6 วิธี เลือกคาร์ซีทแรกเกิดให้ลูกในฉบับของ แม่ PRAEW

คาร์ซีทแรกเกิด

วันนี้ BabyGift จะมาแชร์วิธีการเลือกคาร์ซีทแรกเกิดในฉบับของคุณแพรว เพชรแพรว อัครเตชวาทิน หรือ แม่ PRAEW จากเพจ PRAEW ให้ดูกันค่ะ เพื่อเป็นแนวทางให้แม่ๆทุกคน ที่กำลังมองหาคาร์ซีทแรกเกิดดีๆสักตัวให้เจ้าตัวน้อยอยู่ แต่ไม่รู้จะเลือกอย่างไรดี ต้องให้ความสำคัญตรงไหนเป็นพิเศษ วันนี้เราสรุปมาให้แล้วค่ะ 6 เทคนิคเลือกซื้อคาร์ซีทแรกเกิดในแบบของ แม่ PRAEW 1. วัสดุต้องดี แข็งแรง แม่ PRAEW ให้ความปลอดภัยมาเป็นอันดับ 1 โครงสร้างต้องมีมาตรฐาน วัสดุต้องดี แข็งแรงทนทาน ไม่ก๊อกแก๊ก และต้องเข้าใจด้วยค่ะว่าในแต่ละส่วนของร่างกายเด็ก หรือแรงที่เด็กจะได้รับจากการเกิดอุบัติเหตุใช้วัสดุป้องกันที่แตกต่างกันในการปกป้องตัวเด็ก เช่น แรงกระแทกแรงๆ EPS Foam จะป้องกันได้ดีกว่า ส่วนแรงกระแทกเบาๆ แผ่นโพลี่ยูรีเทน จะช่วยป้องกันได้ดีกว่า คาร์ซีทที่เมอใช้อยู่ มีวัสดุที่หลากหลายมาก มีทั้ง EPS Foam ที่เป็นวัสดุโครงสร้างหลัก และแผ่นโพลี่ยูรีเทนที่เสริมเข้ามาบริเวณที่นั่ง ศีรษะและสะโพกทั้ง 2 ด้าน เรียกได้ว่าทุกส่วนออกแบบมาให้รองรับทุกส่วนอย่างดีที่สุดค่ะ  อีกสิ่งที่แพรวรู้มา คือเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ เด็กที่อยู่บนคาร์ซีทจะได้รับอันตรายจากแรงกระแทกซ้ำๆ […]

Booster Seat บูสเตอร์ซีท คืออะไร อายุเท่าไหร่ถึงเปลี่ยนมาใช้บูสเตอร์

บูสเตอร์ซีททำหน้าที่เหมือนคาร์ซีทเลยค่ะ คือเป็นเก้าอี้นิรภัยในรถยนต์สำหรับเด็กแต่บูสเตอร์ซีทใช้สำหรับเด็กที่โตแล้ว บูสเตอร์ซีทจะต่างกับคาร์ซีทตรงที่ไม่มีเข็มขัดนิรภัย 5 จุดในที่นั่งเด็กเหมือนคาร์ซีท แต่จะใช้เข็มขัดนิรภัยของรถยนต์พาดไปบนตัวเด็กเพื่อเริ่มฝึกให้น้องหัดใช้เข็มขัดนิรภัยของรถยนต์เพื่อความปลอดภัยแทนค่ะ ถึงแม้ว่าเด็กวัยนี้จะสามารถคาดเข็มขัดนิรภัยในรถเหมือนผู้ใหญ่ได้แล้ว แต่เนื่องจากว่าตัวยังเล็กอยู่ จึงต้องนั่งบูสเตอร์เพื่อเสริมให้ก้นสูงขึ้น โดยสายด้านล่างจะพาดบนตักได้พอดี และสายที่พาดบ่าจะสอดที่ตรงพนักพิงได้พอดีเช่นกัน ในทางกลับกันถ้าเราให้เด็กวัยประมาณสามขวบนั่งในรถโดยไม่ใช้บูสเตอร์สายเข็มขัดนิรภัยเส้นล่างจะไม่พาดบนหน้าตักได้พอดีเหมือนผู้ใหญ่ แต่จะพาดไปบนช่องท้องเพราะเด็กตัวเล็กอยู่ ส่วนสายเส้นบนที่พาดบ่าอาจจะไปพาดที่คอซึ่งไม่ปลอดภัยแน่นอน และจะทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ อายุเท่าไหร่ถึงเปลี่ยนมาใช้บูสเตอร์ซีท การเปลี่ยนมาใช้บูสเตอร์ซีทส่วนใหญ่จะแนะนำให้ดูตามเกณฑ์อายุประมาณ 3 ปีขึ้นไป จนถึง 11 ปี  หรือน้ำหนัก 15-36 kg. และ ความสูง 100-145 cm. แต่เราขอแนะนำว่าให้ดูตามเกณฑ์น้ำหนักและความสูงเป็นหลักจะดีกว่าการดูตามอายุเพราะน้ำหนักจะมีผลเมื่อเกิดอุบัติเหตุเด็กจะต้องมีน้ำหนักมากพอที่จะไปพุ่งไปหน้ารถตามแรงกระชาก และความสูงที่มากพอจะช่วยให้ระดับของเข็มขัดนิรภัยรถพาดอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เราควรให้เด็กนั่งในบูสเตอร์ซีทจนถึงความสูง 145 ซม. จึงสามารถเปลี่ยนมานั่งรถโดยคาดเข็มขัดของผู้ใหญ่ได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ต้องมีอุปกรณ์เสริม 5 จุดสังเกตว่าลูกโตพอที่จะเลิกใช้บูสเตอร์ซีทได้แล้ว ลูกนั่งหลังพิงพนักได้แล้ว ลูกงอเข่าได้พ้นขอบเบาะแล้ว สายเข็มขัดที่พาดทะแยงหน้าอก พาดอยู่กลางบ่าพอดี ไม่พาดใกล้คอ หรือพาดใกล้แขน สายเข็มขัดด้านล่างพาดบริเวณต้นขาและสะโพกได้พอดี ลูกสามารถนั่งในท่านี้ได้สบายตลอดการเดินทาง ถ้าลูกทำได้ “ครบทุกข้อ” คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกนั่งในรถโดยไม่ต้องใช้บูสเตอร์ซีทแล้วค่ะ แต่ถ้ายังทำได้ “ไม่ครบ” ก็ควรให้ลูกนั่งบูสเตอร์ซีทต่อไป เพื่อความปลอดภัยนะคะ ขอบคุณข้อมูลจาก http://blogs.uwhealth.org/kids/2015/09/booster-seat-is-best/   […]

การเลือกคาร์ซีท แบบหมอเด็กเลือกให้ลูกตัวเอง

ถ้าไปอ่านหนังสือ ก็จะรู้ว่าคาร์ซีท carseat มี 4 แบบ (ซึ่งเอาเข้าจริงรู้จริงๆ ตอนมีลูก 55555 ก่อนนั้นรู้แต่ทฤษฎี) คือ infant seat ใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ถึง นน 9-10 โล convertible seat ใช้ได้ถึง 9-18 โล (อันนี้มีแบบใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด บางรุ่นใช้ได้ตั้งแต่อายุ 9 เดือน ไปดูกันตอนซื้อด้วยจ้า) forward facing หรือ combination seat booster seat เมื่อยัดตัวลงคาร์ซีท car seat ไม่ได้แล้ว แน่นอนในตลาด มี option มากมายไว้หลอกลวงพ่อแม่ขาช้อป 5555 ทั้งแบบตระกร้าที่ยกเข้าออกได้เลย หรือ ประกอบลง stroller (รถเข็น) ได้เลย…. เอาที่สบายใจ 555 เอาหลักในการเลือกของพ่อหมอเลยแล้วกัน 555 คุ้มและปลอดภัย […]

หลักการใช้คาร์ซีทที่ถูกต้อง

โดย หมอวิน หมอเด็กและคุณพ่อมือใหม่ ยังไม่ทันขาดคำก็มีข่าวที่แม่อุ้มเด็ก แล้วรถตกหลุมและเสียชีวิตจาก airbag กางอัดหลังตกหลุม นี่เป็นสิ่งที่น่ากังวลอย่างมากในประเทศไทย เพราะยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่เล็งเห็นความปลอดภัยของคาร์ซีท ถ้ามีรถ จ่ายเพิ่มอีกสักนิดนะครับ กว่าจะตั้งท้องมาก็ตั้ง 9 เดือน กว่าจะเลี้ยงอีก นมระบมไปเท่าไร เสียค่าแพมเพิร์สไปเท่าไร …. แค่นี้คุ้มเสียยิ่งกว่าคุ้มครับ ซ้ำร้ายคือซื้อคาร์ซีทมาติดแล้วเอาลูกไปนั่งเฉยๆ ไม่คาดเบลท์ พ่อหมออยากจะเอาไม้หลวงพ่อคูณเขกกะโหลกเรียกสติ ….. หนูคิดอะไรกันอยู่ลูก….. เหมือนเวลาหมอเห็นคนขี่มอไซด์ แล้วเอาหมวกกันนอกไปหนีบตรงขาหนีบ….. คืออะไร …. จะเอาไปซุกให้มันเค็มพอดีแล้วค่อยเอามาใส่หัวตอนเจอตำรวจรึ ฮ้า…. กลิ่นมาดามหอมชื่นใจ 55555 ต่างๆ เหล่านี้ อันนี้ไม่ต่างกับมียาแต่ไม่กิน แล้วเอาขวดยาไปวางไว้บนหิ้งพระแล้วยกมือไหว้ แล้วบอกให้ชั้นหายจากโรค 5555 หรือเอาน้ำเปล่ามารักษาโรค เอาเถอะจ้ะ ถ้าเกิดอะไรขึ้นขอให้ตายอย่างไม่เจ็บปวดละกันครับ ไม่ได้แช่งนะ อันนี้อวยพร เพราะถ้าไม่ตายเลยอาจจะทุพพลภาพหนักๆ จะทรมานเปล่าๆ เง้อ….. นี่มันเรื่องความปลอดภัย หนูจะเอาอย่างที่หนูสบายใจไม่ได้โดยเด็ดขาด นะแจ๊ะ …… คาร์ซีทแพงกว่า ตปท จริงครับ บ้านเรา แต่อย่าลืม รถยนต์บ้านเราก็แพงกว่า […]

คาร์ซีทคืออะไร? สำคัญอย่างไร?

คาร์ซีทคืออะไร ? ประสบการณ์จากแม่ป่าน คุณแม่ลูกสอง …​ Car seat คาร์ซีท เป็นอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยขณะนั่งในรถของลูกน้อย มีความสำคัญและจำเป็นมาก ในหลายประเทศที่พัฒนาแล้วมีการออกกฎหมายบังคับใช้ และมีบทลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืน สำหรับในเมืองไทยนั้นการใช้คาร์ซีทเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น หลายๆท่านคงจะได้ยินข่าวเด็กที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตเนื่องจากกระเด็นออกนอกรถและเกิดการกระแทกรุนแรงเนื่องจากไม่ได้นั่งคาร์ซีท car seat จึงเป็นเรื่องที่น่าเศร้ามากๆเลยนะคะ ถึงเวลาแล้วหรือยังคะ? ที่พวกเราควรช่วยกันรณรงค์การออกบังคับกฎหมายการใช้ car seat ให้เป็นรูปธรรมและบังคับใช้อย่างจริงจังเพื่อความปลอดภัยของเด็กทุกๆคน ? ความสำคัญของคาร์ซีท Car Seat Safety : อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยที่จำเป็นเวลาเดินทางด้วยรถยนต์ ป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นระหว่างขับรถ : อุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นจากการที่คนขับรถถูกรบกวน และไม่มีสมาธิในการขับรถ …หากเด็กไม่นั่ง car seat จะเดินไปมา และอาจไปรบกวนคนขับรถทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ อันนี้เป็นจุดเล็กๆที่หลายคนมองข้ามแต่สำคัญมากจริงๆ เพื่อสร้างวินัยแก่เด็ก :ให้ลูกรู้จักหน้าที่ว่าหากเวลาเดินทางไหนที่ไหน ที่นั่งตนคือ car seat และลูกจะปลอดภัยที่สุดเมื่อนั่งตรงนี้ ความง่ายต่อการดูแลเด็กในรถ : โดยเฉพาะแม่ๆที่ต้องเลี้ยงลูกเอง หรือมีลูกมากกว่าสองคน การใช้ car seat นอกจากจะปลอดภัยแล้ว ยังทำให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย และใช้ชีวิตสะดวกมากขึ้นค่ะ ยังมีความเชื่อว่า “การอุ้มเด็กโดยสารในรถนั้นปลอดภัยกว่า” แต่ความจริงแล้วกลับอันตรายที่สุด!  […]

หลักการใช้คาร์ซีท เลี้ยงลูกตามใจหมอ

การใช้คาร์ซีทที่พ่อแม่ยังสงสัย มาฟังคำแนะนำ ฉบับหมอเด็กกันค่ะ เข้าใจง่าย #หลักการใช้คาร์ซีท สไตล์ #เพจเลี้ยงลูกตามใจหมอ นี่คือการโพสรอบที่สี่เรื่องนี้ ตั้งแต่ตั้งเพจมาสามสัปดาห์ ยังไม่ทันขาดคำก็มีข่าวที่แม่อุ้มเด็ก แล้วรถตกหลุมและเสียชีวิตจาก airbag กางอัดหลังตกหลุม นี่เป็นสิ่งที่น่ากังวลอย่างมากในประเทศไทย เพราะยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่เล็งเห็นความปลอดภัยของคาร์ซีท ถ้ามีรถ จ่ายเพิ่มอีกสักนิดนะครับ กว่าจะตั้งท้องมาก็ตั้ง 9 เดือน กว่าจะเลี้ยงอีก นมระบมไปเท่าไร เสียค่าแพมเพิร์สไปเท่าไร …. แค่นี้คุ้มเสียยิ่งกว่าคุ้มครับ ซ้ำร้ายคือซื้อคาร์ซีทมาติดแล้วเอาลูกไปนั่งเฉยๆ ไม่คาดเบลท์ พ่อหมออยากจะเอาไม้หลวงพ่อคูณเขกกะโหลกเรียกสติ ….. หนูคิดอะไรกันอยู่ลูก….. เหมือนเวลาหมอเห็นคนขี่มอไซด์ แล้วเอาหมวกกันนอกไปหนีบตรงขาหนีบ….. คืออะไร …. จะเอาไปซุกให้มันเค็มพอดีแล้วค่อยเอามาใส่หัวตอนเจอตำรวจรึ ฮ้า…. กลิ่นมาดามหอมชื่นใจ 55555 ต่างๆ เหล่านี้ อันนี้ไม่ต่างกับมียาแต่ไม่กิน แล้วเอาขวดยาไปวางไว้บนหิ้งพระแล้วยกมือไหว้ แล้วบอกให้ชั้นหายจากโรค 5555 หรือเอาน้ำเปล่ามารักษาโรค เอาเถอะจ้ะ ถ้าเกิดอะไรขึ้นขอให้ตายอย่างไม่เจ็บปวดละกันครับ ไม่ได้แช่งนะ อันนี้อวยพร เพราะถ้าไม่ตายเลยอาจจะทุพพลภาพหนักๆ จะทรมานเปล่าๆ เง้อ….. นี่มันเรื่องความปลอดภัย หนูจะเอาอย่างที่หนูสบายใจไม่ได้โดยเด็ดขาด นะแจ๊ะ …… คาร์ซีทแพงกว่า […]

การเลือกคาร์ซีท แบบหมอเด็กเลือกให้ลูกตัวเอง

หมอเด็กเค้าเลือกคาร์ซีทแบบไหนให้ลูกตัวเอง….อยากรู้ต้องคลิ๊ก ก่อนซื้อคาร์ซีทให้ลูก ถ้าไปอ่านหนังสือ ก็จะรู้ว่าคาร์ซีท (carseat) มี 4 แบบ (ซึ่งเอาเข้าจริงรู้จริงๆ ตอนมีลูก 55555 ก่อนนั้นรู้แต่ทฤษฎี) คือ infant seat ใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ถึง นน 9-10 โล convertible seat ใช้ได้ถึง 9-18 โล (อันนี้มีแบบใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด บางรุ่นใช้ได้ตั้งแต่อายุ 9 เดือน ไปดูกันตอนซื้อด้วยจ้า) forward facing หรือ combination seat booster seat เมื่อยัดตัวลงคาร์ซีท car seat ไม่ได้แล้ว แน่นอนในตลาด มี option มากมายไว้หลอกลวงพ่อแม่ขาช้อป 5555 ทั้งแบบตระกร้าที่ยกเข้าออกได้เลย หรือ ประกอบลง stroller (รถเข็น) ได้เลย…. เอาที่สบายใจ 555 เอาหลักในการเลือกของพ่อหมอเลยแล้วกัน […]

คาร์ซีทเป็นเก้าอี้วิเศษของพวกเรา

ฝึกลูกให้นั่งคาร์ซีทไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ง่ายเลย ประสบการณ์จากคุณแม่ท่านหนึ่ง ที่อยากแชร์ให้ทุกๆบ้านฝึกลูกนั่งคาร์ซีทเพื่อความปลอดภัยของลูกๆ วิธีนี้พิสูจน์แล้วได้ผลแน่นอนค่ะ แต่ช่วงแรกคุณพ่อคุณแม่ต้องใจแข็งหน่อยนะคะ อ่านจบแล้วนำไปฝึกกับลูกๆเราได้เลยค่ะ ไม่นานมานี้ดิฉันเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัดกับลูกๆทั้งสนุกสนานและปลอดภัยตั้งแต่ออกเดินทางจนถึงจุดมุ่งหมายเลยค่ะรู้สึกขอบใจตัวเองที่กัดฟันให้ลูกนั่งคาร์ซีท ตั้งแต่วันแรกที่ลืมตาดูโลก ทำให้ขับรถได้อย่างมีสมาธิ แต่กว่าจะถึงวันนี้ลูกก็เคยร้องไห้ประท้วงจนแหวะใส่เก้าอี้ตัวเองมาแล้ว ดิฉันใช้วิธีสงบสยบความเคลื่อนไหวร้องได้ร้องไป แค่ 15 นาทีเท่านั้น คลื่นลมก็สงบ ตั้งแต่นั้นมาลูกๆ เรียนรู้เลยว่า เวลาขึ้นรถต้องไปนั่งที่ “เก้าอี้วิเศษ”  คาร์ซีทของตัวเองและนั่งทุกครั้งแม้ระยะทางจะใกล้หรือไกลเพราะอุบัติเหตุอาจเกิดจากภัยในรถ เช่น ลูกทะเลาะกันที่เบาะหลัง (เจอมาแล้ว) หรือปีนป่ายจนได้รับอันตราย คุณแม่ท่านไหนที่ยังไม่มั่นใจในคาร์ซีท carseat ว่าจะช่วยวันยุ่งๆของคุณแม่ได้มากน้อยแค่ไหน ลองเคล็ดลับต่อไปนี้ดูสิคะ แล้วลูกคุณจะรัก “เก้าอี้วิเศษ” ของตัวเองขึ้นเยอะเลย สร้างความผูกพันกับคาร์ซีท อนุญาตให้ลูกเอาสติ๊กเกอร์มาตกแต่งคาร์ซีทของตัวเองได้ เอาให้ถูกใจเลยเพราะต้องนั่งไปอีกนาน มอบรางวัล บอกลูกว่า เราจะออกเดินทางได้ก็ต่อเมื่อล็อกสายรัดนิรภัยเรียบร้อย แล้วลูกจะรีบทำตัวน่ารักเพราะอยากไปเที่ยว แต่ถ้ากำลังพาไปหาหมอ อาจให้ขนมเป็นรางวัลได้ 3. เบี่ยงเบนความสนใจ ถ้าโยเยนัก ชวนคุยเรื่องการ์ตูนที่ลูกกำลังอินดีกว่า แค่นี้ก็เผลอจดจ่อกับการโม้เรื่องเจ้าหญิงกับฮีโร่ จนไม่ทันสังเกตว่า ตัวเองถูกจับนั่งคาร์ซีทเรียบร้อยแล้ว (มุกนี้ไม่เหนื่อย แถมสนุกดีด้วย) 4. เตรียมของเล่นแก้เบื่อ ควรมีของเล่นชิ้นโปรดอยู่ในรถ แนะนำว่าควรเป็นของเบาๆ และไม่แข็ง เช่น หนังสือผ้า เพราะคุณอาจโดนลูกเอาของในมือปาใส่ขณะขับรถ หรือเลือกเปิดเพลงที่ลูกชอบแล้วร้องไปด้วยกันก็ได้ […]

การเลือกซื้อคาร์ซีทสำหรับเด็ก

ปัจจุบันมีคาร์ซีทให้เลือกมากมายหลายประเภท จึงควรใช้เวลาในการเลือก และต้องเลือกคาร์ซีทที่มีคุณสมบัติต่อไปนี้ คาร์ซีทต้องมีป้ายเครื่องหมาย E ซึ่งแสดงว่า ผ่านมาตรฐานของสหประชาชาติ, ECE Regulation 04 หรือ R 44.03 เลือกประเภทคาร์ซีทให้เหมาะสมกับน้ำหนักและขนาดตัวของเด็ก และต้องติดตั้งได้อย่างถูกต้องตามคำแนะนำของผู้ผลิต ตรวจสอบประเภทของคาร์ซีทให้เหมาะสมกับน้ำหนักและความสูงของเด็ก ศึกษาข้อมูลจากเว็บไซต์ แคตตาล็อก จากร้านค้าที่จำหน่ายคาร์ซีท เป็นข้อมูลพิจารณาเลือกคาร์ซีทรุ่นที่ตรงความต้องการ ลองคิดดูว่าคุณจะใช้คาร์ซีทอย่างไร ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องนำคาร์ซีทเข้าและออกจากรถบ่อยๆ อย่างต่อเนื่องอาจจะต้องเลือกคาร์ซีทมีที่นั่งน้ำหนักเบา หรือหากคุณเดินทางเป็นระยะทางไกลๆ คาร์ซีทที่ปรับเอนนอนได้สบายก็จะช่วยให้เด็กได้ผ่อนคลาย รู้สึกสบายและช่วยให้เด็กหลับได้อย่างสบาย ตรวจสอบว่าคาร์ซีทที่กำลังตัดสินใจจะซื้อ สามารถติดตั้งกับรถยนต์ของคุณได้แน่นอน ( การติดตั้งมี 2 ระบบ ระบบเข็มขัดนิรภัย , ระบบISOFIX) สอบถามกับผู้ขายว่าคาร์ซีทเหมาะกับเด็กและรถของคุณหรือไม่ หรือลองหาคนที่จะช่วยให้คุณลองติดตั้งคาร์ซีทที่รถก่อนที่จะซื้อ ตรวจสอบว่า พนักงานขายได้รับการฝึกอบรมในการเลือกและติดตั้งคาร์ซีท จากบริษัทผู้ผลิตโดยตรง เพื่อให้ได้รับคำแนะนำจากพนักงานขายที่ได้รับการฝึกอบรมมาแล้วอย่างถูกต้อง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณสามารถคืนคาร์ซีทหรือเปลี่ยนหรือขอรับเงินคืนได้ หากไม่เหมาะสมกับการใช้งานจริง ตรวจสอบว่าคาร์ซีทมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนด 44.04 ของสหประชาชาติหรือค้นหาเครื่องหมาย ‘E’ หรือเป็นไปตามมาตรฐาน i-size ใหม่ (R129) อย่าซื้อคาร๋ซีทมือสอง เพราะคุณไม่สามารถมั่นใจในประวัติของมันได้ อาจเป็นคาร์ซีทที่ผ่านการเกิดอุบัติเหตุมาแล้ว […]