พวกเรารักคาร์ซีท!!!

ไม่นานมานี้ดิฉันเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัดกับลูกๆทั้งสนุกสนานและปลอดภัยตั้งแต่ออกเดินทางจนถึงจุดมุ่งหมายเลยค่ะรู้สึกขอบใจตัวเองที่กัดฟันให้ลูกนั่งคาร์ซีท ตั้งแต่วันแรกที่ลืมตาดูโลก ทำให้ขับรถได้อย่างมีสมาธิ แต่กว่าจะถึงวันนี้ลูกก็เคยร้องไห้ประท้วงจนแหวะใส่เก้าอี้ตัวเองมาแล้ว

ดิฉันใช้วิธีสงบสยบความเคลื่อนไหวร้องได้ร้องไป แค่ 15 นาทีเท่านั้น คลื่นลมก็สงบ ตั้งแต่นั้นมาลูกๆเรียนรู้เลยว่า เวลาขึ้นรถต้องไปนั่งที่ “เก้าอี้วิเศษ”  ของตัวเองและนั่งทุกครั้งแม้ระยะทางจะใกล้หรือไกลเพราะอุบัติเหตุอาจเกิดจากภัยในรถ เช่น ลูกทะเลาะกันที่เบาะหลัง (เจอมาแล้ว) หรือปีนป่ายจนได้รับอันตราย คุณแม่ท่านไหนที่ยังไม่มั่นใจในคาร์ซีท carseat ว่าจะช่วยวันยุ่งๆของคุณแม่ได้มากน้อยแค่ไหน ลองเคล็ดลับต่อไปนี้ดูสิคะ แล้วลูกคุณจะรัก “เก้าอี้วิเศษ” ของตัวเองขึ้นเยอะเลย

  • สร้างความผูกพันกับเก้าอี้ อนุญาตให้ลูกเอาสติ๊กเกอร์มาตกแต่งเก้าอี้ เอาให้ถูกใจเลยเพราะต้องนั่งไปอีกนาน
  • มอบรางวัล บอกลูกว่า เราจะออกเดินทางได้ก็ต่อเมื่อล็อกสายรัดนิรภัยเรียบร้อย แล้วลูกจะรีบทำตัวน่ารักเพราะอยากไปเที่ยว แต่ถ้ากำลังพาไปหาหมอ อาจให้ขนมเป็นรางวัลได้
  • เบี่ยงเบนความสนใจ ถ้าโยเยนัก ชวนคุยเรื่องการ์ตูนที่ลูกกำลังอินดีกว่า แค่นี้ก็เผลอจดจ่อกับการโม้เรื่องเจ้าหญิงกับฮีโร่ จนไม่ทันสังเกตว่า ตัวเองถูกจับนั่งเก้าอี้เรียบร้อยแล้ว (มุกนี้ไม่เหนื่อย แถมสนุกดีด้วย)
  • เตรียมของเล่นแก้เบื่อ ควรมีของเล่นชิ้นโปรดอยู่ในรถ แนะนำว่าควรเป็นของเบาๆ และไม่แข็ง เช่น หนังสือผ้า เพราะคุณอาจโดนลูกเอาของในมือปาใส่ขณะขับรถ หรือเลือกเปิดเพลงที่ลูกชอบแล้วร้องไปด้วยกันก็ได้
  • หยุดพักบ้าง หากต้องเดินทางไกลควรเลือกใช้เก้าอี้ปรับนอนเอนได้ และจอดพักสักครู่เพื่อให้ลูกได้ยืดเส้นยืดสาย

เคล็ดลับก่อนตัดสินใจเลือกซื้อคาร์ซีท

อายุ ประเภทของคาร์ซีท คำแนะนำทั่วไป
เด็กอ่อน คาร์ซีทสำหรับเด็กอ่อน เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี และมีน้ำหนักน้อยกว่า 9 kg.
– ต้องนั่งคาร์ซีทแบบหันหน้าเข้าหาเบาะ เพราะคอยังไม่แข็งพอรับแรงกระแทกขณะรถวิ่ง
เด็กก่อนวัยเรียน เก้าอี้แบบหันหน้าออก เด็กอายุ 1 ปี ขึ้นไป หรือหนัก 9 kg. ขึ้นไป
เด็กเล็กวัยเรียน เบาะรองนั่ง เด็กควรสูงอย่างน้อย 120 cm.
และต้องมั่นใจว่าเข็มขัดนิรภัยพาดที่ไหล่และต้นขาของเด็กอย่างพอดี
เด็กโต เข็มขัดนิรภัย เด็กอายุ 13 ปีขึ้นไป และต้องสูงพอที่จะนั่งห้อยขาบนเบาะได้
– เข็มขัดนิรภัยต้องพาดอย่างพอดีโดยไม่รัดคอหรือติดที่พุง และต้องระวังไม่ให้เด็กเอามือ ออกมานอกสายนิรภัยด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ Real-Parenting

สามารถสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับคาร์ซีทเพิ่มเติมได้จากผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาและแนะนำได้อย่างถูกต้อง

หรือช่องทางออนไลน์ :

สินค้าที่เกี่ยวข้อง