เมื่อเป็นแม่ พาหะธาลัสซีเมียก็ไม่ได้ไกลตัวอย่างที่คิด

ก่อนหน้านี้ก็เคยคิดว่าเรื่องพาหะธาลัสซีเมียนี่เป็นอะไรที่ไกลตัวมากๆ แต่พอตั้งท้องเท่านั้นแหละ การเป็นพาหะฯ นี่เรื่องใกล้ตัวสุดๆ แถมทำให้กังวลมากมายเลยล่ะค่ะ ถ้าคุณแม่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ก็แสดงว่าคุณแม่อาจจะกำลังกังวลเรื่องนี้อยู่เหมือนกันใช่มั้ย สำหรับใครที่ยังไม่ค่อยเข้าใจว่าพาหะธาลัสซีเมียคืออะไร วันนี้เราก็นำความรู้มาฝากกันค่ะ เคยได้ยินผ่านๆ แต่ไม่เคยรู้เลยว่าพาหะธาลัสซีเมียคืออะไร? อันที่จริง การเป็นพาหะธาลัสซีเมียไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่สำหรับคนไทยเลยนะ เพราะมีคนไทยตั้งกว่า 24 ล้านคนที่เป็นพาหะโรคนี้ เผลอๆ เวลาเดินตามถนนเราอาจจะเจอคนที่เป็นพาหะอยู่เต็มไปหมด แถมเรายังอาจจะเป็นด้วยก็ได้นะ คนที่เป็นพาหะของโรคนี้ง่ายๆ ก็คือ คนที่มีเชื้อธาลัสซีเมีย “แฝง” อยู่ในร่างกาย เพราะงั้นคนที่เป็นพาหะจะมีสุขภาพที่แข็งแรงปกติเหมือนคนทั่วไปนี่แหละ ไม่ได้ออกอาการอะไร แต่อาจจะเลือดจางนิดหน่อย โรคธาลัสซีเมียนี้เป็นโรคที่ติดต่อได้ทางพันธุกรรม เพราะงั้น หากทั้งพ่อและแม่เป็นพาหะทั้งคู่ ลูกที่คลอดออกมาก็สามารถเป็นโรคธาลัสซีเมียได้ถึง 25% เลยนะ พูดง่ายๆ คือ พาหะก็เหมือนมีโรคอยู่ครึ่งนึง แม่มีครึ่ง พ่อมีครึ่ง พอมารวมกัน ลูกก็มีโอกาสที่จะได้รับโรคนี้ไปเต็มๆ เลยนั่นเอง แต่คุณแม่ก็อย่าเพิ่งกังวลเกินไปนะคะ เพราะหากคุณหมอตรวจพบว่าทั้งพ่อและแม่เป็นพาหะแล้ว ขั้นต่อไปคุณหมอจะดูว่าเป็นธาลัสซีเมียชนิดไหน เพราะถ้าเป็นคนละชนิดกัน ก็หายห่วง! พาหะธาลัสซีเมียมีกี่ชนิด แล้วต่างกันยังไง? พาหะธาลัสซีเมียมี 2 ชนิด ก็คือ อัลฟ่ากับเบตา อัลฟ่านี่จะค่อนข้างรุนแรง แต่มากน้อยก็แล้วแต่ยีนส์ที่แฝงอยู่นั่นแหละ ส่วนถ้าเป็นกลุ่มเบตาก็จะไม่ค่อยรุนแรงเท่าไหร่ […]