ขวดนมที่ไม่มี BPA ปลอดภัย ใช้ได้นานกว่าจริงหรือ???

Q: ขวดนมที่ไม่มี BPA ปลอดภัย ใช้ได้นานกว่า ? A :ขวดนม PP ไม่มี BPA อายุการใช้งานสั้นกว่า PC ที่มี BPA โดยทั่วไป พลาสติกแต่ละชนิด จะมีอายุการใช้งานที่ต่างกัน ยิ่งต้ม ยิ่งนึ่ง ยิ่งขัด ก็ยิ่งเสื่อมสภาพเร็ว ขวดนม PP ทนอุณหภูมิ -20 – 110 ˚C มีอายุการใช้งานเฉลี่ย 6 เดือน และอาจเหลือ 3 เดือนถ้านึ่งหรือต้มบ่อยเกินไป ขวดนม PES ทนอุณหภูมิ -50 – 180 ˚C มีอายุการใช้งานเฉลี่ย 6 เดือน ถึง 1 ปี ขึ้นกับการดูแลรักษา และความถี่ในการต้ม หรือนึ่งฆ่าเชื้อ ขวดนม PPSU ทนอุณหภูมิ -50 – 180 ˚C มีอายุการใช้งานเฉลี่ย […]

ขวดนม อุปกรณ์ปั๊มนม ต้องต้ม นึ่ง ทุกครั้งหรือไม่?

Q: ขวดนม อุปกรณ์ปั๊มนม ต้องต้ม หรือนึ่ง ให้ปราศจากเชื้อทุกวัน ? A: การนึ่ง หรือต้มฆ่าเชื้อขวดนมและจุกนมหลังใช้งานทุกวันจะทำให้ขวดนมพลาสติกและจุกนมเสื่อมสภาพเร็วขึ้นกว่าปกติ และไม่ได้ช่วยป้องกันโรคให้ทารกเพิ่มขึ้นมากไปกว่าล้างด้วยน้ำสบู่อุ่น ๆ หรือล้างด้วยน้ำร้อนผสมน้ำยาล้างขวดนมหลังใช้งาน การขยันทำให้ปลอดเชื้อมากเกินไป (over-sterilize) ไม่มีประโยชน์กลับเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมให้เชื้อที่ทนความร้อน และสร้างสปอร์ได้เพิ่มมากขึ้น (เพราะคุณไม่ได้ใช้หม้อความดัน หรือฉายรังสี) และทารกจะอาจได้สารพวกโพลีเมอร์ หรือฟอร์มัลดีไฮด์ปนเปื้อนออกมาจากพลาสติกที่เสื่อมสภาพแทน  สมาคมกุมารแพทย์อเมริกัน และ USFDA แนะนำให้ต้มหรือนึ่งฆ่าเชื้อขวดนม และอุปกรณ์ปั๊มนมเฉพาะครั้งแรกที่ใช้งานจากนั้นให้ล้างด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างขวดนมผสมน้ำอุ่น ทุกครั้งหลังใช้งานก่อนผึ่งให้แห้ง โดยไม่ให้้ใช้ผ้าเช็ด กรณีที่ต้องต้มหรือนึ่งฆ่าเชื้อทุกวันคือช่วงทารกป่วย เช่น ท้องร่วง หรือ เป็นฝ้าขาวในปาก คุณแม่ที่กังวลอาจนึ่งหรือต้ม ทุก 3-4 วัน สำหรับนมชง ทุก 1 สัปดาห์สำหรับนมแม่ทั้งนี้ จะต้องไม่มีการปล่อยให้นมบูดคาขวด (ถ้านมบูดคาขวดต้องต้มหรือนึ่งฆ่าเชื้อใหม่เสมอ) อย่างไรก็ตามไม่มีกฎตายตัว หากบ้านมีสภาพแวดล้อมที่ไม่สะอาด อยู่ใกล้แหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค อาจพิจารณาต้มหรือนึ่งให้บ่อยขึ้น สำหรับประเทศไทยที่มีภูมิอากาศร้อนชื้นมีโรคเขตร้อนที่เป็นโรคทางเดินอาหารมาก และประชากรมีสุขอนามัยไม่แน่นอน กุมารแพทย์ไทยหลายท่านอาจแนะนำให้คุณแม่ต้มหรือนึ่งขวดนมทุกวัน และกรณีที่ห้องครัวมีความสกปรกอับชื้นท่อน้ำไม่สะอาด หรือมีกระบะทรายแมวในห้องครัว (ซึ่งไม่ควรมี) คุณแม่อาจเลี่ยงไปตากขวดนม และจุกนมที่อื่นที่มีอากาศถ่ายเท คุณแม่ที่ปั๊มนมห้ามใช้สบู่เหลวในห้องน้ำที่ทำงานล้างขวดนม […]

เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางด้วยคาร์ซีท

คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ จำเป็นต้องเดินทางอยู่บ่อยๆ และการที่จะพาลูกน้อยเดินทางไปด้วย โดยเฉพาะครอบครัวที่เพิ่งมีลูกเล็ก การดูแลในการเตรียมความพร้อมสำหรับเดินทางให้ปลอดภัยจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง คาร์ซีท Carseat จึงเป็นตัวช่วยหนึ่งสำหรับครอบครัวที่ต้องเดินทางอยุ่บ่อยๆ ค่ะ เทคนิคการเลือกซื้อคาร์ซีท Car seat แนะนำโดยคุณอรุณศรี พิริยเลิศศักดิ์ เจ้าของร้าน Baby Gift  ช่วงวัย เลือกคาร์ซีทตามวัยของลูก เพราะคาร์ซีทจะแบ่งตามเกณฑ์อายุของเด็ก ซึ่งบางตัวอาจจะใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด หรือตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 12 เดือน, แรกเกิดจนถึง 4 ปี หรือ 3 ปี ถึง 11 ปี เป็นต้น การเลือก คาร์ซีท Car seat ที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติที่สามารถรองรับแรงกระแทกได้ดี เบาะควรมีความนุ่มหยุ่นมากพอสมควร รูปทรง รูปทรงที่ดี จะต้องสามารถรองรับสรีระของเด็กได้ อย่างเช่น carseat ของเด็กวัยแรกเกิด ควรมีการปรับองศาในการนอนที่มากพอ เพราะเด็กวัยนี้กระดูกต้นคอ และกระดูกสันหลังยังไม่แข็งแรง คุณสมบัติของผ้าที่ห่อหุ้ม ควรมีคุณสมบัติที่ระบายอากาศได้ดี ไม่อับชื้น คุณสมบัติคาร์ซีท Aprica รุ่น marshmellow(ปัจจุบันไม่มีจำหน่ายแล้ว) ใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 4 ปี สามารถปรับเปลี่ยนรูปทรงได้ตามสรีระของเด็ก โดยทั่วไปแล้ว คาร์ซีทจะไม่มีขาค้ำ […]

วิธีการเลือกคาร์ซีท

การเลือกคาร์ซีท carseat ที่ปลอดภัยสำหรับลูกน้อยของคุณทำไมถึงต้องใช้คาร์ซีท carseat ที่มีความปลอดภัยจึงจำเป็นต่อคุณและลูกน้อยล่ะ? หลายประเทศได้ออกกฏหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยของคาร์ซีท carseat สำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 ขวบ เนื่องจากคุณจะต้องใช้คาร์ซีท carseat ที่มีความปลอดภัยเพื่อป้องกันลูกน้อยจากอันตราย หรืออุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน ขณะที่เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ผู้โดยสารมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฏจราจร และหากคุณเดินทางพร้อมกับลูกน้อย โดยที่คุณจะต้องอุ้มลูกไว้ที่ตัก ก็อาจจะมีโอกาสที่คุณไม่สามารถที่จะอุ้มลูกได้อย่างมั่นคงและเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นลูกของคุณก็มีโอกาสที่จะได้รับบาดเจ็บสูงค่ะ ดังนั้นการมีคาร์ซีท ที่ปลอดภัยในรถยนต์ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยลดการบาดเจ็บของลูกน้อยได้ ทั้งนี้พึงระวังไว้ว่าการใช้คาร์ชีทที่ไม่ถูกต้อง อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงแก่เด็กมากขึ้น ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยสูงสุด คุณควรต้องเลือกใช้คาร์ซีท carseat ให้ถูกต้องพร้อมกับศึกษาการใช้งานอย่างถูกวิธีด้วยนะค่ะ หากไม่มีคาร์ซีท carseat ที่ปลอดภัยแล้ว อัตราการเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า จากสถิติได้แสดงให้เห็นว่าเมื่อเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ขวบนั่งบนรถยนต์ที่ปราศจากคาร์ซีท carseat ที่ปลอดภัยและประสบอุบัติเหตุ อัตราการเสียชีวิตจะมากกว่าการนั่งบนรถยนต์ที่ติดตั้งคาร์ซีท carseat ที่ปลอดภัยถึง 4 เท่า ***ข้อควรระวัง เมื่อใช้งานคาร์ซีท carseat ไม่ถูกวิธี จากผลสำรวจเมื่อปี 2008 โดยองค์การทางรถยนต์ประเทศญี่ปุ่น ( Japan Automobile Federation :JAF) เกี่ยวกับการใช้งาน คาร์ซีท carseat พบว่า 32.7 % ของคาร์ซีท carseat ที่ใช้งานนั้นติดตั้งอย่างไม่แน่นหนา ขณะที่อีก 67.3 % นั้นถูกพบว่ายังใช้งานได้ไม่ถูกต้องนัก ไม่ว่าจะเป็นการรัดสะโพกที่หลวมเกินไป หรือ การใช้งานที่หัวเข็มขัดที่ใช้ยึดที่นั่งไม่เหมาะสม ถึงแม้ว่าคุณจะเลือกใช้คาร์ซีท carseat ที่ถูกต้องแล้ว แต่หากการใช้งานไม่ถูกวิธีก็เท่ากับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับเด็ก เพื่อลดปัญหาดังกล่าว เราควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานคาร์ซีทให้ถูกต้อง ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อคาร์ซีท […]

ทำไมถึงต้องให้เด็กนั่งคาร์ซีท?

“นั่งคาร์ซีทแบบใหม่ ลูกปลอดภัยกว่าเดิม ให้เด็กหันหน้าไปด้านหลัง ลดแรงกระแทกจากอุบัติเหตุ” พ่อแม่ในอังกฤษต่างพากันตื่นตัว เมื่อทีมแพทย์แนะนำให้ลูกนั่งเบาะนิรภัยสำหรับเด็ก หรือคาร์ซีท จากการศึกษาลักษณะการติดตั้งของคาร์ซีทที่ประสบอุบัติเหตุบ่อยครั้งนั้น ทีมแพทย์เผยว่า การที่ให้เด็กนั่งคาร์ซีทแบบนั่งหันหน้าไปด้านหลังรถ มีความปลอดภัยมากกว่า ให้เด็กนั่งคาร์ซีทแบบที่นั่งหันไปทางหน้ารถ ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะสมกับเด็กแรกเกิดถึง 4 ปีเท่านั้น

พวกเรารักคาร์ซีท!!!

ไม่นานมานี้ดิฉันเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัดกับลูกๆทั้งสนุกสนานและปลอดภัยตั้งแต่ออกเดินทางจนถึงจุดมุ่งหมายเลยค่ะรู้สึกขอบใจตัวเองที่กัดฟันให้ลูกนั่งคาร์ซีท ตั้งแต่วันแรกที่ลืมตาดูโลก ทำให้ขับรถได้อย่างมีสมาธิ แต่กว่าจะถึงวันนี้ลูกก็เคยร้องไห้ประท้วงจนแหวะใส่เก้าอี้ตัวเองมาแล้ว ดิฉันใช้วิธีสงบสยบความเคลื่อนไหวร้องได้ร้องไป แค่ 15 นาทีเท่านั้น คลื่นลมก็สงบ ตั้งแต่นั้นมาลูกๆเรียนรู้เลยว่า เวลาขึ้นรถต้องไปนั่งที่ “เก้าอี้วิเศษ”  ของตัวเองและนั่งทุกครั้งแม้ระยะทางจะใกล้หรือไกลเพราะอุบัติเหตุอาจเกิดจากภัยในรถ เช่น ลูกทะเลาะกันที่เบาะหลัง (เจอมาแล้ว) หรือปีนป่ายจนได้รับอันตราย คุณแม่ท่านไหนที่ยังไม่มั่นใจในคาร์ซีท carseat ว่าจะช่วยวันยุ่งๆของคุณแม่ได้มากน้อยแค่ไหน ลองเคล็ดลับต่อไปนี้ดูสิคะ แล้วลูกคุณจะรัก “เก้าอี้วิเศษ” ของตัวเองขึ้นเยอะเลย สร้างความผูกพันกับเก้าอี้ อนุญาตให้ลูกเอาสติ๊กเกอร์มาตกแต่งเก้าอี้ เอาให้ถูกใจเลยเพราะต้องนั่งไปอีกนาน มอบรางวัล บอกลูกว่า เราจะออกเดินทางได้ก็ต่อเมื่อล็อกสายรัดนิรภัยเรียบร้อย แล้วลูกจะรีบทำตัวน่ารักเพราะอยากไปเที่ยว แต่ถ้ากำลังพาไปหาหมอ อาจให้ขนมเป็นรางวัลได้ เบี่ยงเบนความสนใจ ถ้าโยเยนัก ชวนคุยเรื่องการ์ตูนที่ลูกกำลังอินดีกว่า แค่นี้ก็เผลอจดจ่อกับการโม้เรื่องเจ้าหญิงกับฮีโร่ จนไม่ทันสังเกตว่า ตัวเองถูกจับนั่งเก้าอี้เรียบร้อยแล้ว (มุกนี้ไม่เหนื่อย แถมสนุกดีด้วย) เตรียมของเล่นแก้เบื่อ ควรมีของเล่นชิ้นโปรดอยู่ในรถ แนะนำว่าควรเป็นของเบาๆ และไม่แข็ง เช่น หนังสือผ้า เพราะคุณอาจโดนลูกเอาของในมือปาใส่ขณะขับรถ หรือเลือกเปิดเพลงที่ลูกชอบแล้วร้องไปด้วยกันก็ได้ หยุดพักบ้าง หากต้องเดินทางไกลควรเลือกใช้เก้าอี้ปรับนอนเอนได้ และจอดพักสักครู่เพื่อให้ลูกได้ยืดเส้นยืดสาย เคล็ดลับก่อนตัดสินใจเลือกซื้อคาร์ซีท อายุ ประเภทของคาร์ซีท […]

ถ้าลูกคือแก้วตาดวงใจของคุณ พิจารณาซักนิดก่อนเลือกใช้ คาร์ซีทมือสอง

คาร์ซีทถือว่าเป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยในรถที่สำคัญ ที่จะช่วยปกป้องชีวิตน้อยๆอันมีค่าเมื่อถืงคราวเกิดอุบัติเหตุ แต่ด้วยคาร์ซีทที่มีคุณภาพดีได้มาตรฐานความปลอดภัยและมีคุณสมบัติครบถ้วนจะผลิต และนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งมักมีราคาสูง จึงทำให้เกิดช่องว่างและทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนหันไปจับจองคาร์ซีทมือสองมาเป็นตัวเลือกให้ลูก โดยอาจมองข้ามความเสี่ยงนานับประการที่ลูกน้อยต้องเผชิญ เพื่อแลกกับความคุ้มค่าเพียงเล็กน้อย เราลองมาดูกันว่าถ้าคุณเลือกใช้คาร์ซีทมือสองแล้ว เจ้าตัวน้อยของคุณจะต้องเสี่ยงกับอะไรบ้าง มาตรฐานความปลอดภัยที่ลดลง เพราะคุณจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าคาร์ซีทมือสองนั้นได้ผ่านการเกิดอุบัติเหตุมาแล้วหรือไม่ คาร์ซีทมือสองที่ผ่านอุบัติเหตุมาแล้วอาจมีสภาพที่ยังดูใหม่สะอาด แต่โครงสร้างจะเปลี่ยนไป การประกอบจะไม่แน่นหนาเหมือนของใหม่ ยิ่งในสมัยนี้มีการนำเข้าคาร์ซีทมือสองจากต่างประเทศทะลักเข้ามาเป็นจำนวนมาก ความเสี่ยงยิ่งเพิ่มขึ้นหลายเท่า เพราะคุณไม่สามารถรู้ที่มาของคาร์ซีทนั้นได้เลย แต่ถ้าคุณจำเป็นต้องเลือกใชคาร์ซีทมือสองจริงๆ แนะนำให้ซื้อจากผู้ใช้งานเดิมที่คุณรู้จัก เช่น เพื่อนหรือญาติพี่น้องที่สามารถบอกประวัติการใช้งานที่แท้จริงเท่านั้น เพื่อจะได้มั่นใจว่าคาร์ซีทมือสองที่กำลังส่งมอบให้ลูกน้อยนั้นปลอดภัยและไม่เคยเกิดอุบัติเหตุจริงๆ    2.คาร์ซีทก็เหมือนของใช้ทั่วไปที่เสื่อมโทรมตามอายุการใช้งาน เพราะเมื่อเวลาผ่านไปพลาสติกซึ่งเป็นโครงสร้างที่สำคัญ ก็จะเริ่มเก่าและกรอบ ฟองน้ำ วัสดุรองรับกันกระแทกที่เคยนุ่มและโอบกระชับได้ดี ก็จะเริ่มฟีบ แบน แข็ง และไม่สามารถรองรับการกระแทกได้จริงเมื่อถึงคราวเกิดอุบัติเหตุ และที่อันตรายที่สุด คืออุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการติดตั้ง รวมถึงคู่มืออาจตกหาย ทำให้คุณติดตั้งผิดวิธีหรือไม่ได้มาตรฐานอย่างที่ควร ยิ่งทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเมื่อถึงคราวเกิดอุบัติเหตุ และเมื่อถือเวลาน้ันพ่อค้าแม่ค้าคนกลางเหล่านั้น คงตอบคุณได้แค่คำเดียวว่า “ไม่รู้” หรือ “ไม่ทราบ” ซึ่งคงไม่ช่วยให้ชีวิตน้อยๆ กลับคืนมาได้    3.แน่นอน!!!ขึ้นชื่อว่าพ่อค้าแม่ค้าแล้ว ทุกคนคือผู้หวังกำไรจากการขายสินค้า จึงทำให้ผู้ขายคาร์ซีทมือสอง หลายรายแอบอ้างชื่อแบรนด์ หรือชื่อรุ่นใหม่ๆ เพื่อเรียกราคาสูงๆทำให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายคนหลงเชื่อ และจ่ายราคาแพงขึ้นเพราะเชื่อว่าเป็นรุ่นใหม่ชนช๊อป เทียบห้าง หรืออาศัยเทคนิคการขายต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าตัวสินค้าให้ใกล้เคียงของใหม่แกะกล่อง คาร์ซีทมือสองบางตัวขายกันในราคาหลักหมื่นทั้งๆที่ตกรุ่นไปแล้ว ซึ่งผู้ผลิตอาจไม่มีอะไหล่สำรองเมื่อคราวต้องดูแลรักษา    4.พ่อค้าแม่ค้าบางคนอาจดูเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในตัวคาร์ซีททั้งๆ ที่จริงแล้วไม่เคยผ่านการอบรมเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องจากผู้ผลิต หรือบางรายอาจเป็นแค่ผู้ที่เคยใช้มาก่อนเท่านั้น จึงอาศัยประสบการณ์อันเล็กน้อยมาเป็นข้อมูลในการขาย […]

การติดตั้ง”คาร์ซีท” ทำอย่างไรให้ถูกวิธี

          ความสำคัญกับการมีคาร์ซีทของเจ้าตัวเล็ก ที่ติดตั้งอยู่ภายในรถเพื่อความปลอดภัยนั้น สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือการติดตั้งอย่างไรให้ถูกวิธี เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าการใช้คาร์ซีท หรือที่นั่งสำหรับเด็กบนรถยนต์นั้น มีความปลอดภัยมากกว่าการอุ้มเด็กไว้บนตัก เราจึงควรให้ความใส่ใจในเรื่องนี้ให้มากด้วยค่ะ ทางเราจึงขอแนะนำสิ่งดีๆ เกี่ยวกับการติดตั้งคาร์ซีทอย่างถูกวิธีมาฝากกันค่ะ   1. ติดตั้งคาร์ซีทโดยหันหน้าไปทางด้านหลัง           โดยทั่วไป เราย่อมคิดว่าเด็กควรหันหน้าไปทางหน้ารถ แต่ตามคำแนะนำของสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา แนะนำว่า “ทารก” ควรนั่งแบบ Rear Facing หรือติดตั้งคาร์ซีทโดยหันหน้าไปทางด้านหลัง จนอายุ 2 ขวบ หรือความสูงและน้ำหนักถึงเกณฑ์ ส่วนหนึ่งเพราะคอของทารกยังไม่แข็งแรง หากคุณพ่อคุณแม่เบรกอย่างรุนแรงอาจเป็นอันตรายได้ค่ะ แต่วิธีนี้อาจทำให้เจ้าตัวเล็กร้องโวยวายได้เป็นเดือนๆ เลย เพราะเขาจะมองไม่เห็นหน้าคุณพ่อคุณแม่ของเขานั่นเอง ดังนั้น ควรทำใจเย็นๆ และหาของเล่นมีเสียงกรุ๋งกริ๋งติดรถไว้บ้าง เผื่อไว้หลอกล่อลูกกันการแผดเสียงค่ะ   2. ไม่ควรติดตั้งคาร์ซีทที่เบาะด้านหน้า           หากเกิดอุบัติเหตุ การทำงานของถุงลมนิรภัยจะทำให้ลูกน้อยเป็นอันตรายได้นั่นเอง […]

ลูกเหงื่อออกมากผิดปกติ เป็นสัญญาณเตือนของ 3 โรคร้าย

เด็กบางคนจะมีเหงื่อออกมาก ทั้งบนศีรษะ หน้า หน้าอก แผ่นหลัง จนหมอน และชุดนอนเปียกชื้น โดยเฉพาะเด็กที่ปกติมีเหงื่อมาก เมื่อนอนไปได้สักระยะหนึ่งอุณหภูมิของร่างกายจะสูงขึ้น ทำให้มีเหงื่อออกจนคุณพ่อคุณแม่ตกใจเกรงลูกจะเป็นโรคร้าย เพราะมีคนกล่าวว่า เหงื่อออกมากเวลากลางคืนอาจจะเป็นอาการระยะเริ่มต้นของโรคต่างๆ ดังนี้ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดเมื่อหัวใจทำงานมากขึ้นเหงื่อก็จะออกมากขึ้นตามไปด้วย การที่หัวใจของลูกเต้นผิดปกติ จะทำให้เหงื่อของลูกออกมากไปด้วยเพราะระบบควบคุมการทำงานบางส่วนเป็นระบบเดียวกัน ส่วนมากจะเกิดกับเด็กที่เป็น ลิ้นหัวใจรั่ว หรือผนังกั้นหัวใจรั่ว อาการที่มีรวมกับการเหงื่อออกคือ เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง ปากคล้ำ การเจริญเติบโตช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน ภาวะติดเชื้อเด็กที่เป็นไข้ตัวร้อน และ เหงื่อออกมากผิดปกติ หัวใจเต้นเร็ว แสดงว่าเด็กอาจเกิดอาการติดเชื้อและกำลังใกล้ช็อก ควรพาลูกส่งโรงพยาบาลทันที อาการนี้จะดูยาก คุณแม่ต้องสังเกตควบคู่กับการรับประทานอาหารของลูกด้วยว่าทานได้มากเหมือนเดิมหรือไม่ มีอาการซึมไหม ถ้าลูกเริ่มไม่ตอบสนอง ควรรีบพาลูกส่งโรงพยาบาลทันทีค่ะ ภาวะไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ(hyperthyroidism) ถ้าลูกมีเหงื่อออกมากผิดปกติอาจเป็นผลมาจากความผิดปกติที่ทำให้เนื้อเยื่อไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ ทำให้มีการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ขึ้นมามาก เป็นสาเหตุทำให้เกิดหัวใจล้มเหลวแบบเลือดคั่ง (congestive heart failure) ,โรคกระดูกพรุน, และเกิดภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานเต็มขั้น เหงื่อออกปกติ เด็กอาจไม่ได้เป็นโรคอะไร แต่เป็นเด็กขี้ร้อน คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเรื่องความสะอาดของลูก เช่น อาบน้ำให้บ่อยขึ้น อยู่ในที่ๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก หรืออยู่ในที่ๆมีอากาศเย็นกว่าอุณหภูมิของห้องเล็กน้อย เวลานอนควรใส่เสื้อผ้าที่ไม่หนาจนเกินไป เหงื่อออกแบบผิดปกติ […]

ลูกมีเหงื่อออกมาก ผิดปกติหรือไม่???

“เวลาลูกสาววัย 5 เดือนดูดนมแม่ จะมีเหงื่อออกมาก โดยเฉพาะที่ศีรษะจะเปียกตลอดเลยทั้งที่อยู่ในห้องแอร์ ถือเป็นอาการผิดปกติหรือเปล่า”  เด็กต้องการพลังงานเทียบกับน้ำหนักตัวสูงกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากต้องใช้เพื่อการเจริญเติบโตและสร้างเนื้อเยื่อ อวัยวะต่างๆจึงต้องการใช้พลังงานสูงมาก เช่น เพื่อการสร้างเซลสมอง การสร้างเซลกล้ามเนื้อ ในขณะที่ผู้ใหญ่ต้องการพลังงานเพื่อการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ กล้ามเนื้อหัวใจในเด็กทารกเป็นเซลกล้ามเนื้อชนิดที่ล้าง่าย ต้องการพลังงานสูง ชีพจรของเด็กจึงเต้นเร็วกว่าผู้ใหญ่ เด็กแรกเกิดชีพจรเต้น 140 ครั้งต่อนาที และลดลงเรื่อยๆเมื่อเด็กเติบโตขึ้น จนเป็น 60-80 ครั้งต่อนาทีเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นความร้อนที่เกิดขึ้นจากการเผาผลาญพลังงานก็ย่อมมีมาก การระบายความร้อนออกจากร่างกายทำได้โดยการขับออกเป็นเหงื่อ ดังนั้นการที่เห็นว่าทารกนอนดูดนมเฉยๆ ทำไมถึงมีเหงื่อเยอะจัง เพราะภายในร่างกายของเขามีการทำงานอยู่ตลอดเวลา จึงไม่ผิดปกติค่ะ ขณะที่ผู้ใหญ่จะใช้พลังงานสูงเท่ากับที่เด็กทารกต้องการ ก็ต่อเมื่อมีการออกกำลัง จนชีพจรเต้นเร็วเท่ากับเด็กทารก ถึงเวลานั้นเราก็มีเหงื่อออกเต็มตัวเหมือนเด็กทารกเวลาดูดนมเช่นกัน อย่างไรก็ดีมีโรคบางอย่างที่ทำให้ทารกมีเหงื่อออกมากผิดปกติกว่าเด็กคนอื่น เช่น โรคหัวใจ โรคธัยรอยด์เป็นพิษ แต่ลูกควรมีอาการผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น เลี้ยงไม่โต ดูดนมแล้วดูเหนื่อยต้องหยุดเป็นพักๆ ตรวจร่างกายฟังได้ยินเสียงผิดปกติที่หัวใจ หากสงสัยว่าลูกเป็นโรคเหล่านี้ ให้ปรึกษากุมารแพทย์ได้ค่ะ หากตรวจแล้วพบว่าลูกปกติดี การมีเหงื่อออกเวลาดูดนม นอกจากช่วยระบายความร้อนแล้วยังช่วยให้ต่อมเหงื่อทำงานขับของเสียออกทางผิวหนังอีกทางหนึ่ง จึงไม่จำเป็นต้องเปิดแอร์ให้ลูกตลอดเวลา เพียงใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ง่าย และอยู่ในที่อากาศถ่ายเทจะดีกว่าค่ะ >>>ขอบคุณข้อมูล : สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ