9 เทคนิค แก้ปัญหา ลูกไม่ยอมกินข้าว

ลูกไม่ยอมกินข้าว เป็นปัญหาที่พบเป็นประจำของหลาย ๆ บ้านเลยนะคะ สำหรับเรื่องการกินข้าวยากของลูกน้อย โดยเฉพาะคุณหนูวัย 1 ปีขึ้นไป ที่เริ่มเดินได้คล่อง เริ่มวิ่งได้บ้าง พอถึงเวลากินข้าวเมื่อไหร่ ก็ทำให้คุณพ่อคุณแม่หนักใจไม่น้อยเลย ทั้งกินข้าวน้อย อมข้าว ห่วงเล่นจนใช้เวลานานเกินไปสำหรับอาหาร 1 มื้อ แต่ปัญหาการกินของลูกรับมือได้ไม่ยากเลยค่ะ เพียงแต่ต้องให้เวลา ให้ความเข้าใจ และต้องใจแข็งนิดหน่อย คุณพ่อคุณแม่ก็จะช่วยให้ลูกมีวินัยในการกินมากขึ้นได้ มาลองฝึกลูกน้อยไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

ลูกไม่ยอมกินข้าว ห่วงเล่น

ฝึกให้ลูกทานข้าวเป็นเวลา

ให้คุณแม่ทำข้อตกลงกับลูกว่า เข็มนาฬิกาชี้เลขนี้ เวลานี้ คือเวลาทานอาหาร ลูกควรจะหยุดเล่น แล้วมาทานข้าวด้วยกัน หลังทานอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้วลูกค่อยกลับไปเล่นต่อ หรือ จะบอกลูกว่าเวลานี้ต้องทานอาหาร ลูกคือคนสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่อยากทานข้าวด้วย เราต้องทานพร้อมกัน เพื่อฝึกให้ลูกรู้จักเวลาของมื้ออาหาร และรู้ว่าทุก ๆ คนในบ้านก็ทำเหมือนกัน

ลูกไม่ยอมกินข้าว ห่วงเล่น

สร้างบรรยากาศการทานอาหารให้ลูก

การทานอาหารร่วมกันก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สร้างวินัยการทานอาหารให้ลูกได้ พ่อ แม่ ลูก ร่วมโต๊ะทานอาหารด้วยกัน ไม่ปล่อยให้ลูกทานคนเดียว หรือ แยกโต๊ะลูกออกไป ก็จะช่วยสร้างบรรยากาศการทานอาหารให้ลูก ให้ลูกรู้สึกว่าเขาเป็นคนสำคัญในบ้าน เป็นเหมือนผู้ใหญที่ได้นั่งโต๊ะกินข้าวด้วยกัน

ฝึกให้ลูกนั่งเก้าอี้ทานข้าวสำหรับเด็ก

คุณพ่อคุณแม่ห้ามตามป้อนข้าว เพราะการเดินป้อนจะทำให้ลูกไม่มีวินัยในการทานอาหาร ซึ่งการนั่งเก้าอี้ทานข้าวนอกจากช่วยเรื่องมีวินัยแล้ว ยังช่วยเสริมสร้าง EF ให้ลูกด้วย (Executive Function คือ กระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้าที่ควบคุมอารมณ์ ความคิด การวางแผน) เพราะหลังจากลูกนั่งเก้าอี้แล้วลูกจะรู้ได้ทันทีว่าถึงเวลาทานอาหารแล้ว ลูกจะรู้หน้าที่ว่าต้องทานอาหาร การที่ลูกเข้าใจแบบนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการทานอาหารที่ดี

ขณะทานอาหารไม่ควรดูทีวี แท็บเล็ต หรือเล่นของเล่นไปด้วย

ลูกควรจะทานข้าวโดยไม่ดูทีวีหรือดูแท็บเล็ตไปด้วย เพราะจะทำให้ลูกทานอาหารช้า อมข้าว หรือไม่ยอมกินข้าวได้ และควรนำของเล่นออกจากบริเวณโต๊ะอาหารด้วย เพราะหากลูกเห็นของเล่น ก็จะทำให้ลูกไม่สนใจเรื่องอาหารที่อยู่ตรงหน้า คุณพ่อคุณแม่จะต้องพูดให้ลูกสนใจเมนูที่อยู่ตรงหน้า เช่น อาหารหน้าตาคล้ายอะไรคะ สีอะไรบ้าง เพื่อให้ลูกโฟกัสอาหารที่จะต้องทาน

มื้ออาหารต้องผ่อนคลาย

คุณพ่อคุณแม่จะต้องเข้าใจก่อน ว่าการฝึกลูกให้มีวินัยในทานอาหารจะต้องค่อยไปค่อยไป ลูกทำได้บางข้อก็ต้องอดทนฝึกไป และต้องเชื่อมั่นในตัวลูกว่าจะทำข้อต่อไปได้แน่นอน ฉะนั้น ต้องไม่ดุ ไม่ตี ไม่บังคับให้ลูกต้องกิน หากลูกยังไม่ให้ความร่วมมือในการกินข้าว ก็ควรใช้วิธีดึงความสนใจ เช่น “มาดูสิข้าวหนูหน้าตาเหมือนตัวการ์ตูนเลย” “มาเลือกช้อนกินข้าวกัน เอาสีอะไรดีคะ” หรือชื่นชมสิ่งที่ลูกทำได้วันนี้ เช่น “วันนี้หนูระบายสีได้ดูดีมากเลย” “หนูเดินลากรถเก่งมากเสียพลังงานไปหนูต้องกินข้าวเยอะ ๆ นะคะ” หรือ “กินข้าวแล้วเรามาอ่านนิทานกันนะ” หากลูกสนใจและตอบคำถาม อย่าลืมชื่นชมลูกด้วย บรรยากาศการทานอาหารจะได้ดีไปด้วย

ลูกไม่ยอมกินข้าว ห่วงเล่น

ตกแต่งเมนูอาหารให้น่ารับประทาน

อาหารหน้าตาดี ก็ดึงดูดลูกให้สนใจทานอาหารได้ดีเลย และเพื่อไม่ให้ลูกรู้สึกเบื่อกับเมนูเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ก็ตกแต่งข้าวลูกให้เป็นตัวการ์ตูนที่ลูกรู้จักในนิทาน  ปั้นข้าวให้เป็นลูกบอล ทอดไข่ดาวให้จากพิมพ์ ตัดผักให้คล้ายต้นไม้แบบธรรมชาติ จะช่วยให้ลูกหยิบทานได้ง่ายและรู้สึกสนุกไปด้วย อย่าลืมสังเกตชนิดและลักษณะอาหารที่ลูกชอบด้วย ครั้งหน้าจะได้เตรียมเพิ่มให้ และที่สำคัญอย่าลืมเรื่องรสชาติ ต้องอร่อยถูกใจลูกจะได้ทานไปเพลิน ๆ เลย

กำหนดเวลามื้ออาหาร

การทานอาหารของลูกควรจะอยู่ที่ประมาณ 30 – 45 นาที เมื่อถึงเวลาที่กำหนด ให้เก็บจานข้าว แม้ว่าลูกจะยังกินไม่หมดหรือกินได้น้อยก็ตาม เพื่อเป็นการฝึกให้ลูกได้รู้เวลาว่า หากเขาไม่กินภายในช่วงเวลานี้ เขาก็จะไม่ได้กินอีก ต้องรอมื้อต่อไป  โดยช่วงแรกคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องแข็งใจทนลูกงอแงอยู่บ้าง แต่หากลูกเห็นผู้ใหญ่ทำ เขาก็จะเริ่มทำตามและปรับตัวได้มากขึ้น นอกจากนี้พ่อแม่ไม่ควรแสดงความวิตกกังวลหรือโกรธ แต่ให้งดของหวาน  ขนม หรืออาหารว่างต่าง ๆ ทั้งหมดก่อนจะถึงมื้อถัดไปเพื่อให้ลูกเกิดความหิว ซึ่งจะกระตุ้นให้ลูกเจริญอาหารและรับผิดชอบเรื่องการกินได้ดีขึ้น

ลูกไม่ยอมกินข้าว ห่วงเล่น

มีจานชามช้อนที่ดึงดูดใจ

ชุดทานอาหารสุดโปรด จะช่วยให้ลูกรู้สึกสนุกกับการกินอาหารด้วยตัวเองในทุกมื้อ คุณแม่จึงควรเตรียมอุปกรณ์ฝึกหัดกินอาหารให้ลูก โดยเลือกที่มีคุณภาพ ผลิตจากวัสดุที่ปลอดภัย มีสีสันสดใส ไม่มีเหลี่ยมแหลมคม เหมาะสมกับวัย และยังช่วยให้ลูกมีความสุขที่ได้กินอาหารกับอุปกรณ์ที่เป็นของเขาเอง แบรนด์สำหรับเด็กที่แนะนำ เช่น Grosmimi , Twistshake, Ange Baby เป็นต้น

ลูกไม่ยอมกินข้าว ห่วงเล่น

เลือกเก้าอี้ทานข้าวเด็กที่มีคุณภาพดี

เก้าอี้ทานข้าวเด็กที่มีคุณภาพดีก็สำคัญ ลูกจะได้นั่งทานอาหารอย่างสะดวกสบาย ดังนั้นเก้าอี้ทานข้าวเด็กต้องเบาะนุ่ม มีถาดอาหาร มีวางแก้วกันตก พร้อมปรับระดับความสูงของเก้าอี้ได้ เพื่อที่จะได้นั่งระดับเดียวกับโต๊ะอาหารของคุณพ่อคุณแม่ และที่วางขาก็ต้องต้องปรับระดับขึ้น – ลงได้ตามความสูงของลูกด้วย ส่วนการใช้ประโยชน์ได้ยาวนานคุ้มค่า แนะนำให้เลือกแบบที่ปรับเอนได้ เช่น Prince & Princess  เก้าอี้กินข้าวเด็ก Fairy High Chair II, Idawin เก้าอี้ทานข้าวเด็ก รุ่น Wooden High Chair, Kinderkraft เก้าอี้นั่งกินข้าวรุ่น  Fini Chair

คุณพ่อคุณแม่ลองนำวิธีเหล่านี้ไปปรับและฝึกวินัยลูกดูนะคะ แต่อย่าเครียดมากไปหากลูกยังทำไมได้ เพราะวินัยในการทานอาหารจะต้องค่อย ๆ ฝึกฝนกันไป สุดท้ายลูกเราก็จะทำได้เองค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

code