14 วิธีรับมือลูกแรกเกิด

เตรียมตัวรับมือให้พร้อมกับการเป็นคุณแม่อย่างเต็มตัว กับ 14 วิธีรับมือลูกแรกเกิด

  1. วางแผนล่วงหน้า : ใครจะเป็นคนตื่นกลางดึกมาดูแลถ้าลูกตื่นร้องไห้
    พ่อแม่รู้สึกอย่างไรเวลาลูกร้องไห้มากๆอยากกินนมตลอดเวลา จะยอมเสริมนมผงไหม หรือ ถ้ารู้ว่าลูกได้นมเพียงพอแล้ว จะใจแข็งไม่เสริมแต่ใช้วิธีอื่นๆ ทำให้ลูกสงบแทน จะได้ไม่มาถกเถียงกัน หรือ ขัดแย้งกันภายหลัง ถ้ามีการวางแผนที่ดี การรับมือจะง่ายขึ้นโดยไม่เครียดมาก
  2. ถ้าเป็นไปได้ เลื่อนแผนงานเมกะโปรเจกท์อื่นๆออกไปก่อน : จนกว่าลูกจะอายุครบขวบ
    เพื่อลดความเครียดจากการต้องทำงานที่ยิ่งใหญ่สองงานพร้อมๆกัน
  3. วางแผนตารางชีวิตประจำวันตั้งแต่ลูกยังไม่คลอด เมื่อถึงเวลาจริงจะได้ไม่ฉุกละหุก : ในหนึ่งวันมีงานอะไรต้องทำบ้าง
    วันไหนที่อยากจะออกไปเที่ยวกันสองต่อสอง และถ้าเป็นไปได้ ก็วางแผนยาวล่วงหน้า 18 ปีไว้เลย
  4. ยืดหยุ่นและประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์ : อย่าเชื่อตามตัวอักษรในตำราเป๊ะๆ
    เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน ให้สังเกตลูกแล้วปรับตัวให้เข้ากับครอบครัวตัวเอง
  5. จดบันทึก : ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้จดข้อมูล การกิน การนอน การร้องไห้ของลูก อย่างต่อเนื่อง
    จะช่วยให้มองเห็นแบบแผนลักษณะประจำตัวของลูกได้เร็ว และ ใช้เป็นข้อมูลส่งต่อให้คนอื่นที่มาช่วยดูแลลูกแทนเวลาพ่อแม่ไม่อยู่ ทำให้การดูแลง่ายขึ้น
  6. จัดลำดับความสำคัญ : จดรายการสิ่งสำคัญที่ต้องทำ
    การดูว่าอะไรที่เป็นสิ่งสำคัญ หมายถึง ถ้าไม่ทำสิ่งนั้น จะส่งผลต่อสุขภาพ ความปลอดภัย ความเป็นปกติสุขของครอบครัว ส่วนงานอื่นๆ ถ้าไม่มีเวลาทำ และไม่มีปัญหาด้านค่าใช้จ่าย ก็ควรใช้บริการรับจ้าง เช่น ทำสวน ซักเสื้อผ้า ทำกับข้าว เป็นต้น
  7. ผูกปิ่นโต : โดยเลือกร้านที่สะอาด ปลอดภัย มึคุณภาพดี รสชาติอร่อย และมีหลากหลาย
    จะช่วยแบ่งเบาภาระเวลาในการจ่ายตลาด เวลาในคิดรายการอาหาร เวลาในการปรุงอาหารและเก็บกวาดครัว แต่ถ้าไม่มีร้านอาหารในอุดมคติ หรือ มีงบประมาณจำกัด ให้เตรียมทำอาหารครั้งละมากๆ เก็บใส่ตู้เย็นไว้ แล้วเอาออกมาอุ่นกินได้หลายๆมื้อ
  8. อย่าลืมกอดกันบ่อยๆ : เวลาเหนื่อยๆ การได้กอดคนที่เรารัก จะช่วยให้หายเหนื่อยได้
  9. หาเพื่อนหัวอกเดียวกันออนไลน์ : แต่ต้องกลั่นกรองเรื่องข้อมูลข่าวสาร เพราะอาจทำให้เครียดมากขึ้น ถ้าหมกมุ่นมากเกินไป
  10. ระวังเรื่องการเปรียบเทียบกับลูกคนอื่น : ทำไมตัวเล็กกว่า ทำไมยังไม่อ้อแอ้
    ถ้ามีอะไรสงสัยให้ถามคุณหมอประจำตัว อย่าเก็บความคิดไว้คนเดียว จะทำให้เครียดโดยไม่จำเป็น
  11. การได้หัวเราะเป็นยาวิเศษ : ไปหาซิทคอม หนังตลก มาดูเวลาที่ต้องนั่งให้นมนานๆ หรือ เวลาต้องอุ้มลูกนานๆ
  12. ถ้าลูกนอน ควรนอนด้วย : เพราะถ้าแม่อดนอนจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด
    ถ้าพ่อหรือแม่คนหนึ่งตื่น อีกคนหนึ่งควรจะนอนหลับ เพื่อที่จะได้ผลัดกันพักผ่อน และผลัดกันเข้ากะหรือเข้าเวรดูแลลูก
  13. อย่าทำตัวเป็นซุปเปอร์ฮีโร่ : คุณแม่ไม่ควรทำทุกอย่างคนเดียวตั้งแต่การเปลี่ยนผ้าอ้อม ไปจนถึงการทำนัดกับคุณหมอเด็ก
    เพราะถ้าคุณเหนื่อยล้าเกินไป จะไม่เป็นการดีสำหรับตัวคุณ และ ลูก คุณพ่อผู้มีประสบการณ์เล่าว่า ขวบปีแรกของลูกผ่านไปได้อย่างไม่ลำบากนักเ เพราะมีพี่เลี้ยงจากศูนย์มาช่วยดูลูกในบางคืนต่อสัปดาห์ หรือ บางคนอาจให้ญาติผู้ใหญ่ หรือ เพื่อนบ้านที่ไว้ใจช่วย
  14. ออกกำลังกายวันละนิด จิตแจ่มใส : ไม่มีเวลาไปยิม ก็เลี้ยงลูกไปด้วย ออกกำลังกายไปด้วย
    เช่น เอาลูกใส่เป้อุ้มแล้วเดินสายพาน ขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานขณะทำอาหาร แขม่วกล้ามเนื้อหน้าท้องขณะนั่งให้นมลูก จ๊อกกิ้งไปด้วยเข็นรถลูกไปด้วย เป็นต้น

อบคุณบทความดีๆ จาก คุณหมอ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00

บทความแนะนำ

ว่ากันว่า “น้ำนมของแม่นั้นดีที่สุด” มีคำแนะนำทางการแพทย์ว่าควรให้ทารกกินนมแม่ไปจนถึงอายุ 2 ขวบหรือนานกว่านั้น แม้ว่าลูกน้อยจะอายุ 6 เดือนขึ้นไปแล้ว ก็ควรกินน้ำนมของแม่ร่วมกับการกินอาหารอื่น ๆ เพื่อเสริมคุณค่าทางโภชนาการ เพราะในน้ำนมของแม่นั้นมีความสำคัญต่อลูกน้อยมาก ๆ ในน้ำนมมีสารอาหารที่ดีต่อลูกน้อยหลายอย่าง ทั้งยังมีภูมิคุ้มกันที่ช่วยปกป้องลูกน้อยให้แข็งแรง นอกจากนี้ การให้ลูกกินน้ำนมของแม่ก็ยังมีข้อดีต่อตัวคุณแม่เองด้วยเช่นกัน ประโยชน์ของนมแม่ มีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลยค่ะ  ประโยชน์ นมแม่ อาหารเปี่ยมคุณค่าสำหรับลูกน้อย  นมแม่นั้นเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกแรกเกิด เพราะเต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ และช่วยเสริมภูมิต้านทานโรคให้กับลูก ประโยชน์ของนมแม่ช่วยลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วย และในขณะที่ทารกกินน้ำนมจากเต้าของนั้น ก็เป็นการช่วยสร้างความผูกพันระหว่างแม่กับลูกด้วย ทั้งยังทำให้ทารกรู้สึกอบอุ่นปลอดภัยนอกจากนี้ สำหรับคุณแม่เอง การให้ลูกกินนมก็ยังจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และเบาหวาน โดยองค์การอนามัยโลก และยูนิเซฟมีคำแนะนำเกี่ยวกับการให้นมของแม่เอาไว้ดังนี้ค่ะ  ประโยชน์ของนมแม่ มีอะไรบ้าง ?   ชวนรู้ การให้นมลูกก็มีประโยชน์ต่อคุณแม่เองด้วย   ประโยชน์ของนมแม่ นอกจากจะดีต่อลูกน้อยแล้ว การที่คุณแม่ให้นมลูก ก็มีข้อดีต่อตัวคุณแม่เองด้วย ดังนี้   Tips ในการให้นม สำหรับคุณแม่มือใหม่  เมื่อได้รู้ประโยชน์ของนมแม่กันแล้ว เชื่อว่าคุณแม่หลายๆ ท่านก็อยากจะให้ลูกน้อยของเราได้กินนมตั้งแต่แรกเกินไปจนถึงอายุ 2 – 3 ขวบ แต่ในบางคนก็ต้องกลับไปทำงานประจำหลังพ้นช่วงลาคลอด […]

ว่าที่คุณแม่มือใหม่หลายคนคงจะปวดหัวไม่น้อย ว่าลูกน้อยของเราควรจะหนุน หมอนทารก นอนหรือไม่ แล้ว หมอนหัวทุย จำเป็นไหม กดมือถือหาข้อมูลทีไรก็หาข้อสรุปไม่ได้เสียที ไม่ต้องกังวลไปค่ะ วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจให้หายสงสัยกันค่า หมอนทารก ทารกควรหนุนหรือไม่ คำแนะนำจากกุมารแพทย์ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยกล่าวว่า ท่านอนที่ดีและปลอดภัยสำหรับทารกที่สุดก็คือ การนอนหงายโดยไม่หนุนอะไรทั้งสิ้น เพราะสรีระของกะโหลกศีรษะของทารก ซึ่งจะมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว ทำให้พอดีในการนอนแล้วถึงแม้จะนอนหงาย และนอกจากนี้จะต้องไม่มีสิ่งของอื่นๆ เช่น ผ้าห่ม ตุ๊กตา ของเล่น ฯลฯ อยู่บนเตียงขณะลูกน้อยนอนหลับ เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุจากการนอน หรือโรคไหลตายในทารก (SIDS) ซึ่งเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตเด็กๆ มากมายทั่วโลก และโรคนี้มักจะเกิดกับเด็กอายุไม่เกิน 4 เดือนมากที่สุด โดยที่เด็กยังแข็งแรงดีอีกด้วย แม้ปัจจุบันจะยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่หนึ่งในปัจจัยที่ชัดเจนและกระตุ้นให้เกิดการเสียชีวิตคือการที่มีผ้า วัตถุนุ่มๆ หรือการใช้ที่นอนที่อ่อนยวบเกินไป ไปอุดกั้นทางเดินหายใจของลูก จากการที่ลูกเกิดพลิกตัวนอนคว่ำ หรือคว้าวัตถุเหล่านั้นมาโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งเด็กยังเล็กเกินไปที่จะชันคอหรือพลิกตัวกลับได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ทารกจึงยังไม่จำเป็นต้องใช้หมอนหนุนนอนจนกว่าจะเข้าสู่วัยเตาะแตะหรือ 18 เดือนขึ้นไป หรือช้ากว่านั้นได้ยิ่งดีค่ะ กลัวลูกหัวแบน ทำไงดี อีกหนึ่งความกังวลใหญ่ของบรรดาแม่ๆ คือ กลัวลูกหัวแบน เพราะต้องนอนหงายตลอดเวลา ปัจจุบันจึงได้มีการผลิตคิดค้นหมอนหนุนสำหรับทารกเพื่อป้องกันหัวแบน และลูกน้อยยังคงนอนหงายได้ด้วย แต่ทั้งนี้คุณหมอและผู้เชี่ยวชาญก็ยังไม่แนะนำให้ใช้หมอนหนุนมากนัก เพราะหากใช้หมอนที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีคุณภาพ […]

เลือก ถุงเก็บน้ำนม ยี่ห้อไหนดี ? ต้องดูที่อะไรบ้าง ? น้ำนมจะเหม็นหืนมั้ย ? คุณค่าน้ำนมแม่ยังอยู่ครบถ้วนรึเปล่า ? ? อีกคำถามที่แม่ๆมักสงสัย เพราะไม่ใช่แค่ถุงเก็บนมแม่ แต่นี่คือถุงใส่อาหารของลูก วันนี้ BabyGift มี 7 เทคนิค เลือกถุงเก็บน้ำนมที่คุณแม่นักปั๊มมือใหม่ ต้องชอบแน่นอน ? จะมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่า 1. พลาสติกหนา ทึบแสง ซิปล็อค 2 ชั้น ควรเลือก ถุงเก็บน้ำนมแม่ ที่ใช้วัสดุพลาสติกหนาทึบแสง มีความแข็งแรงไม่แตกหรือไม่รั่วซึมได้ง่าย และมีซิปล็อคแบบ 2 ชั้น เพื่อลดการรั่วซึมของน้ำนมแม่ออกจากถุง ช่วยลดกลิ่นเหม็นหืนในน้ำนมได้ และสามารถคงคุณค่าของน้ำนมแม่ได้เป็นอย่างดี 2. ขนาดที่เหมาะสมกับน้ำนมที่ปั๊มได้ช่วงเวลานั้น ถุงเก็บน้ำนมแม่ ควรมีขนาดที่เหมาะสมกับน้ำนมที่ปั๊มได้ช่วงในเวลานั้น อย่างช่วงแรกๆที่แม่อาจจะปั๊มได้ในไม่เยอะมากก็ควรเลือกใช้ขนาดเล็กลงมาหน่อย (4-5 ออนซ์) แล้วพอคุณแม่เริ่มปั๊มนมได้เยอะมากขึ้นค่อยขยับขนาดใหญ่ขึ้นไป การเลือกขนาดถุงพอดีกับน้ำนม จะช่วยให้แม่ๆประหยัดพื้นที่จัดเก็บในตู้แช่ได้ขนาดข้างเยอะ และยังไม่เปลืองถุง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากเลยทีเดียวค่ะ 3. มีแถบบันทึก เขียนง่าย ชัดเจน ควรมีแถบเขียนเอาไว้จดรายละเอียดต่างๆ อย่างเช่น […]

เรื่อง : สิริพร ความปลอดภัยของลูกน้อยในวัยเบบี้เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกค่ะ คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องใส่ใจและดูแลเจ้าตัวเล็กอย่างใกล้ชิดในทุก ๆ เรื่องแม้จะเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย ก็ไม่ควรมองข้ามนะคะ อยากจะชวนคุณพ่อคุณแม่มากันดูค่ะว่ามีเรื่องไหนที่เราเคยทำ แล้วเสี่ยงต่อความปลอดภัยของเจ้าตัวเล็กกันบ้าง มีถุงพลาสติก หรือลูกโป่งอยู่ใกล้ตัวเบบี้ ? อย่ามองข้ามถุงพลาสติกที่คุณแม่ใส่ของหิ้วเข้าบ้านนะคะ เพราะหากเอาของออกแล้ว ไม่ทันเก็บให้ดี เจ้าตัวเล็กที่นั่งอยู่ใกล้ ๆ อาจเผลอหยิบเล่นเข้าปาก หรือครอบหัวจนหายใจไม่ออก ส่วนลูกโป่งหากแตก เศษลูกโป่งก็อาจกระเด็นเข้าตา หรือดีดใส่หน้าจนได้รับอันตรายได้ Safety for baby : เจ้า ตัวเล็กอยู่ในวัยอยากรู้อยากเห็นอยากสำรวจสิ่งใกล้ตัว ฉะนั้นความสะอาด และความปลอดภัยของสิ่งของที่ลูกจะคว้าจับได้จึงสำคัญ คุณแม่จึงต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เช่น หากมีลูกโป่ง หรือของที่ลูกสามารถบีบแตกได้อยู่ในบริเวณที่ลูกคว้าจับได้ง่าย คุณแม่ต้องรีบเก็บให้ห่างจากมือลูกโดยเร็ว แต่หากลูกอยากเล่นของเล่นลูกกลม ๆ ก็ลองหาลูกบอลที่เป็นผ้านุ่มนิ่ม ที่ไม่อันตรายจะดีกว่าค่ คุณพ่อสูบบุหรี่ตอนเบบี้ไม่อยู่บ้าน ? ควันบุหรี่ที่ถูกพ่อออกมาเป็นสารพิษชนิดเดียวกันกับที่สูบเข้าไปค่ะ ถึงคุณพ่อจะสูบตอนที่ลูกเบบี้ไม่อยู่บ้าน หรือไม่อยู่บริเวณนั้นขณะสูบ สารพิษนี้ก็คงยังล่องลอยอยู่ในอากาศ ทำให้บรรยากาศและคนในบ้านแย่ตามไปด้วย  Safety for baby : หากอยากจะให้เจ้าตัวเล็กของเราห่างไกลจากควันบุหรี่ คุณพ่อไม่ควรสูบบุหรี่ที่บ้านเลยดีที่สุดค่ะ และพยายามจัดบรรยากาศทั้งในและนอกบ้านให้ปลอดโปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกอยู่ เสมอ เช่น มีการกำจัดฝุ่นตามโต๊ะ ตู้ พื้นห้องทุกวัน […]

อาหารที่จะช่วยบำรุงสายตาให้กับลูกน้อย >>>ขอบคุณข้อมูล : Mother&Care

…แต่ก็ไม่ง่ายเลย ให้คาร์ซีทเป็นเก้าอี้วิเศษของเด็กๆ ประสบการณ์จากคุณแม่ท่านหนึ่ง ที่อยากแชร์ให้ทุกๆบ้านฝึกลูกนั่งคาร์ซีทเพื่อความปลอดภัยของลูกๆ วิธีนี้พิสูจน์แล้วได้ผลแน่นอนค่ะ แต่ช่วงแรกคุณพ่อคุณแม่ต้องใจแข็งหน่อยนะคะ อ่านจบแล้วนำไปฝึกกับลูกๆเราได้เลยค่ะ ไม่นานมานี้ดิฉันเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัดกับลูกๆทั้งสนุกสนานและปลอดภัยตั้งแต่ออกเดินทางจนถึงจุดมุ่งหมายเลยค่ะรู้สึกขอบใจตัวเองที่กัดฟันให้ลูกนั่งคาร์ซีท ตั้งแต่วันแรกที่ลืมตาดูโลก ทำให้ขับรถได้อย่างมีสมาธิ แต่กว่าจะถึงวันนี้ลูกก็เคยร้องไห้ประท้วงจนแหวะใส่เก้าอี้ตัวเองมาแล้ว ดิฉันใช้วิธีสงบสยบความเคลื่อนไหวร้องได้ร้องไป แค่ 15 นาทีเท่านั้น คลื่นลมก็สงบ ตั้งแต่นั้นมาลูกๆ เรียนรู้เลยว่า เวลาขึ้นรถต้องไปนั่งที่ “เก้าอี้วิเศษ”  คาร์ซีทของตัวเองและนั่งทุกครั้งแม้ระยะทางจะใกล้หรือไกลเพราะอุบัติเหตุอาจเกิดจากภัยในรถ เช่น ลูกทะเลาะกันที่เบาะหลัง (เจอมาแล้ว) หรือปีนป่ายจนได้รับอันตราย คุณแม่ท่านไหนที่ยังไม่มั่นใจในคาร์ซีท carseat ว่าจะช่วยวันยุ่งๆของคุณแม่ได้มากน้อยแค่ไหน ลองเคล็ดลับต่อไปนี้ดูสิคะ แล้วลูกคุณจะรัก “เก้าอี้วิเศษ” ของตัวเองขึ้นเยอะเลย 1. สร้างความผูกพันกับคาร์ซีท อนุญาตให้ลูกเอาสติ๊กเกอร์มาตกแต่งคาร์ซีทของตัวเองได้ เอาให้ถูกใจเลยเพราะต้องนั่งไปอีกนาน 2. มอบรางวัล บอกลูกว่า เราจะออกเดินทางได้ก็ต่อเมื่อล็อกสายรัดนิรภัยเรียบร้อย แล้วลูกจะรีบทำตัวน่ารักเพราะอยากไปเที่ยว แต่ถ้ากำลังพาไปหาหมอ อาจให้ขนมเป็นรางวัลได้ 3. เบี่ยงเบนความสนใจ ถ้าโยเยนัก ชวนคุยเรื่องการ์ตูนที่ลูกกำลังอินดีกว่า แค่นี้ก็เผลอจดจ่อกับการโม้เรื่องเจ้าหญิงกับฮีโร่ จนไม่ทันสังเกตว่า ตัวเองถูกจับนั่งคาร์ซีทเรียบร้อยแล้ว (มุกนี้ไม่เหนื่อย แถมสนุกดีด้วย) 4. เตรียมของเล่นแก้เบื่อ ควรมีของเล่นชิ้นโปรดอยู่ในรถ แนะนำว่าควรเป็นของเบาๆ และไม่แข็ง เช่น หนังสือผ้า เพราะคุณอาจโดนลูกเอาของในมือปาใส่ขณะขับรถ […]

Menu
All Categories
All Brands
All Ages
Promotions
Locations
BabyGift Family
BabyGift Care
Parents Guide
News & Event

All Categories

All Categories
All Brands
All Ages