แชร์ 10 วิธีรับมือ ลูกร้องไห้ ดิ้นบนพื้นนอกบ้าน

หลายครั้งที่เห็น ลูกร้องไห้ ชอบโวยวายเวลาถูกขัดใจในที่สาธารณะ บางครั้งถึงกับลงไปนอนดิ้นบนพื้นกันเลย ถือเป็นเรื่องน่าหนักใจไม่น้อยสำหรับผู้ปกครอง เรียกว่าเป็นพฤติกรรมของเด็ก ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่หลายท่านไม่อยากให้เกิดขึ้นกับลูกตัวเองอย่างแน่นอน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรจะทำความทำเข้าใจในวัยของลูกก่อน ซึ่งการเตรียมพร้อมรับมือและฝึกลูกสม่ำเสมอ จะช่วยเสริมสร้าง EQ ให้ลูกได้ ให้ลูกได้รู้จักอารมณ์ของตนเอง และฝึกควบคุมหรือระงับอารมณ์ของตนเองได้

ลูกร้องไห้ ดิ้นบนพื้นในที่สาธารณะ จะแก้ไขอย่างไรดี

เด็กวัยไหน ร้องไห้อาละวาดบ่อยที่สุด

ลูกร้องไห้ อาละวาดในเด็ก จะพบได้ตั้งแต่อายุ 12 – 18 เดือน แต่ส่วนใหญ่จะพบบ่อยในช่วงอายุ 2 – 3 ปี ซึ่งมีสถิติพบว่า เด็กประมาณ 50-80% จะมีการร้องอาละวาดอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และจะค่อย ๆ ลดลงเมื่ออายุ 4 ปี ซึ่งส่วนใหญ่การร้องอาละวาดของเด็กมักจะใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที

สาเหตุ ลูกร้องไห้ อาละวาดดิ้นบนพื้น

  • เด็กเริ่มมีพัฒนาการด้านอารมณ์

เป็นพัฒนาการปกติที่เด็กเริ่มมีความรู้สึกอยากเป็นตัวของตัวเอง (Autonomy) แต่วัย 1 – 3 ปี จะยังไม่สามารถแสดงความต้องการของตนเองได้ดีนัก ไม่รู้ว่าจะแสดงอารมณ์อย่างไร แบบไหน ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เมื่อเวลาที่ถูกขัดใจ ไม่พอใจ โกรธและเสียใจ เกิดความคับข้องใจ ก็จะควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ จึงมักแสดงออกมาในรูปของการกรีดร้อง ร้องไห้ไปกรี๊ดไป นอนชักดิ้นชักงอกับพื้น กระทืบเท้าไม่พอใจ ฟาดแขนขา ทำร้ายตนเอง ทำร้ายผู้อื่น เป็นต้น

  • เกิดจากการเลี้ยงดูแบบตามใจมากเกินไป

ลูกร้องไห้โวยวายอยากได้อะไร ก็รีบให้ทันที เพราะทนเห็นลูกร้องไห้ไม่ได้ ซึ่งการทำแบบนี้ ลูกก็จะเรียนรู้ว่าการที่เขาอาละวาดเสียงดัง เขาก็จะได้ดั่งใจเสมอ ทำให้ลูกเอาแต่ใจมากขึ้น หรือบางครั้งคุณพ่อคุณแม่ครั้งนึกจะเข้มงวด ก็ใช้วิธีลงโทษที่รุนแรงเกินไป ทั้ง ตำหนิเสียงดัง ดุด่าด้วยถ้อยคำรุนแรง ก็เป็นอีกสาเหตุทำให้ลูกหงุดหงิดไม่พอใจได้ง่าย

  • ลูกมีพื้นอารมณ์แบบเด็กเลี้ยงยาก (Difficult temperament)

ลูกมีจังหวะการนอน การกิน หรือการขับถ่ายไม่เป็นเวลา ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงยาก อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีความอดทนต่ำ ความรู้สึกไวต่อสิ่งเร้าทางร่างกาย อารมณ์และความรู้สึก ทำให้ร้องอาละวาดได้ง่าย  ยิ่งหากพ่อแม่ตอบสนองต่อความต้องการไม่ถูกต้องเหมาะสม ก็จะยิ่งกระตุ้นให้ลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น

  • ลูกมีปัญหาสุขภาพและพัฒนาการ

เช่น ออทิสติก สมาธิสั้น มีปัญหาสายตาหรือการได้ยิน มีพัฒนาการภาษาล่าช้า จึงทำให้สื่อสารในสิ่งที่ต้องการไม่ได้ จึงแสดงด้วยอาการร้องอาละวาดได้ง่าย

10 วิธีรับมือ เมื่อลูกงอแงร้องไห้ดิ้นบนพื้น

  1. อุ้มลูกขึ้น จับให้เขาหยุด หากเห็นว่าลูกร้องไห้มีอาการรุนแรงถึงขั้นขว้างปาสิ่งของ หรืออาจได้รับอุบัติเหตุ ให้คุณพ่อคุณแม่รีบเข้าไปรวบตัว อุ้มจับให้เค้าหยุดทันที แล้วค่อย ๆ พูดกับลูกว่า ไปกันลูก หนูทำแบบนี้ไม่ได้นะ ห้ามทำลายข้าวของ แม่รู้ว่าหนูโกรธ แต่ทำไม่ได้
  2. นิ่งเฉย ใช้ความสงบสยบอารมณ์ลูก หากอยู่ที่สาธารณะกลางห้างหรือตลาด ให้จับลูกออกมาห่างจากสินค้า หรือคนอื่นจะได้ไม่รบกวนคนอื่น และปล่อยให้ลูกดิ้นไป ไม่ต้องสนใจ เดินหนีออกมา บอกลูกว่าแม่จะไปก่อนหากหนูไม่เงียบ แล้วรอให้เค้าสงบสติอารมณ์ก่อน แล้วค่อยเดินเข้าไปหาลูก
  1. ปลอบด้วยการกอด พูดด้วยเหตุผล ว่าพ่อแม่เข้าใจลูกรู้ว่าหนูไม่พอใจ แต่ให้ไม่ได้ หนูทำไม่ได้ เพราะเด็กบางคนแค่ต้องการความสนใจ ให้รู้ว่าเขาไม่พอใจหรือเสียใจ ฉะนั้นแค่การกอดลูกเบา ๆ และพูดด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน ลูกเป็นอะไร ลูกเจ็บตรงไหนรึเปล่า เป็นการดึงสติให้ลูกสงบและว่าพ่อแม่ใส่ใจ ลูกจะค่อย ๆ รู้สึกถึงสัมผัสที่นุ่มนวลอบอุ่นจากพ่อแม่ทำให้ ความโกรธ โมโห น้อยใจต่าง ๆ จะลดลง
  2. ไม่ตำหนิ ลงโทษ ตี ดุว่า ตะคอก หรือหงุดหงิดใส่  เพราะจะยิ่งทำให้ลูกรู้สึกอยากเอาชนะ และการใช้กำลังจะทำให้ทำลูกรู้สึกกดดัน เกิดการต่อต้านหนักมากยิ่งขึ้น  ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ความรุนแรง ไม่ลงโทษเมื่อลูกร้องอาละวาด
  1. ดึงดูดความสนใจลูกด้วยสิ่งอื่น เวลาที่ลูกร้องไห้บนพื้น คุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจในช่วงแรกโดยเฉพาะเด็กเล็ก เช่น “ไม่ร้องนะคะคนเก่ง อุ้ย..ไปดูปลาตรงโน้นกันดีกว่า”  “ดูสิตรงนั้นมีแมวเหมียว ไปดูกันนะจ๊ะ”  หรือ ลองหาของเล่นเด็กดึงดูดความสนใจ เช่น HUILE TOYS พวงมาลัยรถ Happy Mini Steering Wheel, HUILE TOYS ชุดกระเป๋าแต่งหน้า Princess Suitcase หรือ Prince&Princess กล้องถ่ายรูป ของเล่นเด็ก รุ่น Instant Polaroid ซึ่งเป็นของเล่นที่ดึงดูดความสนใจได้ดี ปรับเปลี่ยนการเล่นได้หลากหลาย ให้เด็ก ๆ ไม่เบื่อง่าย ๆ
  1. ใช้วิธีแยกลูก หากลูกโตขึ้นมาอยู่ในวัยอนุบาลขึ้นไป เวลาร้องดิ้นอาละวาด อาจใช้วิธีแยกให้ลูกอยู่คนเดียว (time-out) และเก็บสิ่งของที่อาจเป็นอันตรายให้พ้นมือเด็ก เพื่อให้ลูกได้สงบสติอารมณ์ก่อนพูดคุยกัน
  2. หากลูกทำร้ายตนเอง ทำร้ายผู้อื่นหรือทำลายข้าวของ ให้จับลูกออกมาจากบริเวณนั้น กอดหรือจับมือลูกไว้จนกว่าเด็กจะสงบ
  3. เมื่อลูกสงบแล้วให้เข้าไปคุยกับตามปกติ ถึงสิ่งเกิดขึ้นและวิธีการแก้ไข พูดด้วยเหตุและผลและแสดงความเข้าใจ ว่าแม่รู้ว่าหนูอยากได้ หนูโกรธแต่อันนี้เรามีแล้ว เราไม่ซื้อแล้ว หรือให้ลูกรู้จักรอ เช่น เอาไว้วันเกิดค่อยซื้อใหม่ เพื่อสอนให้เค้า ความอดทน รู้จักรอ  ซึ่งช่วงแรก ๆ ลูกอาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจ แต่ถ้าสอนบ่อย ๆ ลูกก็จะรู้ได้เอง เป็นการฝึกให้ลูกมี EQ คือ ความฉลาดทางด้านอารมณ์ รู้อารมณ์ของตนเอง สามารถควบคุมหรือระงับอารมณ์ของตนเองได้เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ
  4. สังเกตและดูแลความปลอดภัยให้ลูก พ่อแม่ต้องตรวจสอบสถานที่โดยรอบว่าปลอดภัยหรือไม่ในขณะที่ลูกร้องดิ้นบนพื้น เช่น ไม่มีสิ่งของแตกหัก ไม่มีของใช้ที่จะตกหล่นลงมาทำอันตราย ลูกไม่ทำร้ายใคร หรือขว้างปาข้าวของ เพราะหากมีสิ่งที่เป็นอันตรายหรือเสี่ยงต่ออุบัติเหตุควรรีบหยุดลูก และอุ้มพาลูกออกไปทันที ไม่ต้องรอปลอบโยน หรือปล่อยให้ลูกสงบเอง แม้ลูกจะร้องอยู่ก็ตาม

วิธีสอนและป้องกันไม่ให้ลูกแสดงพฤติกรรมร้องไห้ดิ้นบนพื้น

  1. กำหนดกฎกติกาให้เหมาะสมกับอายุลูก โดยทำข้อตกลง กำหนดขอบเขตของสิ่งที่ลูกทำได้หรือทำไม่ได้ให้ชัดเจน และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดนั้นอย่างสม่ำเสมอ หรืออาจจะสัญญากับลูกก่อนว่า ถ้าลูกอยากไปด้วย ห้ามงอแง ห้ามโวยวาย ไม่อย่างนั้นแม่จะไม่พาไปข้างนอกอีก สอนให้เขารักษาสัญญา
  2. เตือนล่วงหน้า เปิดโอกาสให้ลูก เช่น เตือนล่วงหน้า  ว่าอีก 10 นาที เรามาเก็บของเล่นกันแล้วไปทานข้าวนะจ๊ะ ซึ่งการให้ลูกเลิกกิจกรรมที่สนใจ ให้เลิกเล่น ถ้าให้เลิกเลยตอนนั้น อาจกระตุ้นให้ลูกไม่พอใจ จึงควรเตือนลูกล่วงหน้าหรือให้ทางเลือกก่อนจะให้เขาเลิกทำกิจกรรมนั้น
  3. สอนลูกให้ใช้คำพูดแสดงความรู้สึก เช่น “หนูโกรธแล้วนะ” หรือตั้งคำถามว่า “ทำไมหนูถึงซื้อของเล่นนี้ไม่ได้”เพื่อให้ลูกรู้จักวิธีการแสดงออกทางอารมณ์ บอกอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้พ่อแม่เข้าใจ โดยไม่ใช้วิธีแสดงอารมณ์ทางร่างกายหรือใช้ความรุนแรง
  4. หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ลูกหงุดหงิดง่าย เช่น การทำกิจกรรมที่เกินสามารถตามวัย ของลูก เพราะลูกอาจจะยังทำไม่ได้ หรือควรให้เวลาลูกในการช่วยเหลือตัวเองหรือเริ่มทำสิ่งใหม่ ๆ เพื่อไม่ให้ลูกหงุดหงิดที่ตัวเองทำไม่ได้ทันที แต่หากลูกเริ่มหงุดหงิดควรพยายามเบี่ยงเบนความสนใจ หรือบอกลูกว่าเอาไว้ลองทำใหม่ในครั้งหน้าแทน
  5. เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูก ไม่พูดหรือแสดงพฤติกรรมที่รุนแรง เพราะลูกจะเลียนแบบได้ และควรแสดงออกถึงสิ่งดี ๆ เป็นตัวอย่างให้ลูก เช่น “พ่อขอโทษนะครับที่ทำให้ลูกรอ” “ขอบคุณนะคะที่ให้ของเล่นแม่” เป็นต้น เพื่อให้ลูกซึมซับการแสดงออกที่เหมาะสมได้

แต่ถ้าหากพยายามสอนและลองทำทุกวิธีแล้ว แต่ลูกยังไม่เชื่อฟัง ยังอาละวาดเป็นประจำ อาจลองพาลูกไปปรึกษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่นโดยเฉพาะ เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมกับลูก เพื่อให้ลูกมีความฉลาดทางอารมณ์มากขึ้น

 

ขอบคุณข้อมูลจาก  สถาบันราชานุกูล และ โรงพยาบาลสินแพทย์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

code