มาตรฐานความปลอดภัยคาร์ซีท ระดับสากล

เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กในรถยนต์ทุกที่นั่งจะต้องมีป้ายรับรองมาตรฐาน ECE R44/04 เป็น มาตรฐานความปลอดภัยคาร์ซีท เพื่อบ่งชี้ว่าเบาะตัวนั้นๆได้ผ่านตามข้อกำหนดมาตรฐานความปลอดภัย ป้ายรับรองมาตรฐาน ECE R44/04 จะเป็นป้ายสีส้ม

  1. แสดงประเภท (Category) ของเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก
  2. แสดงน้ำหนักที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้งาน (Weight class)
  3. “Y” แสดงชนิดของอุปกรณ์ป้องกัน ในรูป “Y” หมายถึง เข็มขัดนิรภัยแบบ 5 จุดที่มีสายรัดเป้า
  4. ตัวบ่งชี้ว่าเป็นยุโรปอนุมัติ
  5. ตัวบ่งชี้สำหรับประเทศที่ได้รับความเห็นชอบ (1 = เยอรมนี, 2 = ฝรั่งเศส, 3 = อิตาลี, 4 = เนเธอร์แลนด์ ฯลฯ )
  6. หมายเลขการอนุมัติ ประกอบด้วยตัวเลข 8 หลัก ตัวเลขสองตัวแรกแสดงเวอร์ชั่นของมาตรฐานการทดสอบ ECE R 44 ที่เบาะนิรภัยนั้นๆได้รับการอนุมัติ (ในกรณีนี้คือ ECE R 44/04)
  7. เลขที่ปัจจุบัน

มาตรฐานความปลอดภัยคาร์ซีท ECE 44/03 และ ECE R 44/04 แบ่งตาม Group

และแบ่งแยกเป็นประเภทต่างๆ ทั้งหมด 4 ประเภท (4 Categories) ตามการติดตั้งและการใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้เราทราบว่าเบาะนั้นๆออกแบบมาสำหรับรถเราหรือไม่

มาตรฐานความปลอดภัยคาร์ซีท ECE 44/03 และ ECE R 44/04 แบ่งตามภูมิภาค

จากข้อมูลในหัวข้อนี้คงพอให้ท่านผู้อ่านเข้าใจความหมายและทราบถึงรายละเอียด ข้อมูลของเบาะนั้นจากป้ายมาตรฐาน ตลอดจนเป็นประโยชน์กับผู้ปกครองในการเลือกซื้อเบาะให้เหมาะกับลูกหลานและรถ ที่มีแนวทางการใช้งานเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก

  1. เลือกเบาะนั่งนิรภัยให้เหมาะสมกับขนาดร่างกายของเด็กและเหมาะกับรถ เบาะนั่งนิรภัยไม่เหมือนเสื้อผ้า การซื้อเบาะนั่งที่ไม่ตรงกับขนาดและอายุของเด็กจะส่งผลต่อความปลอดภัย
  2. ตอบความพึงพอใจของเด็ก โดยเฉพาะในด้านความสะดวกสบายในขณะนั่ง ทางที่ดีก่อนซื้อควรพาลูกๆหลานๆไปทดลองถึงที่ด้วยก็จะดี เพราะนั่นจะทำให้ทราบว่า เบาะรุ่นไหนเขานั่งแล้วสบาย ไม่อึดอัด
  3. สร้างความคุ้นเคยให้เด็ก สำหรับเด็กที่ยังไม่เคยนั่งมีคำแนะนำให้เอาเบาะมาให้เด็กได้สัมผัสได้ลองเล่นในบ้าน ให้เด็กนั่งขณะป้อนข้าวหรือทำกิจกรรมต่างๆเพื่อทำความคุ้นเคย เพื่อเด็กจะได้ไม่กลัวหรืองอแงยามที่ต้องถูกล็อคอยู่ในรถจริงๆ (คำแนะนำของกุมารแพทย์ รพ.กรุงเทพ)

ในครั้งแรกๆ เด็กๆอาจจะร้องเพราะกลัวการถูกล็อค แต่ถ้าเขาคุ้นเคยเสียก่อน ก็จะลดการร้องไม่ยอมของเด็กได้ การที่เด็กๆร้องก็จะทรมาณใจพ่อแม่เพราะสงสารลูกๆและเป็นสาเหตุทำให้ละเลยการใช้งานเบาะนิรภัยในครั้งต่อๆไป

  • ห้ามไม่ให้ใช้เบาะนั่งนิรภัยร่วมกับถุงลมนิรภัยที่อยู่ด้านหน้า
  • ควรให้เด็กนั่งที่ห้องโดยสารตอนหลัง (เบาะหลังรถ) จากการศึกษาวิจัยของสถาบัน NHTSA (Nation Highway Traffic Safety Administration) สรุปไว้ว่าเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี ควรนั่งเบาะด้านหลังรถ การให้เด็กนั่งด้านหลังแทนการนั่งด้านหน้าจะช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต ได้ 27 % ไม่ว่ารถคันนั้นจะมี airbag ด้านข้างหรือไม่ก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่งที่นั่งกลางของเบาะหลังจะเป็นตำแหน่งที่ปลอดภัยที่สุด

เพราะว่าเด็กที่นั่งอยู่ในเบาะนิรภัยจะมีการป้องกันการชนด้านข้างต่ำ การนั่งในตำแหน่งกลางจะช่วยเพิ่มพื้นที่ในการดูดซับแรงกระแทก แต่ทั้งนี้รถควรจะเป็นรถขนาดใหญ่ที่เบาะกลางมีเข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุด อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถติดตั้งตรงเบาะกลางได้ การติดตั้งทางฝั่งซ้ายหรือขวาก็สามารถทำได้ โดยที่ฝั่งตรงข้ามคนขับ (ฝั่งเดียวกับฟุตบาท) จะปลอดภัยกว่าฝั่งคนขับ  สำหรับการใช้งานเบาะนิรภัยร่วมกับรถปิกอัพให้ติดตั้งด้านหน้าข้างคนขับและห้ามใช้ถุงลมในที่นั่งด้านข้างคนขับ

  • ควรให้เด็กนั่งหันหลังให้หน้ารถให้นานที่สุดจนกว่าสรีระเด็กจะนั่งแบบนี้ไม่ได้ เพราะการนั่งแบบหันหน้าไปด้านหลังรถจะปกป้องหัวของเด็ก คอ และกระดูกสันหลังได้ดีกว่า
  • ศึกษาคู่มือการติดตั้งและการใช้เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ตลอดจนคู่มือรถยนต์ที่ใช้อยู่ให้รู้แจ้ง ทั้งนี้ก็เพราะว่าในช่วงแรกของการใช้เบาะนิรภัยสำหรับเด็กในสหรัฐอเมริกาผู้ปกครองจำนวนมากถึง 63% ติดตั้งเบาะนั่งนิรภัยไม่ถูกต้อง ทั้งการวางเบาะผิดตำแหน่ง, การจัดท่าเด็กในขณะนั่ง และการคาดกับเข็มขัดนิรภัยผิดๆ ดังนั้นหลังจากซื้อเบาะนิรภัยสำหรับเด็กมาแล้วจึงควรศึกษาคู่มือให้เข้าใจก่อนเริ่มการติดตั้ง
  • ติดตั้งเบาะนิรภัยในรถและจัดให้เด็กนั่งในเบาะนิรภัยอย่างถูกต้อง เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก จากการวิจัยพบว่าผู้ปกครองจำนวนมากยังปฎิบัติไม่ถูกต้อง ต้องตรวจสอบการยึดรั้งร่างกายของเด็กกับเบาะให้ดี และตรวจสอบเข็มขัดนิรภัยของตัวเบาะนั่งว่ารัดแน่นไปหรือเปล่า หรืออยู่ในตำแหน่งที่ผิดเพี้ยนจนสร้างความรำคาญให้กับเด็กหรือไม่ การนั่งที่ถูกต้องสายเข็มขัดนิรภัยของตัวเบาะจะต้องแน่นพอดีและพาดข้ามบ่าของเด็ก อย่าพาดอ้อมแขนหรือสอดไว้ใต้แขนเด็ก
  • เด็กพร้อมที่จะใช้เข็มขัดนิรภัยของรถได้ตามปกติเมื่อ

1. เด็กสูงเพียงพอที่ขาและเข่าของเขาสามารถนั่งห้อยขาได้เบาะนั่งรถได้พอดี
2. เด็กโตพอที่จะสามารถนั่งตัวตรง หลังพิงพนักพิงได้ตรง
3. เข็มขัดนิรภัยของรถส่วนล่างจะต้องรัดได้ตรงส่วนกระดูกเชิงกรานไม่ใช้รัดตรงท้อง
4. เข็มขัดที่พาดส่วนบ่าจะต้องพาดผ่านมาตรงส่วนหน้าอก ไม่ใช่ผ่านมาตรงแขนหรือคอ

สถานการณ์เบาะนั่งนิรภัยในไทย
มุมมองในเรื่องความปลอดภัยของคนใช้รถใช้ถนนในบ้านเรายังเป็นอะไรที่ควรได้ รับการปรับปรุงและส่งเสริมให้คำนึงอยู่ในจิตสำนึกโดยตลอด อีกทั้งในปัจจุบันเมืองไทยยังไม่มีการออกกฎหมายบังคับใช้เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือสร้างมาตรฐานสำหรับเบาะนั่งนิรภัยเด็กออกมาใช้ ยังไม่นับรวมการละเลยกฎจราจร, ขาดมารยาทในการขับขี่ และขาดการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง สิ่งเหล่านี้นอกจากเป็นสิ่งที่ภาครัฐควรช่วยกันผลักดันแล้วเราทุกคนต้องช่วยกันด้วยโดยเริ่มจากตัวเราเองก่อน


เอกสารอ้างอิง

Traffic Safety Facts 2008 Data, NHTSA’s National Center for Statistics and Analysis, National Highway Traffic Safety Administration (NHTSA), 2008

Guideline for Injury Prevention in Well Child Care, ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, 2005

ระบบยึดเหนี่ยวเด็กในรถ (Child Restraint System), ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

PandaTrueno.: จริงหรือที่เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กแพง, Safety Zone. In: MotorTrivia, 2010

ผศ.นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์, “โครงการการจัดการความรู้จากชุดโครงการวิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและ ป้องกันการบาดเจ็บในเด็กสู่นโยบายสาธารณะ”, ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก, 2004

“ถึงเวลาใส่ใจนักเดินทางตัวน้อยแล้วหรือยัง?”,  Special Report. In: Thaidriver Magazine No.91, หน้า 76-85, 2007

PandaTrueno.: มารู้จักกับประเภทของ car seat กันก่อน, Safety Zone. In: MotorTrivia, 2010

Car Seats – The Law, Regulations and Technical Information, itsababy

Regulation No. 44 Rev.1/Add.43/Rev.2, Agreement Concerning the Adoption of Uniform Technical Prescriptions for Wheeled Vehicles, Equipment and Parts, United Nations, 2008

http://www.safekids.org/our-work/news-press/press-releases/car-seat-inspections-offered.html

http://en.wikipedia.org/wiki/Infant_car_seat

http://www.consumerreports.org/cro/babies-kids/baby-toddler/car-seats/car-seat-buying-advice/car-seat-types/car-seat-types.html

http://www.iqraforum.com/forum/index.php?topic=800.0;wap2

http://www.mom2kids.com/knowledge.php?id=79

http://www.3sat.de/page/?source=/nano/news/94126/index.html


สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ :

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

code