ท้องแบบนี้ขึ้นบินได้ไหมนะ

พอใกล้จะสิ้นปีคุณพ่อคุณแม่ก็เริ่มวางแพลนเที่ยวกันแล้วใช่มั้ยล่ะคะ ก่อนจะเริ่มจองที่พัก คุณแม่ก็คงจะฉุกคิดว่า เอ๊ะ คนท้องขึ้นเครื่องบินได้มั้ยนะ? แล้วขึ้นได้ถึงกี่เดือน? สองคำถามนี้เป็นคำถามยอดฮิตสำหรับแม่ท้องทั้งหลายทุกช่วงวันหยุดยาวเลยค่ะ วันนี้เราก็มีคำตอบมาให้คุณแม่หายสงสัยกันนะคะ ขอบอกข่าวดี คุณแม่สามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้นะ แต่จะขึ้นได้จนถึงอายุครรภ์ประมาณ 35-36 สัปดาห์เท่านั้นโดยขึ้นอยู่กับข้อบังคับของสายการบิน ความจริงแล้วการเดินทางโดยเครื่องบินก็ไม่ได้มีผลอะไรต่อลูกน้อยในท้องของคุณแม่เลยค่ะ ถ้าคุณแม่มีสุขภาพที่แข็งแรงแล้วก็ได้คอนเฟิร์มกับคุณหมอแล้วว่าไม่ได้มีภาวะเสี่ยงอะไร แต่สายการบินมักจะกลัวคุณแม่เจ็บท้องคลอดลูกบนเครื่องบินต่างหากล่ะ เพราะหากคุณแม่คลอดลูกบนเครื่องบินแล้วก็จะทำให้สายการบินมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แถมอาจจะยังไม่ค่อยสะดวกอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าแม่ท้องทั้งหลายจะซื้อตั๋วแล้วก็เดินขึ้นเครื่องได้เลยนะ มีเอกสารนิดหน่อยที่คุณแม่จะต้องเตรียมแล้วก็แจ้งเจ้าหน้าที่ตามด้านล่างนี้เลยค่ะ สิ่งที่คุณแม่ต้องทำก่อนขึ้นเครื่อง อย่าลืมพกใบรับรองแพทย์ คุณแม่ที่มีอายุครรภ์มากกว่า 27 สัปดาห์ ก่อนเดินทางคุณแม่อย่าลืมขอใบรับรองแพทย์ติดตัวไปด้วยนะคะ ใบรับรองแพทย์นี้จะเป็นสิ่งช่วยยืนยันว่าคุณแม่มีสุขภาพที่แข็งแรง คุณหมออนุญาตให้เดินทางได้ และคุณแม่มีอายุครรภ์ที่ไม่เกินจากที่ทางสายการบินกำหนด ดูดีๆ นะ ใบรับรองแพทย์อย่าให้เกิน 30 วันล่ะ ไม่งั้นอดขึ้นไม่รู้ด้วย บอกเจ้าหน้าที่ว่าคุณแม่กำลังตั้งท้อง เมื่อเช็คอินที่เคาน์เตอร์ให้คุณแม่รีบแจ้งกับทางเจ้าหน้าที่เลยค่ะว่าคุณแม่กำลังท้องอยู่ ทางเจ้าหน้าที่จะให้คุณแม่เซ็นเอกสารจำกัดขอบเขตความรับผิด พูดง่ายๆ ก็คือเป็นเอกสารที่บอกว่าคุณแม่จะไม่เอาผิดกับสายการบินหากมีอะไรเกิดขึ้นกับคุณแม่และลูกในท้องนั่นแหละ เอกสารนี้จะต้องนำไปยื่นให้กับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินด้วยตัวคุณแม่เอง นอกจากนี้ หากคุณแม่ไปเช็คอินแต่เนิ่นๆ คุณแม่ก็อาจจะรีเควสขอที่นั่งดีๆ มีพื้นที่กว้างๆ ด้านหน้าให้คุณแม่ยืดขาคลายเมื่อยด้วยนะ ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ก่อนจะเดินทางคุณแม่อย่าลืมค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานพยาบาลในที่ที่คุณแม่จะไปนะคะ เผื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นคุณแม่จะได้ถึงมือคุณหมอได้ทันเวลา นอกจากสถานพยาบาลแล้วคุณแม่ก็ควร จะหาข้อมูลเกี่ยวกับประกันการเดินทางที่ครอบคลุมการตั้งครรภ์ไว้ด้วยจะได้อุ่นใจขึ้นไปอีกระดับนึงค่ะ พอขึ้นเครื่องแล้วก็ทำจิตใจให้สบาย คุณแม่อาจรู้สึกปวดหลังเพราะนั่งนานเกินไป ลองมาดูวิธีผ่อนคลายง่ายๆ […]

วัคซีนกับแม่ท้องเป็นของคู่กัน

คุณแม่ฉีดวัคซีนกันหรือยังงงงง อย่ามัวแต่รีรอนะ เพราะว่าวัคซีนนั้นสำคัญมาก แต่ใครที่ฝากท้องกับคุณหมอแล้วก็ไม่ต้องห่วงค่ะ เดี๋ยวคุณหมอก็จะนัดฉีดเอง คุณแม่บางคนอาจจะสงสัยว่าเวลาท้องแล้วจะต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง วันนี้เราเลยนำความรู้เกี่ยวกับวัคซีนที่สำคัญสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มาฝากกันค่ะ ปกติแล้วการได้รับวัคซีนของคุณแม่ท้องจะแบ่งเป็น 2 ช่วง ก็คือช่วงก่อนตั้งครรภ์กับช่วงระหว่างตั้งครรภ์ ด้านล่างคือวัคซีนต่างๆ ที่สำคัญสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ค่ะ วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน (Rubella Vaccine) ใครเตรียมตัวเป็นคุณแม่ก็ไปฉีดวัคซีนตัวนี้ล่วงหน้าสัก 3 เดือนเป็นอย่างน้อยนะคะ อ๊ะๆ คนที่ยังไม่ได้ฉีดกำลังตกใจกันอยู่ใช่มั้ย อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ ถ้าคุณแม่ไม่เคยฉีดวัคซีนตัวนี้ก่อนท้อง คุณแม่ก็แค่ต้องดูแลตัวเองให้ดีๆ ในช่วงที่ท้องสามเดือนแรก หลักๆ คืออย่าไปที่ที่มีคนพลุกพล่าน เพราะมันเป็นแหล่งรวมเชื้อโรคเลยล่ะ ยิ่งถ้าไปเจอคนที่ไอหรือจามหรือเป็นไข้อะไรพวกนี้ด้วยแล้วก็ยิ่งเสี่ยงเข้าไปใหญ่เลย เพราะถ้าหากคุณแม่ติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมันตัวนี้เข้าในช่วงที่ท้องสามเดือนแรก มันจะส่งผลให้ลูกในท้องมีความพิการที่อวัยวะต่างๆ เช่น ตา หู หัวใจ แขน ขาหรือสมองได้ค่ะ คุณแม่ที่เป็นหัดเยอรมันจะมีอาการเหมือนเป็นไข้หวัดธรรมนี่แหละ แต่จะแถมด้วยผื่นขึ้นตามตัว แต่ว่าถ้าคุณแม่ติดเชื้อไวรัสนี้ในช่วงเดือนท้ายๆ ก็ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะลูกของเราจะไม่ได้รับผลกระทบจากเชื้อนี้เนื่องจากเค้าเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (Hepatitis B Vaccine) ไวรัสตัวนี้พบเยอะมากได้ประเทศไทยค่ะ คนที่เป็นก็จะแสดงอาการไม่เหมือนกันหรอก แต่ถ้าเป็นขั้นรุนแรงแล้วล่ะก็สามารถเสียชีวิตได้เลยค่ะ คนที่เป็นโรคนี้หนักๆ ตัวจะเหลือง อ่อนเพลียมากตลอดเวลาแล้วตับก็จะถูกทำลาย เจ้าเชื้อตัวนี้สามารถติดจากแม่สู่ลูกในท้องได้ แต่ก็ไม่ได้มีผลร้ายแรงอะไรนะคะ ที่บอกว่าติดต่อก็คือว่า […]

ภาวะครรภ์เสี่ยง ภาวะที่คุณแม่ไม่อยากเจอ

ไม่ว่าแม่ท้องท่านไหนก็ไม่มีใครอยากจะอยู่ในภาวะครรภ์เสี่ยงกันทั้งนั้นแหละใช่มั้ยคะ คุณแม่บางท่านอาจจะเคยได้ยินเรื่องภาวะครรภ์เสี่ยงมาบ้างแต่ก็ไม่แน่ใจว่าเป็นอาการแบบไหนกันแน่ วันนี้เราจะนำเรื่องเกี่ยวกับภาวะครรภ์เสี่ยงมาฝากคุณแม่กันค่ะ ภาวะครรภ์เสี่ยงก็คือการตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบทั้งต่อตัวคุณแม่เองและลูกในท้อง ซึ่งภาวะนี้อาจทำให้ลูกเสียชีวิตตั้งแต่ยังไม่คลอด ในขณะคลอด หรือหลังคลอดได้ค่ะ ภาวะครรภ์เสี่ยงมักจะเกิดกับคุณแม่ที่เคยแท้งมาก่อน หรือเคยคลอดก่อนกำหนด คุณแม่ที่มีโรคประจำตัวต่างๆ หรือตั้งครรภ์ในขณะที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี หรือมากกว่า 40 ปี นอกจากนี้อาจจะมีสาเหตุมาจากเนื้องอกในมดลูก ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงที่คุณแม่ท้อง การท้องลูกแฝดหรือแม้แต่การที่ลูกในท้องอยู่ในท่าที่ไม่ปกติ มีข้อไหนที่ตรงกับคุณแม่บ้างมั้ยคะ ถ้ามีคุณแม่รีบปรึกษาคุณหมอแล้วก็เข้ารับการตรวจตามกำหนดและปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัดนะคะ เพราะคุณแม่ที่มีภาวะเสี่ยงจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด แล้วก็คุณแม่จะต้องได้รับการตรวจประเมินอย่างน้อยหนึ่งอย่างโดยคุณหมอตามด้านล่างนี้ด้วยค่ะ การตรวจประเมินภาวะครรภ์เสี่ยงโดยคุณหมอ อัลตราซาวด์ (Ultrasound) การตรวจแบบอัลตราซาวด์ก็คือการตรวจโดยใช้คลื่นความถี่สูงเพื่อตรวจหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นตอนตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติของรกหรือของลูกน้อยในท้องค่ะ นอกจากนี้ การตรวจอัลตราซาวด์ยังสามารถบอกปริมาณน้ำคร่ำ รูปร่างของมดลูกและอัตราการเต้นของหัวใจทารกได้ด้วยนะ การตรวจกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์ กลุ่มอาการดาวน์ก็คือดาวน์ซินโดรมที่เราเรียกกันโดยทั่วไปนี่แหละค่ะ สำหรับการตรวจหากลุ่มดาวน์นี้จะสามารถทำได้หลายวิธี เช่น Combined Test หรือการตรวจครั้งเดียวในช่วงสามเดือนแรก คุณแม่จะตรวจด้วยวิธีนี้ได้เมื่อมีอายุครรภ์ 11-13 สัปดาห์ คุณหมอจะทำการตรวจผ่านการอัลตราซาวด์โดยวัดความหนาของต้นคอร่วมกับการตรวจเลือดค่ะ แต่การตรวจแบบนี้จะสามารถคัดกรองได้เพียงแค่ 85% เท่านั้นนะคะ แล้วก็จะมีผลบวกลวงอยู่ที่ 5% ค่ะ Quadruple Test หรือการตรวจครั้งเดียวในช่วงเดือนที่ 4-6 ค่ะ คุณแม่ที่มาฝากครรภ์หลังไตรมาสแรกก็จะได้รับการตรวจเลือดในช่วงไตรมาสที่ 2 […]

แพ้ท้องแทนเมียมีจริงหรือ?

โบราณเค้าว่าสามีที่แพ้ท้องแทนภรรยา(เมีย)คือสามีที่รักภรรยามาก…จริงหรอ? คือฟังแล้วก็สงสัยจริงๆ นะคะ ว่าผู้ชายแพ้ท้องได้ด้วยหรอ วันนี้เรามีคำตอบมาให้ค่ะ อาการแพ้ท้องแทนภรรยานั้น ถึงจะฟังดูแปลกๆ แต่ก็เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้จริงค่ะ แต่ก็ไม่ได้เกี่ยวกับว่ารักมากหรือรักน้อยหรอกนะคะ จริงๆ แล้วอาการนี้ไม่ใช่อาการที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกายค่ะ แต่เป็นอาการที่เกิดจากจิตใจของคุณพ่อต่างหาก โดยหลักๆ แล้วคุณพ่อก็จะมีอาการเหมือนคุณแม่เวลาแพ้ท้องนั่นแหละค่ะ จะรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน เป็นตะคริว หน้ามืด วิงเวียน ประมาณนี้ สาเหตุมันเกิดมาจากอะไรกันนะ? มีนักวิจัยได้ทำการวิจัยในเรื่องนี้และพบว่าสาเหตุมันเกิดมาจากการที่คุณพ่อเริ่มวิตกกังวลบวกกับความตื่นเต้นที่กำลังจะมีสมาชิกครอบครัวเพิ่ม แล้วก็รวมไปถึงความห่วงใยที่มีต่อคุณแม่จึงทำให้ฮอร์โมนเพศหญิง (Estrogen) ในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้คุณพ่อมีอาการแพ้ท้องเหมือนคุณแม่ค่ะ อาการแบบนี้ทางการแพทย์เค้าจะเรียกว่า โคเวด ซินโดรม (Couvade Syndrome) อาการแพ้ท้องแทนภรรยาเป็นแบบไหนบ้างนะ? คลื่นไส้ คุณพ่อบางท่านอาจจะอยู่ดีๆ ลุกขึ้นมาทานของเปรี้ยวหรือของเค็ม หรืออาจจะวิ่งเข้าห้องน้ำเพื่อไปอาเจียน อาการเหล่านี้เรามักจะเห็นในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ แต่ถ้าหากคุณพ่อมีอาการแพ้ท้องแทนภรรยาด้วยแล้ว อาการเหล่านี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้ค่ะ อารมณ์ไม่คงที่ เนื่องจากในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์นั้น คุณแม่จะต้องเผชิญกับอารมณ์ที่แปรปรวน เดี๋ยวสุขเดี๋ยวเศร้า เมื่อคุณพ่อต้องเจอกับอารมณ์ที่ขึ้นลงเหล่านี้ไปด้วย ก็อาจทำให้เกิดอาการเครียดและมีอารมณ์ไม่คงที่ตามไปด้วยเลย น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ไม่ใช่แค่คุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากท้องที่ใหญ่ขึ้น แต่คุณพ่อเองก็มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากอาการเครียดทำให้รับประทานของจุกจิกเพื่อให้หายเครียด แต่อีกส่วนหนึ่งก็คือมันเกิดมาจากฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หรือฮอร์โมนความเครียดค่ะ คอร์ติซอลจะเป็นฮอร์โมนที่ช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดและอินซูลิน ซึ่งจะมีผลทำให้ร่างกายคุณพ่อคิดว่าหิวทั้งที่จริงๆ ไม่ได้หิวเลยค่ะ เพราะฉะนั้นช่วงนี้คุณพ่อควรจะวางของทานเล่นที่มีประโยชน์ไว้ใกล้ตัว เพื่อไม่ให้น้ำหนักของคุณพ่อเพิ่มขึ้นเยอะเกินไปนะ อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย คุณพ่อบางท่านอาจมีอาการปวดตรงบริเวณเดียวกับคุณแม่โดยไม่ได้นัดกันล่วงหน้า […]

เนื้องอกในมดลูกระหว่างตั้งครรภ์อันตรายไหมนะ

เนื้องอกในมดลูก (Myoma Uteri) แค่ฟังชื่อก็น่ากลัวแล้วใช่มั้ยล่ะคะ แต่ความจริงเนื้องอกชนิดนี้เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดถ้าเปรียบเทียบกับพวกเนื้องอกของผู้หญิงที่เกิดขึ้นในบริเวณอื่นๆ ในช่วงเริ่มต้นเจ้าเนื้องอกนี้จะมีขนาดเล็กเท่าเม็ดถั่วเขียวเองค่ะ แต่ขนาดของมันจะค่อยๆ ใหญ่ขึ้นถ้าได้รับการกระตุ้นโดยฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และขนาดจะเล็กลงได้หากไม่ได้รับการกระตุ้นจากฮอร์โมนชนิดนี้ เพราะอย่างนี้เราจึงมักจะพบเนื้องอกในมดลูกในผู้หญิงที่ยังมีประจำเดือนอยู่ และเมื่อหมดประจำเดือนเนื้องอกนี้ก็จะค่อยๆ เล็กลงและหายไปเองในที่สุดค่ะ เนื้องอกในมดลูกขณะตั้งครรภ์เป็นแบบไหนกันนะ? เนื้องอกในมดลูกจะมีลักษณะเป็นก้อนกลมๆ โดยจะแทรกอยู่ตามที่ต่างๆ บนผนังมดลูกค่ะ อาจจะอยู่ตรงกลางของผนังมดลูก หรืออยู่บนผนังค่อนมาทางโพรงของมดลูก บางรายอาจถึงขนาดยื่นลงมาผ่านปากมดลูกยาวมาถึงช่องคลอดเลยก็ได้ค่ะ แล้วอาการล่ะจะเป็นแบบไหน? เนื่องจากเนื้องอกชนิดนี้จะเติบโตอย่างช้าๆ คุณแม่ส่วนใหญ่จึงจะไม่ทราบว่าตนมีเนื้องอกนี้อยู่จนกว่าคุณหมอจะตรวจพบ อย่างไรก็ตามอาการที่สังเกตได้จากการมีเนื้องอกในมดลูกนั้นจะมีลักษณะดังข้างล่างนี้ค่ะ ปัสสาวะบ่อย เนื่องจากเนื้องอกในมดลูกไปอยู่ในตำแหน่งที่ดันกับกระเพาะปัสสาวะ จึงทำให้ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ ในบางรายอาจทำให้ปัสสาวะลำบาก ถ่ายอุจจาระลำบาก ท้องผูก เนื่องจากก้อนเนื้องอกนี้ไปอยู่ด้านหลังแล้วกดทับบนลำไส้ใหญ่ แต่ว่าคุณแม่อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ เพราะอาการที่กล่าวมาข้างต้นนั้นก็เป็นอาการปกติที่พบในคุณแม่ท้องทั่วไปต่อให้ไม่มีเนื้องอกในมดลูกนะ ถ้าพบเนื้องอกในมดลูกตอนตั้งครรภ์แล้วจะเกิดอะไรขึ้น? ส่วนใหญ่แล้วจะขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดเนื้องอกค่ะ แต่ว่าถ้าเกิดเนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจจะเบียดดันมดลูก ทำให้มดลูกโตได้ไม่เต็มที่และอาจทำให้เกิดการเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด หรือถ้าหากเนื้องอกไปอยู่ที่ด้านล่างแล้วก็อาจจะไปขวางตรงส่วนของช่องคลอด คุณแม่จึงไม่สามารถคลอดเองได้แต่จะต้องผ่าคลอดค่ะ แต่ในบางราย หากเนื้องอกดันเข้าไปในโพรงมดลูกมาก ก็อาจส่งผลทำให้แท้งลูกในท้องได้ค่ะ เนื้องอกในมดลูกขณะตั้งครรภ์รักษาให้หายได้ไหมนะ? โดยปกติแล้วคุณหมอจะไม่ทำการรักษาเนื้องอกนี้ไม่ว่าจะเป็นการให้ยาหรือผ่าตัดค่ะ เพราะว่ายาไม่ได้ช่วยให้เนื้องอกยุบลง ส่วนการผ่าตัดก็เป็นการเสี่ยงที่จะทำให้คุณแม่เสียเลือดมากและแท้งบุตรค่ะ นอกจากนี้ คุณแม่อาจจะต้องถูกตัดมดลูกทิ้งหากเลือดออกมากจนไม่สามารถควบคุมได้ ตามหลักการแล้วคุณหมอจะเริ่มทำการรักษาเมื่อคุณแม่คลอดลูกน้อยได้อย่างน้อย 3 เดือน เพราะในคุณแม่บางรายเนื้องอกมีขนาดเล็กลงหลังคลอดจนไม่ต้องทำการรักษาก็มีค่ะ แต่ในบางรายก็อาจโตขึ้นจนต้องตัดมดลูกทิ้งเลยค่ะ คู่แต่งงานคู่ไหนที่วางแผนอยากมีลูกน้อยเป็นโซ่ทองคล้องใจ […]

ตั้งครรภ์อยู่แบบนี้จะทานยาแก้แพ้ได้ไหมนะ

ปัญหาใหญ่ของคุณแม่อีกปัญหาหนึ่งเวลาตั้งท้องก็คือการทานยาเวลาไม่สบายนั่นเองค่ะ อันนี้กล้าพูดได้เลยเพราะเจอกับตัวเองเหมือนกัน เพราะเราก็ไม่รู้อ่ะเนอะว่าในยาแก้แพ้พวกนี้มีส่วนผสมหรือสารอะไรที่จะมีผลต่อลูกในท้องบ้าง วิธีแก้ไขขั้นพื้นฐานที่สุดก็คือเลิกทานยาไปเลย ขนาดไม่สบายหนักๆ จนแทบทนไม่ได้ยังยอมที่จะไม่ทานยาเลยค่ะ แล้วดูอากาศประเทศไทย เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวฝนตก แบบนี้จะไม่ให้ป่วยยังไงไหว แต่วันนี้เราจะมาบอกคุณแม่แม่ว่า มันมียาแก้แพ้บางตัวที่คุณแม่ท้องสามารถทานได้นะคะ เพราะยาพวกนี้ได้รับการคอนเฟิร์มจากคุณหมอแล้วว่าไม่มีผลต่อลูกน้อยแน่นอน เราลองมาดูกันดีกว่าว่าคุณแม่ใช้ยาอะไรได้บ้าง ยาแก้แพ้ที่ปลอดภัยกับคุณแม่ คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine: CPM) เวลาพูดถึงยาแก้แพ้ ยาตัวแรกที่คนส่วนใหญ่นึกถึงก็คือเจ้ายาตัวนี้แหละ ยาเม็ดเล็กๆ สีเหลืองที่ช่วยลดอาการแพ้ ลดน้ำมูกแล้วก็แก้อาการคัน คุณแม่ท้องทานยาตัวนี้ได้เนอะ เพราะจากกรณีที่ผ่านมายังไม่พบว่ายาตัวนี้ส่งผลต่อลูกในท้องเลยค่ะ แต่ว่ายาตัวนี้มันจะมีผลข้างเคียงทำให้คุณแม่อ่อนเพลีย เพราะงั้นอาจจะต้องงดใช้ยาเวลาที่ต้องเดินทางไปไหนมาไหนนะคะ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และคุณลูกค่ะ ที่สำคัญก็ไม่ควรใช้ยาตัวนี้เกิน 3 วันนะ เพราะว่าถ้าใช้ไปมากๆ แล้วอาจจะทำให้เกล็ดเลือดต่ำ แล้วลูกที่คลอดออกมาอาจจะมีอาการเลือดไหลผิดปกติได้ด้วยค่ะ แอคติเฟด (Actifed) ยาตัวนี้จะช่วยลดอาการคัดจมูก ทำให้พวกอาการภูมิแพ้ทางจมูกดีขึ้น แล้วก็บรรเทาอาการคัดจมูกที่เกิดจากหวัดได้ค่ะ แต่ยาตัวนี้ก็จะทำให้ง่วงเช่นเดียวกัน ดังนั้น คุณแม่ควรจะทานยาแล้วก็พักผ่อนให้เพียงพอนะคะ พอตื่นมาอาการจะได้ดีขึ้น สดชื่นได้เหมือนเดิมค่ะ เซทิไรซีน (Cetirizine) หรือ ฟาเทค (Fatec ®) คุณแม่ที่ต้องเดินทางหรือทำงานในช่วงที่ไม่สบายก็ขอแนะนำให้ทานตัวนี้เลยค่ะ เพราะว่ายาตัวนี้ไม่ทำให้ง่วงหรืออ่อนเพลีย แถมยังไม่ส่งผลเสียต่อลูกน้อยอีกต่างหาก แต่ว่ายาตัวนี้มันจะออกฤทธิ์ช้ากว่ายาตัวอื่นๆ นะคะ คุณแม่ก็เลยอาจจะหายช้านิดหน่อยค่ะ […]

แบบนี้ใช่อาการแพ้ท้องหรือเปล่านะ?

ไหนๆ คุณแม่ท่านไหนกำลังแพ้ท้องบ้าง ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีกับคุณแม่ที่ไม่แพ้ท้องด้วยนะคะ เพราะคุณแม่โชคดีมาก การแพ้ท้องเป็นอะไรที่ทรมานมากๆ เลยค่ะ แต่คุณแม่ที่แพ้ท้องก็ไม่ต้องกลัวเหงานะ เพราะมีคุณแม่อีกกว่า 80% ที่ต้องเผชิญกับอาการนี้เช่นกัน อาการแพ้ท้องนี้มักจะเกิดขึ้นในช่วง 1-3 เดือนแรก แต่คุณแม่บางคนอาจจะต้องเผชิญกับอาการแพ้ท้องจนถึงไตรมาสสุดท้ายเลยก็ได้ค่ะ อาการแพ้ท้องเกิดจากอะไรกันนะ? รกที่เชื่อมระหว่างคุณแม่กับลูกน้อยนั้นจะสร้างฮอร์โมนตัวหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า Human Chorionic Gonadotropin (HCG) ค่ะ ซึ่งเจ้าฮอร์โมนตัวนี้มีไว้เพื่อกระตุ้นให้รังไข่สร้างฮอร์โมนอื่นๆ ในช่วงระยะแรกของการตั้งครรภ์ค่ะ ระดับฮอร์โมน HCG ที่สูงขึ้นจะทำให้ประสาทรับกลิ่นของคุณแม่สูงขึ้นตามไปด้วย ในขณะที่ประสาทการรับรสชาติจะเปลี่ยนไป นอกจากนี้ เจ้า HCG ยังจะไปกระตุ้นศูนย์ควบคุมการอาเจียน ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายต่างๆ คุณแม่จึงรู้สึกคลื่นไส้ เวียนหัว หรืออ่อนเพลียอยู่ตลอดเวลาค่ะ อาการแพ้ท้องเป็นยังไงหนอ? เวียนหัวคลื่นไส้ คุณแม่ท้องจะรู้สึกอยากอาเจียนตลอดเวลา โดยอาการนี้มักจะเกิดในช่วงเช้า เราจึงเรียกว่าอาการMorning Sick แต่คุณแม่บางคนอาจจะเป็นตลอดทั้งวันก็ได้นะ หน้ามืดอาการนี้จะต่อเนื่องมาจากการที่คุณแม่อาเจียนบ่อย ทำให้ขาดน้ำ จึงเกิดอาการหน้ามืดตามมาค่ะ จมูกไวต่อกลิ่นเวลาแพ้ท้องคุณแม่จะได้กลิ่นต่างๆ เร็วเป็นพิเศษ บางกลิ่นที่เคยชอบอาจจะไม่ชอบ บางกลิ่นที่เคยไม่ชอบก็อาจจะกลายเป็นชอบไปเลยก็ได้ค่ะ แม้แต่กลิ่นสามีที่เคยหอมๆ ตอนแพ้ท้องคุณแม่อาจจะรู้สึกเหม็นไปเลยก็ได้นะ เหมือนในละครไง พอได้กลิ่นอาหารก็รีบวิ่งไปอาเจียนในห้องน้ำเลย ประสาทการรับรสไม่เหมือนเดิมคุณแม่บางรายอาจจะอยากทานแต่ของที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะม่วง มะดัน มะนาว อะไรแบบนี้ แต่คุณแม่บางรายก็อาจจะไม่อยากทานอะไรเลยเพราะรู้สึกขมๆ อยู่ในปาก จะทานอะไรก็ไม่อร่อย รู้สึกอ่อนเพลียอยากนอนตลอดทั้งวันเนื่องจากในช่วงนี้ทารกในครรภ์กำลังอยู่ในช่วงพัฒนาและสร้างอวัยวะต่างๆ ทำให้ร่างกายของคุณแม่ต้องใช้พลังงานมากผนวกกับฮอร์โมนที่เปลี่ยนไป คุณแม่จึงรู้สึกเพลียมากกว่าปกติ และรู้สึกว่านอนเท่าไหร่ก็ไม่พอค่ะ อารมณ์แปรปรวน […]

ท้องตอนนี้ ฝากครรภ์ตอนไหนดี?

คุณแม่มือใหม่มักจะชอบถามว่า “ฝากท้องเมื่อไหร่ดี” คำตอบง่ายๆ สั้นๆ ก็คือ ตอนนี้เลยค่ะ! คุณแม่ควรรีบไปฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่ามีอีกหนึ่งชีวิตอยู่ในท้องนะคะ เนื่องจากระยะเวลาตลอด 40 สัปดาห์ที่ตั้งครรภ์นั้นถือว่ามีความสำคัญมากๆ เพราะเวลาฝากครรภ์คุณแม่จะได้ยาบำรุงมาทานด้วย แถมยังได้รับการดูแลดีๆ จากคุณหมออีกต่างหาก เจอคุณหมอบ่อยๆ จะได้อุ่นใจ ไม่ต้องมานั่งกังวลเวลาเกิดอาการแปลกๆ กับตัวเราด้วย เวลาไปฝากครรภ์คุณหมอคุณพยาบาลจะถามอะไรบ้างนะ? เวลาไปฝากครรภ์ครั้งแรก คุณหมอและคุณพยาบาลจะถามคำถามเหล่านี้กับคุณแม่ค่ะ ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ เคยแท้งบุตรหรือไม่ เคยมีโรคหรืออาการผิดปกติใดๆหรือไม่ เคยมีประวัติการผ่าตัดหรืออุบัติเหตุร้ายแรงหรือไม่ เคยมีอาการแพ้ยาหรือไม่ ในส่วนนี้หากคุณแม่กำลังใช้ยาที่คาดว่ามีผลต่อการตั้งครรภ์มาก่อนหน้านี้ก็ให้บอกคุณหมอให้ทราบด้วย ก่อนการตั้งครรภ์ได้เคยคุมกำเนิดด้วยวิธีใดหรือไม่ คนในครอบครัวมีประวัติอาการเจ็บป่วยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์หรือไม่ เช่น เบาหวาน โรคเลือด หรือแม้แต่การมีลูกแฝด เป็นต้น ตื่นเต้นจัง จะต้องตรวจอะไรบ้างนะ? ชั่งน้ำหนักและส่วนสูงเพื่อให้คุณหมอได้ประเมินน้ำหนักที่เหมาะสมของคุณแม่ขณะตั้้งครรภ์ การชั่งน้ำหนักแต่ละครั้งยังเป็นตัวชี้วัดว่าน้ำหนักของคุณแม่นั้นขึ้นอย่างเหมาะสมหรือไม่ บางทีคุณแม่น้ำหนักขึ้นเยอะไปก็เสี่ยงเป็นเบาหวาน ส่วนคุณแม่ที่น้ำหนักขึ้นน้อยก็อย่าเพิ่งดีใจไปค่ะ เพราะน้ำหนักขึ้นน้อยก็ไม่ดีเช่นกัน วัดความดันโลหิตเพื่อตรวจสอบความดันเลือดขณะที่หัวใจบีบตัว ความดันปกตินั้นจะอยู่ที่ประมาณ 120/70 มิลลิเมตรปรอท หากคุณแม่มีความดันที่ 90/50 หรือน้อยกว่านี้ จะถือว่ามีความดันต่ำ และถ้าหากว่าวัดได้ 140/90 หรือสูงกว่านี้ ก็จะถือว่ามีความดันสูงค่ะ วัดอุณหภูมิร่างกายเพื่อดูว่าคุณแม่เป็นไข้หรือไม่ อุณหภูมิร่างกายปกติของคนเราจะอยู่ที่ 36.5-37.5 ค่ะ […]

รู้กันหรือไม่? Baby Shower ไม่ใช่การอาบน้ำเด็ก

   นั่งดูหนังฝรั่งส่วนใหญ่ก็ฟังแค่เสียง แต่ตัวอักษรแปลด้านล่างก็มองเห็นไปพร้อมกันเพราะเลี่ยงไม่ได้  ทำให้หลายครั้งจะเกิดอาการสะดุดในการดู ด้วยมีความรู้สึกว่า”?!?” ในใจ ก็คนแปลนะสิคะ  น่าจะเก่งการแป ลแต่คงไม่เก่งเรื่องสำนวน หลายครั้งที่คำไม่ได้มีความหมายตรงตามพจนานุกรม ดูมาหลายเรื่องหลายคำโดยที่ไม่ได้ใส่ใจนัก  จนกระทั่งเจอกับคำว่า shower ซึ่งเป็นเรื่องของมารยาทและธรรรมเนียมต่างๆ เข้าพอดี    ในหนังเรื่องหนึ่ง ตัวละครพูดว่า “…baby shower…” คำแปลขึ้นว่า “อาบน้ำเด็ก”  ส่วนอีกเรื่องได้ยินคำว่า “…wedding shower…”  คำแปลขึ้นว่า “รดน้ำแต่งงาน” คนดูที่ไม่ได้สนใจเสียงภาษาอังกฤษ  ก็เข้าใจตามตัวอักษรไทยที่ปรากฏ  คนที่ดูหนังจริงจังหน่อย  อาจเกิดความสงสัยว่าสิ่งที่ตัวละครพูดมันเกี่ยวกับเรื่องที่ดำเนินอยู่ยังไงหว่า?    ใช่ค่ะ shower แปลว่ารดน้ำ อาบน้ำ ซึ่งถ้าละเอียดขึ้นอีกนิด ก็ต้องบอกว่าเป็นการรด หรืออาบโดยใช้ฝักบัวให้น้ำโปรยปรายลงมา ไม่ใช่นอนแช่อ่างหรือตักราดโครมๆ แต่ shower ในที่นี้ หมายถึงธรรมเนียมในการจัดงานปาร์ตี้ประเภทหนึ่ง  ซึ่งเวลาพูดจะมีคำว่า party ตามหลังหรือไม่ก็ได้ baby shower (เบ-บี้-ชาว-เออร์) จัดเพื่อให้ของขวัญแก่เด็กที่กำลังจะเกิด  คนที่รับของขวัญแทนก็คือ ว่าที่คุณแม่  หรือบางงานอาจจัดเพื่อให้ของขวัญเฉพาะตัวคุณแม่ก็มี เรียกว่า mommy shower wedding […]

กรนและหยุดหายใจยิ่งอันตรายตอนท้อง

การนอนกรนของแม่ท้อง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ เช่น ท้องโตขึ้น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย การสูบฉีดเลือด ระบบไหลเวียนของเลือด รวมทั้งการเต้นของหัวใจ ซึ่งการสูบฉีดไหลเวียนเลือดที่มากขึ้น จะไปกระตุ้นเส้นเลือดในโพรงจมูก ทำให้มีภาวะบวมน้ำส่งผลให้เวลานอน จะรู้สึกหายใจไม่สะดวก และเกิดเสียงกรนนั่นเอง ประกอบกับลักษณะการนอนของคุณแม่ตั้งครรภ์นั้น ช่วง 3 เดือนแรก ของการตั้งครรภ์ คุณแม่จะนอนมากกว่าปกติ แต่ประสิทธิภาพ การนอนลดลง ช่วงหลับลึกและหลับฝันน้อยลง ทำให้ง่วงบ่อยและงีบในตอนกลางวัน ต่อมาช่วงอายุครรภ์ 4-6 เดือน คุณแม่จึงจะเริ่มนอนเหมือนปกติ แต่ประสิทธิภาพการนอนจะยังไม่เหมือนเดิม ทำให้คุณแม่รู้สึกเหมือนนอนไม่เต็มอิ่ม พอเข้า 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด อายุครรภ์ 6-9 เดือน คุณแม่จะนอนสั้นลง ประสิทธิภาพการนอนยิ่งแย่ลงไปอีกด้วย เพราะร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเยอะ และเป็นช่วงที่คุณแม่นอนกรนมากขึ้น ทั้งนอนกรนผิดปกติ หรือภาวะหยุดหัวใจขณะหลับก็จะเกิดขึ้นในช่วงใกล้คลอดนี้ด้วย แม้โอกาสเกิดขึ้นจะมีน้อยก็ตาม 6 ปัจจัยเสี่ยงภาวะหยุดหายใจเพิ่ม หากคุณแม่เป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยง ต้องติดตามและเฝ้าสังเกตอาการตัวเอง เพื่อป้องกันและรักษาต่อไป โดยกลุ่มเสี่ยงมีปัจจัยดังนี้ อ้วนก่อนท้อง น้ำหนักตัวเกินก่อนท้อง น้ำหนักเพิ่มมากเกินไประหว่างท้อง คือเพิ่มเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานของแม่ท้อง มีการสะสมไขมันที่รอบคอบมากเกินไป หรือเป็นคนคอสั้น มีความดันสูง […]