ท้องแบบนี้ขึ้นบินได้ไหมนะ

พอใกล้จะสิ้นปีคุณพ่อคุณแม่ก็เริ่มวางแพลนเที่ยวกันแล้วใช่มั้ยล่ะคะ ก่อนจะเริ่มจองที่พัก คุณแม่ก็คงจะฉุกคิดว่า เอ๊ะ คนท้องขึ้นเครื่องบินได้มั้ยนะ? แล้วขึ้นได้ถึงกี่เดือน? สองคำถามนี้เป็นคำถามยอดฮิตสำหรับแม่ท้องทั้งหลายทุกช่วงวันหยุดยาวเลยค่ะ วันนี้เราก็มีคำตอบมาให้คุณแม่หายสงสัยกันนะคะ ขอบอกข่าวดี คุณแม่สามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้นะ แต่จะขึ้นได้จนถึงอายุครรภ์ประมาณ 35-36 สัปดาห์เท่านั้นโดยขึ้นอยู่กับข้อบังคับของสายการบิน ความจริงแล้วการเดินทางโดยเครื่องบินก็ไม่ได้มีผลอะไรต่อลูกน้อยในท้องของคุณแม่เลยค่ะ ถ้าคุณแม่มีสุขภาพที่แข็งแรงแล้วก็ได้คอนเฟิร์มกับคุณหมอแล้วว่าไม่ได้มีภาวะเสี่ยงอะไร แต่สายการบินมักจะกลัวคุณแม่เจ็บท้องคลอดลูกบนเครื่องบินต่างหากล่ะ เพราะหากคุณแม่คลอดลูกบนเครื่องบินแล้วก็จะทำให้สายการบินมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แถมอาจจะยังไม่ค่อยสะดวกอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าแม่ท้องทั้งหลายจะซื้อตั๋วแล้วก็เดินขึ้นเครื่องได้เลยนะ มีเอกสารนิดหน่อยที่คุณแม่จะต้องเตรียมแล้วก็แจ้งเจ้าหน้าที่ตามด้านล่างนี้เลยค่ะ สิ่งที่คุณแม่ต้องทำก่อนขึ้นเครื่อง อย่าลืมพกใบรับรองแพทย์ คุณแม่ที่มีอายุครรภ์มากกว่า 27 สัปดาห์ ก่อนเดินทางคุณแม่อย่าลืมขอใบรับรองแพทย์ติดตัวไปด้วยนะคะ ใบรับรองแพทย์นี้จะเป็นสิ่งช่วยยืนยันว่าคุณแม่มีสุขภาพที่แข็งแรง คุณหมออนุญาตให้เดินทางได้ และคุณแม่มีอายุครรภ์ที่ไม่เกินจากที่ทางสายการบินกำหนด ดูดีๆ นะ ใบรับรองแพทย์อย่าให้เกิน 30 วันล่ะ ไม่งั้นอดขึ้นไม่รู้ด้วย บอกเจ้าหน้าที่ว่าคุณแม่กำลังตั้งท้อง เมื่อเช็คอินที่เคาน์เตอร์ให้คุณแม่รีบแจ้งกับทางเจ้าหน้าที่เลยค่ะว่าคุณแม่กำลังท้องอยู่ ทางเจ้าหน้าที่จะให้คุณแม่เซ็นเอกสารจำกัดขอบเขตความรับผิด พูดง่ายๆ ก็คือเป็นเอกสารที่บอกว่าคุณแม่จะไม่เอาผิดกับสายการบินหากมีอะไรเกิดขึ้นกับคุณแม่และลูกในท้องนั่นแหละ เอกสารนี้จะต้องนำไปยื่นให้กับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินด้วยตัวคุณแม่เอง นอกจากนี้ หากคุณแม่ไปเช็คอินแต่เนิ่นๆ คุณแม่ก็อาจจะรีเควสขอที่นั่งดีๆ มีพื้นที่กว้างๆ ด้านหน้าให้คุณแม่ยืดขาคลายเมื่อยด้วยนะ ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ก่อนจะเดินทางคุณแม่อย่าลืมค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานพยาบาลในที่ที่คุณแม่จะไปนะคะ เผื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นคุณแม่จะได้ถึงมือคุณหมอได้ทันเวลา นอกจากสถานพยาบาลแล้วคุณแม่ก็ควร จะหาข้อมูลเกี่ยวกับประกันการเดินทางที่ครอบคลุมการตั้งครรภ์ไว้ด้วยจะได้อุ่นใจขึ้นไปอีกระดับนึงค่ะ พอขึ้นเครื่องแล้วก็ทำจิตใจให้สบาย คุณแม่อาจรู้สึกปวดหลังเพราะนั่งนานเกินไป ลองมาดูวิธีผ่อนคลายง่ายๆ […]

เตรียมคาร์ซีทพาลูกออกเที่ยวครั้งแรกกับพี่ตู่

เมื่อพี่ตู่เตรียมคาร์ซีท พาน้องริสาออกไปเที่ยวครั้งแรก… แต่มะลิ (แม่บ้าน) ดันถอดเบาะคาร์ซีทไปซักซะงั้น งานนี้พี่ตู่ต้องใส่ผ้าหุ้มกลับเข้าไปเหมือนเดิม เบาะทั้งหมดแบ่งออกเป็น 3 ชิ้น ที่เข้าใจง่ายๆ พี่ตู่บอกว่าง่ายมาก ทำครั้งแรกก็ได้เลย #แท็กสามี #ซักคาร์ซีทให้หน่อย เพราะคุณแม่นุชออกไปทำธุระข้างนอก การพาน้องริสาออกไปเที่ยวครั้งนี้มีแค่สองพ่อลูกเท่านั้น คาร์ซีทจึงจำเป็นมาก พี่ตู่เลือกคาร์ซีท Ailebebe รุ่น  Kurutto 4 Grance ผ้าหุ้มตาข่ายระบายอากาศได้ดี น้องริสานั่งแล้วสบายตัว ไม่อึดอัด ไม่งอแง สบายจังเลย…ปะป๋า ของีบแป๊บบบบนะคะ พนักพิงยุบตัวอัตโนมัติ รองรับแรงกระแทกได้ดี หากเกิดอุบัติเหตุ หมุนได้ 360 องศา อุ้มน้องริสาขึ้นลงคาร์ซีทได้ง่าย คาร์ซีท Ailebebe ปลอดภัยแน่นอน เพราะทุกตัวผ่านการทดสอบอย่างเข้มงวด จากประเทศญี่ปุ่น รีวิวคาร์ซีท Ailebebe รุ่น Kurutto4

Family Blog คาร์ซีทสำคัญแค่ไหน แม่ตูนน์เล่าเรื่องก่อนเลือกซื้อ

ไหนนนน บ้านไหนชอบได้ยินว่า ไม่ต้องซื้อคาร์ซีทหรอก ไม่ต้องเตรียมหรอก ค่อยๆ ขับ ระวังๆ ก็ไม่เป็นไรแล้ว บ้านนี้ขอยกมือ เป็นลำดับแรกๆ เลยค่ะ ซึ่งเอาจริงๆ เนี่ย ตอนแรกก่อนมีน้อง ตัวเองก็เฉยๆ นะ ไม่ได้คิดอะไร จนกระทั่งวันที่มีน้องต๊าตต์ และเริ่มวางแผนการเตรียมซื้อของให้เค้า วันแรกที่แม่เริ่มเกริ่นเรื่องว่าจะซื้อ Carseat ด้วยความที่เราเป็นแม่สายอ่านหาข้อมูลวิเคราะห์ ถามแฟนเพจ พูดคุยกับแม่ๆ คนอื่นๆ ทำให้เรารู้ว่า carseat เนี่ยเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุดในการเตรียมก่อนคลอดเลย เพราะหลังจากน้องออกจาก รพ. แล้วจะต้องมีพร้อม หลายคนอาจจะรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ราคาสูง แลดูสิ้นเปลืองมากๆ ซึ่งตอนแรกเนี่ย ทางบ้านตูนน์ก็มีคิดแบบนั้นเหมือนกันนะ มักจะเริ่มจากคำที่ว่า “สมัยเราเด็กๆ ยังไม่ต้องใช้เลย” แต่เราพยายามอธิบายให้เค้าฟังถึงเหตุ และผล พร้อมกับยกตัวอย่างเหตุการณ์ต่างๆ ให้เค้าได้ฟัง … ต้องบอกเลยว่าเรื่องนี้ต้องค่อยๆ อธิบายกันให้เข้าใจค่า สำหรับตูนน์แล้ว Carseat คล้ายๆ ซื้อประกัน เอาจริงๆ ไม่มีใครอยากต้องใช้ประกันหรอก แต่มันคือการซื้อความปลอดภัย และเมื่อเกิดเหตุขึ้น เราก็มั่นใจว่าลูกเราจะปลอดภัย tuniez […]

Booster Seat บูสเตอร์ซีท คืออะไร อายุเท่าไหร่ถึงเปลี่ยนมาใช้บูสเตอร์

บูสเตอร์ซีททำหน้าที่เหมือนคาร์ซีทเลยค่ะ คือเป็นเก้าอี้นิรภัยในรถยนต์สำหรับเด็กแต่บูสเตอร์ซีทใช้สำหรับเด็กที่โตแล้ว บูสเตอร์ซีทจะต่างกับคาร์ซีทตรงที่ไม่มีเข็มขัดนิรภัย 5 จุดในที่นั่งเด็กเหมือนคาร์ซีท แต่จะใช้เข็มขัดนิรภัยของรถยนต์พาดไปบนตัวเด็กเพื่อเริ่มฝึกให้น้องหัดใช้เข็มขัดนิรภัยของรถยนต์เพื่อความปลอดภัยแทนค่ะ ถึงแม้ว่าเด็กวัยนี้จะสามารถคาดเข็มขัดนิรภัยในรถเหมือนผู้ใหญ่ได้แล้ว แต่เนื่องจากว่าตัวยังเล็กอยู่ จึงต้องนั่งบูสเตอร์เพื่อเสริมให้ก้นสูงขึ้น โดยสายด้านล่างจะพาดบนตักได้พอดี และสายที่พาดบ่าจะสอดที่ตรงพนักพิงได้พอดีเช่นกัน ในทางกลับกันถ้าเราให้เด็กวัยประมาณสามขวบนั่งในรถโดยไม่ใช้บูสเตอร์สายเข็มขัดนิรภัยเส้นล่างจะไม่พาดบนหน้าตักได้พอดีเหมือนผู้ใหญ่ แต่จะพาดไปบนช่องท้องเพราะเด็กตัวเล็กอยู่ ส่วนสายเส้นบนที่พาดบ่าอาจจะไปพาดที่คอซึ่งไม่ปลอดภัยแน่นอน และจะทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ อายุเท่าไหร่ถึงเปลี่ยนมาใช้บูสเตอร์ซีท การเปลี่ยนมาใช้บูสเตอร์ซีทส่วนใหญ่จะแนะนำให้ดูตามเกณฑ์อายุประมาณ 3 ปีขึ้นไป จนถึง 11 ปี  หรือน้ำหนัก 15-36 kg. และ ความสูง 100-145 cm. แต่เราขอแนะนำว่าให้ดูตามเกณฑ์น้ำหนักและความสูงเป็นหลักจะดีกว่าการดูตามอายุเพราะน้ำหนักจะมีผลเมื่อเกิดอุบัติเหตุเด็กจะต้องมีน้ำหนักมากพอที่จะไปพุ่งไปหน้ารถตามแรงกระชาก และความสูงที่มากพอจะช่วยให้ระดับของเข็มขัดนิรภัยรถพาดอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เราควรให้เด็กนั่งในบูสเตอร์ซีทจนถึงความสูง 145 ซม. จึงสามารถเปลี่ยนมานั่งรถโดยคาดเข็มขัดของผู้ใหญ่ได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ต้องมีอุปกรณ์เสริม 5 จุดสังเกตว่าลูกโตพอที่จะเลิกใช้บูสเตอร์ซีทได้แล้ว ลูกนั่งหลังพิงพนักได้แล้ว ลูกงอเข่าได้พ้นขอบเบาะแล้ว สายเข็มขัดที่พาดทะแยงหน้าอก พาดอยู่กลางบ่าพอดี ไม่พาดใกล้คอ หรือพาดใกล้แขน สายเข็มขัดด้านล่างพาดบริเวณต้นขาและสะโพกได้พอดี ลูกสามารถนั่งในท่านี้ได้สบายตลอดการเดินทาง ถ้าลูกทำได้ “ครบทุกข้อ” คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกนั่งในรถโดยไม่ต้องใช้บูสเตอร์ซีทแล้วค่ะ แต่ถ้ายังทำได้ “ไม่ครบ” ก็ควรให้ลูกนั่งบูสเตอร์ซีทต่อไป เพื่อความปลอดภัยนะคะ ขอบคุณข้อมูลจาก http://blogs.uwhealth.org/kids/2015/09/booster-seat-is-best/   […]

วัคซีนกับแม่ท้องเป็นของคู่กัน

คุณแม่ฉีดวัคซีนกันหรือยังงงงง อย่ามัวแต่รีรอนะ เพราะว่าวัคซีนนั้นสำคัญมาก แต่ใครที่ฝากท้องกับคุณหมอแล้วก็ไม่ต้องห่วงค่ะ เดี๋ยวคุณหมอก็จะนัดฉีดเอง คุณแม่บางคนอาจจะสงสัยว่าเวลาท้องแล้วจะต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง วันนี้เราเลยนำความรู้เกี่ยวกับวัคซีนที่สำคัญสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มาฝากกันค่ะ ปกติแล้วการได้รับวัคซีนของคุณแม่ท้องจะแบ่งเป็น 2 ช่วง ก็คือช่วงก่อนตั้งครรภ์กับช่วงระหว่างตั้งครรภ์ ด้านล่างคือวัคซีนต่างๆ ที่สำคัญสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ค่ะ วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน (Rubella Vaccine) ใครเตรียมตัวเป็นคุณแม่ก็ไปฉีดวัคซีนตัวนี้ล่วงหน้าสัก 3 เดือนเป็นอย่างน้อยนะคะ อ๊ะๆ คนที่ยังไม่ได้ฉีดกำลังตกใจกันอยู่ใช่มั้ย อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ ถ้าคุณแม่ไม่เคยฉีดวัคซีนตัวนี้ก่อนท้อง คุณแม่ก็แค่ต้องดูแลตัวเองให้ดีๆ ในช่วงที่ท้องสามเดือนแรก หลักๆ คืออย่าไปที่ที่มีคนพลุกพล่าน เพราะมันเป็นแหล่งรวมเชื้อโรคเลยล่ะ ยิ่งถ้าไปเจอคนที่ไอหรือจามหรือเป็นไข้อะไรพวกนี้ด้วยแล้วก็ยิ่งเสี่ยงเข้าไปใหญ่เลย เพราะถ้าหากคุณแม่ติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมันตัวนี้เข้าในช่วงที่ท้องสามเดือนแรก มันจะส่งผลให้ลูกในท้องมีความพิการที่อวัยวะต่างๆ เช่น ตา หู หัวใจ แขน ขาหรือสมองได้ค่ะ คุณแม่ที่เป็นหัดเยอรมันจะมีอาการเหมือนเป็นไข้หวัดธรรมนี่แหละ แต่จะแถมด้วยผื่นขึ้นตามตัว แต่ว่าถ้าคุณแม่ติดเชื้อไวรัสนี้ในช่วงเดือนท้ายๆ ก็ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะลูกของเราจะไม่ได้รับผลกระทบจากเชื้อนี้เนื่องจากเค้าเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (Hepatitis B Vaccine) ไวรัสตัวนี้พบเยอะมากได้ประเทศไทยค่ะ คนที่เป็นก็จะแสดงอาการไม่เหมือนกันหรอก แต่ถ้าเป็นขั้นรุนแรงแล้วล่ะก็สามารถเสียชีวิตได้เลยค่ะ คนที่เป็นโรคนี้หนักๆ ตัวจะเหลือง อ่อนเพลียมากตลอดเวลาแล้วตับก็จะถูกทำลาย เจ้าเชื้อตัวนี้สามารถติดจากแม่สู่ลูกในท้องได้ แต่ก็ไม่ได้มีผลร้ายแรงอะไรนะคะ ที่บอกว่าติดต่อก็คือว่า […]

ภาวะครรภ์เสี่ยง ภาวะที่คุณแม่ไม่อยากเจอ

ไม่ว่าแม่ท้องท่านไหนก็ไม่มีใครอยากจะอยู่ในภาวะครรภ์เสี่ยงกันทั้งนั้นแหละใช่มั้ยคะ คุณแม่บางท่านอาจจะเคยได้ยินเรื่องภาวะครรภ์เสี่ยงมาบ้างแต่ก็ไม่แน่ใจว่าเป็นอาการแบบไหนกันแน่ วันนี้เราจะนำเรื่องเกี่ยวกับภาวะครรภ์เสี่ยงมาฝากคุณแม่กันค่ะ ภาวะครรภ์เสี่ยงก็คือการตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบทั้งต่อตัวคุณแม่เองและลูกในท้อง ซึ่งภาวะนี้อาจทำให้ลูกเสียชีวิตตั้งแต่ยังไม่คลอด ในขณะคลอด หรือหลังคลอดได้ค่ะ ภาวะครรภ์เสี่ยงมักจะเกิดกับคุณแม่ที่เคยแท้งมาก่อน หรือเคยคลอดก่อนกำหนด คุณแม่ที่มีโรคประจำตัวต่างๆ หรือตั้งครรภ์ในขณะที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี หรือมากกว่า 40 ปี นอกจากนี้อาจจะมีสาเหตุมาจากเนื้องอกในมดลูก ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงที่คุณแม่ท้อง การท้องลูกแฝดหรือแม้แต่การที่ลูกในท้องอยู่ในท่าที่ไม่ปกติ มีข้อไหนที่ตรงกับคุณแม่บ้างมั้ยคะ ถ้ามีคุณแม่รีบปรึกษาคุณหมอแล้วก็เข้ารับการตรวจตามกำหนดและปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัดนะคะ เพราะคุณแม่ที่มีภาวะเสี่ยงจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด แล้วก็คุณแม่จะต้องได้รับการตรวจประเมินอย่างน้อยหนึ่งอย่างโดยคุณหมอตามด้านล่างนี้ด้วยค่ะ การตรวจประเมินภาวะครรภ์เสี่ยงโดยคุณหมอ อัลตราซาวด์ (Ultrasound) การตรวจแบบอัลตราซาวด์ก็คือการตรวจโดยใช้คลื่นความถี่สูงเพื่อตรวจหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นตอนตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติของรกหรือของลูกน้อยในท้องค่ะ นอกจากนี้ การตรวจอัลตราซาวด์ยังสามารถบอกปริมาณน้ำคร่ำ รูปร่างของมดลูกและอัตราการเต้นของหัวใจทารกได้ด้วยนะ การตรวจกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์ กลุ่มอาการดาวน์ก็คือดาวน์ซินโดรมที่เราเรียกกันโดยทั่วไปนี่แหละค่ะ สำหรับการตรวจหากลุ่มดาวน์นี้จะสามารถทำได้หลายวิธี เช่น Combined Test หรือการตรวจครั้งเดียวในช่วงสามเดือนแรก คุณแม่จะตรวจด้วยวิธีนี้ได้เมื่อมีอายุครรภ์ 11-13 สัปดาห์ คุณหมอจะทำการตรวจผ่านการอัลตราซาวด์โดยวัดความหนาของต้นคอร่วมกับการตรวจเลือดค่ะ แต่การตรวจแบบนี้จะสามารถคัดกรองได้เพียงแค่ 85% เท่านั้นนะคะ แล้วก็จะมีผลบวกลวงอยู่ที่ 5% ค่ะ Quadruple Test หรือการตรวจครั้งเดียวในช่วงเดือนที่ 4-6 ค่ะ คุณแม่ที่มาฝากครรภ์หลังไตรมาสแรกก็จะได้รับการตรวจเลือดในช่วงไตรมาสที่ 2 […]

แพ้ท้องแทนเมียมีจริงหรือ?

โบราณเค้าว่าสามีที่แพ้ท้องแทนภรรยา(เมีย)คือสามีที่รักภรรยามาก…จริงหรอ? คือฟังแล้วก็สงสัยจริงๆ นะคะ ว่าผู้ชายแพ้ท้องได้ด้วยหรอ วันนี้เรามีคำตอบมาให้ค่ะ อาการแพ้ท้องแทนภรรยานั้น ถึงจะฟังดูแปลกๆ แต่ก็เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้จริงค่ะ แต่ก็ไม่ได้เกี่ยวกับว่ารักมากหรือรักน้อยหรอกนะคะ จริงๆ แล้วอาการนี้ไม่ใช่อาการที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกายค่ะ แต่เป็นอาการที่เกิดจากจิตใจของคุณพ่อต่างหาก โดยหลักๆ แล้วคุณพ่อก็จะมีอาการเหมือนคุณแม่เวลาแพ้ท้องนั่นแหละค่ะ จะรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน เป็นตะคริว หน้ามืด วิงเวียน ประมาณนี้ สาเหตุมันเกิดมาจากอะไรกันนะ? มีนักวิจัยได้ทำการวิจัยในเรื่องนี้และพบว่าสาเหตุมันเกิดมาจากการที่คุณพ่อเริ่มวิตกกังวลบวกกับความตื่นเต้นที่กำลังจะมีสมาชิกครอบครัวเพิ่ม แล้วก็รวมไปถึงความห่วงใยที่มีต่อคุณแม่จึงทำให้ฮอร์โมนเพศหญิง (Estrogen) ในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้คุณพ่อมีอาการแพ้ท้องเหมือนคุณแม่ค่ะ อาการแบบนี้ทางการแพทย์เค้าจะเรียกว่า โคเวด ซินโดรม (Couvade Syndrome) อาการแพ้ท้องแทนภรรยาเป็นแบบไหนบ้างนะ? คลื่นไส้ คุณพ่อบางท่านอาจจะอยู่ดีๆ ลุกขึ้นมาทานของเปรี้ยวหรือของเค็ม หรืออาจจะวิ่งเข้าห้องน้ำเพื่อไปอาเจียน อาการเหล่านี้เรามักจะเห็นในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ แต่ถ้าหากคุณพ่อมีอาการแพ้ท้องแทนภรรยาด้วยแล้ว อาการเหล่านี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้ค่ะ อารมณ์ไม่คงที่ เนื่องจากในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์นั้น คุณแม่จะต้องเผชิญกับอารมณ์ที่แปรปรวน เดี๋ยวสุขเดี๋ยวเศร้า เมื่อคุณพ่อต้องเจอกับอารมณ์ที่ขึ้นลงเหล่านี้ไปด้วย ก็อาจทำให้เกิดอาการเครียดและมีอารมณ์ไม่คงที่ตามไปด้วยเลย น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ไม่ใช่แค่คุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากท้องที่ใหญ่ขึ้น แต่คุณพ่อเองก็มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากอาการเครียดทำให้รับประทานของจุกจิกเพื่อให้หายเครียด แต่อีกส่วนหนึ่งก็คือมันเกิดมาจากฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หรือฮอร์โมนความเครียดค่ะ คอร์ติซอลจะเป็นฮอร์โมนที่ช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดและอินซูลิน ซึ่งจะมีผลทำให้ร่างกายคุณพ่อคิดว่าหิวทั้งที่จริงๆ ไม่ได้หิวเลยค่ะ เพราะฉะนั้นช่วงนี้คุณพ่อควรจะวางของทานเล่นที่มีประโยชน์ไว้ใกล้ตัว เพื่อไม่ให้น้ำหนักของคุณพ่อเพิ่มขึ้นเยอะเกินไปนะ อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย คุณพ่อบางท่านอาจมีอาการปวดตรงบริเวณเดียวกับคุณแม่โดยไม่ได้นัดกันล่วงหน้า […]

เนื้องอกในมดลูกระหว่างตั้งครรภ์อันตรายไหมนะ

เนื้องอกในมดลูก (Myoma Uteri) แค่ฟังชื่อก็น่ากลัวแล้วใช่มั้ยล่ะคะ แต่ความจริงเนื้องอกชนิดนี้เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดถ้าเปรียบเทียบกับพวกเนื้องอกของผู้หญิงที่เกิดขึ้นในบริเวณอื่นๆ ในช่วงเริ่มต้นเจ้าเนื้องอกนี้จะมีขนาดเล็กเท่าเม็ดถั่วเขียวเองค่ะ แต่ขนาดของมันจะค่อยๆ ใหญ่ขึ้นถ้าได้รับการกระตุ้นโดยฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และขนาดจะเล็กลงได้หากไม่ได้รับการกระตุ้นจากฮอร์โมนชนิดนี้ เพราะอย่างนี้เราจึงมักจะพบเนื้องอกในมดลูกในผู้หญิงที่ยังมีประจำเดือนอยู่ และเมื่อหมดประจำเดือนเนื้องอกนี้ก็จะค่อยๆ เล็กลงและหายไปเองในที่สุดค่ะ เนื้องอกในมดลูกขณะตั้งครรภ์เป็นแบบไหนกันนะ? เนื้องอกในมดลูกจะมีลักษณะเป็นก้อนกลมๆ โดยจะแทรกอยู่ตามที่ต่างๆ บนผนังมดลูกค่ะ อาจจะอยู่ตรงกลางของผนังมดลูก หรืออยู่บนผนังค่อนมาทางโพรงของมดลูก บางรายอาจถึงขนาดยื่นลงมาผ่านปากมดลูกยาวมาถึงช่องคลอดเลยก็ได้ค่ะ แล้วอาการล่ะจะเป็นแบบไหน? เนื่องจากเนื้องอกชนิดนี้จะเติบโตอย่างช้าๆ คุณแม่ส่วนใหญ่จึงจะไม่ทราบว่าตนมีเนื้องอกนี้อยู่จนกว่าคุณหมอจะตรวจพบ อย่างไรก็ตามอาการที่สังเกตได้จากการมีเนื้องอกในมดลูกนั้นจะมีลักษณะดังข้างล่างนี้ค่ะ ปัสสาวะบ่อย เนื่องจากเนื้องอกในมดลูกไปอยู่ในตำแหน่งที่ดันกับกระเพาะปัสสาวะ จึงทำให้ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ ในบางรายอาจทำให้ปัสสาวะลำบาก ถ่ายอุจจาระลำบาก ท้องผูก เนื่องจากก้อนเนื้องอกนี้ไปอยู่ด้านหลังแล้วกดทับบนลำไส้ใหญ่ แต่ว่าคุณแม่อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ เพราะอาการที่กล่าวมาข้างต้นนั้นก็เป็นอาการปกติที่พบในคุณแม่ท้องทั่วไปต่อให้ไม่มีเนื้องอกในมดลูกนะ ถ้าพบเนื้องอกในมดลูกตอนตั้งครรภ์แล้วจะเกิดอะไรขึ้น? ส่วนใหญ่แล้วจะขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดเนื้องอกค่ะ แต่ว่าถ้าเกิดเนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจจะเบียดดันมดลูก ทำให้มดลูกโตได้ไม่เต็มที่และอาจทำให้เกิดการเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด หรือถ้าหากเนื้องอกไปอยู่ที่ด้านล่างแล้วก็อาจจะไปขวางตรงส่วนของช่องคลอด คุณแม่จึงไม่สามารถคลอดเองได้แต่จะต้องผ่าคลอดค่ะ แต่ในบางราย หากเนื้องอกดันเข้าไปในโพรงมดลูกมาก ก็อาจส่งผลทำให้แท้งลูกในท้องได้ค่ะ เนื้องอกในมดลูกขณะตั้งครรภ์รักษาให้หายได้ไหมนะ? โดยปกติแล้วคุณหมอจะไม่ทำการรักษาเนื้องอกนี้ไม่ว่าจะเป็นการให้ยาหรือผ่าตัดค่ะ เพราะว่ายาไม่ได้ช่วยให้เนื้องอกยุบลง ส่วนการผ่าตัดก็เป็นการเสี่ยงที่จะทำให้คุณแม่เสียเลือดมากและแท้งบุตรค่ะ นอกจากนี้ คุณแม่อาจจะต้องถูกตัดมดลูกทิ้งหากเลือดออกมากจนไม่สามารถควบคุมได้ ตามหลักการแล้วคุณหมอจะเริ่มทำการรักษาเมื่อคุณแม่คลอดลูกน้อยได้อย่างน้อย 3 เดือน เพราะในคุณแม่บางรายเนื้องอกมีขนาดเล็กลงหลังคลอดจนไม่ต้องทำการรักษาก็มีค่ะ แต่ในบางรายก็อาจโตขึ้นจนต้องตัดมดลูกทิ้งเลยค่ะ คู่แต่งงานคู่ไหนที่วางแผนอยากมีลูกน้อยเป็นโซ่ทองคล้องใจ […]

ตั้งครรภ์อยู่แบบนี้จะทานยาแก้แพ้ได้ไหมนะ

ปัญหาใหญ่ของคุณแม่อีกปัญหาหนึ่งเวลาตั้งท้องก็คือการทานยาเวลาไม่สบายนั่นเองค่ะ อันนี้กล้าพูดได้เลยเพราะเจอกับตัวเองเหมือนกัน เพราะเราก็ไม่รู้อ่ะเนอะว่าในยาแก้แพ้พวกนี้มีส่วนผสมหรือสารอะไรที่จะมีผลต่อลูกในท้องบ้าง วิธีแก้ไขขั้นพื้นฐานที่สุดก็คือเลิกทานยาไปเลย ขนาดไม่สบายหนักๆ จนแทบทนไม่ได้ยังยอมที่จะไม่ทานยาเลยค่ะ แล้วดูอากาศประเทศไทย เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวฝนตก แบบนี้จะไม่ให้ป่วยยังไงไหว แต่วันนี้เราจะมาบอกคุณแม่แม่ว่า มันมียาแก้แพ้บางตัวที่คุณแม่ท้องสามารถทานได้นะคะ เพราะยาพวกนี้ได้รับการคอนเฟิร์มจากคุณหมอแล้วว่าไม่มีผลต่อลูกน้อยแน่นอน เราลองมาดูกันดีกว่าว่าคุณแม่ใช้ยาอะไรได้บ้าง ยาแก้แพ้ที่ปลอดภัยกับคุณแม่ คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine: CPM) เวลาพูดถึงยาแก้แพ้ ยาตัวแรกที่คนส่วนใหญ่นึกถึงก็คือเจ้ายาตัวนี้แหละ ยาเม็ดเล็กๆ สีเหลืองที่ช่วยลดอาการแพ้ ลดน้ำมูกแล้วก็แก้อาการคัน คุณแม่ท้องทานยาตัวนี้ได้เนอะ เพราะจากกรณีที่ผ่านมายังไม่พบว่ายาตัวนี้ส่งผลต่อลูกในท้องเลยค่ะ แต่ว่ายาตัวนี้มันจะมีผลข้างเคียงทำให้คุณแม่อ่อนเพลีย เพราะงั้นอาจจะต้องงดใช้ยาเวลาที่ต้องเดินทางไปไหนมาไหนนะคะ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และคุณลูกค่ะ ที่สำคัญก็ไม่ควรใช้ยาตัวนี้เกิน 3 วันนะ เพราะว่าถ้าใช้ไปมากๆ แล้วอาจจะทำให้เกล็ดเลือดต่ำ แล้วลูกที่คลอดออกมาอาจจะมีอาการเลือดไหลผิดปกติได้ด้วยค่ะ แอคติเฟด (Actifed) ยาตัวนี้จะช่วยลดอาการคัดจมูก ทำให้พวกอาการภูมิแพ้ทางจมูกดีขึ้น แล้วก็บรรเทาอาการคัดจมูกที่เกิดจากหวัดได้ค่ะ แต่ยาตัวนี้ก็จะทำให้ง่วงเช่นเดียวกัน ดังนั้น คุณแม่ควรจะทานยาแล้วก็พักผ่อนให้เพียงพอนะคะ พอตื่นมาอาการจะได้ดีขึ้น สดชื่นได้เหมือนเดิมค่ะ เซทิไรซีน (Cetirizine) หรือ ฟาเทค (Fatec ®) คุณแม่ที่ต้องเดินทางหรือทำงานในช่วงที่ไม่สบายก็ขอแนะนำให้ทานตัวนี้เลยค่ะ เพราะว่ายาตัวนี้ไม่ทำให้ง่วงหรืออ่อนเพลีย แถมยังไม่ส่งผลเสียต่อลูกน้อยอีกต่างหาก แต่ว่ายาตัวนี้มันจะออกฤทธิ์ช้ากว่ายาตัวอื่นๆ นะคะ คุณแม่ก็เลยอาจจะหายช้านิดหน่อยค่ะ […]

แบบนี้ใช่อาการแพ้ท้องหรือเปล่านะ?

ไหนๆ คุณแม่ท่านไหนกำลังแพ้ท้องบ้าง ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีกับคุณแม่ที่ไม่แพ้ท้องด้วยนะคะ เพราะคุณแม่โชคดีมาก การแพ้ท้องเป็นอะไรที่ทรมานมากๆ เลยค่ะ แต่คุณแม่ที่แพ้ท้องก็ไม่ต้องกลัวเหงานะ เพราะมีคุณแม่อีกกว่า 80% ที่ต้องเผชิญกับอาการนี้เช่นกัน อาการแพ้ท้องนี้มักจะเกิดขึ้นในช่วง 1-3 เดือนแรก แต่คุณแม่บางคนอาจจะต้องเผชิญกับอาการแพ้ท้องจนถึงไตรมาสสุดท้ายเลยก็ได้ค่ะ อาการแพ้ท้องเกิดจากอะไรกันนะ? รกที่เชื่อมระหว่างคุณแม่กับลูกน้อยนั้นจะสร้างฮอร์โมนตัวหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า Human Chorionic Gonadotropin (HCG) ค่ะ ซึ่งเจ้าฮอร์โมนตัวนี้มีไว้เพื่อกระตุ้นให้รังไข่สร้างฮอร์โมนอื่นๆ ในช่วงระยะแรกของการตั้งครรภ์ค่ะ ระดับฮอร์โมน HCG ที่สูงขึ้นจะทำให้ประสาทรับกลิ่นของคุณแม่สูงขึ้นตามไปด้วย ในขณะที่ประสาทการรับรสชาติจะเปลี่ยนไป นอกจากนี้ เจ้า HCG ยังจะไปกระตุ้นศูนย์ควบคุมการอาเจียน ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายต่างๆ คุณแม่จึงรู้สึกคลื่นไส้ เวียนหัว หรืออ่อนเพลียอยู่ตลอดเวลาค่ะ อาการแพ้ท้องเป็นยังไงหนอ? เวียนหัวคลื่นไส้ คุณแม่ท้องจะรู้สึกอยากอาเจียนตลอดเวลา โดยอาการนี้มักจะเกิดในช่วงเช้า เราจึงเรียกว่าอาการMorning Sick แต่คุณแม่บางคนอาจจะเป็นตลอดทั้งวันก็ได้นะ หน้ามืดอาการนี้จะต่อเนื่องมาจากการที่คุณแม่อาเจียนบ่อย ทำให้ขาดน้ำ จึงเกิดอาการหน้ามืดตามมาค่ะ จมูกไวต่อกลิ่นเวลาแพ้ท้องคุณแม่จะได้กลิ่นต่างๆ เร็วเป็นพิเศษ บางกลิ่นที่เคยชอบอาจจะไม่ชอบ บางกลิ่นที่เคยไม่ชอบก็อาจจะกลายเป็นชอบไปเลยก็ได้ค่ะ แม้แต่กลิ่นสามีที่เคยหอมๆ ตอนแพ้ท้องคุณแม่อาจจะรู้สึกเหม็นไปเลยก็ได้นะ เหมือนในละครไง พอได้กลิ่นอาหารก็รีบวิ่งไปอาเจียนในห้องน้ำเลย ประสาทการรับรสไม่เหมือนเดิมคุณแม่บางรายอาจจะอยากทานแต่ของที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะม่วง มะดัน มะนาว อะไรแบบนี้ แต่คุณแม่บางรายก็อาจจะไม่อยากทานอะไรเลยเพราะรู้สึกขมๆ อยู่ในปาก จะทานอะไรก็ไม่อร่อย รู้สึกอ่อนเพลียอยากนอนตลอดทั้งวันเนื่องจากในช่วงนี้ทารกในครรภ์กำลังอยู่ในช่วงพัฒนาและสร้างอวัยวะต่างๆ ทำให้ร่างกายของคุณแม่ต้องใช้พลังงานมากผนวกกับฮอร์โมนที่เปลี่ยนไป คุณแม่จึงรู้สึกเพลียมากกว่าปกติ และรู้สึกว่านอนเท่าไหร่ก็ไม่พอค่ะ อารมณ์แปรปรวน […]