เครื่องอบUV ที่คุณแม่บอกต่อมากที่สุด ในปี 2022

ด้วยสถานการณ์การระบาดของโควิดในปัจจุบัน ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายบ้านอดห่วงไม่ได้ว่าเชื้อไวรัสนั้นจะหลุดรอดเข้ามาถึงตัวลูกน้อยของเราได้เมื่อไหร่ จากแต่เดิมการฆ่าเชื้อสิ่งของต่างๆ ด้วยการลวกน้ำร้อน หรือการนึ่งด้วยไอร้อน อาจเหมาะกับการฆ่าเชื้อแค่สิ่งของที่โดนน้ำ และทนความร้อนได้ เช่น ขวดนม และภาชนะทานอาหาร แต่อาจไม่เหมาะกับการฆ่าเชื้อของใช้ภายในบ้านที่ลูกน้อยมักหยิบเข้าปากบ่อยๆ เช่น รีโมททีวี กุญแจบ้าน รวมไปถึงของใช้คุณพ่อคุณแม่ เช่น กระเป๋าสตางค์ โทรศัพท์มือถือ เพื่อปกป้องลูกน้อยจากเชื้อโรคต่างๆ ได้อย่างมั่นใจ จึงได้มีการนำนวัตกรรมการฆ่าเชื้อด้วย พลังงานจากรังสี UV-C ที่จากเดิมใช้ในโรงพยาบาล หน่วยงาน หรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ออกแบบมาให้อยู่ใน เครื่องอบUV ที่มีขนาดเล็ก ในพื้นที่ที่ปลอดภัย สามารถใช้ฆ่าเชื้อสิ่งของต่างๆ ภายในบ้าน ได้อย่างง่ายดาย และทรงประสิทธิภาพ BabyGift เข้าใจคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ที่มีความกังวลในสุขภาพของทุกคนในครอบครัว และกำลังมองหา เครื่องอบUV ที่ใช่ BabyGIft จึงได้สรุปสาระเกี่ยวกับ การฆ่าเชื้อด้วยรังสี UV-C และวิธีการเลือกซื้อเครื่องอบUV มาฝากไว้ในบทความนี้ค่ะ เครื่องอบUV คืออะไร เครื่องอบUV หรือ ตู้อบUV เป็นการนำหลอดสังเคราะห์แสง UV-C หรือ Germicidal […]

น้องต๊าตต์ขอรีวิว ตู้อบแห้งฆ่าเชื้อ Prince&Princess Baby UV Mini

สวัสดีแม่ๆ แฟนเพจแม่ตูนนน์กับน้องต๊าตต์นะคะ วันนี้แวะมาเขียนรีวิวกันหน่อย เป็นไอเท็มประจำบ้านที่แม่ๆ ทุกคนต้องมีเลย เป็นเครื่องอบ และฆ่าเชื้อขวดนมและของใช้ ตู้อบแห้งฆ่าเชื้อ Prince&Princess Baby UV Mini มี 4 โหมดการใช้งาน Auto : อบแห้งและฆ่าเชื้อโรค UV : ฆ่าเชื้อโรคด้วย UV Dry : อบแห้งระบายกลิ่นอับ Storage : สามารถเก็บสิ่งของที่ยังไม่นำไปใช้ได้นาน 72 ชั่ว หลายคนอาจจะเคยเห็นแบรนด์นี้มาบ้างแล้ว แบบที่เป็นตู้ใหญ่ ดูหรูหรา วันนี้เอาใจคุณแม่ที่อยู่บ้านหรือคอนโดที่มีขนาดไม่ใหญ่ แม่ตูนน์อยากแนะนำตู้อบรุ่น Baby UV mini จิ๋วแต่แจ๋วมากๆ มีทั้งหมด 4 ฟังก์ชั่น Auto/UV/Dry/Storage สามารถวางขวดนมได้มากถึง 12 ขวด มีตะแกรงเพิ่มพื้นที่ ชอบตรงที่ฆ่าเชื้อของเล่นของใช้ และพวกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อย่างพวกมือถือก็ได้ ตะแกรงมาให้เพิ่มเติมในการวางเพิ่มพื้นที่การใช้งาน ถอดเข้าออกได้ สะดวก ด้านในสามารถวางขวดนมได้ 12 […]

ขวดนมอะไรบ้างสามารถใช้กับตู้อบ UV ในการฆ่าเชื้อได้?

ขวดนมที่ผลิตจากพลาสติกทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นขวดที่ผลิตจากพลาสติกประเภท polypropylene (PP), polyethersulfone (PES), polyphenylsulfone (PPSU) ซึ่งไม่มีสาร BPA ในกระบวนการผลิต (สามารถตรวจสอบได้ที่ข้างกล่อง) สามารถใช้ตู้อบ UV ในการฆ่าเชื้อได้ และยังเป็นการชลอการเสื่อมของพลาสติกเพราะการฆ่าเชื้อด้วยแสง UV เป็นการใช้แสงและความร้อนต่ำแต่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ถึง 99.99% ขวดนมที่ผลิตจากแก้ว สามารถใช้กับตู้อบ UV ในการฆ่าเชื้อได้ทุกแบรนด์ ขวดนมที่ผลิตจากซิลิโคนที่มีขอบเกลียวเป็นพลาสติกแบบถอดแยกชิ้นส่วนได้ สามารถใช้กับตู้อบ UV ในการฆ่าเชื้อได้ เพราะไม่ใช้สารเคมีในการเชื่อมขอบเกลียวพลาสติกให้ติดกับขวดซิลิโคน ขวดนมที่ไม่สามารถใช้กับตู้อบ UV ในการฆ่าเชื้อได้ ขวดนมที่ผลิตจากซิลิโคนที่มีขอบเกลียวเป็นพลาสติกแบบแยกชิ้นส่วนไม่ได้ ไม่สามารถใช้กับตู้อบ UV ในการฆ่าเชื้อได้ เพราะมีการเชื่อมต่อระหว่างขอบเกลียวพลาสติกและขวดซิลิโคนให้ยึดติดกันโดยใช้วัสดุ ที่ไม่สามารถระบุได้ เป็นตัวเชื่อม ซึ่งวัสดุที่ใช้เชื่อมนี้จะเสื่อมสภาพเมื่อได้รับแสง UV เป็นระยะเวลานาน คำแนะนำสำหรับการใช้ขวดนม : ควรเปลี่ยนขวดนมหลังจากการใช้งานแล้วทุกๆ 6-12 เดือน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Baby Gift Showroom ทุกสาขา คลิ๊ก : Baby Gift Shop […]

เครื่องนึ่งขวดนม กับ ตู้อบฆ่าเชื้อ UV ต่างกันยังไงนะ!

เปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง ข้อดีและข้อเสีย เครื่องนึ่งขวดนม กับ ตู้อบฆ่าเชื้อ UV ไขข้อข้องใจกับคำถามที่ว่า เครื่องนึ่งขวดนม กับ ตู้อบฆ่าเชื้อ UV ต่างกันตรงไหน? Prince & Princess มาเปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง ข้อดีและข้อเสีย สำหรับคุณพ่อคุณแม่ ที่ใส่ใจในเรื่องความสะอาดของลูกน้อย สิ่งที่ขาดไม่ได้คือเครื่องทำความสะอาดฆ่าเชื้อขวดนม ภาชนะ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทุกบ้านต้องมี เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ ไว้เป็นแนวทางในการเลือกผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ได้ดีที่สุดค่ะ เราฆ่าเชื้อด้วยวิธีต่างกัน สามารถสอบถามได้จากผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาและแนะนำได้อย่างถูกต้อง ได้ที่ Baby Gift Showroom 8 สาขา ใกล้บ้าน หรือช่องทางออนไลน์ :

รังสี UV ฆ่าเชื้อโรคได้จริงหรือ ?

รังสี UV ฆ่าเชื้อโรคได้จริงหรือ ? สำหรับครอบครัวที่มีลูกเล็กๆ ส่วนใหญ่การทำความสะอาดขวดนม จะใช้วิธีการต้ม หรือนึ่ง โดยเป็นการฆ่าเชื้อโรคด้วยความร้อนสูง ซึ่งเหมาะกับพาชนะที่เป็นแก้ว หรือซิลิโคน ส่วนขวดนมแบบพลาสติกการใช้ความร้อนสูงมากๆ ทุกวันจะทำให้ขวดนมพลาสติกและจุกนมเสื่อมสภาพเร็วขึ้นกว่าปกติ และเกิดการปล่อยสารต่างๆ ออกมาจากพลาสติกนั้น เช่น สารพวกโพลีเมอร์ หรือฟอร์มัลดีไฮด์ปนเปื้อนออกมาจากพลาสติกที่เสื่อมสภาพ แถมยังทิ้งไอน้ำไว้ที่ก้นขวด ซึ่งไอน้ำนี้อาจมีเชื้อแบคทีเรียแฝงอยู่ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้มีการคิดค้นการฆ่าเชื้อโรค โดยรังสี UV ที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้กับหลากหลายผลิตภัณฑ์ เช่น ขวดนมพลาสติก ยางกัด จานชาม หรือแม้แต่อุปกรณ์อเลกทรอนิก มาทำความรู้จักกับ หลอดรังสี UV-C ที่หลายคนสงสัยว่า ฆ่าเชื้อโรคได้จริงไหม? รังสี UV คืออะไร แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ประกอบด้วยรังสี 2 ส่วนคือ รังสีที่มองเห็นได้และมองไม่เห็นรังสีที่มองเห็นได้ จะมี 7 สี แต่จะสามารถเห็นต่อเมื่ออากาศมีความชื้นสูง รังสีจากดวงอาทิตย์ตกกระทบกับน้ำในอากาศ เราจะสามารถมองเห็นสีทั้ง 7 ได้ ที่เรียกว่า “รุ้งกินน้ำ” นั่นเอง รังสีที่มองไม่เห็น คือพลังงานในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมาจากดวง […]

รีวิวตู้อบแห้งฆ่าเชื้อ UV Prince&Princess Gen2

สวัสดีค่ะคุณแม่ทุกคนนะคะ สำหรับคุณแม่ทั้งหลายที่มีลูกน้อย คงจะเคยชินกับการล้างขวดนมเสร็จแล้ว ก็ฆ่าเชื้อขวดนมด้วยหม้อนึ่งความร้อนกันใช่ไม๊คะ วันนี้แม่อีฟ ขอแนะนำเครื่องมือชิ้นใหม่ ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์คุณแม่สมัยใหม่อย่างเราๆ ที่ต้องการความสะดวกสบายและการฆ่าเชื้อ โรคได้มากที่สุดสำหรับลูกน้อย มาทำความรู้จักกับตู้อบแห้งฆ่าเชื้อ UV แบรนด์ Prince&Princess  สัญชาติเกาหลี เครื่องนี้เป็น Gen2 ที่มีการพัฒนาขึ้น ให้ใช้งานได้มีประสิทธิภาพดีขึ้น การใช้งาน ก็ง๊ายง่ายค่ะ ที่เครื่องจะมีแค่ 3 ปุ่ม เท่านั้น คือปุ่ม Auto, ปุ่ม UV และปุ่ม Dry ถ้าใช้สำหรับขวดนมหรือของใช้ที่ล้างมาเปียกๆ ก็ง่ายเลยค่ะ แค่กดปุ่ม Auto เพียงปุ่มเดียวแล้วรอแค่ 30 นาที ก็สามารถเอาขวดนมมาชงนมให้ลูกได้เลยค่ะ เริ่มน่าสนใจกันแล้วใช่ไหมหล่ะคะ และนี้ก็คือโฉมหน้าของเจ้าตู้อบฆ่าเชื้อ ด้วยUV ที่มีดีไซน์ แบบทันสมัย ใช้ง่าย และน้ำหนักเบาแค่ 5 kg. เองค่ะ คุณแม่ก็สามารถยกย้ายที่ใช้งานได้แบบง่ายๆเลยค่ะ ก่อนหน้าที่จะใช้เครื่องนี้ ก็เคยมีวิธีการทำความสะอาดของให้กับลูก โดยการล้างทำความสะอาด แล้วก็เอาไปนึ่งต่อต้องทำหลายขั้นตอน ตั้งแต่ตวงน้ำลงในถาด นึ่งเสร็จก็ต้องล้างหม้อนึ่งด้วย พอน้ำแห้งก็มักเป็นตะกรัน พอบ่อยๆ […]

ขวดนมที่ไม่มี BPA ปลอดภัย ใช้ได้นานกว่าจริงหรือ???

Q: ขวดนมที่ไม่มี BPA ปลอดภัย ใช้ได้นานกว่า ? A :ขวดนม PP ไม่มี BPA อายุการใช้งานสั้นกว่า PC ที่มี BPA โดยทั่วไป พลาสติกแต่ละชนิด จะมีอายุการใช้งานที่ต่างกัน ยิ่งต้ม ยิ่งนึ่ง ยิ่งขัด ก็ยิ่งเสื่อมสภาพเร็ว ขวดนม PP ทนอุณหภูมิ -20 – 110 ˚C มีอายุการใช้งานเฉลี่ย 6 เดือน และอาจเหลือ 3 เดือนถ้านึ่งหรือต้มบ่อยเกินไป ขวดนม PES ทนอุณหภูมิ -50 – 180 ˚C มีอายุการใช้งานเฉลี่ย 6 เดือน ถึง 1 ปี ขึ้นกับการดูแลรักษา และความถี่ในการต้ม หรือนึ่งฆ่าเชื้อ ขวดนม PPSU ทนอุณหภูมิ -50 – 180 ˚C มีอายุการใช้งานเฉลี่ย […]

ขวดนม อุปกรณ์ปั๊มนม ต้องต้ม นึ่ง ทุกครั้งหรือไม่?

Q: ขวดนม อุปกรณ์ปั๊มนม ต้องต้ม หรือนึ่ง ให้ปราศจากเชื้อทุกวัน ? A: การนึ่ง หรือต้มฆ่าเชื้อขวดนมและจุกนมหลังใช้งานทุกวันจะทำให้ขวดนมพลาสติกและจุกนมเสื่อมสภาพเร็วขึ้นกว่าปกติ และไม่ได้ช่วยป้องกันโรคให้ทารกเพิ่มขึ้นมากไปกว่าล้างด้วยน้ำสบู่อุ่น ๆ หรือล้างด้วยน้ำร้อนผสมน้ำยาล้างขวดนมหลังใช้งาน การขยันทำให้ปลอดเชื้อมากเกินไป (over-sterilize) ไม่มีประโยชน์กลับเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมให้เชื้อที่ทนความร้อน และสร้างสปอร์ได้เพิ่มมากขึ้น (เพราะคุณไม่ได้ใช้หม้อความดัน หรือฉายรังสี) และทารกจะอาจได้สารพวกโพลีเมอร์ หรือฟอร์มัลดีไฮด์ปนเปื้อนออกมาจากพลาสติกที่เสื่อมสภาพแทน  สมาคมกุมารแพทย์อเมริกัน และ USFDA แนะนำให้ต้มหรือนึ่งฆ่าเชื้อขวดนม และอุปกรณ์ปั๊มนมเฉพาะครั้งแรกที่ใช้งานจากนั้นให้ล้างด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างขวดนมผสมน้ำอุ่น ทุกครั้งหลังใช้งานก่อนผึ่งให้แห้ง โดยไม่ให้้ใช้ผ้าเช็ด กรณีที่ต้องต้มหรือนึ่งฆ่าเชื้อทุกวันคือช่วงทารกป่วย เช่น ท้องร่วง หรือ เป็นฝ้าขาวในปาก คุณแม่ที่กังวลอาจนึ่งหรือต้ม ทุก 3-4 วัน สำหรับนมชง ทุก 1 สัปดาห์สำหรับนมแม่ทั้งนี้ จะต้องไม่มีการปล่อยให้นมบูดคาขวด (ถ้านมบูดคาขวดต้องต้มหรือนึ่งฆ่าเชื้อใหม่เสมอ) อย่างไรก็ตามไม่มีกฎตายตัว หากบ้านมีสภาพแวดล้อมที่ไม่สะอาด อยู่ใกล้แหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค อาจพิจารณาต้มหรือนึ่งให้บ่อยขึ้น สำหรับประเทศไทยที่มีภูมิอากาศร้อนชื้นมีโรคเขตร้อนที่เป็นโรคทางเดินอาหารมาก และประชากรมีสุขอนามัยไม่แน่นอน กุมารแพทย์ไทยหลายท่านอาจแนะนำให้คุณแม่ต้มหรือนึ่งขวดนมทุกวัน และกรณีที่ห้องครัวมีความสกปรกอับชื้นท่อน้ำไม่สะอาด หรือมีกระบะทรายแมวในห้องครัว (ซึ่งไม่ควรมี) คุณแม่อาจเลี่ยงไปตากขวดนม และจุกนมที่อื่นที่มีอากาศถ่ายเท คุณแม่ที่ปั๊มนมห้ามใช้สบู่เหลวในห้องน้ำที่ทำงานล้างขวดนม […]

เชื้อ Ecoli คืออะไร

อีโคไล (Ecoli) มีชื่อเต็มๆว่า เอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli)  เป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ในลำไส้ของคนและสัตว์เลือดอุ่นทั่วไป จึงตรวจพบได้จากอุจจาระในปริมาณมาก โดยปกติอีมีหลายร้อยสายพันธุ์ พันธุ์ ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ที่ไม่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงเท่าใด แต่บางสายพันธุ์มีความสามารถในการสร้างโปรตีนที่เป็นพิษทำให้เกิดโรคที่รุนแรง และเป็นอันตรายถึงกับเสียชีวิตได้ หากร่างกายได้รับเชื้อ อีโคไล (Ecoli) จะส่งผลอะไร เชื้ออีโคไล (Ecoli) จะก่อโรคได้เมื่อเข้าสู่ร่างกายโดยการกินอาหาร และน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเหล่านี้เข้าไป อีโคไลที่เป็นสาเหตุของ “โรคอุจจาระร่วง” ในคนสามารถจำแนกได้เป็นกลุ่มต่างๆ ตามลักษณะการก่อโรค ซึ่งแต่ละกลุ่มประกอบด้วยเชื้ออีโคไลหลายสายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติในการก่อโรคแตกต่างกัน และสามารถสร้างสารพิษและปัจจัยในการก่อโรคระบบทางเดินอาหารที่รุนแรง  การระบาดของเชื้อนี้แต่ละปีมีผู้ติดเชื้อนับแสนคน อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 1 อาการสำคัญ คือ ท้องเสียชนิดอุจจาระมีเลือดปน บางราย มี อาการอุจจาระเป็นมูกเลือด และที่สำคัญคือ โรคนี้ทำให้เกิดภาวะไตวายร่วมด้วยได้บ่อยมาก โดย ทั่วไปคนติดเชื้อโรคนี้จากการรับประทานอาหารที่ไม่สุกส่วนใหญ่เป็นอาหาร ประเภทเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อ จากการดื่มนมวัวที่ดิบ การเล่นน้ำหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคชนิดนี้ และพบว่าเชื้ออีโคไล(Ecoli) สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ รวมทั้งการระบาดในครอบครัวและสถานเลี้ยงเด็กอ่อน การป้องกันการติดเชื้ออีโคไล(Ecoli) อาหารควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุก  ส่วนผัก ผลไม้ ต่างๆ ต้องล้าง ด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง  หรือแช่ผัก ผลไม้ในน้ำด่างทับทิม น้ำส้มสายชู ล้างแช่ทิ้งไว้ ประมาณ 15 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ก็จะสามารถชะล้างเชื้อจุลินทรีย์ทุกชนิดที่ปนเปื้อนได้ ป้องกันการติดเชื้อและการแพร่เชื้อโรคให้ผู้อื่นได้ สำหรับภาชนะที่ใส่อาหาร หรือสิ่งของบางอย่างที่เด็กเล็กๆชอบเอาเข้าปาก เช่น ของเล่นเด็ก พวงกุญแจ รีโมททีวี หรือแม้แต่มือถือของคุณพ่อคุณแม่ ที่อาจมีเชื้ออีโคไล(Ecoli) ปนเปื้อนอยู่ […]

รู้ทัน…ป้องกันเชื้อไวรัส สาเหตุอาการเจ็บป่วยที่พบบ่อยในเด็ก

เชื้อไวรัส คือ สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมาก เล็กกว่าแบคทรีเรียหลายเท่า เชื้อไวรัสมีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิด สามารถทำให้เกิดโรคในมนุษย์ได้หลายโรค  มนุษย์คือโรงงานผลิตไวรัสออกมาจำนวนมหาศาล ในขณะเดียวกันเซลล์ในร่างกายก็ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ จึงเกิดอาการของโรคตามมา เมื่อถึงระยะหนึ่งเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส นั้นก็จะตาย หรือถูกทำลายไป ถ้าถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก ก็จะเกิดอาการของโรคขึ้นมาอย่างชัดเจน  เชื้อไวรัสสามารถติดต่อและเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น ทางการหายใจ ส่งผลให้เป็น โรคหวัด , ไข้หวัดใหญ่ ทางตา  ส่งผลให้เป็น  โรคตาแดง ทางปาก  ส่งผลให้เป็น โรคท้องเสีย ท้องร่วง ทางผิวหนัง  ส่งผลให้เป็น โรคอีสุกอีใส ไข้ทรพิษ การถูกยุงกัด ส่งผลให้เป็น ไข้เลือดออก ไวรัสสมองอักเสบ ทางเลือด ส่งผลให้เป็น โรคเอดส์ ไวรัสตับอักเสบ ทางการตั้งครรภ์ (สามารถแพร่เชื้อจากแม่ไปสู่ลูกได้)ส่งผลให้เป็นเชื้อไวรัสHIV , โรคหัดเยอรมัน ทางการถูกสัตว์ที่เป็นโรคกัด ส่งผลให้เป็น โรคกลัวน้ำ โรคพิษสุนัขบ้า 1. การฆ่าเชื้อไวรัส ด้วยความร้อน มีทั้งความร้อนแห้งและความร้อนชื้น ความร้อนแห้งได้แก่ การเผาไฟโดยตรง ใช้ตู้เผาหรือเตาเผา ความร้อนชื้น ได้แก่ การต้ม การนึ่ง โดยทั่วไปการใช้ความร้อน 50-60 องศาเซลเซียล เป็นเวลา 30 นาที […]