มาตรฐานความปลอดภัยคาร์ซีท ระดับสากล

เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กในรถยนต์ทุกที่นั่งจะต้องมีป้ายรับรองมาตรฐาน ECE R44/04 เป็น มาตรฐานความปลอดภัยคาร์ซีท เพื่อบ่งชี้ว่าเบาะตัวนั้นๆได้ผ่านตามข้อกำหนดมาตรฐานความปลอดภัย ป้ายรับรองมาตรฐาน ECE R44/04 จะเป็นป้ายสีส้ม

  1. แสดงประเภท (Category) ของเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก
  2. แสดงน้ำหนักที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้งาน (Weight class)
  3. “Y” แสดงชนิดของอุปกรณ์ป้องกัน ในรูป “Y” หมายถึง เข็มขัดนิรภัยแบบ 5 จุดที่มีสายรัดเป้า
  4. ตัวบ่งชี้ว่าเป็นยุโรปอนุมัติ
  5. ตัวบ่งชี้สำหรับประเทศที่ได้รับความเห็นชอบ (1 = เยอรมนี, 2 = ฝรั่งเศส, 3 = อิตาลี, 4 = เนเธอร์แลนด์ ฯลฯ )
  6. หมายเลขการอนุมัติ ประกอบด้วยตัวเลข 8 หลัก ตัวเลขสองตัวแรกแสดงเวอร์ชั่นของมาตรฐานการทดสอบ ECE R 44 ที่เบาะนิรภัยนั้นๆได้รับการอนุมัติ (ในกรณีนี้คือ ECE R 44/04)
  7. เลขที่ปัจจุบัน

มาตรฐานความปลอดภัยคาร์ซีท ECE 44/03 และ ECE R 44/04 แบ่งตาม Group

และแบ่งแยกเป็นประเภทต่างๆ ทั้งหมด 4 ประเภท (4 Categories) ตามการติดตั้งและการใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้เราทราบว่าเบาะนั้นๆออกแบบมาสำหรับรถเราหรือไม่

มาตรฐานความปลอดภัยคาร์ซีท ECE 44/03 และ ECE R 44/04 แบ่งตามภูมิภาค

จากข้อมูลในหัวข้อนี้คงพอให้ท่านผู้อ่านเข้าใจความหมายและทราบถึงรายละเอียด ข้อมูลของเบาะนั้นจากป้ายมาตรฐาน ตลอดจนเป็นประโยชน์กับผู้ปกครองในการเลือกซื้อเบาะให้เหมาะกับลูกหลานและรถ ที่มีแนวทางการใช้งานเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก

  1. เลือกเบาะนั่งนิรภัยให้เหมาะสมกับขนาดร่างกายของเด็กและเหมาะกับรถ เบาะนั่งนิรภัยไม่เหมือนเสื้อผ้า การซื้อเบาะนั่งที่ไม่ตรงกับขนาดและอายุของเด็กจะส่งผลต่อความปลอดภัย
  2. ตอบความพึงพอใจของเด็ก โดยเฉพาะในด้านความสะดวกสบายในขณะนั่ง ทางที่ดีก่อนซื้อควรพาลูกๆหลานๆไปทดลองถึงที่ด้วยก็จะดี เพราะนั่นจะทำให้ทราบว่า เบาะรุ่นไหนเขานั่งแล้วสบาย ไม่อึดอัด
  3. สร้างความคุ้นเคยให้เด็ก สำหรับเด็กที่ยังไม่เคยนั่งมีคำแนะนำให้เอาเบาะมาให้เด็กได้สัมผัสได้ลองเล่นในบ้าน ให้เด็กนั่งขณะป้อนข้าวหรือทำกิจกรรมต่างๆเพื่อทำความคุ้นเคย เพื่อเด็กจะได้ไม่กลัวหรืองอแงยามที่ต้องถูกล็อคอยู่ในรถจริงๆ (คำแนะนำของกุมารแพทย์ รพ.กรุงเทพ)

ในครั้งแรกๆ เด็กๆอาจจะร้องเพราะกลัวการถูกล็อค แต่ถ้าเขาคุ้นเคยเสียก่อน ก็จะลดการร้องไม่ยอมของเด็กได้ การที่เด็กๆร้องก็จะทรมาณใจพ่อแม่เพราะสงสารลูกๆและเป็นสาเหตุทำให้ละเลยการใช้งานเบาะนิรภัยในครั้งต่อๆไป

  • ห้ามไม่ให้ใช้เบาะนั่งนิรภัยร่วมกับถุงลมนิรภัยที่อยู่ด้านหน้า
  • ควรให้เด็กนั่งที่ห้องโดยสารตอนหลัง (เบาะหลังรถ) จากการศึกษาวิจัยของสถาบัน NHTSA (Nation Highway Traffic Safety Administration) สรุปไว้ว่าเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี ควรนั่งเบาะด้านหลังรถ การให้เด็กนั่งด้านหลังแทนการนั่งด้านหน้าจะช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต ได้ 27 % ไม่ว่ารถคันนั้นจะมี airbag ด้านข้างหรือไม่ก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่งที่นั่งกลางของเบาะหลังจะเป็นตำแหน่งที่ปลอดภัยที่สุด

เพราะว่าเด็กที่นั่งอยู่ในเบาะนิรภัยจะมีการป้องกันการชนด้านข้างต่ำ การนั่งในตำแหน่งกลางจะช่วยเพิ่มพื้นที่ในการดูดซับแรงกระแทก แต่ทั้งนี้รถควรจะเป็นรถขนาดใหญ่ที่เบาะกลางมีเข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุด อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถติดตั้งตรงเบาะกลางได้ การติดตั้งทางฝั่งซ้ายหรือขวาก็สามารถทำได้ โดยที่ฝั่งตรงข้ามคนขับ (ฝั่งเดียวกับฟุตบาท) จะปลอดภัยกว่าฝั่งคนขับ  สำหรับการใช้งานเบาะนิรภัยร่วมกับรถปิกอัพให้ติดตั้งด้านหน้าข้างคนขับและห้ามใช้ถุงลมในที่นั่งด้านข้างคนขับ

  • ควรให้เด็กนั่งหันหลังให้หน้ารถให้นานที่สุดจนกว่าสรีระเด็กจะนั่งแบบนี้ไม่ได้ เพราะการนั่งแบบหันหน้าไปด้านหลังรถจะปกป้องหัวของเด็ก คอ และกระดูกสันหลังได้ดีกว่า
  • ศึกษาคู่มือการติดตั้งและการใช้เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ตลอดจนคู่มือรถยนต์ที่ใช้อยู่ให้รู้แจ้ง ทั้งนี้ก็เพราะว่าในช่วงแรกของการใช้เบาะนิรภัยสำหรับเด็กในสหรัฐอเมริกาผู้ปกครองจำนวนมากถึง 63% ติดตั้งเบาะนั่งนิรภัยไม่ถูกต้อง ทั้งการวางเบาะผิดตำแหน่ง, การจัดท่าเด็กในขณะนั่ง และการคาดกับเข็มขัดนิรภัยผิดๆ ดังนั้นหลังจากซื้อเบาะนิรภัยสำหรับเด็กมาแล้วจึงควรศึกษาคู่มือให้เข้าใจก่อนเริ่มการติดตั้ง
  • ติดตั้งเบาะนิรภัยในรถและจัดให้เด็กนั่งในเบาะนิรภัยอย่างถูกต้อง เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก จากการวิจัยพบว่าผู้ปกครองจำนวนมากยังปฎิบัติไม่ถูกต้อง ต้องตรวจสอบการยึดรั้งร่างกายของเด็กกับเบาะให้ดี และตรวจสอบเข็มขัดนิรภัยของตัวเบาะนั่งว่ารัดแน่นไปหรือเปล่า หรืออยู่ในตำแหน่งที่ผิดเพี้ยนจนสร้างความรำคาญให้กับเด็กหรือไม่ การนั่งที่ถูกต้องสายเข็มขัดนิรภัยของตัวเบาะจะต้องแน่นพอดีและพาดข้ามบ่าของเด็ก อย่าพาดอ้อมแขนหรือสอดไว้ใต้แขนเด็ก
  • เด็กพร้อมที่จะใช้เข็มขัดนิรภัยของรถได้ตามปกติเมื่อ

1. เด็กสูงเพียงพอที่ขาและเข่าของเขาสามารถนั่งห้อยขาได้เบาะนั่งรถได้พอดี
2. เด็กโตพอที่จะสามารถนั่งตัวตรง หลังพิงพนักพิงได้ตรง
3. เข็มขัดนิรภัยของรถส่วนล่างจะต้องรัดได้ตรงส่วนกระดูกเชิงกรานไม่ใช้รัดตรงท้อง
4. เข็มขัดที่พาดส่วนบ่าจะต้องพาดผ่านมาตรงส่วนหน้าอก ไม่ใช่ผ่านมาตรงแขนหรือคอ

สถานการณ์เบาะนั่งนิรภัยในไทย
มุมมองในเรื่องความปลอดภัยของคนใช้รถใช้ถนนในบ้านเรายังเป็นอะไรที่ควรได้ รับการปรับปรุงและส่งเสริมให้คำนึงอยู่ในจิตสำนึกโดยตลอด อีกทั้งในปัจจุบันเมืองไทยยังไม่มีการออกกฎหมายบังคับใช้เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือสร้างมาตรฐานสำหรับเบาะนั่งนิรภัยเด็กออกมาใช้ ยังไม่นับรวมการละเลยกฎจราจร, ขาดมารยาทในการขับขี่ และขาดการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง สิ่งเหล่านี้นอกจากเป็นสิ่งที่ภาครัฐควรช่วยกันผลักดันแล้วเราทุกคนต้องช่วยกันด้วยโดยเริ่มจากตัวเราเองก่อน


เอกสารอ้างอิง

Traffic Safety Facts 2008 Data, NHTSA’s National Center for Statistics and Analysis, National Highway Traffic Safety Administration (NHTSA), 2008

Guideline for Injury Prevention in Well Child Care, ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, 2005

ระบบยึดเหนี่ยวเด็กในรถ (Child Restraint System), ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

PandaTrueno.: จริงหรือที่เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กแพง, Safety Zone. In: MotorTrivia, 2010

ผศ.นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์, “โครงการการจัดการความรู้จากชุดโครงการวิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและ ป้องกันการบาดเจ็บในเด็กสู่นโยบายสาธารณะ”, ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก, 2004

“ถึงเวลาใส่ใจนักเดินทางตัวน้อยแล้วหรือยัง?”,  Special Report. In: Thaidriver Magazine No.91, หน้า 76-85, 2007

PandaTrueno.: มารู้จักกับประเภทของ car seat กันก่อน, Safety Zone. In: MotorTrivia, 2010

Car Seats – The Law, Regulations and Technical Information, itsababy

Regulation No. 44 Rev.1/Add.43/Rev.2, Agreement Concerning the Adoption of Uniform Technical Prescriptions for Wheeled Vehicles, Equipment and Parts, United Nations, 2008

http://www.safekids.org/our-work/news-press/press-releases/car-seat-inspections-offered.html

http://en.wikipedia.org/wiki/Infant_car_seat

http://www.consumerreports.org/cro/babies-kids/baby-toddler/car-seats/car-seat-buying-advice/car-seat-types/car-seat-types.html

http://www.iqraforum.com/forum/index.php?topic=800.0;wap2

http://www.mom2kids.com/knowledge.php?id=79

http://www.3sat.de/page/?source=/nano/news/94126/index.html

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00

บทความแนะนำ

BabyGift Grand Opening ฉลองเปิดสาขาใหม่ “ปิ่นเกล้า-ราชพฤกษ์” สาขาที่ 7 อย่างเป็นทางการตอกย้ำความเป็นผู้นำร้านจำหน่ายสินค้าแม่และเด็ก BabyGift พร้อมที่จะส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับคุณพ่อ-คุณแม่และลูกน้อยในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด ” The Best Gift for your Baby ” ​ ขอขอบคุณ แบรนด์ Partner ผู้บริหาร และคณะกรรมการทุกท่านเป็นอย่างมาก ที่มาร่วมงาน และคอยสนับสนุนเบบี้กิ๊ฟอย่างดีตลอดมาค่ะ Attitude Mom Thailand : เครื่องปั๊มนม 5 โหมด อัจฉริยะ กรวยซิลิโคนแท้ Spectra Thailand เครื่องปั้มนม Iflin baby PUR Thailand Mellow for Kids ผ้ารองกันน้ำ100% เมลโล่ Bambies Thailand Baby Natura Beaba Thailand Luxury Baby […]

คาร์ซีทปลอดภัย สำหรับเด็กแรกเกิด จะต้องดูจากอะไรบ้าง วันนี้ BabyGift จะมาบอกวิธีดูคาร์ซีทที่ปลอดภัย แบบลึกซึ้งถึงโครงสร้างกันเลยค่ะ เพราะทุกวัสดุที่ประกอบอยู่ในคาร์ซีทนั้น มีผลต่อความปลอดภัยของลูกน้อยมาก และก่อนคุณพ่อคุณแม่จะตัดสินใจเลือกซื้อคาร์ซีทให้ลูกรัก นี่คือสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้เลยค่ะ   โครงคาร์ซีท ทำจากอะไร แบบไหนที่ปลอดภัย      1. โครงพลาสติกทั่วไป (PP)  พลาสติกมีความแข็งแรง ทนต่อการกระแทก มีน้ำหนักเบา ส่วนใหญ่มักจะใช้ภายในห้องโดยสารรถยนต์ เช่น แผงประตู หรือ คอนโซลรถ  เมื่อใช้พลาสติก 100% ทำเป็นโครงคาร์ซีทสำหรับเด็กโตโดยเฉพาะ ที่น้องมีสรีระแข็งแรงแล้ว ก็เพียงพอต่อการปกป้องน้องให้ปลอดภัยค่ะ   แต่สำหรับเด็กแรกเกิด ที่สรีระบอบบาง ต้องการการปกป้องเป็นพิเศษ การใช้พลาสติก 100% เลย อาจจะไม่พียงพอ โครงคาร์ซีทควรจะเสริมด้วยวัสดุอื่น ๆ เพิ่มความแข็งแรงด้วย เช่น เสริมด้วยไฟเบอร์กลาส       2. โครงพลาสติก เสริมไฟเบอร์กลาส ไฟเบอร์กลาส หรือ เส้นใยแก้ว จะใช้เพื่อเสริมความแข็งแรงเป็นพิเศษ ใช้แทนโลหะได้เลย เช่น ทำชิ้นส่วนเครื่องบินเล็ก ทำชิ้นส่วนรถแข่ง เพราะทนต่อการถูกกระแทก ทนต่อการฉีกขาด มีน้ำหนักเบา และยังสามารถดัดโค้งจัดรูปทรงได้ ไม่เปราะง่าย  ในการทำโครงคาร์ซีทเด็กแรกเกิด […]

คาร์ซีทนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับลูกน้อย และคุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมพร้อมคาร์ซีทให้เรียบร้อยก่อนที่ลูกน้อยจะคลอด เพราะเมื่อออกจากโรงพยาบาลมาแล้วก็ต้องนั่งคาร์ซีทกลับบ้าน ทั้งเพื่อความปลอดภัยสำหรับลูกน้อยเอง และเพื่อปฏิบัติตามกฏหโมายเรื่องการกำหนดที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก (คาร์ซีท) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกคาร์ซีท เด็กแรกเกิดอย่างไรดี ควรเลือกแบบไหน คาร์ซีทสำหรับเด็กมีกี่ประเภท เลือกอย่างไร BabyGift มีคำแนะนำดี ๆ มาฝากกันแล้วค่ะ  เลือกคาร์ซีท เด็กแรกเกิด อย่างไรดี ? ต้องรู้อะไร ? เลือกยังไงดี หาคำตอบได้จากบทความนี้ !  คาร์ซีทสำหรับเด็กแรกเกิด เป็นหนึ่งในสิ่งที่ต้องเตรียมไว้ให้กับลูกตั้งแต่ก่อนคลอด และควรที่จะให้ลูกได้ใช้ตั้งแต่วันแรกที่ออกจากโรงพยาบาล เนื่องจากร่างกายของเด็กทารกยังไม่แข็งแรง ยังไม่สามารถรับแรงกระแทกได้มากเท่าไหร่ อีกทั้งเราไม่รู้ว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ จึงควรป้องกันไว้ก่อนและเตรียมความพร้อมในทุกสถานการณ์ คาร์ซีท เด็กแรกเกิด จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่รู้จะเลือกอย่างไรดี ต้องเลือกแบบไหน คาร์ซีท มีกี่แบบ ต้องเลือกอย่างไร ? ในบทความนี้ BabyGift มีเคล็ดลับดีๆ ในการเลือกซื้อคาร์ซีทสำหรับเด็กแรกเกิดมาฝากกันค่ะ เรามารู้จักประเภทของคาร์ซีทกันก่อนเลย ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของคาร์ซีทสำหรับเด็กแรกเกิดได้ดังนี้  1. New Born Only : หรือคาร์ซีทแบบกระเช้า คาร์ซีทประเภทนี้จะมีขนาดเล็ก […]

อุ่นนมแม่ น้ำนมแม่  สารอาหารที่มากไปด้วยคุณประโยชน์ที่จำเป็นต่อการเติบโตของลูกน้อย และสร้างภูมิคุ้มกันที่สำคัญให้กับลูกน้อย ในปัจจุบัน คุณแม่จึงมักนิยมให้ลูกได้ทานน้ำแม่มากขึ้น แต่ด้วยภาระที่คุณแม่ที่ไม่สะดวกต่อการให้น้ำนมลูกได้ตลอดเวลา จึงทำให้คุณแม่นิยมปั้มนมใส่ถุงสต๊อกนำไปแช่เย็นไว้อย่างดี และในเวลาที่ลูกหิวก็นำนมแม่ออกมาอุ่นให้กับลูกน้อยกิน ซึ่งวิธีนี้ยังเพิ่มความสะดวกสบายให้กับคุณแม่ได้เป้นอย่างมากอีกด้วย เพราะไม่ว่าจะเป็น คุณพ่อ คุณตา คุณยาย ใครๆก็สามารถนำนมมาอุ่นแล้วก็ป้อนให้กับลูกน้อยได้            แต่ทุกคนรู้กันไหวว่า ถ้าอุ่นนมผิดวิธี จะทำให้น้ำนมแม่นั้นเสียคุณค่าทางอาหารไป วันนี้ทาง BABY GIFT EXPERT จึงจะมาแชร์วิธีการ การอุ่นนมที่ถูกวิธีให้กับทุกคนได้รู้กันค่ะ           ก่อนอื่นที่จะไปรู้วิธีการการอุ่นนม เรามารู้จักกันก่อนว่าก่อนอุ่นนมที่ดี มีข้อห้ามหรือข้อแนะนำอะไรบ้าง  วิธีการอุ่นนมแม่แบบทั่วไป            อุ่นนมแม่ด้วยวิธีแบบทั่วไปนั้นใครๆก็สามารถทำได้ แต่ข้อเสียของวิธีการนี้คือ อุณหภูมิน้ำอาจจะไม่อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสมตลอดเวลา ต้องใช้ระยะเวลา มีความยุ่งยาก และหลายขั้นตอน ทำให้คุณพ่อ คุณแม่ ที่ไม่สะดวก หรือไม่มีเวลามาก อาจจะไม่เหมาะกับวิธีการนี้ และที่สำคัญยังไม่ทันต่อการใช้งาน เพราะบางครั้งลูกน้อยอาจจะหิวไม่เป็นเวลา หรือตื่นขึ้นมากลางดึกแล้วร้องทานนม อุ่นนมแม่ […]

1.เลือกจากประเภทการใช้งานให้เหมาะสมกับสรีระและน้ำหนักของเด็กค่ะโดยทั่วไปรถเข็นจะแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ 2. วัสดุโครงสร้างของรถเข็นเด็กต้องแข็งแรงและที่สำคัญน้ำหนักต้องเบาเพราะว่าบางครั้งคุณแม่อาจจะต้องเดินทางโดยลำพังกับลูกน้อย นอกจากนี้เบาะที่สัมผัสของตัวน้องควรทำจากวัสดุที่นุ่มสบายเพื่อให้เด็กนั่งได้นาน อีกทั้งยังต้องมีคุณสมบัติในการระบายความร้อนที่ดีเนื่องจากอากาศที่เมืองไทยค่อนข้างร้อนและระบบปรับอุณหภูมิในเด็กเล็กนั้นยังทำงานได้ไม่ดีนักทำให้เด็กจะร้อนและเหงื่อออกได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ 3. ล้อต้องเป็นล้อที่สามารถหมุนได้สะดวกและแข็งแรง เพราะจะทำให้การเคลื่อนตัวของรถเข็นคล่องตัวขึ้นแม้ว่าคุณแม่จะต้องเข็นรถในที่ที่แคบ 4. โครงสร้างของผลิตภัณฑ์ต้องออกแบบมาเพื่อรักษาให้ขาและข้อต่อสะโพกอยู่ในรูปทรงตามธรรมชาติโดยประคองขาและข้อต่อสะโพกในอยู่ในรูปทรงตัว“M” ซึ่งเป็นท่าที่จะทำให้ขาและสะโพกของลูกน้อยมั่นคงที่สุดรวมทั้งจะส่งเสริมการเจริญเติบโตของกระดูกทั้งสองส่วนให้เป็นไปตามธรรมชาติที่ดีที่สุด 5. มีหลังคาที่สามารถปกป้องลูกน้อยจากแสงแดดและรังสียูวีเพราะผิวหนังของเด็กนั้นยังบอบบางโดยที่บังแดดควรจะปรับได้ตามทิศทางของแสงแดดที่ปรับเปลี่ยนตามช่วงเวลาในแต่ละวัน นอกจากนี้ที่บังแดดยังช่วยบังลมให้ลูกน้อยได้อีกด้วย 6. โครงสร้างของรถเข็นเด็ก ต้องออกแบบมาเพื่อปกป้องระบบการหายใจในกรณีที่เด็กอาจจะเผลอหลับบนรถเข็น โดยมีเบาะที่จะทำให้ศีรษะเด็กไม่เคลื่อนที่และป้องกันการบิดของลำคอจึงช่วยป้องกันภาวะหยุดหายใจขณะหลับเนื่องจากทางเดินหายใจอุดกั้น 7. ข้อสำคัญอีกประการก็คือหากคุณใช้รถเข็นเด็กแรกเกิด ควรจะเลือกประเภทที่สามารถหันที่นั่งรถเอาหาตัวคุณแม่ได้ เนื่องจากเด็กเล็กต้องการความเอาใจใส่จากแม่เป็นพิเศษ เมื่อน้องออกไปข้างนอกเขาต้องการจะมองเห็นคุณแม่เพื่อความอุ่นใจค่ะ แต่ถ้าเป็นเด็กโตแล้ว เด็กจะให้ความสนใจกับสิ่งรอบตัวซึ่งในวัยนี้คุณแม่อาจจะปรับที่นั่งรถเข็นให้มองออกไปข้างนอกได้ค่ะ หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้จากผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาและคำแนะนำอย่างถูกต้อง

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้คาร์ซีทมือสอง โดย หมอวิน เพจ #เลี้ยงลูกตามใจหมอ ว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยของคาร์ซีท #คาร์ซีทมือสอง ตามที่พ่อหมอเคยเขียนเรื่องการเลือกซื้อคาร์ซีทไว้แล้วตั้งแต่ตอนเปิดเพจครับ คลิกอ่านได้ครับที่ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1318721458224835&substory_index=0&id=1312969582133356 ก็เริ่มมีลูกเพจเริ่มถามเรื่อง “การซื้อคาร์ซีท” ในหัวข้อนอกเหนือจากคำถามเบื้องต้นครับ โดยเฉพาะเรื่อง “การซื้อคาร์ซีทมือสอง” หรือ “คาร์ซีทเก่า” ตามคำแนะนำของราชวิทยาลัยกุมาร ฯ ของสหรัฐอเมริกา … บอกไว้ว่า

Menu
All Categories
All Brands
All Ages
Promotions
Locations
BabyGift Family
BabyGift Care
Parents Guide
News & Event

All Categories

All Categories
All Brands
All Ages