ภาวะครรภ์เสี่ยง ภาวะที่คุณแม่ไม่อยากเจอ

ไม่ว่าแม่ท้องท่านไหนก็ไม่มีใครอยากจะอยู่ในภาวะครรภ์เสี่ยงกันทั้งนั้นแหละใช่มั้ยคะ คุณแม่บางท่านอาจจะเคยได้ยินเรื่องภาวะครรภ์เสี่ยงมาบ้างแต่ก็ไม่แน่ใจว่าเป็นอาการแบบไหนกันแน่ วันนี้เราจะนำเรื่องเกี่ยวกับภาวะครรภ์เสี่ยงมาฝากคุณแม่กันค่ะ ภาวะครรภ์เสี่ยงก็คือการตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบทั้งต่อตัวคุณแม่เองและลูกในท้อง ซึ่งภาวะนี้อาจทำให้ลูกเสียชีวิตตั้งแต่ยังไม่คลอด ในขณะคลอด หรือหลังคลอดได้ค่ะ ภาวะครรภ์เสี่ยงมักจะเกิดกับคุณแม่ที่เคยแท้งมาก่อน หรือเคยคลอดก่อนกำหนด คุณแม่ที่มีโรคประจำตัวต่างๆ หรือตั้งครรภ์ในขณะที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี หรือมากกว่า 40 ปี นอกจากนี้อาจจะมีสาเหตุมาจากเนื้องอกในมดลูก ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงที่คุณแม่ท้อง การท้องลูกแฝดหรือแม้แต่การที่ลูกในท้องอยู่ในท่าที่ไม่ปกติ มีข้อไหนที่ตรงกับคุณแม่บ้างมั้ยคะ ถ้ามีคุณแม่รีบปรึกษาคุณหมอแล้วก็เข้ารับการตรวจตามกำหนดและปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัดนะคะ เพราะคุณแม่ที่มีภาวะเสี่ยงจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด แล้วก็คุณแม่จะต้องได้รับการตรวจประเมินอย่างน้อยหนึ่งอย่างโดยคุณหมอตามด้านล่างนี้ด้วยค่ะ การตรวจประเมินภาวะครรภ์เสี่ยงโดยคุณหมอ อัลตราซาวด์ (Ultrasound) การตรวจแบบอัลตราซาวด์ก็คือการตรวจโดยใช้คลื่นความถี่สูงเพื่อตรวจหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นตอนตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติของรกหรือของลูกน้อยในท้องค่ะ นอกจากนี้ การตรวจอัลตราซาวด์ยังสามารถบอกปริมาณน้ำคร่ำ รูปร่างของมดลูกและอัตราการเต้นของหัวใจทารกได้ด้วยนะ การตรวจกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์ กลุ่มอาการดาวน์ก็คือดาวน์ซินโดรมที่เราเรียกกันโดยทั่วไปนี่แหละค่ะ สำหรับการตรวจหากลุ่มดาวน์นี้จะสามารถทำได้หลายวิธี เช่น Combined Test หรือการตรวจครั้งเดียวในช่วงสามเดือนแรก คุณแม่จะตรวจด้วยวิธีนี้ได้เมื่อมีอายุครรภ์ 11-13 สัปดาห์ คุณหมอจะทำการตรวจผ่านการอัลตราซาวด์โดยวัดความหนาของต้นคอร่วมกับการตรวจเลือดค่ะ แต่การตรวจแบบนี้จะสามารถคัดกรองได้เพียงแค่ 85% เท่านั้นนะคะ แล้วก็จะมีผลบวกลวงอยู่ที่ 5% ค่ะ Quadruple Test หรือการตรวจครั้งเดียวในช่วงเดือนที่ 4-6 ค่ะ คุณแม่ที่มาฝากครรภ์หลังไตรมาสแรกก็จะได้รับการตรวจเลือดในช่วงไตรมาสที่ 2 […]