วิธีเก็บน้ำนมแม่สต๊อก ทำอย่างไรไม่ให้เหม็นหืน

ความปรารถนาสูงสุดของคุณพ่อคุณแม่ คือการได้เห็นลูกน้อยเติบโตอย่างมีคุณภาพ มีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ พร้อมด้วยความเก่ง ฉลาด เป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพในอนาคต ดังนั้นเมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก คุณแม่ทุกท่านจึงตั้งใจเต็มที่ที่จะให้น้ำนมแม่แก่ลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิดและมอบนมแม่ให้เป็นสุดยอดอาหารของลูกรักไปนานที่สุดเท่าที่จะทำได้
เราจึงเห็นว่าปัจจุบัน คุณแม่มีการเตรียมพร้อมเพื่อจะเป็นคุณแม่นักปั๊ม ทำนมแม่สต๊อกไว้ให้ลูกน้อยกันแต่เนิ่นๆ
แต่คุณแม่รู้ไหมว่า…นอกจากการปั๊มนมที่ต้องพิถีพันใส่ใจในทุกรายละเอียดแล้ว วิธีการเก็บสต๊อกนมแม่ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะหากคุณแม่เก็บไม่ถูกต้อง ไม่ถูกวิธี อาจทำให้นมแม่ก็เก็บบูดเสีย ลูกกินไม่ได้ รวมถึงหากเช่เย็นเก็บหรือละลายในอุณหภูมิไม่เหมาะสม ก็ทำให้นมแม่สูญเสียคุณค่าสารอาหารสำคัญและจำเป็นต่อสมองและร่างกายของลูกน้อยไปแบบน่าเสียดาย เสียทั้งกำลังกาย กำลังใจ นมแม่ที่โภชนาการดีๆมากมาย กลับเสียหายไปไร้ประโยชน์
ดังนั้นเราจึงขอแนะนำ วิธีการเก็บน้ำนมแม่สต๊อกที่ถูกต้อง พร้อมเคล็ดลับเรื่องการเก็บนมแม่ไว้ไม่ให้เหม็นหืน เพื่อให้ลูกน้อยกินนมแม่จากสต๊อกได้อย่างเต็มที่ และมีความสุข

วิธีเก็บน้ำนมแม่สต๊อก
ขั้นตอนการปั๊มและ วิธีเก็บน้ำนมแม่สต๊อก
- เริ่มจากคุณแม่ล้างมือให้สะอาด เตรียมเครื่องปั๊มนม และภาชนะที่ใช้เก็บน้ำนมที่ผ่านการทำความสะอาดฆ่าเชื้อเรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะเป็น กรวยปั๊มนม ขวดเก็บน้ำนม ถุงเก็บน้ำนม โดยควรเลือกภาชนะเก็บน้ำนมที่มีฝาปิดมิดชิด ไม่มีสารอันตราย
- เมื่อปั๊มนมเสร็จแล้วให้เขียนวันที่และเวลากำกับที่ข้างภาชนะหรือถุงเก็บน้ำนม เพื่อจะได้นำนมแม่กลับมาใช้ตามลำดับได้ถูกต้อง เสร็จแล้ววางเรียงถุงเก็บน้ำนมสต๊อกในตู้แช่หรือตู้เย็นในบ้าน
- หากคุณแม่ปั๊มนมนอกบ้าน หรือที่ทำงาน จำเป็นต้องเตรียมกระติกน้ำแข็งที่มีน้ำแข็งตลอดเวลา หรือมีอุปกรณ์ที่เก็บความเย็นได้ดี เช่น Ice Pack โดยต้องมั่นใจว่าความเย็นมีเพียงพอที่จะเก็บรักษาคุณค่าน้ำนมแม่ก่อนที่จะนำกลับมาแช่เย็นที่บ้าน
ระยะเวลาการเก็บน้ำนมแม่
วิธีเก็บนมแม่สต๊อก | ระยะเวลาที่เก็บได้ |
ตั้งทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง ไม่เข้าตู้เย็น | เก็บได้ 1 ชั่วโมง |
ตั้งทิ้งไว้ในห้องปรับอากาศ (ไม่เข้าตู้เย็น) | เก็บได้ 4 ชั่วโมง |
ในกระติกน้ำแข็งที่มีน้ำแข็งตลอดเวลา | เก็บได้ 1 วัน |
ใส่ตู้เย็น ช่อง/ชั้นธรรมดา | เก็บได้ 3-5 วัน |
ใส่ตู้เย็นแบบ 1 ประตู ในช่องแช่แข็ง | เก็บได้ 1-2 สัปดาห์ |
ตู้เย็นแบบ 2 ประตู ในช่องแช่แข็ง | เก็บได้ 3-6 เดือน |
ตู้แช่เย็นจัด (-20 องศาเซลเซียส) | เก็บได้ 6-12 เดือน |
ข้อควรระวังและใส่ใจในการสต๊อกน้ำนมแม่
ไม่เก็บน้ำนมแม่บริเวณประตูตู้เย็น เพราะความเย็นจะไม่คงที่ ทำให้นมแม่เสียได้ง่าย และแม้คุณแม่จะเก็บนมแม่แช่แข็งไว้ในตู้แช่แข็งที่เก็บรักษานมแม่ได้ถึง 12 เดือน แต่ก็ควรนำนมแม่สต๊อกออกมาให้ลูกกินภายใน 6 เดือนจะดีที่สุด เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อโรค รวมถึงนมแม่ที่สต๊อกเก็บไว้เกิน 1 ปีแล้ว ต้องทิ้งให้หมด แม้ว่าจะไม่มีกลิ่นเสียหรือมีรสชาติเปรี้ยวก็ตาม เพราะอาจส่งผลร้ายต่อร่างกายลูกจากการเก็บที่นานเกินไป และความไม่คงที่ของอุณหภูมิในต็เย็น

10 วิธีเก็บนมแม่ได้ แบบไม่เหม็นหืน
อีกหนึ่งปัญหาของคุณแม่นักปั๊มที่ทำให้กังวลและไม่มั่นใจ เพราะน้ำนมที่สต๊อกไว้มักมีกลิ่นหืน จนบางครั้งลูกไม่ยอมกิน ซึ่งความจริงแล้วน้ำนมแม่ที่แช่แข็งทำสต๊อกไว้ เมื่อนำมาละลายแล้ว สามารถเกิดกลิ่นหืนได้จากเอนไซน์ที่ชื่อไลเปซ (Lipase) ที่ช่วยย่อยให้ไขมันในน้ำนมแม่แตกตัว แม้นมแม่จะมีกลิ่นหืนลูกน้อยก็สามารถกินได้ไม่มีอันตราย (ยกเว้นกรณีคุณแม่ชิมแล้วมีรสเปรี้ยว มีกลิ่นแรงมากนั่นคือนมเสียห้ามให้ลูกกิน แต่หากคุณแม่ไม่อยากให้น้ำนมสต๊อกมีกลิ่นหืน อาจลองทำตามวิธีการดังต่อไปนี้
- ตรวจเช็กดูแลความสะอาดของเครื่องปั๊มนม อุปกรณ์เก็บนมแม่สต๊อกให้ปราศจากเชื้อโรคทุกครั้ง
- เวลาเก็บนมแม่ใส่ถุงเมื่อปั๊มเสร็จ พยายามไล่อากาศออกจากถุงให้ได้มากที่สุด ก่อนแช่เย็น
- หลังจากปั๊มนมเสร็จ ให้นำถุงเก็บน้ำนมเข้าตู้เย็นแช่ให้เร็วที่สุด และควรวางเรียงถุงเก็บน้ำนมในแนวนอนราบ
- หากต้องการให้ลูกกินนมแม่ที่ปั๊มภายในไม่เกิน 3 วัน หรือปั๊มนมให้ลูกกินวันต่อวัน ไม่ต้องเก็บในช่องแช่แข็ง ให้เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดาไว้ เพราะจะเก็บได้ 2-3 วัน โดยมักจะไม่มีกลิ่นหืน
- เวลาจะใช้น้ำนมแม่สต๊อก ให้เปลี่ยนช่องเก็บจากช่องฟรีสแช่แข็งลงมาที่ช่องแช่เย็นธรรมดาตอนกลางคืน ประมาณ 12 ชม.หรือ 1 คืน เพื่อให้ละลาย จากนั้นเทใส่ขวดให้ลูกกินแล้วเขย่าแบบเย็นๆได้เลย มักจะไม่มีกลิ่นหืน และไม่ทำให้ลูกปวดท้องหรือท้องเสีย หากลูกไม่ชอบกินเย็นให้แช่ในน้ำอุ่น ห้ามแช่นมในน้ำร้อนหรือใส่ไมโครเวฟเพราะความร้อนจะไปทำลายสารอาหารสำคัญในนมแม่
- หลังปั๊มนม อาจทำให้น้ำนมร้อนก่อน เพื่อยับยั้งการย่อยของไลเปสก่อนนำไปแช่แข็ง นั่นคือหลังจากคุณแม่ปั๊มนมเสร็จแล้ว ให้นำไปต้ม ให้นานพอที่จะเห็นฟองอากาศเล็กๆ ปุดๆอยู่ด้านรอบข้างหม้อ แล้วจึงดับไฟ ห้ามปล่อยให้ถึงจุดเดือด จากนั้นนำนมไปเข้าตู้เย็นแช่แข็งทันที วิธีนี้จะทำให้น้ำย่อยไขมันทำงานไม่ได้ จึงไม่เกิดกลิ่นเหม็นหืน ถึงแม้ว่าจะเก็บไว้นานเพียงใดก็ตาม ซึ่งการต้มนมอาจทำลายภูมิคุ้มกันในนมแม่บางส่วน และสารอาหารบางอย่างในน้ำนมแม่ให้ลดน้อยลงได้ แต่ก็ยังดีกว่าการเทนมแม่ที่สต๊อกไว้ทิ้งไป เพราะลูกไม่ยอมกินนมหืน
- ให้ลูกกินนมแม่ที่ละลายจากการแช่แข็งแล้ว ภายใน 24 ชม. และไม่ควรนำนมที่ละลายจากการแช่แข็งแล้ว กลับไปแช่แข็งใหม่
- ไม่เก็บนมแม่ใกล้ส่วนของช่องแข็งหรือช่องแช่ที่มีระบบละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ เพราะความเย็นจะไม่คงที่
- หากคุณแม่เก็บนมแม่สต๊อกไว้ในถุงพลาสติกแล้วมีกลิ่น ให้ลองเปลี่ยนไปใส่ภาชนะที่เป็นแก้วที่มีฝาปิดมิดชิดแทน
- ไม่ควรเก็บนมสต๊อกปะปนกับอาหารอื่นๆ หากคุณแม่แช่นมแม่สต๊อกไว้รวมกับอาหารชนิดอื่นๆ ในตู้เย็น ควรเก็บและใส่อาหารในภาชนะที่มิดชิดมีฝาปิด หรือมัดถุงให้แน่น เพื่อป้องกันกลิ่นอาหารอื่นมาปะปน ทำให้นมแม่ดูดกลิ่นอาหารเข้ามา จนน้ำนมมีกลิ่นอื่นติดมาด้วยได้
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การเก็บนมสต๊อกไม่ให้มีกลิ่นหืนอาจมีความยุ่งยากบ้าง ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาลูกไม่กินนมหืน และให้ลูกสามารถกินนมแม่ที่มีกลิ่นหืนเป็น คุณแม่อาจต้องฝึกให้ลูกกินนมเย็นหรือนมที่มีกลิ่นหืนได้บ้างตั้งแต่เนิ่นๆ ฝึกให้ลูกทานทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง เริ่มฝึกตั้งแต่ลูกอายุ 1-2 เดือน (หากเริ่มเร็วก่อน 1 เดือน ลูกอาจเสี่ยงติดขวด แต่หากเริ่มช้ากว่า 2 เดือนลูกจะฝึกยากขึ้น) ลูกจะได้กินเป็นทั้งนมจากเต้าและนมแม่ที่สต๊อกเอาไว้ ไม่ต้องทิ้งนมแม่ไปอย่างน่าเสียดายเพียงเพราะมีกลิ่นหืนนั่นเอง
สินค้าที่เกี่ยวข้อง
บทความแนะนำ
เมื่อลูกน้อยถึงวัยเริ่มกินอาหารเสริมนอกจากนมแม่ ซึ่งก็คือในช่วงอายุ 6 เดือนขึ้นไป หากลูกเริ่มนั่งได้เก่งขึ้น สามารถนั่งได้เองโดยที่ไม่ต้องประคอง และเริ่มชอบเอามือหยิบจับสิ่งต่าง ๆ เข้าปาก นั่นแสดงว่าลูกน้อยของเราพร้อมที่จะกินอาหารเสริมได้แล้ว ในบางบ้านอาจจะคุ้นเคยกับการเตรียมอาหารเด็กอ่อนโดยการปั่นหรือบดละเอียดและป้อนให้ลูก แต่หลาย ๆ บ้านก็อาจจะใช้วิธีฝึกให้ลูกกินอาหารด้วยตัวเองที่เรียกว่า BLW (Baby-Led Weaning) แต่ไม่ว่าจะเป็นวิธีไหนก็ตาม อุปกรณ์สำคัญอย่างโต๊ะกินข้าวเด็กก็เป็นของที่ต้องมี และถ้าเลือกให้ดีก็จะใช้งานได้อย่างยาวนานตั้งแต่เล็กจนโต แล้วจะมีวิธีการเลือกอย่างไร ควรเลือกแบบไหนดี ? BabyGift มีคำแนะนำดี ๆ มาฝากแล้วค่ะ โต๊ะกินข้าวเด็ก สำคัญอย่างไร ? ควรเลือกแบบไหนดี ? โต๊ะกินข้าวสำหรับเด็กนั้นมีความแตกต่างจากโต๊ะทั่ว ๆ ไป โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นโต๊ะที่เรียกว่า High Chair โดยเป็นชุดเก้าอี้กินข้าวเด็กที่มีโต๊ะพับมาให้แบบครบชุด สามารถใช้งานได้หลายแบบ บางรุ่นสามารถพกพาออกไปข้างนอกได้ด้วย และยังมีเข็มขัดนิรภัยเพื่อป้องกันเด็กพลัดตกเก้าอี้ ทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งบางที่อาจเรียกว่าโต๊ะกินข้าวเด็ก หรือบางที่ก็เรียกว่าเก้าอี้กินข้าวเด็ก หรือ อาจเรียกรวม ๆ ว่าชุดโต๊ะเก้าอี้กินข้าวของเด็ก แต่จะเรียกแบบไหน ก็หมายถึง High Chair ที่นั่งกินข้าวของเด็กเล็กโดยเฉพาะนั่นเองค่ะ โต๊ะกินข้าวสำหรับเด็กนั้นเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นมาก โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่อยากฝึกลูกให้กินข้าวด้วยตัวเองแบบ BLW ซึ่งการฝึกลูกกินข้าวเอง […]
นมแม่ คืออาหารมหัศจรรย์ของลูกน้อย อุดมด้วยสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด ที่ครบถ้วนและเหมาะสมที่สุดสำหรับลูกน้อย ซึ่งคุณค่าสารอาหารในนมแม่ สำคัญที่สุดต่อการช่วยส่งเสริมพัฒนาการลูกทุกด้าน ได้แก่ อุ่นนมแม่ให้ถูก ลูกได้คุณค่าเต็มที่ เมื่อรู้ว่านมแม่มีคุณค่ามหาศาลอย่างนี้แล้ว คุณแม่ต้องให้ลูกน้อยกินนมแม่ให้นานที่สุด เพื่อให้ลูกได้รับคุณค่าน้ำนมให้มากที่สุด ด้วยการทำสต๊อกนมแม่เก็บไว้ให้ลูก และให้ความสำคัญกับการอุ่นนมแม่ที่แช่แข็งหรือทำสต๊อกไว้มาให้ลูกกินด้วย เพราะหากอุ่นนมแม่ไม่ถูกวิธี อาจทำให้ลูกเจ็บป่วยท้องเสีย แถมยังสูญเสียสารอาหารที่มีคุณค่าในนมแม่ไป เราจึงขอแนะนำวิธีการอุ่นนมที่ถูกต้อง เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่ดีที่สุดมาฝากกันค่ะ วิธี อุ่นนมแม่ จากช่องแช่แข็ง ปัจจุบันมีเครื่องอุ่นนม ที่ช่วยอำนวยความสะดวกคุณแม่ในการละลายนมแม่แช่แข็ง ซึ่งมีการทำงานที่หลากหลายทั้งอุ่นนม ละลายน้ำแข็ง อุ่นอาหาร และฆ่าเชื้อได้ โดยคุณแม่ควรพิจารณาเลือกซื้อที่มีมาตรฐานความปลอดภัย สามารถเลือกปรับอุณหภูมิได้ตามความเหมาะสม เพื่อรักษาคุณค่าของนมแม่ไว้ให้ครบถ้วน ข้อควรระวัง เรื่องเข้าใจผิดของการ อุ่นนมแม่ ทำเสียคุณค่าน้ำนม ข้อมูลเพิ่มเติม :https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/HpH/admin/news_files/718_49_1.pdf, FB: สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ,https://www.phyathai.com/https://library.thaibf.com/ (คลังข้อมูล มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย)
แม่ๆ ดาราเซเลบคนดังร่วมแสดงความยินดีกับงานฉลองเปิดร้าน BabyGift สาขา เซ็นทรัลเวิลด์แบรนด์ผู้นำเข้า คาร์ซีท, รถเข็นเด็ก, เก้าอี้ทานข้าว, เป้อุ้มเด็ก และผลิตภัณฑ์สำหรับลูกน้อยที่ดีที่สุดทั้งจากประเทศญี่ปุ่น, เกาหลี และ สหรัฐอเมริกาอย่าง #APRICA #AILEBEBE #PRINCEANDPRINCESS #REALKIDS และอีกมากมาย และในงานยังเปิดตัวสินค้านวัตกรรม 3 รุ่นใหม่ได้แก่ รถเข็นเด็กพับเล็ก #Aprica #NanoSmart, คาร์ซีท #Ailebebe #Kurutto4Grance และ #Ecowell เครื่องผลิตสเปรย์ฆ่าเชื้ออเนกประสงค์ #BabyGift #CentralWorld #BabyBestItems #BabyProducts BabyGift สาขา Central World ชั้น 2 โซนลานไอซ์สเก็ตเปิดบริการ 10.00 – 22.00 น. ทุกวันโทร. 095-851-8521LINE ID : bbg_ctw
” ลูกติดเต้า ไม่ยอมใช้ขวดนมเลย ทำอย่างไรดี ? เริ่มให้ลูกหย่านมจากเต้า มาฝึกใช้ขวดนมเมื่อไหร่ดี ? ” อีกคำถามที่แม่ๆหลายคนมักเจอตอนลูกน้อยอายุ 1 ขวบ โดยเฉพาะคุณแม่ที่เลี้ยงลูกน้อยด้วยนมจากเต้าเพียงอย่างเดียว วันนี้ BabyGift มีเคล็ดไม่ลับมาฝากแม่ๆกันค่ะ ต้องขอเกริ่นก่อนว่า ความจริงแล้วการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดอยู่แล้ว ด้วยคุณค่าของน้ำนมความอบอุ่นและอื่นๆ แต่เมื่อลูกรักโตขึ้น หลายคนที่ดูดนมแม่จากเต้าจนติด หรือที่เรียกว่า ” ลูกติดเต้า “ งอแงไม่ยอมกินนมจากขวด เวลาที่คุณแม่ต้องออกไปทำงานหรืออยู่นอกบ้าน การให้นมแม่จากขวดนม หรือการเริ่มหย่านมแม่ มักจะเกิดปัญหาตามมาเพราะลูกไม่ยอมกินนมจากขวด งอแงร้องไห้ จนเกิดปัญหาการกินกับลูกได้ และปัญหาการใช้ชีวิตของคุณแม่เอง ฉะนั้นมาดูกันเลยค่ะว่าจะมีเทคนิคแบบไหน ที่สามารถทำให้ลูกได้ฝึกกินนมจากขวดได้ โดยไม่หักดิบ ไม่ทำให้ลูกร้องไห้งอแง หงุดหงิดเสียใจ คุณแม่เองก็ไม่ต้องเครียดไปด้วย ตามมาดูกันเลยค่ะ 8 ทริค ฝึกลูกดูดนมขวดแบบแฮปปี้ 1 ) ค่อยๆ ฝึก ไม่บังคับลูกเพราะการดูดขวดคือทักษะใหม่ของลูกรักที่เคยแต่ดูดนมแม่จากเต้ามาตลอด จนกลายเป็นว่า ลูกติดเต้า รวมถึงวิธีการดูดนมจากขวดกับการดูดนมจากเต้าก็มีความแตกต่าง จึงต้องอาศัยเวลาให้ลูกปรับตัวและฝึกฝน รวมถึงลูกรักเองก็ต้องใช้สมาธิในการดูดมากขึ้นในช่วงแรก ฉะนั้นการทำความเข้าใจไม่บังคับ และให้ลูกได้ลองฝึกในสิ่งแวดล้อมที่เงียบและสงบค่อย […]
คุณแม่อาจป้อนอาหารบดละเอียดให้ลูกเสริมกับการกินนมแม่เป็นหลัก หรือถ้าคุณพ่อคุณแม่คนไหนอยากฝึก BLW ให้ลูกกินข้าวด้วยตัวเองเป็นก็อาจให้ลูกหยิบจับอาหารนิ่ม ๆ กินเองโดยที่ไม่ต้องป้อนซึ่งอาจเป็นอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงมาก อย่างเช่น ผักต้มนิ่มๆ ผลไม้นิ่มๆ เนื้อปลาต้มนิ่มๆ และเมื่อลูกย่างเข้าสู่เดือนที่ 8 เป็นต้นไป ลูกก็จะเริ่มกินอาหารได้หลากหลายมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ก็อาจมองหาเมนูอาหารใหม่ๆ ให้กับลูกน้อย ซึ่งในบทความนี้ BabyGift มีเมนูอาหารเด็ก 8 เดือน 5 เมนูอร่อยมาแนะนำกัน จะมีอะไรบ้างนั้น ลองไปดูกันค่ะ ชวนเข้าครัวเตรียมเมนูอาหารเด็ก 8 เดือนให้ลูกน้อย เด็ก 8 เดือนกินอะไรได้บ้าง ? พอลูกของเราอายุ 6 เดือนขึ้นไป ก็จะสามารถกินอาหารเสริมนอกเหนือจากนมแม่เพิ่มเติมได้ และถ้าเป็นไปได้ คุณแม่ก็ควรให้นมแม่ควบคู่กับการเพิ่มมื้ออาหารให้ลูก ซึ่งอาหารสำหรับเด็กอ่อนนั้น สามารถใช้วัตถุดิบได้หลากหลาย และเมื่อลูกอายุ 8 เดือนก็จะเริ่มมีฟันน้ำนม สามารถกินอาหารได้อย่างหลากหลายมากขึ้น เนื้อสัมผัสอาหารมีความหยาบได้มากขึ้น รวมถึงกินผลิตภัณฑ์จากนมอย่าง เนย ชีส และโยเกิร์ตได้ สำหรับเมนูอาหารเด็ก 8 เดือนที่เราจะแนะนำกันนั้น สามารถใช้วัตถุดิบอะไรได้บ้าง มาดูกันค่ะ แนะนำ […]

ร้านสินค้าแม่และเด็กที่คัดสรรนวัตกรรมของใช้แม่และเด็กที่มี
คุณภาพให้คำปรึกษาและบริการ อย่างผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยให้การเลี้ยงลูกเป็นเรื่องง่าย ปลอดภัย และมีความสุข
Online Shopping
สาขา ปิ่นเกล้า ราชพฤกษ์
สาขา Mega บางนา
สาขา Central World
สาขา BTS วงเวียนใหญ่ (Outlet)
Copyright 2024 © Baby Gift (Retail) Co., Ltd.