต้น 140 ครั้งต่อนาที และลดลงเรื่อยๆเมื่อเด็กเติบโตขึ้น จนเป็น 60-80 ครั้งต่อนาทีเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นความร้อนที่เกิดขึ้นจากการเผาผลาญพลังงานก็ย่อมมีมาก การระบายความร้อนออกจากร่างกายทำได้โดยการขับออกเป็นเหงื่อ ดังนั้นการที่เห็นว่าทารกนอนดูดนมเฉยๆ ทำไมถึงมีเหงื่อเยอะจัง เพราะภายในร่างกายของเขามีการทำงานอยู่ตลอดเวลา จึงไม่ผิดปกติค่ะ ขณะที่ผู้ใหญ่จะใช้พลังงานสูงเท่ากับที่เด็กทารกต้องการ ก็ต่อเมื่อมีการออกกำลัง จนชีพจรเต้นเร็วเท่ากับเด็กทารก ถึงเวลานั้นเราก็มีเหงื่อออกเต็มตัวเหมือนเด็กทารกเวลาดูดนมเช่นกัน อย่างไรก็ดีมีโรคบางอย่างที่ทำให้ทารกมีเหงื่อออกมากผิดปกติกว่าเด็กคนอื่น เช่น โรคหัวใจ โรคธัยรอยด์เป็นพิษ แต่ลูกควรมีอาการผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น เลี้ยงไม่โต ดูดนมแล้วดูเหนื่อยต้องหยุดเป็นพักๆ ตรวจร่างกายฟังได้ยินเสียงผิดปกติที่หัวใจ หากสงสัยว่าลูกเป็นโรคเหล่านี้ ให้ปรึกษากุมารแพทย์ได้ค่ะ หากตรวจแล้วพบว่าลูกปกติดี การมีเหงื่อออกเวลาดูดนม นอกจากช่วยระบายความร้อนแล้วยังช่วยให้ต่อมเหงื่อทำงานขับของเสียออกทางผิวหนังอีกทางหนึ่ง จึงไม่จำเป็นต้องเปิดแอร์ให้ลูกตลอดเวลา เพียงใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ง่าย และอยู่ในที่อากาศถ่ายเทจะดีกว่าค่ะ >>>ขอบคุณข้อมูล : สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ