รอบรู้เรื่อง “นอน” ของเจ้าตัวน้อย

ความสำคัญของการนอนของเจ้าตัวเล็กนั้น มีผลต่อการเติบโตต่อร่างกาย เพราะการนอนหลับจะมีฮอร์โมนเรียกว่า โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ออกมากระตุ้นให้ร่างกายเติบโต ใยประสาทจะเชื่อมโยงกับเซลล์ จึงทำให้สมองเติบโตด้วย ฉะนั้นเจ้าตัวเล็กที่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ก็จะเป็นเด็กที่อารมณ์ดี เรียนรู้ได้มากแต่การนอนหลับของเจ้าตัวเล็กตามธรรมชาตินั้น ไม่ได้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง อย่างที่เราเห็นนาฬิกาในสมอง จะกำหนดให้เจ้าตัวเล็กได้พักผ่อนตลอดเวลาของการนอนจริง ๆ ก็ต่อเมื่อได้หลับรวดเดียวประมาณเดือนที่ 6 ขึ้นไปแล้ว พ.ญ. เชิดชู อริยศรีวัฒนา สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่าเด็กทารกมีการนอนหลับไม่สนิทโดยเฉพาะช่วงแรก ๆ ของชีวิต ซึ่งจะมีการเคลื่อนไหวของนัยตาอย่างรวดเร็วว่า Rapid eye movement สลับกับการหลับเงียบสนิทที่เรียกว่า Quiet sleep หรือ Non-rapid-eye-drop movementจึงทำให้บางครั้งนอนดิ้น ส่งเสียงครวญครางแต่ยังตื่นไม่เต็มที่ คุณไม่ควรเข้าไปอุ้มหรือให้กินนม เพราะจะเป็นการไปปลุกให้เด็กซึ่งกำลังหลับในช่วงหลับไม่สนิทให้ตื่นขึ้น แทนที่จะหลับต่อไปได้อีก ข้อมูลจากหน่วยกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า พฤติกรรมการนอนของเจ้าตัวเล็กแต่ละวัยมีความแตกต่างกัน โดยสามารถแจกแจงให้เห็นชัดเจนดังต่อไปนี้ 0 – 3 เดือน การหลับและตื่นของทารกแรกเกิดมักจะเฉลี่ยเท่า ๆ กันทั้งช่วงกลางวันและกลางคืน เจ้าตัวเล็กจะนอนหลับวันละประมาณ 20 ชม. ต่อวัน แต่ในช่วงแรกมักจะนอนกลางวันมากกว่ากลางคืน มีเวลาตื่นที่ไม่แน่นอน การนอนอาจเปลี่ยนไปทุกสัปดาห์และ จะปรับตัวมานอนตอนกลางคืนมากกว่าได้เองในไม่ช้า 3 – 6 เดือน เจ้าตัวเล็กจะหลับกลางวันน้อยลง นอนกลางคืนมากขึ้น โดยจะหลับรวดเดียวไปจนถึงเช้า ไม่ตื่นมากินนมตอนกลางคืนเหมือนก่อน คุณก็ไม่จำเป็นต้องปลุก ให้เจ้าตัวเล็กตื่นขึ้นมาดูดนมหรือกลัวว่าจะหิว […]