กรนและหยุดหายใจยิ่งอันตรายตอนท้อง

การนอนกรนของแม่ท้อง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ เช่น ท้องโตขึ้น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย การสูบฉีดเลือด ระบบไหลเวียนของเลือด รวมทั้งการเต้นของหัวใจ ซึ่งการสูบฉีดไหลเวียนเลือดที่มากขึ้น จะไปกระตุ้นเส้นเลือดในโพรงจมูก ทำให้มีภาวะบวมน้ำส่งผลให้เวลานอน จะรู้สึกหายใจไม่สะดวก และเกิดเสียงกรนนั่นเอง ประกอบกับลักษณะการนอนของคุณแม่ตั้งครรภ์นั้น ช่วง 3 เดือนแรก ของการตั้งครรภ์ คุณแม่จะนอนมากกว่าปกติ แต่ประสิทธิภาพ การนอนลดลง ช่วงหลับลึกและหลับฝันน้อยลง ทำให้ง่วงบ่อยและงีบในตอนกลางวัน ต่อมาช่วงอายุครรภ์ 4-6 เดือน คุณแม่จึงจะเริ่มนอนเหมือนปกติ แต่ประสิทธิภาพการนอนจะยังไม่เหมือนเดิม ทำให้คุณแม่รู้สึกเหมือนนอนไม่เต็มอิ่ม พอเข้า 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด อายุครรภ์ 6-9 เดือน คุณแม่จะนอนสั้นลง ประสิทธิภาพการนอนยิ่งแย่ลงไปอีกด้วย เพราะร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเยอะ และเป็นช่วงที่คุณแม่นอนกรนมากขึ้น ทั้งนอนกรนผิดปกติ หรือภาวะหยุดหัวใจขณะหลับก็จะเกิดขึ้นในช่วงใกล้คลอดนี้ด้วย แม้โอกาสเกิดขึ้นจะมีน้อยก็ตาม 6 ปัจจัยเสี่ยงภาวะหยุดหายใจเพิ่ม หากคุณแม่เป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยง ต้องติดตามและเฝ้าสังเกตอาการตัวเอง เพื่อป้องกันและรักษาต่อไป โดยกลุ่มเสี่ยงมีปัจจัยดังนี้ อ้วนก่อนท้อง น้ำหนักตัวเกินก่อนท้อง น้ำหนักเพิ่มมากเกินไประหว่างท้อง คือเพิ่มเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานของแม่ท้อง มีการสะสมไขมันที่รอบคอบมากเกินไป หรือเป็นคนคอสั้น มีความดันสูง […]