วิธีเก็บน้ำนมแม่สต๊อก ทำอย่างไรไม่ให้เหม็นหืน

วิธีเก็บน้ำนมแม่่สต๊อก

ความปรารถนาสูงสุดของคุณพ่อคุณแม่ คือการได้เห็นลูกน้อยเติบโตอย่างมีคุณภาพ มีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ พร้อมด้วยความเก่ง ฉลาด เป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพในอนาคต ดังนั้นเมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก คุณแม่ทุกท่านจึงตั้งใจเต็มที่ที่จะให้น้ำนมแม่แก่ลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิดและมอบนมแม่ให้เป็นสุดยอดอาหารของลูกรักไปนานที่สุดเท่าที่จะทำได้

เราจึงเห็นว่าปัจจุบัน คุณแม่มีการเตรียมพร้อมเพื่อจะเป็นคุณแม่นักปั๊ม ทำนมแม่สต๊อกไว้ให้ลูกน้อยกันแต่เนิ่นๆ

แต่คุณแม่รู้ไหมว่า…นอกจากการปั๊มนมที่ต้องพิถีพันใส่ใจในทุกรายละเอียดแล้ว วิธีการเก็บสต๊อกนมแม่ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะหากคุณแม่เก็บไม่ถูกต้อง ไม่ถูกวิธี อาจทำให้นมแม่ก็เก็บบูดเสีย ลูกกินไม่ได้ รวมถึงหากเช่เย็นเก็บหรือละลายในอุณหภูมิไม่เหมาะสม ก็ทำให้นมแม่สูญเสียคุณค่าสารอาหารสำคัญและจำเป็นต่อสมองและร่างกายของลูกน้อยไปแบบน่าเสียดาย  เสียทั้งกำลังกาย กำลังใจ นมแม่ที่โภชนาการดีๆมากมาย กลับเสียหายไปไร้ประโยชน์

ดังนั้นเราจึงขอแนะนำ วิธีการเก็บน้ำนมแม่สต๊อกที่ถูกต้อง พร้อมเคล็ดลับเรื่องการเก็บนมแม่ไว้ไม่ให้เหม็นหืน เพื่อให้ลูกน้อยกินนมแม่จากสต๊อกได้อย่างเต็มที่ และมีความสุข

วิธีเก็บน้ำนมแม่่สต๊อก

วิธีเก็บน้ำนมแม่สต๊อก

ขั้นตอนการปั๊มและ วิธีเก็บน้ำนมแม่สต๊อก

  1. เริ่มจากคุณแม่ล้างมือให้สะอาด เตรียมเครื่องปั๊มนม และภาชนะที่ใช้เก็บน้ำนมที่ผ่านการทำความสะอาดฆ่าเชื้อเรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะเป็น กรวยปั๊มนม ขวดเก็บน้ำนม ถุงเก็บน้ำนม  โดยควรเลือกภาชนะเก็บน้ำนมที่มีฝาปิดมิดชิด ไม่มีสารอันตราย
  2. เมื่อปั๊มนมเสร็จแล้วให้เขียนวันที่และเวลากำกับที่ข้างภาชนะหรือถุงเก็บน้ำนม เพื่อจะได้นำนมแม่กลับมาใช้ตามลำดับได้ถูกต้อง เสร็จแล้ววางเรียงถุงเก็บน้ำนมสต๊อกในตู้แช่หรือตู้เย็นในบ้าน
  3. หากคุณแม่ปั๊มนมนอกบ้าน หรือที่ทำงาน จำเป็นต้องเตรียมกระติกน้ำแข็งที่มีน้ำแข็งตลอดเวลา หรือมีอุปกรณ์ที่เก็บความเย็นได้ดี เช่น Ice Pack โดยต้องมั่นใจว่าความเย็นมีเพียงพอที่จะเก็บรักษาคุณค่าน้ำนมแม่ก่อนที่จะนำกลับมาแช่เย็นที่บ้าน

ระยะเวลาการเก็บน้ำนมแม่

วิธีเก็บนมแม่สต๊อก ระยะเวลาที่เก็บได้
ตั้งทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง ไม่เข้าตู้เย็น เก็บได้ 1 ชั่วโมง
ตั้งทิ้งไว้ในห้องปรับอากาศ  (ไม่เข้าตู้เย็น) เก็บได้ 4 ชั่วโมง
ในกระติกน้ำแข็งที่มีน้ำแข็งตลอดเวลา เก็บได้ 1 วัน
ใส่ตู้เย็น ช่อง/ชั้นธรรมดา เก็บได้ 3-5 วัน
ใส่ตู้เย็นแบบ 1 ประตู ในช่องแช่แข็ง เก็บได้ 1-2 สัปดาห์
ตู้เย็นแบบ 2 ประตู  ในช่องแช่แข็ง เก็บได้ 3-6 เดือน
ตู้แช่เย็นจัด (-20 องศาเซลเซียส) เก็บได้ 6-12 เดือน

ข้อควรระวังและใส่ใจในการสต๊อกน้ำนมแม่

ไม่เก็บน้ำนมแม่บริเวณประตูตู้เย็น เพราะความเย็นจะไม่คงที่ ทำให้นมแม่เสียได้ง่าย และแม้คุณแม่จะเก็บนมแม่แช่แข็งไว้ในตู้แช่แข็งที่เก็บรักษานมแม่ได้ถึง 12 เดือน แต่ก็ควรนำนมแม่สต๊อกออกมาให้ลูกกินภายใน 6 เดือนจะดีที่สุด เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อโรค  รวมถึงนมแม่ที่สต๊อกเก็บไว้เกิน 1 ปีแล้ว ต้องทิ้งให้หมด แม้ว่าจะไม่มีกลิ่นเสียหรือมีรสชาติเปรี้ยวก็ตาม เพราะอาจส่งผลร้ายต่อร่างกายลูกจากการเก็บที่นานเกินไป และความไม่คงที่ของอุณหภูมิในต็เย็น

วิธีเก็บน้ำนมแม่่สต๊อก

10 วิธีเก็บนมแม่ได้ แบบไม่เหม็นหืน

อีกหนึ่งปัญหาของคุณแม่นักปั๊มที่ทำให้กังวลและไม่มั่นใจ เพราะน้ำนมที่สต๊อกไว้มักมีกลิ่นหืน จนบางครั้งลูกไม่ยอมกิน ซึ่งความจริงแล้วน้ำนมแม่ที่แช่แข็งทำสต๊อกไว้ เมื่อนำมาละลายแล้ว สามารถเกิดกลิ่นหืนได้จากเอนไซน์ที่ชื่อไลเปซ (Lipase)  ที่ช่วยย่อยให้ไขมันในน้ำนมแม่แตกตัว แม้นมแม่จะมีกลิ่นหืนลูกน้อยก็สามารถกินได้ไม่มีอันตราย (ยกเว้นกรณีคุณแม่ชิมแล้วมีรสเปรี้ยว มีกลิ่นแรงมากนั่นคือนมเสียห้ามให้ลูกกิน แต่หากคุณแม่ไม่อยากให้น้ำนมสต๊อกมีกลิ่นหืน อาจลองทำตามวิธีการดังต่อไปนี้

  1. ตรวจเช็กดูแลความสะอาดของเครื่องปั๊มนม อุปกรณ์เก็บนมแม่สต๊อกให้ปราศจากเชื้อโรคทุกครั้ง
  2. เวลาเก็บนมแม่ใส่ถุงเมื่อปั๊มเสร็จ พยายามไล่อากาศออกจากถุงให้ได้มากที่สุด ก่อนแช่เย็น
  3. หลังจากปั๊มนมเสร็จ ให้นำถุงเก็บน้ำนมเข้าตู้เย็นแช่ให้เร็วที่สุด และควรวางเรียงถุงเก็บน้ำนมในแนวนอนราบ
  4. หากต้องการให้ลูกกินนมแม่ที่ปั๊มภายในไม่เกิน 3 วัน หรือปั๊มนมให้ลูกกินวันต่อวัน ไม่ต้องเก็บในช่องแช่แข็ง ให้เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดาไว้ เพราะจะเก็บได้ 2-3 วัน โดยมักจะไม่มีกลิ่นหืน
  5. เวลาจะใช้น้ำนมแม่สต๊อก ให้เปลี่ยนช่องเก็บจากช่องฟรีสแช่แข็งลงมาที่ช่องแช่เย็นธรรมดาตอนกลางคืน ประมาณ 12 ชม.หรือ 1 คืน เพื่อให้ละลาย จากนั้นเทใส่ขวดให้ลูกกินแล้วเขย่าแบบเย็นๆได้เลย มักจะไม่มีกลิ่นหืน และไม่ทำให้ลูกปวดท้องหรือท้องเสีย หากลูกไม่ชอบกินเย็นให้แช่ในน้ำอุ่น ห้ามแช่นมในน้ำร้อนหรือใส่ไมโครเวฟเพราะความร้อนจะไปทำลายสารอาหารสำคัญในนมแม่
  6. หลังปั๊มนม อาจทำให้น้ำนมร้อนก่อน เพื่อยับยั้งการย่อยของไลเปสก่อนนำไปแช่แข็ง นั่นคือหลังจากคุณแม่ปั๊มนมเสร็จแล้ว ให้นำไปต้ม ให้นานพอที่จะเห็นฟองอากาศเล็กๆ ปุดๆอยู่ด้านรอบข้างหม้อ แล้วจึงดับไฟ ห้ามปล่อยให้ถึงจุดเดือด จากนั้นนำนมไปเข้าตู้เย็นแช่แข็งทันที วิธีนี้จะทำให้น้ำย่อยไขมันทำงานไม่ได้ จึงไม่เกิดกลิ่นเหม็นหืน ถึงแม้ว่าจะเก็บไว้นานเพียงใดก็ตาม  ซึ่งการต้มนมอาจทำลายภูมิคุ้มกันในนมแม่บางส่วน และสารอาหารบางอย่างในน้ำนมแม่ให้ลดน้อยลงได้ แต่ก็ยังดีกว่าการเทนมแม่ที่สต๊อกไว้ทิ้งไป เพราะลูกไม่ยอมกินนมหืน
  7. ให้ลูกกินนมแม่ที่ละลายจากการแช่แข็งแล้ว ภายใน 24 ชม. และไม่ควรนำนมที่ละลายจากการแช่แข็งแล้ว กลับไปแช่แข็งใหม่
  8. ไม่เก็บนมแม่ใกล้ส่วนของช่องแข็งหรือช่องแช่ที่มีระบบละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ เพราะความเย็นจะไม่คงที่
  9. หากคุณแม่เก็บนมแม่สต๊อกไว้ในถุงพลาสติกแล้วมีกลิ่น ให้ลองเปลี่ยนไปใส่ภาชนะที่เป็นแก้วที่มีฝาปิดมิดชิดแทน
  10. ไม่ควรเก็บนมสต๊อกปะปนกับอาหารอื่นๆ หากคุณแม่แช่นมแม่สต๊อกไว้รวมกับอาหารชนิดอื่นๆ ในตู้เย็น ควรเก็บและใส่อาหารในภาชนะที่มิดชิดมีฝาปิด หรือมัดถุงให้แน่น  เพื่อป้องกันกลิ่นอาหารอื่นมาปะปน ทำให้นมแม่ดูดกลิ่นอาหารเข้ามา จนน้ำนมมีกลิ่นอื่นติดมาด้วยได้

จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การเก็บนมสต๊อกไม่ให้มีกลิ่นหืนอาจมีความยุ่งยากบ้าง  ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาลูกไม่กินนมหืน และให้ลูกสามารถกินนมแม่ที่มีกลิ่นหืนเป็น  คุณแม่อาจต้องฝึกให้ลูกกินนมเย็นหรือนมที่มีกลิ่นหืนได้บ้างตั้งแต่เนิ่นๆ  ฝึกให้ลูกทานทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง  เริ่มฝึกตั้งแต่ลูกอายุ 1-2 เดือน (หากเริ่มเร็วก่อน 1 เดือน ลูกอาจเสี่ยงติดขวด แต่หากเริ่มช้ากว่า 2 เดือนลูกจะฝึกยากขึ้น) ลูกจะได้กินเป็นทั้งนมจากเต้าและนมแม่ที่สต๊อกเอาไว้ ไม่ต้องทิ้งนมแม่ไปอย่างน่าเสียดายเพียงเพราะมีกลิ่นหืนนั่นเอง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

code