BLW ฝึกลูกกินข้าวเอง ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

 ฝึกลูกกินข้าวเอง หรือคำที่คุ้นหูกันในปัจจุบันอย่าง BLW (Baby Led Weaning) คือวิธีการที่ให้ลูกรู้จักหยิบอาหารกินเอง โดยอาหารจะไม่ใช่พวกอาหารปั่น อาหารบด แต่เป็นอาหารที่หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ มีความนุ่ม และหยิบจับได้ วิธีการนี้จะทำให้ลูกได้รู้จักและคุ้นเคยกับอาหารที่เป็นของแข็งมากยิ่งขึ้น โดยวิธีนี้เหมาะกับเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป และสามารถนั่งได้เอง โดยที่ไม่ต้องมีคนช่วย

ฝึกลูกกินข้าวเอง มีประโยชน์อย่างไร

          การให้ลูกกินข้าวเองนั้น นอกจากจะช่วยให้ลูกรู้จักอาหารที่เป็นของแข็งมากขึ้นแล้ว ยังมีส่วนในการช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย และด้านความคิดอีกด้วย

1. สร้างทัศนคติที่ดีต่อการกินของลูก 

          ฝึกให้ลูกกินข้าวเอง ช่วยให้ลูกมีความสุขกับการทานอาหารมากยิ่งขึ้น เพราะลูกได้สนุกกับการกิน สนุกกับการเลียนแบบท่าทางระหว่างการกินอาหาร ทำให้ไม่ต้องคอยหลอกล่อให้ลูกกินข้าว

2. ฝึกพัฒนาการการใช้กล้ามเนื้อมือ

          การให้ลูกได้หยิบจับอาหาร ทำให้ได้ฝึกการใช้แรงของมือ แรกๆอาหารอาจจะมีร่วงหล่นจากมือบ้าง หรืออาหารเละคามือบ้าง แต่ก็เป็นการให้ลูกได้ฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อมือและน้ำหนักของมือ

3. ฝึกพัฒนาการการเคี้ยวและความคิด

          เมื่อลูกหยิบจับอาหารเป็นชิ้นเป็นอัน กะน้ำหนักแรงมือได้แล้ว ลูกจะต้องนำอาหารเข้าปาก แรกๆลูกอาจจะกะขนาดของอาหารที่นำเข้าปากไม่ได้ อาจมีบางครั้งที่ชิ้นใหญ่เกินไป หรือเข้าปากแล้วเคี้ยวไม่ละเอียดจนทำให้สำลักได้ แต่ก็เป็นการฝึกลูกให้รู้จักคิดเป็น ไตร่ตรองจากประสบการณ์จริง มีการเรียงลำดับของเหตุการณ์เป็นขั้นตอน ทำให้ส่งเสริมพัฒนาการความคิดมากขึ้น

4. ลูกช่วยเหลือตัวเองได้เร็วขึ้น เป็นการฝึกการรับผิดชอบต่อตัวเองในเบื้องต้น

          ฝึกให้ลูกกินข้าวเอง โดยไม่มีคนมาคอยป้อน ทำให้ลูกต้องทานข้าวเอง ต้องหยิบอาหารเข้าปากเอง ทำให้รู้จักเวลาในการทานอาหารมากขึ้น รับผิดชอบกับอาหารที่อยู่ตรงหน้า รับผิดชอบกับการกระทำของตัวเอง และช่วยเหลือตัวเองได้เร็วขึ้น

5. สร้างการประสานงานของมือและสายตา

          เมื่อลูกตักอาหารขึ้นมา ต้องใช้ทั้งมือและสายตาร่วมกัน จึงเกิดกระบวนการเรียนรู้ให้มือกับตาทำงานสอดคล้องกัน เพื่อที่จะสามารถทานอาหารได้โดยไม่ตกหล่น

เคล็ดลับการฝึกลูกกินข้าวได้เอง 

  • ควรให้ลูกใช้เวลาในการทานอาหารจำกัดเวลาการกินเพียง 15 – 45 นาทีเท่านั้น เพื่อฝึกให้ลูกทานอาหารเป็นเวลา
  • อย่าคาดหวังมากเกินไป ว่าวิธีนี้จะเหมาะสมสําหรับเด็กทุกคน เพราะเด็กบางคนที่พัฒนาการช้ากว่าก็สามารถให้อาหารเหลวแบบดั้งเดิมไปก่อน ไม่ต้องสร้างความคาดหวังขึ้นมาและเร่งรัดลูก
  • อย่าเปลี่ยนอาหารใหม่ๆมากเกินไป ให้ลูกได้เรียนรู้กับอาหารใหม่ๆทุก 4 วันก็เพียงพอ เพื่อจะได้สังเกตว่าลูกแพ้อาหาหรือไม่
  • ลูกอาจจะมีอาหารสำรักหรือสำรอก เพราะนี่คือปฏิกิริยาตอบสนองตามธรรมชาติของเด็กที่ปฏิเสธอาหารที่ไม่คุ้นเคย และไม่มีอะไรที่เป็นอันตราย ถ้าคุณแม่ตกใจเด็กก็จะยิ่งตกใจไปด้วย 
  • อย่าโมโห การให้ลูกหยิบอาหารกินเองควรเป็นไปอย่างธรรมชาติที่สุด 
  • ห้ามป้อนอาหารเด็ดขาด เพราะการป้อนอาหารจะทำให้ลูกไม่ยอมกินอาหารด้วยตัวเอง วิธีการ BLW ก็จะไม่เกิดผล เด็กบางคนอาจจะชอบอาหารเหลวมากกว่าในช่วงแรก เขาจึงจะเรียนรู้ที่จะหยิบอาหารเข้าปากตัวเองได้เล็ก อย่าเพิ่งด่วนตัดสินว่าลูกเราคงไม่เหมาะกับวิธีการนี้แล้ว ล้มเลิกไปเสียกลางคัน ต้องให้เวลาเขาได้เรียนรู้
  • ห้ามปล่อยลูกไว้คนเดียวตอนกินอาหารเด็ดขาด ต้องมีผู้ใหญ่ที่เข้าใจวิธีการเหล่านี้คอยดูแลอยู่ตลอด เพราะบางกรณีลูกทานอาหารคำใหญ่เกินไป ทำให้เป็นอันตราย จึงต้องมีคนคอยดูแลอยู่ตลอด
  • ไม่เชียร์อัพ ไม่ปรบมือ เพราะอาจจะสร้างนิสัยที่ไม่ดีให้กับเด็กได้ เพราะถ้าไม่มีพ่อแม่ปลอบ หรือคอยเชียร์เด็กก็ไม่ยอมทานอาหาร และอาจทำให้เด็กไม่สนใจกับการกินอาหาร หรือจดจ่ออยู่กับอาหารตรงหน้า

อาหารติดคอ ปฐมพยาบาลอย่างไร ?

          ในกรณีที่ลูกทานอาหารแล้วเกิดอาการอาหารติดคอผู้ปกครองต้องอย่าตกใจ และตั้งสติให้ดี  หลังจากนั้นทำการปฐมพยาบาลเบื่องต้น โดยใช้วิธีจับเด็กนอนคว่ำและตบแรงๆ บริเวณทรวงอกด้านหลังระหว่างกระดูกสะบัก จนอาหารกระเด็นหลุดออกมา ห้ามใช้นิ้วมือล้วงเข้าไปในปากเด็กหรือจับเด็กห้อยศีรษะและตบหลังเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้เศษอาหารตกมาอุดที่กล่องเสียงจนขาดอากาศหายใจได้

ขอบคุณข้อมูลจาก : Mahidol Channel มหิดล แชนแนล

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมสำหรับการฝึกให้ลูกกินข้าวเอง

  1. เก้าอี้กินข้าวเด็ก เก้าอี้กินข้าวควรเป็นแบบมีพนักพิงหลัง และควรเป็นแบบสูง การใช้เก้าอี้กินข้าวเด็กจะทำให้ลูกนั่งกินอย่างเป็นที่เป็นทาง และทำให้เขาจดจ่อกับการกินที่อยู่ตรงหน้า ไม่ใช่วิ่งไปวิ่งมาเพื่อที่จะมากินข้าว หรือไปเล่นของเล่น รวมไปถึงระหว่างกินข้าวไม่ควรให้ลูกดูโทรทัศน์หรือโทรศัพท์มือถือ เพราะจะทำให้ลูกสนใจแต่จอ ไม่ยอมกินข้าว
  2. ผ้าพลาสติกปูรองใต้โต๊ะ เพราะการกินอาหารของลูก รับประกันได้เลยว่ามีความเลอะเทอะแน่นอน การมีผ้าพลาสติกปูรองใต้โต๊ะจะทำให้สามารถทำความสะอาดหลังลูกกินข้าวเสร็จได้ง่ายขึ้น
  3. ชุดกินข้าวของเด็ก มีสีสันสดใส การใช้ชุดกินข้าวที่เป็นของเด็กโดยเฉพาะจะทำให้การทานอาหารของลูกมีความปลอดภัยมากขึ้น เพราะอุปกรณ์พวกนี้จะถูกออกแบบมาให้แตกหักยาก และปลอดสารพิษที่อาจเป็นอันตรายต่อลูก นอกจากนี้การเลือกชุดถ้วยที่สีสันสดใสจะช่วยทำให้เด็กจดจ่อกับอาหาร และของที่อยู่ตรงหน้ามากยิ่งขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก :  today.line.me,parentsone.com,paolohospital.com

สนใจเลือกซื้อ อุปกรณ์ช่วยฝึกลูกกินข้าวเอง ได้อย่างปลอดภัยปรึกษาพนักงาน Baby Gift ทุกท่าน ยินดีให้คำแนะนำค่ะ

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00

บทความแนะนำ

เปลนอนทารก ถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมาก ๆ สำหรับทารก ที่ต้องเตรียมซื้อตั้งแต่ก่อนคลอด เพราะทารกวัย 0-9 เดือน จะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอนและอยู่บนที่นอน ดังนั้น ก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะเลือกเปลนอนทารกให้ลูกน้อย ควรเลือกดูจากหลาย ๆ ด้าน เช่น ความปลอดภัย การระบายอากาศ ฟังก์ชั่นการใช้งาน รวมถึงอายุการใช้งาน เพราะการเลือก เปลนอนทารก ที่ไม่เหมาะสมกับทารกอาจส่งผลถึงเสียถึงชีวิตของลูกน้อยได้ วิธีเลือกเปลนอนทารกให้ลูกน้อย  เปลนอนทารกมีกี่แบบ มีข้อดี ข้อเสีย อะไรบ้าง ?  1. เปลนอนทารก BEDSIDE CRIB แบบชิดเตียงแม่ เป็นเตียงสำหรับทารกแรกเกิด ที่มีฟังก์ชั่นเปิดด้านข้างเตียงเพื่อต่อชิดกับเตียงของคุณพ่อคุณแม่ได้ ทำให้สะดวกในการดูแลลูกน้อยมากขึ้น  ข้อดีเตียง Bedside Crib  ข้อเสียเตียง Bedside Crib  2. เตียงไม้ เป็นเตียงที่ถูกออกแบบมาเพื่อความแข็งแรง เน้นการใช้งานแบบคุ้มค่า ใช้ได้ในระยะยาวหลายปี สามารถรองรับน้ำหนักได้มาก  ข้อดีเตียงไม้  ข้อเสียเตียงไม้  3. เปลนอนทารกแบบ PLAYPEN เตียงนอนทารกปรับฟังก์ชั่นเป็นคอกกั้นให้ลูกน้อยได้ ฝึกพัฒนาการคลาน ยืน เป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับคุณแม่ ข้อดี Playpen  ข้อเสีย Playpen  4. เปลไกวไฟฟ้า เป็นเตียงที่ได้ความนิยมมาก เพราะปรับการใช้งานได้หลายแบบ พร้อมไกวอัตโนมัติกล่อมลูกหลับได้ง่ายและสนิทมากขึ้น ถือว่าเป็นตัวช่วยในการเลี้ยงลูกน้อยได้ดี ข้อดีเปลไกวไฟฟ้า  ข้อเสียเปลไกวไฟฟ้า  เมื่อคุณพ่อคุณแม่ทราบถึงข้อดีและข้อแตกต่างของเปลทารกแต่ละประเภทแล้ว เบบี้ กิ๊ฟ มีเปลนอนทารกรุ่นขายดีที่สุด มาแนะนำคุณพ่อคุณแม่กันค่ะ  […]

แม่ๆ ดาราเซเลบคนดังร่วมแสดงความยินดีกับงานฉลองเปิดร้าน BabyGift สาขา เซ็นทรัลเวิลด์แบรนด์ผู้นำเข้า คาร์ซีท, รถเข็นเด็ก, เก้าอี้ทานข้าว, เป้อุ้มเด็ก และผลิตภัณฑ์สำหรับลูกน้อยที่ดีที่สุดทั้งจากประเทศญี่ปุ่น, เกาหลี และ สหรัฐอเมริกาอย่าง #APRICA #AILEBEBE #PRINCEANDPRINCESS #REALKIDS และอีกมากมาย และในงานยังเปิดตัวสินค้านวัตกรรม 3 รุ่นใหม่ได้แก่ รถเข็นเด็กพับเล็ก #Aprica #NanoSmart, คาร์ซีท #Ailebebe #Kurutto4Grance และ #Ecowell เครื่องผลิตสเปรย์ฆ่าเชื้ออเนกประสงค์ #BabyGift #CentralWorld #BabyBestItems #BabyProducts BabyGift สาขา Central World ชั้น 2 โซนลานไอซ์สเก็ตเปิดบริการ 10.00 – 22.00 น. ทุกวันโทร. 095-851-8521LINE ID : bbg_ctw

คุณแม่อาจป้อนอาหารบดละเอียดให้ลูกเสริมกับการกินนมแม่เป็นหลัก หรือถ้าคุณพ่อคุณแม่คนไหนอยากฝึก BLW ให้ลูกกินข้าวด้วยตัวเองเป็นก็อาจให้ลูกหยิบจับอาหารนิ่ม ๆ กินเองโดยที่ไม่ต้องป้อนซึ่งอาจเป็นอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงมาก อย่างเช่น ผักต้มนิ่มๆ ผลไม้นิ่มๆ เนื้อปลาต้มนิ่มๆ และเมื่อลูกย่างเข้าสู่เดือนที่ 8 เป็นต้นไป ลูกก็จะเริ่มกินอาหารได้หลากหลายมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ก็อาจมองหาเมนูอาหารใหม่ๆ ให้กับลูกน้อย ซึ่งในบทความนี้ BabyGift มีเมนูอาหารเด็ก 8 เดือน 5 เมนูอร่อยมาแนะนำกัน จะมีอะไรบ้างนั้น ลองไปดูกันค่ะ  ชวนเข้าครัวเตรียมเมนูอาหารเด็ก 8 เดือนให้ลูกน้อย เด็ก 8 เดือนกินอะไรได้บ้าง ?  พอลูกของเราอายุ 6 เดือนขึ้นไป ก็จะสามารถกินอาหารเสริมนอกเหนือจากนมแม่เพิ่มเติมได้ และถ้าเป็นไปได้ คุณแม่ก็ควรให้นมแม่ควบคู่กับการเพิ่มมื้ออาหารให้ลูก ซึ่งอาหารสำหรับเด็กอ่อนนั้น สามารถใช้วัตถุดิบได้หลากหลาย และเมื่อลูกอายุ 8 เดือนก็จะเริ่มมีฟันน้ำนม สามารถกินอาหารได้อย่างหลากหลายมากขึ้น เนื้อสัมผัสอาหารมีความหยาบได้มากขึ้น รวมถึงกินผลิตภัณฑ์จากนมอย่าง เนย ชีส และโยเกิร์ตได้ สำหรับเมนูอาหารเด็ก 8 เดือนที่เราจะแนะนำกันนั้น สามารถใช้วัตถุดิบอะไรได้บ้าง มาดูกันค่ะ  แนะนำ […]

คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังเตรียมตัวพบกับเจ้าตัวน้อยในอีก 9 เดือนข้างหน้านี้ เชื่อว่าหลายๆท่าน น่าจะกำลังเตรียมให้พร้อมก่อนที่คุณแม่จะคลอด เมื่อเจ้าตัวน้อยเกิดมา จะได้มีทุกอย่างไว้อย่างครบครัน ดังนั้น BabyGift จึงได้นำ Baby Checklist ฉบับสมบูรณ์ มาฝากกัน ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้นตามมาดูกันเลยค่า หมวดของใช้คุณแม่ คุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่หลังคลอด คุณแม่ให้นม หมวดสุขอนามัย หมวดอาบน้ำ หมวดเดินทาง หมวดทานอาหาร หมวดนอนหลับ หมวดอเนกประสงค์ หมวดเวชภัณฑ์ ยา อาหารเสริม หมวดทำความสะอาด หมวดเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เคล็ดลับในการเลือกของใช้ การเตรียมของใช้จำเป็นสำหรับแม่มือใหม่เป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้การดูแลลูกน้อยเป็นเรื่องง่ายและราบรื่น อย่าลืมเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับความต้องการของครอบครัวและคำนึงถึงคุณภาพเป็นหลัก เพื่อความสุขและความปลอดภัยของทั้งแม่และลูก

สอนดูแลลูกตั้งแต่แรกเกิดแบบจับมือทำ โดยผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี เพราะการเลี้ยงลูกไม่ใช่เรื่องง่าย..#BabyGift เข้าใจและมองเห็นถึงความสำคัญ จึงได้ร่วมกับ พี่กัลนมแม่ กลุ่มแม่และเด็ก คลินิกนมแม่ สรุปเทคนิคดูแลทารกแรกเกิด โดยผู้เชี่ยวชาญ #พี่กัลนมแม่ จากในงาน 𝐌𝐨𝐦𝐦𝐲’𝐬 𝐋𝐨𝐯𝐞 𝐌𝐚𝐠𝐢𝐜 จะมีอะไรบ้าง ? ตามมาดูกันเลยค่ะ 1. ดูแลการกินของทารก #นมแม่ดีที่สุด ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน ลดความเสี่ยงติดเชื้อต่างๆ ได้ ถ้าลูกไม่ยอมดูดเต้าให้แม่ใช้เครื่องปั๊มนม และขวดนมแรกเกิดป้อนนมแม่ให้กับลูกน้อยแทน 2. หมั่นสังเกตการเจริญเติบโตลูกน้อย ปกติแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ น้ำหนักลูกน้อยจะเพิ่มขึ้น วันละ 30 กรัม หากน้ำหนักเพิ่มน้อยกว่านี้ ควรรับคำแนะนำจากแพทย์ค่ะ 3. สังเกตการขับถ่ายของลูก อุจจาระแต่ละสีบอกสุขภาพลูกได้ หากมีสีขาวหรือแดงเข้ม หรือหากมีปัสสาวะขุ่น มีตะกอน อาจมีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ ควรปรึกษาแพทย์ทันที 4. การนอนของทารก ท่านอนที่ดีที่สุดของทารก คือ การนอนหงาย เด็กแรกเกิดควรนอน 16-18 ชั่วโมง/วัน เพื่อให้ Growth Hormone […]

Q: ขวดนม อุปกรณ์ปั๊มนม ต้องต้ม หรือนึ่ง ให้ปราศจากเชื้อทุกวัน ? A: การนึ่ง หรือต้มฆ่าเชื้อขวดนมและจุกนมหลังใช้งานทุกวันจะทำให้ขวดนมพลาสติกและจุกนมเสื่อมสภาพเร็วขึ้นกว่าปกติ และไม่ได้ช่วยป้องกันโรคให้ทารกเพิ่มขึ้นมากไปกว่าล้างด้วยน้ำสบู่อุ่น ๆ หรือล้างด้วยน้ำร้อนผสมน้ำยาล้างขวดนมหลังใช้งาน การขยันทำให้ปลอดเชื้อมากเกินไป (over-sterilize) ไม่มีประโยชน์กลับเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมให้เชื้อที่ทนความร้อน และสร้างสปอร์ได้เพิ่มมากขึ้น (เพราะคุณไม่ได้ใช้หม้อความดัน หรือฉายรังสี) และทารกจะอาจได้สารพวกโพลีเมอร์ หรือฟอร์มัลดีไฮด์ปนเปื้อนออกมาจากพลาสติกที่เสื่อมสภาพแทน  สมาคมกุมารแพทย์อเมริกัน และ USFDA แนะนำให้ต้มหรือนึ่งฆ่าเชื้อขวดนม และอุปกรณ์ปั๊มนมเฉพาะครั้งแรกที่ใช้งานจากนั้นให้ล้างด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างขวดนมผสมน้ำอุ่น ทุกครั้งหลังใช้งานก่อนผึ่งให้แห้ง โดยไม่ให้้ใช้ผ้าเช็ด กรณีที่ต้องต้มหรือนึ่งฆ่าเชื้อทุกวันคือช่วงทารกป่วย เช่น ท้องร่วง หรือ เป็นฝ้าขาวในปาก คุณแม่ที่กังวลอาจนึ่งหรือต้ม ทุก 3-4 วัน สำหรับนมชง ทุก 1 สัปดาห์สำหรับนมแม่ทั้งนี้ จะต้องไม่มีการปล่อยให้นมบูดคาขวด (ถ้านมบูดคาขวดต้องต้มหรือนึ่งฆ่าเชื้อใหม่เสมอ) อย่างไรก็ตามไม่มีกฎตายตัว หากบ้านมีสภาพแวดล้อมที่ไม่สะอาด อยู่ใกล้แหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค อาจพิจารณาต้มหรือนึ่งให้บ่อยขึ้น สำหรับประเทศไทยที่มีภูมิอากาศร้อนชื้นมีโรคเขตร้อนที่เป็นโรคทางเดินอาหารมาก และประชากรมีสุขอนามัยไม่แน่นอน กุมารแพทย์ไทยหลายท่านอาจแนะนำให้คุณแม่ต้มหรือนึ่งขวดนมทุกวัน และกรณีที่ห้องครัวมีความสกปรกอับชื้นท่อน้ำไม่สะอาด หรือมีกระบะทรายแมวในห้องครัว (ซึ่งไม่ควรมี) คุณแม่อาจเลี่ยงไปตากขวดนม และจุกนมที่อื่นที่มีอากาศถ่ายเทคุณแม่ที่ปั๊มนมห้ามใช้สบู่เหลวในห้องน้ำที่ทำงานล้างขวดนม หรือ […]

Menu
All Categories
All Brands
All Ages
Promotions
Locations
BabyGift Family
BabyGift Care
Parents Guide
News & Event

All Categories

All Categories
All Brands
All Ages