ตัดเล็บทารก อย่างไรให้ปลอดภัย ไม่เข้าเนื้อ

ตัดเล็บทารก หน้าที่นี้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่มักจะแอบเกร็งเลยใช่ไหมคะ เพราะนิ้วลูกยังเล็กมาก เล็บก็ยังอ่อนและเปราะบาง คุณพ่อคุณแม่เลยกลัวว่าจะตัดเล็บเข้าเนื้อทำให้ลูกน้อยเจ็บตัวได้ แต่อย่ากลัวเลยค่ะ เพราะเรามี ”วิธีการตัดเล็บทารก” มาแชร์ให้อ่านกัน วิธีตัดเล็บนี้จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่มีความมั่นใจในการตัดเล็บให้ลูกน้อยมากขึ้น

ตัดเล็บทารก เรื่องง่าย ๆ ถ้ารู้วิธีที่ถูกต้อง พร้อมอุปกรณ์ที่เหมาะสม

ตัดเล็บทารก ควรตัดบ่อยแค่ไหน

เล็บมือทารกจะยาวขึ้นวันละ 0.1 มม. ส่วนเล็บเท้าจะยาวช้ากว่า เด็กเล็กจึงควรตัดเล็บมือเฉลี่ย 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ และเล็บเท้า 2-3 ครั้งต่อเดือน ซึ่งช่วงเดือนแรกลูกน้อยเล็บยังนิ่ม แต่ก็สามารถบาดผิวลูกได้ จึงแนะนำให้ใช้การตะไบมากกว่าการตัด แต่หลังจากนั้นเล็บจะแข็งแรงขึ้น สามารถเลือกใช้ตะไบตัดเล็บหรือกรรไกรก็ได้ แล้วแต่ความถนัดของคุณพ่อคุณแม่

วิธีตัดเล็บทารก ตัดเล็บทารกให้ไม่เข้าเนื้อ

  1. ต้องดูความยาวของเล็บลูกน้อยก่อน เล็บจะต้องยาวพ้นตรงปลายนิ้วออกมาจึงจะตัดได้ ให้ใช้กรรไกรตัดเล็บตัดแบบแนวขวางเส้นตรง ควรตัดให้จบในครั้งเดียวและห้ามฉีกเล็บลูก เพราะอาจจะเข้าเนื้อได้ หากพ่อแม่ที่ยังไม่เชี่ยวชาญในการตัดเล็บลูก แนะนำจะใช้ตะไบเล็บอัตโนมัติสำหรับเด็กแรกเกิดมากกว่า เพราะช่วยลดอันตรายจากคมของกรรไกรได้
  2. ควรตัดเล็บลูกน้อยในขณะที่ลูกนอนหลับอยู่ เพราะลูกจะอยู่นิ่ง ไม่ขยับมือบ่อย จะได้ลดโอกาสตัดโดนเนื้อ
  3. หลังจากใช้กรรไกรแล้วก็ควรจะตะไบเล็บลูกด้วย เพื่อลบเหลี่ยมคม ป้องกันไม่ให้ลูกข่วนหน้าตัวเอง
  4. หากเผลอใช้กรรไกรตัดโดนเนื้อลูกน้อยจนเลือดไหล ให้รีบใช้สำลีกดแผลไว้ จนเลือดหยุดไหล แล้วทายาแผลสดทันที

ตัดเล็บเข้าเนื้อ อันตรายกว่าที่คิด

การตัดเล็บให้ลูกน้อยอย่างไม่เชี่ยวชาญ ใช้อุปกรณ์ตัดเล็บไม่เหมาะสม และไม่ระวังมากพอ อาจทำให้ตัดเข้าเนื้อ เล็บฉีก จนลูกน้อยบาดเจ็บเลือดไหล และอันตรายไปถึงขั้นติดเชื้อได้เลยนะคะ 

จากข้อมูลเพจเรื่องเล่าจากโรงหมอ ได้นำเสนอข่าวเด็กวัยสิบเดือนที่ยายตัดเล็บให้ จากนั้นนิ้วโป้งเท้าของเด็กก็เริ่มบวม แดง อักเสบ มีไข้สูง เมื่อพาไปพบคุณหมอก็ได้ข้อวินิจฉัยว่าเด็กนิ้วเท้าอักเสบและติดเชื้อในกระแสเลือด คุณหมอจึงขออนุญาตคุณพ่อคุณแม่นำรูปมาโพสต์เตือนให้พ่อแม่ทุกคนระวังในการตัดเล็บลูกน้อยมากขึ้น เห็นแบบนี้แล้วคุณพ่อคุณแม่ต้องเลือกอุปกรณ์ตัดเล็บให้เหมาะกับวัยของลูกและควรตัดอย่างระมัดระวังมากขึ้นนะคะ

ที่ตัดเล็บเด็ก ควรใช้แบบไหนให้ปลอดภัย

1. กรรไกรตัดเล็บเด็ก

  • ควรใช้กรรไกรสำหรับเด็กโดยเฉพาะ
  • กรรไกรปลายมน จะไม่ค่อยบาดผิวและช่วยให้โอกาสตัดเข้าเนื้อลูกน้อยลง
  • กรรไกรตัดเล็บหัวเล็ก จะเหมาะกับขนาดเล็บและมือของเด็กเล็ก
  • ด้ามจับกรรไกรจะต้องใหญ่ ให้จับถนัดมือมากขึ้น
  • มีตะไบเล็บ เพื่อเอาไว้ลบคมของเล็บหลังตัดเสร็จ

2. ตะไบตัดเล็บเด็ก

  • ตะไบตัดเล็บเด็ก ต้องมีหัวเจียรให้เลือกใช้ตามช่วงวัย ใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิดจนเด็กโต
  • ปรับความเร็วและความแรงของการหมุนได้ ตามความถนัดของคุณพ่อคุณแม่
  • ตะไบตัดเล็บควรออกแบบให้มีไฟส่องด้วย เผื่อตัดในที่แสงน้อยได้
  • เสียงเงียบ ไม่ดังรบกวนการนอนของลูก
  • มีกล่องเก็บขนาดเล็ก กะทัดรัด น้ำหนักเบา ให้พกพาสะดวก
  • มีการรับประกันสินค้า เผื่อชำรุดจะได้เปลี่ยนได้ทันที

ตัดเล็บให้ลูกน้อย ไม่ใช่เรื่องยากเลยนะคะ เพียงแค่เลือกอุปกรณ์ที่ปลอดภัยเหมาะสมกับวัยลูก ก็จะช่วยให้การตัดเล็บง่ายขึ้นมาก และเพื่อสุขอนามัยที่ดีควรจะตัดเล็บลูกน้อยเป็นประจำทุกสัปดาห์ด้วยนะคะ

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00

บทความแนะนำ

เนื่องในเดือนแห่งวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโรงเรียนทอสีได้จัดสัมนาเรื่อง“เลี้ยงลูกแบบสมเด็จย่า” โดยคุณหญิงพวงร้อย ดิศกุล ณ อยุธยา อดีตข้าหลวงในพระองค์มาร่วมเล่าประสบการณ์และแบ่งปันคำสอนของสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชชนนีหรือสมเด็จย่าของปวงชนชาวไทยเมื่อฟังแล้วรู้สึกอยากจะบอกต่อ ถึงวิธีการเลี้ยงดูลูกของพระองค์ ที่มีทั้งความปราดเปรื่องหลักแหลมและมีเป้าหมายที่ชัดเจนสมควรใช้เป็นแบบอย่างเป็นอย่างยิ่ง ลูกไม้ย่อมหล่นไม่ไกลต้น : คำพังเพยที่เราได้ยินบ่อยๆ แต่น้อยครั้งนักจะทำความเข้าใจอย่างจริงจังในขณะที่ตัวอย่างมีให้เห็นทั้งในทางที่ดีและทางที่ไม่ดีในเรื่องของการเลี้ยงดูบุตร สมเด็จย่าทรงเริ่มจากการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก ทำเป็นต้นแบบในเรื่องของการมีวินัย การรักการค้นคว้าศึกษาหาความรู้ การประพฤติตัวที่ถูกต้องตามธรรมนองคลองธรรม ทั้งหมดนี้คือการตั้งตนเป็นต้นแบบให้กับลูกเพราะเด็กเล็กจะมีพฤติกรรมเลียนแบบจากคนใกล้ชิดเพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องลองตั้งคำถามกลับมาที่ตัวเองว่าทุกวันนี้ที่เราอยากให้ลูกเป็นแบบนั้นแบบนี้แล้วเราล่ะเป็นแล้วหรือยัง ตั้งเป้าหมายในการเลี้ยงลูก: สมเด็จย่าทรงเป็นพระมารดาที่มีเป้าหมายในการเลี้ยงลูกอย่างชัดเจนคือทรงตั้งใจอบรมพัฒนาลูกๆ ให้ดีในทุกๆ ด้านเพื่อให้เป็นบุคคลที่ทำประโยชน์ให้กับชาติบ้านเมือง ทรงไม่คิดถึงประโยชน์ของพระองค์เอง ประโยชน์ของพระโอรส หรือพระธิดา แต่ทรงมองถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ ในปัจจุบันหลายครั้งที่เราเห็นพ่อแม่ส่งลูกเรียนพิเศษในทุกวิชาโดยที่ไม่ได้ถามลูกว่าลูกอยากเรียนอะไร หรือพ่อแม่ที่คาดหวังเรื่องผลการเรียนสูงๆ จากลูกเหล่านั้นคือการตั้งเป้าหมายกับลูกซึ่งเป็นการเอาความคาดหวังของตัวเองไปให้กับลูก เราจึงต้องมองย้อนกลับมาดูใหม่ว่าเป้าหมายที่เราตั้งไว้หรือความคาดหวังนั้นเป็นไปเพื่อใคร เพื่อลูก เพื่อตัวเราเอง หรือเพื่อคนอื่นๆ ด้วย ถ้าพ่อแม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการเลี้ยงลูกก็จะทำให้เราสามารถพัฒนาประสิทธิภาพของเด็กๆ ได้สูงยิ่งขึ้น จัดแบบแผนและสร้างระเบียบวินัยตั้งแต่ลูกยังเล็ก: สมเด็จย่าทรงวางแผนการดำเนินชีวิตให้กับพระโอรสพระธิดาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เนื่องจากต้องทรงเป็นทั้ง “พ่อ” และ “แม่” ในเวลาเดียวกันทรงจัดการทุกอย่างเป็นเวลา โดยมีผู้ช่วยคือพระพี่เลี้ยงเพียงหนึ่งคนเท่านั้นเนื่องจากในเวลาที่เด็กยังเล็กเขาไม่มีความรู้เรื่องขอบเขตของเวลา พ่อแม่จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดเวลาให้กับพวกเขาเช่นนอน รับประทานอาหาร เล่น ไปโรงเรียน อาบน้ำ ออกกำลังกาย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะสร้างวินัยให้กับลูกซึ่งสมเด็จย่าทรงเน้นเรื่องวินัยในการดำเนินชีวิตพระองค์รับสั่งถึงคำว่า “ระเบียบวินัยอย่างมีหลักการ” คือการกำหนดขอบเขตของเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างความสมดุลให้กับชีวิตซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเติบโตของเด็กๆ ต่อไป เล่นอย่างถูกวิธี : เมื่อถึงเวลาเล่นจะทรงปล่อยให้พระโอรสและพระธิดาเล่นอย่างอิสระ โดยจะทรงให้เล่นกับธรรมชาติ ต้นไม้ น้ำทรงเน้นให้เล่นกับสิ่งที่มีในธรรมชาติมากกว่าของเล่น ทรงอนุญาตให้พระโอรสเล่นจุดไฟแต่จะทรงบอกวิธีในการเล่นที่ถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดอันตราย ผลจากการที่พระโอรสและพระธิดาได้ทรงเล่นคลุกดินคลุกทรายหรือได้ทำการทดลองกับธรรมชาติเหล่านี้ส่งผลให้ทั้งสามพระองค์ได้พัฒนาความคิดและความสามารถโดยที่ไม่ทรงรู้ตัว ตัวอย่างเช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างหลุมที่เกิดจากการปลูกต้นไม้ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ทดลองขุดดิน ใส่น้ำ ปลูกต้นไม้ จะสามารถสร้างแอ่งน้ำขึ้นมาได้ด้วยพระองค์เอง […]

เตรียมตัวรับมือให้พร้อมกับการเป็นคุณแม่อย่างเต็มตัว กับ 14 วิธีรับมือลูกแรกเกิด ขอบคุณบทความดีๆ จาก คุณหมอ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลาย ๆ คนคงเคยฝึกการอาบน้ำเด็กอ่อนจากคลินิกฝากครรภ์ หรือ จากโรงพยาบาลมาก่อน ซึ่งเป็นทักษะสำคัญที่ต้องเรียนรู้อย่างหนึ่งสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ เพื่อที่จะได้อาบน้ำสระผมให้กับลูกน้อยของเราอย่างถูกวิธีและมีความปลอดภัย ซึ่งการอาบน้ำเด็กแรกเกิดนั้น ก็มีขั้นตอนและวิธีการที่ไม่ยากจนเกินไป เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่มือใหม่สามารถทำตามได้อย่างแน่นอน อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมมีอะไรบ้าง มีขั้นตอนอย่างไร ต้องระวังเรื่องไหนเป็นพิเศษบ้าง ในบทความนี้เรามีข้อมูลดีๆ มาฝากค่ะ   ชวนคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ มาดูขั้นตอนการอาบน้ำเด็กแรกเกิดยังไง ให้ถูกวิธี คุณพ่อคุณแม่มือใหม่บางคนอาจจะมีความกังวลในเรื่องของการอาบน้ำให้เด็กอ่อนหรือ เด็กแรกเกิด เพราะว่าเด็กเล็กนั้นมีร่างกายบอบบาง ยังไม่แข็งแรง หากอาบน้ำไม่ถูกวิธีก็อาจจะทำให้ลูกน้อยของเราไม่สบายได้ อย่างไรก็ตาม การทำความสะอาดชำระร่างกาย และดูแลสุขอนามัยของเด็กแรกเกิดนั้นไม่ใช่เรื่องยากเลยค่ะ เพียงแต่ว่าเด็กเล็กมีผิวที่บอบบาง จึงเสี่ยงต่อการระคายเคืองได้ง่าย ทั้งนี้ เด็กเล็กยังมีภูมิคุ้มกันต่ำ จึงอาจไม่สบายได้ง่าย คุณพ่อคุณแม่มือใหม่จึงจำเป็นที่จะต้องรู้วิธีอาบน้ำเด็กแรกเกิด ที่ถูกต้องและเหมาะสมกับวัยของลูกน้อย แล้วจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง อุปกรณ์ที่ต้องใช้มีอะไรบ้าง มีวิธีการอย่างไร มาดูกันเลยค่ะ  อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมสำหรับการอาบน้ำเด็กแรกเกิด  วิธีอาบน้ำเด็กแรกเกิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ทำตามได้ไม่ยาก   1. ให้คุณแม่ หรือ คนที่จะอาบน้ำให้เด็ก เตรียมตัวให้พร้อมผู้ที่จะอาบน้ำให้เด็กเล็กควรถอดเครื่องประดับออกให้หมด ทั้งนาฬิกา แหวน สร้อยข้อมือ เพื่อป้องกันไม่ให้ไปขีดข่วนโดนตัวเด็ก พร้อมกับล้างมือถูสบู่ให้สะอาดก่อนอาบน้ำให้เด็กทุกครั้ง ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ หรือ ผู้ดูแลควรตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการข่วนผิวหนังของเด็กด้วยค่ะ […]

รวมสุดยอดวิธี เลือกเป้อุ้มทารก เพราะเป้อุ้มเด็ก  เป็นเครื่องทุ่นแรงที่สำคัญยิ่งสำหรับคุณแม่  ที่เรียกได้ว่าคืออุปกรณ์คู่กายคู่ใจที่พาคุณแม่และลูกน้อยไปทำกิจวัตรด้วยกันได้เสมอ เป้อุ้มลูกนี้จึงเป็นหนึ่งในสิ่งอำนวยความสะดวกประจำบ้านที่กำลังเลี้ยงลูกอ่อน ยิ่งเป็นครอบครัวเล็กที่คุณแม่ต้องเลี้ยงลูกคนเดียวไม่มีคนมาช่วยเลี้ยงลูก ในช่วงเวลาที่คุณพ่อไปทำงานนอกบ้าน  ยิ่งถือเป็นของใช้ที่จะช่วยให้คุณแม่ทำงานและกิจกรรมอื่นๆได้ พร้อมเลี้ยงลูกได้แบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งในยุคสมัยที่การหาเงินได้ฝืดเคือง และข้าวของใช้ราคาสูงเช่นนี้ การเลือกซื้อเป้อุ้มลูกทั้งที เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่จะต้องพิจารณาอย่างถ้วนถี่ และเลือกใช้ให้คุ้มค่ากับราคาที่ต้องจ่าย แต่จะรู้ได้อย่างไร? ว่าเป้อุ้มเด็กแบบไหนดี ทนทานปลอดภัย ใช้งานได้นานจนลูกโต ลองมาอ่านเทคนิคดีๆ เหล่านี้กันเลย 1. ตอบโจทย์การใช้งาน การเลี้ยงลูกของครอบครัว นั่นคือการเลือกให้ตรงกับสไตล์การเลี้ยงลูกของครอบครัว การทำงานของคุณพ่อคุณแม่และการเดินทางของคนในบ้าน ซึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ  ได้แก่  ขนาดของครอบครัวและคนช่วยเลี้ยงลูก เพราะหากเป็นครอบครัวเล็ก คุณแม่ต้องเลี้ยงลูกคนเดียว คุณพ่อไปทำงาน จำเป็นต้องใช้เป้อุ้มลูก สำหรับเวลาทำงานบ้าน ทำธุระหรือจำเป็นต้องออกไปซื้อของนอกบ้าน   แม้แต่เป็นครอบครัวใหญ่ อาจจะได้ใช้เวลาคุณแม่ต้องทำธุระ ผลัดกันใช้เวลาเดินทางไปข้างนอก  สิ่งของที่ใช้กับลูก เวลาที่ต้องพาลูกออกนอกบ้าน เพราะหากคุณพ่อคุณแม่มีข้าวของเครื่องใช้ที่ไม่ต้องพกไปมาก การใช้เป้อุ้มเด็กก็จะทำให้สะดวก พ่อแม่ถือของใช้ และซื้อของได้สบาย ไม่ต้องใช้มืออุ้มหรือเข็นลูก หรือหากเวลาไปไหนที่ต้องใช้พื้นที่จำกัดการใช้เป้อุ้มเด็กก็จะไม่ต้องเปลืองพื้นที่เพราะพับเก็บได้ พกพาง่ายกว่ารถเข็น    การเดินทางของครอบครัว หมายถึงสังเกตการใช้ชีวิตของครอบครัวว่า ต้องออกไปต่างจังหวัด หรือไปเยี่ยมญาติบ่อยหรือเปล่า ใช้เวลาพาลูกออกนอกบ้านนานแค่ไหน หากต้องไปที่ไหนไม่นานนัก การใช้เป้อุ้มเด็กจะมีความคล่องตัวสะดวกกว่ารถเข็น  แต่หากต้องใช้เวลาเดินหรือยืน เดินทางนานเป็นชั่วโมง อาจเลือกใช้รถเข็นจะดีกว่า   […]

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ที่กำลังจัดเตรียมอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ สำหรับลูกน้อย อาจได้รับคำแนะนำจากเพื่อนๆ หรือแพทย์ สำหรับการจัดเตรียมอุปกรณ์ ฆ่าเชื้อโรคของใช้ต่างๆ ให้พร้อมก่อนคลอด จากในอดีตหลายๆ บ้าน อาจคุ้นเคยกับการลวกด้วยน้ำร้อน 100 องศาขึ้นไป ในการฆ่าเชื้อขวดนม ภาชนะ ไปจนถึงเสื้อผ้า ปลอกหมอนผ้าปูที่นอน ของเด็กได้ แต่ด้วยสถานการณ์การระบาดของโควิดในปัจจุบัน ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายบ้านอดห่วงไม่ได้ว่าเชื้อไวรัสนั้นจะหลุดรอดเข้ามาถึงตัวลูกน้อยของเราได้จากของใช้อื่นๆ ที่ไม่สามารถฆ่าเชื้อด้วยการ ลวก หรือการนึ่งได้ และมีบทความทางการแพทย์มากมาย ระบุว่า การนำพลาสติกไปลวกด้วยความร้อนสูง จะก่อให้เกิดการตกค้าง ปนเปื้อนของ ไมโครพลาสติก ที่สามารถเข้าสู่ร่างกายของลูกน้อยก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ จึงมีการผลิตคิดค้น และนำเข้า เครื่องอบยูวี สำหรับใช้ในบ้าน ซึ่งเป็นการใช้พลังงานจากรังสี UV-C ในการฆ่าเชื้อโรคร้ายที่อาจติดอยู่ตามข้าวของเครื่องใช้ของลูกน้อย และฆ่าเชื้อของใช้คุณพ่อคุณแม่ได้อีกด้วย ประโยชน์ของรังสี UV-C ส่วนประกอบสำคัญของ เครื่องอบ UV-C คือหลอด UV-C ซึ่งมีคุณสมบัติในการปล่อยรังสี UV-C มาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคได้จริง แม้แต่เชื้อไวรัสโควิดก็ไม่รอด ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก และมีผลวิจัยต่างๆ จากหลากหลายสถาบันยืนยันแล้วว่า รังสี UV-C สามารถฆ่าเชื้อไวรัสโควิดได้ 99.99% […]

เมื่อลูกน้อยของเราเริ่มโตขึ้นและมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป นอกจากการให้นมแม่แล้ว คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนอาจจะกำลังมองหาอาหารเสริมอื่น ๆ ให้กับเด็ก ๆ เพื่อรับประทานร่วมกับนมแม่ เป็นการเพิ่มคุณค่าทางโภชนการให้ลูกน้อย ให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้น และยังเป็นการฝึกให้เริ่ม  กินอาหารชนิดอื่นนอกจากนมแม่อีกด้วย โดยทั่วไปแล้วเรามักจะคุ้นเคยกับวิธีการเตรียมอาหารบดละเอียดให้ลูก แต่ปัจจุบันมีการกินที่เรียกว่า BLW (Baby-Led Weaning) ที่เป็นการฝึกให้ลูกน้อยของเราได้ช่วยเหลือตัวเองตั้งแต่เล็ก และยังส่งผลดีต่อการพัฒนาการของลูกอีกด้วย BLW คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร ส่งผลดีต่อเด็กอย่างไร และคุณแม่จะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ BLW คืออะไร ? ชวนรู้จักวิธีการฝึกลูกน้อยกินข้าวมื้อแรกด้วยตัวเอง ผู้ปกครองหลายคนอาจเกิดความสงสัยว่า BLW คืออะไร ? Baby – Led Weaning หรือ BLW คือการฝึกให้ลูกของเรากินอาหารได้ด้วยตัวเองตั้งแต่มื้อแรก โดยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเตรียมอาหารปั่นหรืออาหารบดให้ลูกน้อย แต่เป็นการให้ลูกน้อยใช้มือหยิบจับอาหารนิ่ม ๆ เป็นชิ้นเล็ก ๆ และกินด้วยตัวเอง ให้ลูกได้ฝึกหยิบจับอาหาร ฝึกเคี้ยว และช่วยเหลือตัวเองตั้งแต่เด็ก จะนั่งกินเองหรือนั่งกินไปพร้อมกับคุณพ่อคุณแม่ก็ได้เช่นกัน โดยสามารถฝึกให้ลูกกินแบบนี้ได้ตั้งแต่อายุ 6 […]

Menu
All Categories
All Brands
All Ages
Promotions
Locations
BabyGift Family
BabyGift Care
Parents Guide
News & Event

All Categories

All Categories
All Brands
All Ages